Show simple item record

dc.contributor.authorทวิดา กมลเวชชth
dc.date.accessioned2020-05-26T07:42:42Z
dc.date.available2020-05-26T07:42:42Z
dc.date.issued2020-05-26
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/803
dc.description.abstractจากการสำรวจและทบทวนองค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรม ที่มีทั้งเนื้อหาในความพยายามสร้างเครือข่าย และในเนื้อหามุ่งเน้นเฉพาะนวัตกรรม จะพบความคล้ายคลึงกันในมิติของการพยายามที่จะสอนทักษะและเทคนิคของการสร้าง คือสร้างเครือข่ายและสร้างนวัตกรรม ซึ่งในลักษณะนี้นั้น เรากลับไม่พบในหลักสูตรการฝึกอบรมเครือข่ายนวัตกรรม กล่าวคือ การฝึกอบรมเครือข่ายนวัตกรรม มักจะเน้นเรื่องการคิด ทักษะการแปลงความคิด การสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยี การสร้างสิ่งใหม่ๆในการผลิต มากกว่าการเน้นทักษะเครือข่าย โดยคาดหวังให้การฝึกอบรมร่วมกันผ่านกิจกรรมต่างๆนั้น เป็นสิ่งที่สร้างเครือข่ายขึ้นได้เอง และคาดหวังให้มีการรักษาเครือข่ายและขยายเครือข่ายได้เอง ในอีกมิติหนึ่งนั้น คือเป็นเรื่องของเนื้อหาเฉพาะ จะพบว่า การฝึกอบรมเครือข่ายนั้น จะใช้ประเด็นสาธารณะเป็นกรณีศึกษาการเกิดขึ้นพัฒนา เติบโต และเสื่อมลงของเครือข่ายหนึ่งๆ มากกว่าการอบรมเนื้อหาเฉาะของบริบทและแก่นเครือข่ายชนิดนั้นๆ การอบรมลักษณะนี้มีข้อดีคือ มีระยะที่สั้นกว่า ทำให้มีผู้สนใจในการรับการฝึกอบรมจำนวนไม่น้อยแต่โดยส่วนใหญ่จะมีประโยชน์กับผู้เข้าอบรมภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐที่มีการกำหนดให้มีส่วนงานหรือตำแหน่งงานทางด้านการสร้างและพัฒนา ที่มีพื้นฐานทางเทคนิคด้านใดด้านหนึ่งอยู่แล้ว เพราะสามารถที่จะต่อยอดพื้นฐานเหล่านี้ในการคิดเชิงนวัตกรรมได้ และภาคส่วนเอกชนนั้นมีอิสระต่อการต่อยอดสิ่งที่ได้จากการฝึกอบรมสูงกว่าผู้ที่มาจากหน่วยงานภาครัฐ หลักสูตรจำเป็นต้องมีความเฉพาะด้านเลือกประเด็นที่ทุกภาคส่วนสามารถเห็นประโยชน์ และช่องทางในการดำเนินการนวัตกรรมดังกล่าวร่วมกันได้ จะทำให้การอบรมดังกล่าว มีสถานะดังเช่นพื้นที่ในการพบปะ พูดคุย ปรึกษาหารือ ร่วมคิดร่วมวางแผนในการดำเนินการร่วมกัน ทำให้เกิดความเหนี่ยวแน่นและต่อยอดเครือข่ายนวัตกรรมลักษณะนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน พร้อมกับมีผลผลิตที่ชัดเจนจากเครือข่ายในการอบรมสามเดือนนั้น นับว่าประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ สามารถผลิตข้อเสนอนโยบายในประเด็นสาธารณะใหม่ๆได้ถึง 5 ประเด็น คือ เรื่องกฎหมาย ความรุนแรงในเด็ก ผู้สูงอายุ ความเป็นไทย และคอรัปชั่น แต่ในขณะเดียวกันก็มีผลการประเมินที่ควรต้องนำไปปรับปรุงทั้งในมิติเนื้อหา วิธีการอบรม ผู้สนทนา และการคัดเลือกผู้เข้าร่วม รวมถึงวินัยในการอบรม แม้ว่าสิ่งที่น่าสนใจและมีผลสูงสุดในการฝึกการคิดแบบนวัตกรรม จะประสบความสำเร็วมาก คือการทำให้การอบรมครั้งนี้เปรียบเสมือนพื้นที่ทดลองการทำพื้นที่ออกแบบนโยบายร่วมกัน There are several attempts of the National Innovation Agency (NIA) of Thailand to create an ecosystem of Public-Private partnership in Innovation Communities, however quite not productive. This study of the design development of Public Private Chief Innovation Leaders is to research on variety of Innovation Trainings and Workshops, or degrees, offered by Universities, Academic Services Programs, and other Institutes, to develop a proper design of curriculum and pedagogy for new generation of innovation leaders. In addition, the curriculum is to aim for a creation of Public-Private Innovation Ecosystem based on the networks of all sectors. Based on the finding that most of the innovation trainings and workshop focus on introducing and practicing design thinking and foresight techniques for the trainees without time for dialogue exchange and policy design platform. This study, therefore, set 1) specific theme of innovation, not to content but goal, 2) providing foundation of innovative thinking, 3) utilizing experts dialogue as ideas universal, 4) making use of workshop as knowledge sharing and policy design platforms with innovation mentoring team, 5) Facilitating field trip to Estonia to study and understand how they create innovative ecosystem and digitalized governance, and 6) participants are to design plausible policy proposal for innovative output and outcome. Processes of participants’ and experts’ recruitments are also designed to utilize both NIA innovation ecosystem and network of public agencies from network of universities. On the one hand, participants are to be middle to high levels of management who have initiatives of innovation and change or are designated to accountable to innovations within their organizations. Skills in English and Technologies are required for the participants as well. On the other hand, experts who come for innovation and innovative initiative dialogue are to be real practitioners as well as academics who have been involved in policy based Innovations and solutions to work within or above bureaucratic limitations. 3 months of operational training for “Public Private Chief Innovation Leaders (PPCIL#1)”results in achievement of 5 policy proposals directing to the issues on Legalization, Bullying, Elders, Tourism Economy, and Corruptions. As the evaluation of the training reflects, there are several aspects to revise to the training design to its content, pedagogy, timeline and participants’ recruitment. By all means, the training itself is a sandbox for Policy Lab and Dialoging Platform.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectนวัตกรรมth
dc.subjectการอบรมเชิงปฏิบัติการth
dc.subjectความร่วมมือรัฐและเอกชนth
dc.subjectพื้นที่ทดลองth
dc.subjectนโยบายth
dc.subjectการออกแบบนโยบายth
dc.subjectยุทธศาสตร์th
dc.subjectInnovationth
dc.subjectPolicy Designth
dc.subjectSandboxth
dc.subjectOperational Trainingth
dc.subjectPublic Private Chiefth
dc.subjectInnovation Leadersth
dc.titleส่งเสริมความสามารถทางนวัตกรรม สำหรับกลุ่มผู้นำภาครัฐและเอกชน (DRIVE CONNECT) รุ่นที่ 1th
dc.title.alternativePubic-Private Leaders Innovation Capaciity Enhancementth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)th
cerif.cfProj-cfProjId2562A00389th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการวิจัยth
turac.researchSectorสาขาการบริหารและการพัฒนาองค์กร (Management and Institutional Development sector : MID)th
turac.contributor.clientสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleส่งเสริมความสามารถทางนวัตกรรม สำหรับกลุ่มผู้นำภาครัฐและเอกชน (DRIVE CONNECT) รุ่นที่ 1th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record