Show simple item record

dc.contributor.authorอรรถสิทธิ์ พานแก้วth
dc.date.accessioned2020-07-29T07:13:24Z
dc.date.available2020-07-29T07:13:24Z
dc.date.issued2563-07-29
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/870
dc.description.abstractปัจจุบันสังคมไทยมีการนำสื่อโซเชียลมีเดียมาใช้ในกิจการโทรทัศน์ โดยมีการหยิบยกเรื่องที่เป็นกระแสต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมจากสื่อออนไลน์ มาเผยแพร่ทางสื่อโทรทัศน์ ซึ่งอาจไม่ได้มีการตรวจสอบความถูกต้องและแหล่งที่มาของข้อมูล จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินคุณภาพเนื้อหารายการที่มีการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในกิจการโทรทัศน์ และการศึกษาสำรวจทัศนคติ และความพึงพอใจของประชาชนในการนำใช้สื่อโซเชียลมีเดียมาใช้ในกิจการโทรทัศน์ในปัจจุบัน ตลอดจนเป็นการศึกษาเพื่อนกําหนดแนวปฏิบัติที่เหมาะสมต่อการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในกิจการโทรทัศน์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งมีการศึกษาเอกสารรวบรวมข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) ในกิจการโทรทัศน์ รวมถึงการศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ในต่างประเทศ พร้อมทั้งมีการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินรายการและคุณภาพรายการที่มีการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในกิจการโทรทัศน์ของช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลทุกช่อง จำนวน 26 ช่อง จาก 7 ประเภทข่าว ได้แก่ ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวสังคม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวอาชญากรรม ข่าวบันเทิง และ ข่าวกีฬา ซึ่งในภาพรวมพบว่า มีการนำเนื้อหาจากสื่อโซเชียลมีเดียมาใช้ประกอบการรายงานข่าวทุกประเภท เนื่องจากความรวดเร็วในการนำเสนอข่าวเป็นปัจจัยที่สำคัญในการรายงานข่าวในปัจจุบัน ซึ่งมีการนำข้อมูลจากทุกแหล่งของโซเชียลมีเดียมาใช้ประกอบการรายงานข่าว โดยเฉพาะ Facebook เป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่มักจะถูกดึงข้อมูลมาใช้ในประกอบการรายงานข่าว ทั้งนี้คณะที่ปรึกษาได้มีการศึกษาเชิงปริมาณ เพื่อสำรวจทัศนคติ และความพึงพอใจของประชาชน (Survey Research) ที่รับชมรายการ ต่อการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) ในกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนมีทัศนคติในระดับ ‘เห็นด้วย’ แต่มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ในขณะที่ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการนำสื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) มาใช้ในรายการข่าวสารทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ได้แก่ มีช่องทางของแหล่งข่าวที่หลากหลายมากขึ้น และสำหรับผลการศึกษาแนวทางในการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) ที่เหมาะสม และแนวทางในการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการยกจากการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) โดยการจัดประชุมกลุ่มย่อยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหารายการและคุณภาพรายการ พบว่ามี 5 แนวทางดังนี้ 1) สถานีโทรทัศน์ทุกช่องควรมีการกลั่นกรองข้อมูลจากสื่อโซเชียลมีเดียให้มีความถูกต้องและมีความเหมาะสมก่อนที่จะนำข้อมูล 2) การส่งเสริมจรรยาบรรณสื่อ 3) มาตรการที่เข้มงวดและรัดกุมมากยิ่งขึ้น เน้นมาตรการเชิงรุกในการป้องกัน 4) การส่งเสริมให้เกิดความรู้ประชาชนให้สามารถเท่าทันสื่อที่ไม่เหมาะสม และ 5) การกำหนดมาตรการในการกําหนดสัดส่วนของข้อมูลจากโซเชียลมีเดียให้เหมาะสมกับประเด็นข่าว Presently, Thai media has utilized news from social media by using various current and popular issues to broadcast in television programs. This news might not be verified for validity and correctness of information; therefore, there should be a research study to evaluate the quality of content from social media in television broadcasting and surveying the satisfaction of people as well as to determine the appropriate guidelines for the use of social media in television business. The methodologies of the research include survey, review literatures, documents, compiling laws related to the rules on the use of social media in television business and examining good practices from various countries, as well as reviewing the quality of the programs which use social media in the television business of all 26 terrestrial digital television channels from 7 news categories, including political news, economic news, social news, accident news, criminal news, entertainment news, and sports news. It was found that the content from social media used in reporting of all types of news because the speed in obtaining news is an important factor in current news reporting, especially from Facebook. As mentioned, the research conducted quantitative study (Survey Research) to explore the attitude and public satisfaction on the television programs which use social media in digital television business. The study found that the informant had an 'Agree' attitude but moderate satisfaction to use social media in digital television business. The main factor affecting the use of social media in digital terrestrial television news programs is speed and new source of information For the results of the study, the guidelines for the use of social media and the guidelines for the supervision of digital terrestrial television business can be derived from a focus group of experts, it was found that there are 5 guidelines should be follows: 1) every television station should screen/ evaluate information from social media to be accurate and appropriate before televised 2) promoting media ethics 3) using strict and stringent measures emphasizing proactive and preventive measures, 4) promoting public knowledge and public participation to be able to monitor and voice inappropriate media, and 5) determining measures to specify the proportion of information from social media to be used in the television program.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectประเมินคุณภาพเนื้อหารายการth
dc.subjectสื่อโซเชียลมีเดียth
dc.titleศึกษาวิจัยเพื่อประเมินคุณภาพเนื้อหารายการ ที่มีการนำสื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) มาใช้ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์th
dc.title.alternativeResearch in assessing a quality of social media content used in radio and televisions broadcastingth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติth
cerif.cfProj-cfProjId2562A00639th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการวิจัยth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleศึกษาวิจัยเพื่อประเมินคุณภาพเนื้อหารายการ ที่มีการนำสื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) มาใช้ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record