Show simple item record

dc.contributor.authorทวิดา กมลเวชชth
dc.date.accessioned2020-05-26T07:53:03Z
dc.date.available2020-05-26T07:53:03Z
dc.date.issued2020-05-26
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/804
dc.description.abstractคู่มือระบบนวัตกรรมภูมิภาคฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ และเป็นแนวทางในการดำเนินการสร้างระบบนวัตกรรมภูมิภาค ร่วมกับตัวแสดง และเครือข่ายต่าง ๆ ในพื้นที่ การวิจัยอันนำมาสู่คู่มือฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research) โดยสำรวจ และรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ตัวแบบระบบนวัตกรรมภูมิภาคของต่างประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบัน และการวิจัยภาคสนาม (Field Research) โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลทั้งจากการประชุมกลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ในส่วนกลาง และในพื้นที่ รวมทั้งเครือข่ายของสำนักงาน เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก คู่มือฉบับนี้ใช้แนวคิดเรื่องเครือข่ายสังคม และการบริหารจัดการเครือข่าย เป็นกรอบในการอธิบายแนวทางการสร้างระบบนวัตกรรมภูมิภาคในประเทศไทย ทั้งนี้คู่มือฉบับนี้ได้พัฒนาตัวชี้วัด และเกณฑ์ในการระบุความก้าวหน้าในการสร้างระบบดังกล่าวด้วย โดยคำนึงถึงบริบทของพื้นที่เป็นสำคัญคู่มือฉบับนี้มุ่งแสดงให้เห็นว่า ในการดำเนินการสร้างระบบนวัตกรรมภูมิภาค สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จะต้องทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสาน เพื่อเชื่อมร้อย ขับเคลื่อน และสนับสนุนการทำงานเชิงนวัตกรรมของตัวแสดงในภูมิภาค ในขณะเดียวกันจะต้องสร้างแพลตฟอร์มให้ตัวแสดงดังกล่าวประสานสร้างพลวัตที่จะช่วยขยับเขย่า และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับปฏิสัมพันธ์เชิงนวัตกรรมที่เกิดจากทุนของพื้นที่หรือภูมิภาค นอกจากนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จะต้องเสริมพลังให้กับนวัตกรภูมิภาคผ่านการจัดทำยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติการที่จะอำนวยให้เกิดชุมชนนวัตกรรม พร้อมทั้งดำเนินกิจกรรมที่จะช่วยบ่มเพาะผู้ประกอบการทางนวัตกรรม และธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาค ดังนั้นนวัตกรรมระดับชาติที่สร้างจากฐานรากที่รากฐานทางนวัตกรรมหยั่งลึกจากระดับภูมิภาค แล้วขยายไปสู่ระดับท้องถิ่น และระดับชาติ จึงมีความสำคัญยิ่ง เพราะในที่สุดแล้ว ระบบนี้จะก่อให้เกิดทั้ง cluster และ community ในเชิงนวัตกรรมที่เกื้อหนุนจุนเจือกันและกันในทุกระดับ This handbook is authored with the aims to enable comprehensive intra-organizational communication within the National Innovation Agency (Public Organization) (NIA) and to provide step-by-step instructions regarding the collaborative creation of a regional innovation system. The handbook is based on applied research supplemented by documentary and field research. Documentary research shows the viable regional innovation models upon which the Thai one draw. Field research utilizes focus group and in-depth interviews to gain insights about the existing NIA’s regional innovation projects. Key informants are the NIA officers in the headquarters and regional offices. Social Network and Network Governance are used as an analytical tool framing this handbook. Besides, the handbook has developed context-sensitive indicators and criteria for the assessment of a regional innovation system. The handbook calls attention to the role of the NIA as a system integrator in the effort to co-create a regional innovation system. To realize this role, The NIA has to connect regional dots, stimulate interactions among the dots and support the innovative endeavor of the dots. In parallel, The NIA must provide an interactive regional platform through which innovative dynamics can be fostered and added values to regional assets are created. Moreover, The NIA needs to empower those regional dots utilizing strategies and action plans which target regional innovators, innovation-based enterprises and entrepreneurs. With the NIA espousing the aforementioned approach, it is expected that a bottom-up national innovation system, which is based upon strong and deeply rooted regional innovation systems will emerge. In such a system, innovative clusters and communities will synergize and re-energize each other as well as the whole system.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectระบบนวัตกรรมภูมิภาคth
dc.subjectนิเวศนวัตกรรมth
dc.subjectเครือข่ายนวัตกรรมth
dc.subjectชุนนวัตกรรมth
dc.subjectย่านนวัตกรรมth
dc.subjectRegional Connectth
dc.subjectInnovation Ecosystemth
dc.subjectSocial Networkth
dc.subjectCommunitiesth
dc.titleการศึกษาแนวทางการดำเนินงานการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมระดับภูมิภาคของประเทศไทยth
dc.title.alternativeThe Study of Concept of Operation for Regional Innovation Eco-System in Thialandth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)th
cerif.cfProj-cfProjId2562A00742th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการวิจัยth
turac.researchSectorสาขาการพัฒนาเมือง (Urban Development sector : UD)th
turac.contributor.clientสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleการศึกษาแนวทางการดำเนินงานการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมระดับภูมิภาคของประเทศไทยth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record