Show simple item record

dc.contributor.authorอุรุยา วีสกุลth
dc.date.accessioned2020-05-19T06:19:23Z
dc.date.available2020-05-19T06:19:23Z
dc.date.issued2020-05-19
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/798
dc.description.abstractการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) มีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาผิวทางพิเศษ โดยผิวทางพิเศษส่วนใหญ่เป็นแอสฟัลต์ คอนกรีตปูทับบนพื้นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กหรือปูบนสะพานเหล็ก และบางส่วนผิวทางพิเศษปูบนพื้นระดับดิน ในปี 2555 กทพ. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาจากสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริหารงานบำรุงทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยได้ทำการตรวจวัดค่าดัชนีความขรุขระสากล (IRI) ค่าร่องล้อ (Wheel Truck Rutting) ค่าความฝืดของพื้นทาง (Grip Number) รวมทั้งบันทึกภาพวีดีโอของพื้นทางพิเศษที่สำรวจทั้งหมดเพื่อใช้ประเมินความเสียหายของผิวทางพิเศษ พร้อมกับวิเคราะห์ข้อมูลสำรวจโดยใช้โปรแกรม Highway Development and Management-4 และจัดทำแผนบำรุงรักษาทางพิเศษที่เหมาะสมในระยะ 1-5 ปี รวมทั้งพัฒนาระบบฐานข้อมูลสภาพความเสียหายและฐานข้อมูลแผนการบำรุงรักษาของผิวจราจรบนทางพิเศษในรูปแบบสารสนเทศเชิงภูมิศาสตร์ (GIS) จากการดำเนินโครงการ สามารถวางแผนงานซ่อมแซมและบำรุงรักษาทางพิเศษในช่วงปี 2555-2560 อย่างเป็นระบบ เป็นไปตามหลักวิชาและสอดคล้องกับสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ของผิวทางพิเศษช่วยให้การสืบค้นและติดตามแผนและผลการดำเนินการเป็นไปด้วยความมีประสิทธิภาพ รวดเร็วสามารถจัดทำข้อเสนอว่าถนนช่วงใดควรได้รับการซ่อมบำรุงแบบใดและใช้งบประมาณเท่าไร ประกอบกับเทคโนโลยีของฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ที่พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมากทำให้ค่าดัชนีต่าง ๆ ที่แสดงในระบบฐานข้อมูลไม่เป็นปัจจุบันและไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลในการประเมินและวางแผนงานในอีก 10 ปีข้างหน้าได้ จากผลการศึกษาโครงการศึกษาและปรับปรุงระบบบริหารงานบำรุงทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลความเสียหาย วิเคราะห์ และวางแผนการซ่อมบำรุงระยะยาว 10 ปี โดยเรียงลำดับการซ่อมบำรุงตามค่า NVP เพื่อให้เกิดการใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยที่ปรึกษาพัฒนาระบบบริหารงานบำรุงทางพิเศษเพื่อเก็บและจัดระเบียบฐานข้อมูลความเสียหาย ตลอดจนข้อมูลทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับค่าพิกัด GPS เพื่อแสดงค่าดังกล่าวบนแผนที่ ซึ่งประโยชน์ที่การทางพิเศษจะได้รับจากโครงการดังกล่าว คือ การมีฐานข้อมูลกลางที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน เพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ ระบบบริหารงานบำรุงทางบำรุงทางพิเศษที่สามารถนำเข้าข้อมูลได้ตลอดเวลา วางแผนการซ่อมบำรุง พร้อมทั้งกำหนดลำดับความสำคัญในการซ่อมบำรุง โดยสามารถเรียกดูข้อมูลต่าง ๆ อาทิ ตำแหน่ง ค่าความเสียหาย ในรูปของ GIS ซึ่งเป็นการยกระดับการบริหารงานบำรุงทางให้มีมาตรฐานสากลเกิดการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะในส่วนของการพัฒนา Schematic map และ One-page Summary สำหรับผู้บริหารที่สามารถเข้าถึงข้อมูลความเสียหาย ข้อมูลทรัพย์สิน แผนการซ่อมบำรุง และงบประมาณได้ ในรูปแบบรายงานสรุป และสามารถนำไปใช้ประกอบการวางนโยบายในอนาคตได้ The Expressway Authority of Thailand (EXAT) is a state enterprise under the Ministry of Transport. It was founded in 1972, and operates Thailand's expressway system, which refers to (usually elevated) high-capacity controlled-access highways serving the Greater Bangkok area and some nearby provinces. Currently, it focuses on developing road maintenance management system, including the maintenance and budget plans, and highway asset management system in order to use its budget and available resources effectively. EXAT and Thammasat University through Thammasat University Research and Consultancy Institute (TURAC) corroborated in 2012 to collected pavement distress data including the International Roughness Index (IRI), rutting value (mm), skid resistance number, other pavement distress. The collected data allowed EXAT to effectively plan their maintenances from 2012 - 2017 by utilizing the Highway Development and Maintenance Management System (HDM4). EXAT and Thammasat University, through TURAC, has been working closely on this project to update the pavement distress values and conditions by utilizing highway survey vehicles that equipped with necessary and standard modular systems. In addition, database system and web based applications are developed for EXAT’s executives and users to manage and display the data and the proposed 10 year maintenance plan. In summary, this project initiated under the collaboration between EXAT and Thammasat university. They highway distress data are collected, stored and organized in the developed database system. Then they are used in the strategic maintenance analysis of HDM-4 software. The suggested 10 year maintenance plan for EXAT is also stored in the database system. The Highway Maintenance Management System is a web-based application that allows users to access data from any computer. The results of this project can be served as a guideline for EXAT authorities to effectively manage their maintenances and budgets. Furthermore, EXAT Executives can access to key indicator relevant to highway maintenance in the forms of schematic map display and one-page summary. These features allow the executives to better plan for short and long term policies.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectระบบบริหารงานบำรุงทางพิเศษth
dc.subjectการทางพิเศษแห่งประเทศไทยth
dc.titleศึกษาและปรับปรุงระบบบริหารงานบำรุงทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยth
dc.title.alternativeThe Study and Development of Expressway Authority of Thailand Maintenance Management Systemth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderการทางพิเศษแห่งประเทศไทยth
cerif.cfProj-cfProjId2562A00284th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการคมนาคมขนส่ง (Transportation sector : TR)th
turac.contributor.clientการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleศึกษาและปรับปรุงระบบบริหารงานบำรุงทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record