Show simple item record

dc.contributor.authorเดชา สังขวรรณth
dc.date.accessioned2020-06-05T05:07:09Z
dc.date.available2020-06-05T05:07:09Z
dc.date.issued2563-06-05
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/815
dc.description.abstractโครงการ "การศึกษาเพื่อเตรียมการขับเคลื่อนมาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ: การจัดทำยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ" โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมจริยธรรมและการขับเคลื่อนมาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และการสำรวจทัศนคติของประชาชนที่มีต่อค่านิยมหรือมาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท เพื่อนำไปสู่การจัดทำยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ รวมถึงเพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมจริยธรรมและรูปแบบการขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในแง่ของวิธีการวิจัย คณะผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เอกสาร รวบรวมองค์ความรู้และข้อมูลสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ในต่างประเทศที่มีผลการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมการเสริมสร้างธรรมาภิบาลหรือการป้องกันทุจริตของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นที่ประจักษ์ ประกอบกับข้อมูลการสัมภาษณ์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมการเสริมสร้างธรรมาภิบาลหรือป้องกันทุจริตของข้าราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานเอกชนในประเทศ การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ รวมถึงดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ด้านการจัดทำนโยบายหรือยุทธศาสตร์ หรือด้านพฤติกรรมศาสตร์ หรือด้านการบริหารจัดการภาครัฐ หรือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐหรือการจัดทำแนวทางการส่งเสริมจริยธรรมและรูปแบบการขับเคลื่อนมาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมกันนี้ คณะผู้วิจัยได้ทำการสำรวจทัศนคติของประชาชนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่มีต่อค่านิยมหรือมาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภทที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ผลจากการสำรวจทัศนคติของประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่มีต่อค่านิยมหรือมาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พบประเด็นที่น่าสนใจ คือ แม้จะมีการประกาศพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ออกมาและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ที่ว่าประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐยังมีการรับรู้และเข้าใจมาตรฐานทางจริยธรรมต่ำ อีกทั้งในระดับมาตรฐานทางจริยธรรมในหน่วยงานของรัฐ แม้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐแสดงความคิดเห็นในเชิงบวกต่อมาตรฐานทางจริยธรรมในทุกด้าน แต่ก็ยังมีบางประเด็นที่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐจำนวนมากให้ความกังวล สำหรับประชาชนมีความกังวลในเรื่องการเบียดบังทรัพย์สิน เวลา บุคลากร ของทางราชการไปใช้ในเรื่องส่วนตัว ประเด็นการทักท้วงหรือขอรับคำอธิบายเมื่อพบเจ้าหน้าที่กระทำทุจริต ไม่ถูกต้อง ผิดกฎหมาย ประเด็นการใช้ตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์พวกพ้องหรือเอื้อประโยชน์ส่วนตัว ประเด็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไปรับงานนอกหรือร่วมกิจกรรมภายนอกที่มีผลประโยชน์แอบแฝง ประเด็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ ประเด็นการปฏิบัติงานด้วย ความประหยัดและใช้ทรัพยากรรัฐอย่างคุ้มค่า ประเด็นการให้บริการทุกคนอย่างเท่าเทียม ประเด็นการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอคติ และประเด็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐในลักษณะเลือกปฏิบัติ สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐมีความกังวลในประเด็นเกี่ยวกับการกล้าแสดงความคิดเห็นหรือคัดค้านหัวหน้า/ผู้บังคับบัญชาในสิ่งที่ไม่สุจริต ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กล้าเปิดเผยการทุจริตที่พบเห็นโดยไม่ปล่อยปละละเลย การช่วยเหลือประชาชนที่ถูกรังแกหรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม การยึดมั่นทำในสิ่งที่ถูกต้องแม้จะต้องถูกย้ายหรือไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง การใช้ตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์พวกพ้องหรือเอื้อประโยชน์ส่วนตัว การรับงานภายนอกหรือร่วมกิจกรรมภายนอกอื่นมีผลประโยชน์แอบแฝง ในส่วนของการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ คณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์ประเด็นปัจจัยทางยุทธศาสตร์ทั้งทางทฤษฎีและกรอบแนวคิด การวิเคราะห์ปัจจัยส่งเสริมยุทธศาสตร์ สภาพการประพฤติปฏิบัติตามมาตรฐานทางจรยธรรมในปัจจุบัน การศึกษาคู่เทียบจากกรณีศึกษาต่างประเทศ (Benchmarking) และสภาพการส่งเสริมจริยธรรมของประเทศไทยในปัจจุบันและปัญหาข้อขัดข้องที่ผ่านมา จนออกมาเป็น “ยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ” เพื่อที่จะใช้เป็นกรอบและกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินการรักษาจริยธรรมและส่งเสริมจริยธรรมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานองค์กรกลางการบริหารงานบุคคลทุกหน่วยงานใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมจริยธรรมภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2563-2567 ซึ่งเชื่อมโยงไปกับแผนปฏิรูปประเทศ ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน และแผนปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2559-2564) และยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ มีทั้งหมด 5 ด้าน ดังนี้ ยุทธศาสตร์ด้านที่ 1 การส่งเสริมมาตรฐานทางจริยธรรมภายในหน่วยงานของรัฐ มีประเด็นความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์คือ การสร้างความรู้ ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีต่อมาตรฐานทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ภาครัฐและสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมให้มีมาตรฐานเดียวกันในทุกกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ โดยไม่มีข้อยกเว้น ยุทธศาสตร์ด้านที่ 2 การพัฒนาผลักดันนโยบายและระบบการบริหารการส่งเสริมมาตรฐานทางจรยธรรมภาครัฐให้ครอบคลุมทุกหน่วยงานและทุกระดับ มีประเด็นความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์คือ การพัฒนานโยบายส่งเสริมมาตรฐานทางจรยธรรม เตรียมความพร้อมและความร่วมมือในการรวมบริหารงานภาครัฐอย่างมีจริยธรรม โดยไม่มีข้อกังขาหรือตั้งคำถาม ยุทธศาสตร์ด้านที่ 3 พัฒนาระบบที่เอื้อให้นำการส่งเสริมจริยธรรมไปใช้ในการบริหารงานบุคคลมีประเด็นความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ คือ สร้างระบบการบริหารงานบุคคลที่คำนึงถึงหลักทางจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีความประพฤติตามมาตรฐานจริยธรรมควรจะได้รับการสนับสนุนในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ความพยายามนั้นสูญเปล่า ยุทธศาสตร์ด้านที่ 4 รวมพลังทุกภาคส่วนในการสร้างสังคม-วัฒนธรรมทางจริยธรรม มีประเด็นความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ คือ สร้างกลไกและเครือข่ายตรวจสอบการกระทำผิด ไม่ปล่อยให้มีที่ยืนสำหรับความผิด ไม่มีความรู้สึกโดดเดี่ยวสำหรับความถูกต้อง และร่วมมือผลักดันให้เกิดการปฏิวัติสังคม-วัฒนธรรมทางจริยธรรมในเจ้าหน้าที่รัฐ ยุทธศาสตร์ด้านที่ 5 การสื่อสารและการรณรงค์ด้วยแนวทางใหม่เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และเปลี่ยนทัศนคติเรื่องมาตรฐานทางจริยธรรมและการกระทำผิด มีประเด็นความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ คือ การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์สำหรับเปลี่ยนทัศนคติเรื่องการกระทำผิดจริยธรรมเจ้าหน้าที่รัฐ มีเพียงการกระทำที่ผิดหรือถูกต้องเท่านั้น และไม่ยอมรับการกระทำผิดสีเทาอีกต่อไป The project of ‘The Study on Mobilization of the Ethical Standards for the Government Officers: Strategic Plan on Ethical Standards and Ethic Promotions in Public Sector’ by the Research and Consultancy Institute of Thammasat University, which is presented to Office of the Civil Service Commission (OCSC) has the objectives to study on and to develop body of knowledge of the promotion of ethics and the drive of ethics standard for state officials, and to survey on people’s attitudes toward ethics value or standard of civil servants and state officials of each category, which will lead to the making of strategy for ethics standard and promotion for state officials. As for the research methodology, the research team uses the documentary analysis technique and the collection of body of knowledge and data of environs or circumstances in foreign countries that affect the promotion of ethicality and good governance, or the prevention of corruption in governmental agencies, state enterprises and private entities in the country. There is also the arrangement of workshops to receive opinions from people involving in making the strategy for ethics standard and ethics promotion by the public sector, as well as the in-depth interviews with experts, academics and scholars of ethics promotion, policy or strategy setting, or behavioral science or public administration or human resource development for their opinions toward the making of the strategy for ethics standard and ethics promotion by the public sector or the establishment of the guidelines for the ethics promotion and the pattern of the drive of ethics standard for state officials. Simultaneously, the research team has surveyed on the attitudes of people in the central part of the country and in other regions towards the ethics values and standards of state officials and civil servants of each type, who subject to Ethics Standard Act B.E. 2562 (A.D. 2019). The findings from the survey on the attitudes of people in the central part of the country and in other regions towards the ethics values and standards of state officials lead to the discovery of certain interesting points. The first point is that even though the Ethics Standard Act B.E. 2562 (A.D. 2019) has been effective since 17th April 2019, the levels of the awareness of people’s and state officials’ of ethics standard are still low. In addition, concerning the level of ethics standard in governmental agencies, even though people and state officials show positive opinions towards ethics standard in all categories, there are still some issues that a number of people and state officials are concerned about. People are concerned about the misuse of assets, time and personnel that belong to the state for personal benefits, the objection and explanation for a case of corruption, misconduct or illegal action by a state official, the abuse of positions for personal benefits or benefits for certain parties, kthe work with full capacity and cost-effectiveness for the resources of the state, fair and just services provision for everyone, work without bias, and discrimination in work. Meanwhile, state officials are concerned about the bravery to express ideas against their leaders or commanders for corrupted or illegal matters, bravery to disclose corruption cases, the assistance for people who experience oppression or unjust treats or unfair treats, the adherence to righteousness even the results being moved or unprompted, or the abuse of positions for personal benefits or benefits for certain parties, and the the absence of state officials who skip works in order to take side jobs or to join external activities with hidden agenda. Concerning the strategy for ethics standard and ethics promotion by the state, the research team analyze the issues relating to strategic factors which are theory and conceptual framework, the analysis on factors to support the strategy and the current situations of the compliance with the ethics standard, the study on benchmarking from case studies of other countries and the current state of ethics promotion in Thailand and recent problems and obstacles. The output is the ‘Strategy for Ethics Standard and Ethics Promotion by the State’, which is implemented as the framework and a mechanism to drive the actions to conserve and promote ethicality to each state official, and for all HR administrative organizations, agencies and units to use for driving the activities to promote ethicality within 5 years from 2020 to 2024, which is also connected to the country reform plans of public administration and anti-corruption in the Master Plan for National Ethics Promotion 1 (2016 - 2021) and the National Anti-corruption Strategy, which covers 5 aspects as follows: Strategy 1: Promotion of Ethics Standard in State Agencies: The strategic challenges include the building of state officials’ knowledge and understanding of ethics standard and the setting of the same ethics standard for all state officials of all groups without exception; Strategy 2: Development and Enhancement for Policy and Administrative System of Ethics Standard Promotion to Cover All Organizations in All Levels: The strategic challenges are the development of policies to promote ethics standard, to prepare for collaboration in ethical public administration without doubt or questioning; Strategy 3: Development of System to Facilitate the Ethics Promotion in HR Management: The strategic challenges include the establishment of HR management system that focuses on ethics and the supports in several forms for state officials compliant with ethics standard in order to recognize such attempt; Strategy 4: Mobilization of All Sectors for Building Ethical Society-Culture: The strategic challenges include the creation of mechanism and network to inspect misconducts, the restriction for wrong-doing, the recognition for righteous people and the collaboration to generate socio-cultural reform in terms of ethicality in state officials; and Strategy 5: Communication and Promotion with New Way to Build Knowledge and Understanding and to Change Attitude toward Ethics Standard and Misconduct: The strategic challenges include the promotion and campaigns to change attitudes toward misconduct and state officials and to build the understanding that there is only right or wrong and grey activities are no more acceptable.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectขับเคลื่อนมาตรฐานทางจริยธรรมth
dc.subjectยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมth
dc.subjectการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐth
dc.titleเตรียมการขับเคลื่อนมาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ : การจัดทำยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมเเละการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐth
dc.title.alternativeThe Study or Mobilization of the Ethical Standards for the Government officers : Strategic Plan on Ethical Standards and Ethic Promotions in Public Sectorth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนth
cerif.cfProj-cfProjId2562A00636th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleเตรียมการขับเคลื่อนมาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ : การจัดทำยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมเเละการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record