ศึกษา ออกแบบ และจัดทำขอบเขตของงานการจัดตั้งระบบชำระดุลส่วนกลาง (Central Clearing House CCH)
by อุรุยา วีสกุล
ศึกษา ออกแบบ และจัดทำขอบเขตของงานการจัดตั้งระบบชำระดุลส่วนกลาง (Central Clearing House CCH) | |
Central Clearing House : CCH | |
อุรุยา วีสกุล | |
2020-05-15 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่ในการช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหาจราจร โดยดำเนินการก่อสร้างทางพิเศษ บำรุงรักษาทางพิเศษ จัดดำเนินการหรือดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางพิเศษเพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วในการจราจรและการขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อให้ภารกิจหน้าที่ดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กทพ. จึงนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยสนับสนุนซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการสนับสนุนงานในทุกด้าน ทั้งในด้านการบริการประชาชน ด้านการบริหารจัดการและควบคุมทางพิเศษ ด้านการบริหารและการจัดการองค์กร โดย กทพ. ได้พัฒนาระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ (ETC) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ทางพิเศษ และเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการชำระค่าผ่านทาง โดยในการพัฒนาการให้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางรวมทั้งการให้บริการ อื่น ๆ ของ กทพ. นั้น จำเป็นต้องมีระบบชำระดุลส่วนกลาง (Central Clearing House System : CCH) เพื่อช่วยในการบริหารจัดการ รับ -ส่ง รวบรวม ประมวลผล และจัดเก็บข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นมาจากหลากหลายระบบและมีจำนวนมาก ทั้งจากระบบเก็บค่าผ่านทางแบบเงินสด (MTC) ระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ (ETC) และการให้บริการอื่น ๆ ของ กทพ. ตลอดจนระบบชำระดุลส่วนกลางจะช่วยในการจัดการชำระเงินระหว่างหน่วยงานโดยคำนวณดุลการหักบัญชีและชำระดุลบัญชี จัดการรายได้ รวบรวมสถิติและจัดทำรายงานเพื่อให้การดำเนินงานของ กทพ. รองรับการทำงานและการให้บริการรวมกับเทคโนโลยีปัจจุบันและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงควรมีการพัฒนาระบบชำระดุลส่วนกลางซึ่งสามารถตอบสนองการให้บริการจัดการวิเคราะห์ วางแผนและบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องศึกษาและออกแบบระบบชำระดุลส่วนกลาง เพื่อให้ กทพ. มีระบบชำระดุลส่วนกลางที่มีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการประชาชนได้ทันกับความต้องการ สนับสนุนข้อมูลการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของ กทพ. รวมทั้งสามารถให้บริการร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้ในอนาคต 1. วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการฯ มีดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสถานภาพปัจจุบันของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมประเมินทรัพยากรที่ใช้งานจริง และทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในอนาคต 2. เพื่อศึกษา ออกแบบ และจัดขอบเขตของงานการจัดตั้งระบบชำระดุลส่วนกลาง สำหรับใช้ในการจัดซื้อ/จัดจ้างระบบชำระดุลส่วนกลาง โดยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการพัฒนาระบบเก็บค่าผ่านทางของ กทพ. 3. เพื่อสนับสนุนในการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาทางเทคนิคของระบบชำระดุลส่วนกลาง 4. เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำการกำหนดโครงสร้างการทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบชำระดุลส่วนกลาง 2. เป้าหมาย เพื่อให้การบริหารจัดการระบบชำระดุลส่วนกลางของ กทพ. มีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการประชาชนได้ทันกับความต้องการ สนับสนุนข้อมูลการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของ กทพ. รวมทั้งสามารถให้บริการร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้ในอนาคต 3. วิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน - การศึกษาข้อมูลจากเอกสารการออกแบบระบบในปัจจุบัน - การจัดประชุม - การสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย - การสนทนา/ประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) - การสัมมนา/ประชุมเชิงปฏิบัติการ 4. ผลการศึกษาและการออกแบบ ภาพรวมของระบบชำระดุลส่วนกลาง ระบบชำระดุลส่วนกลางจะเชื่อมต่อกับระบบต่าง ๆ เบื้องต้น โดยระบบชำระดุลส่วนกลางจะรองรับข้อมูลการชำระเงิน (Transaction) จากการจ่ายค่าผ่านทางผ่านระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบเงินสด (MTC) และระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบอัตโนมัติ (ETC) ทั้งการชำระเงินจาก Easy Pass และ M-Pass โดยข้อมูลการชำระเงินที่ระบบชำระดุลส่วนกลางได้รับจะมาจากระบบประมวลผลกลาง (CS) ของ กทพ. และระบบประมวลผลกลาง (CS) ของกรมทางหลวง และรองรับการเชื่อมต่อเพื่อรับข้อมูลการชำระเงินจากระบบอื่นที่ กทพ. จะได้ขยายประเภทธุรกิจในอนาคต ระบบชำระดุลส่วนกลางจะเชื่อมต่อเพื่อรับส่งข้อมูลกับระบบ SAP ของ กทพ. เพื่อให้ระบบ SAP ของ กทพ. นำข้อมูลไปออกใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน และยังมีการเชื่อมต่อกับระบบธนาคารเพื่อการโอนเงินระหว่างบัญชี รายได้จากค่าผ่านทาง และบัญชีกรณีมีการเติมเงินผ่านระบบธนาคาร 5. กรอบแนวคิดพัฒนาธุรกิจ โครงการเสนอแนะแนวทางการดำเนินการระบบชำระดุลส่วนกลางของ กทพ. โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็น 3 ระยะซึ่งประกอบด้วย การดำเนินการระบบชำระดุลส่วนกลางระยะแรกสำหรับระบบการเก็บค่าผ่านทางพิเศษ โดยรวบรวมรายการทั้งหมดที่เกิดขึ้น ทั้ง MTC และ ETC การดำเนินการระบบชำระดุลส่วนกลางระยะกลางเป็นการดำเนินการเพื่อรองรับการชำระค่าผ่านทางพิเศษโดยการชำระเงินประเภทอื่น ๆ เช่น e-wallet หรือ EMV และการดำเนินการระบบชำระดุลส่วนกลางระยะยาวเป็นการดำเนินการเพื่อขยายการใช้งาน Easy Pass กับภาคธุรกิจอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การเก็บค่าผ่านทางพิเศษ โดยจะเริ่มจากภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับยานพาหนะ และธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกทพ. ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยแผนงานและระยะในการดำเนินงานสามารถแบ่งได้ตามระยะเวลาดังนี้ • ระยะแรก ภายในระยะเวลา 1 ปี • รวบรวมข้อมูล MTC & ETC • แบ่งรายได้, ตรวจสอบรายได้, กระทบยอด • การจัดตั้งมาตรฐานในการเชื่อมต่อ • ระยะกลาง ภายในระยะเวลา 2-3 ปี • รองรับการชำระค่าผ่านทางด้ายการชำระเงินประเภทอื่น ๆ • ระยะยาว ภายในระยะเวลา 3-5 ปี • ขยายการใช้งาน Easy Pass กับภาคธุรกิจ อื่น ๆ 6. ขอบเขตงานในโครงการจัดตั้งระบบชำระดุลส่วนกลางจะประกอบด้วยงานส่วนต่าง ๆ ดังนี้ - งานด้านการออกแบบระบบ การพัฒนาซอฟ์ตแวร์ และการทดสอบระบบ โดยการออกแบบระบบจะต้องออกแบบเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของระบบชำระดุลส่วนกลาง - การบูรณาการระบบชำระดุลส่วนกลางกับระบบประมวลผลกลางของ กทพ. (EXAT CS) ระบบประมวลผลกลางของกรมทางหลวง (DOH CS) ระบบ Tax Invoice ของ กทพ. และระบบธนาคาร - งานส่วนการบริหารโครงการ และการประสานงานกับหน่วยงานภายในของ กทพ. และหน่วยงานภายนอก เพื่อออกแบบและทดสอบระบบงานต่าง ๆ ที่มาเชื่อมต่อกับระบบชำระดุลส่วนกลาง - จัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จ (Third-party software) และ License รวมทั้งติดตั้งและทดสอบเพื่อให้ซอฟต์แวร์สำเร็จใช้งานกับระบบชำระดุลส่วนกลาง รวมทั้งงานบำรุงรักษาระบบจำนวน 2 ปี นับถัดจากวันที่ กทพ. รับมอบระบบ - ในส่วนงานพัฒนาโปรแกรมระบบชำระดุลส่วนกลางจะมีระยะเวลารับประกันความผิดพลาดของโปรแกรม (Defect Liability Period) เป็นระยะเวลา 2 ปี นับถัดจากวันที่ กทพ. รับมอบระบบ The Expressway Authority of Thailand (EXAT) is a state enterprise under the Ministry of Transport. EXAT has authorized in enterprise objective as to create or organize expressway in any way along with renovating and maintenance expressway and managing or involve with expressway and others concern that is related or beneficial to EXAT. Especially with the Greater Bangkok area and some nearby provinces, EXAT is planning to implement the Electronic Toll Collection System (ETC) to facilitate the customers with the improvement of fare collection system by using the information technology as a tool to support public service, management, expressway control, and organization management. Hence, the EXAT is required to have the Central Clearing House System (CCH) to improve the transfer, collection, and analysis of data management where the data are collected from various systems (i.e., Manual Toll Collection System the Manual Toll Collection System (MTC), Electronic Toll Collection System (ETC) and other related systems of EXAT). The CCH will also support the balance clearing calculation, balance settlement, revenue management, statistic collection, and reporting. To ensure that EXAT has complied with the current technology with higher efficiency, we recommend implementing the Central Clearing House (CCH) System to improve the services, management, analysis, and planning of the organization. Hence, it is recommended to study and design the CCH system for making sure the best outcome of the implementation. Respectively, we are expecting the greater service to support the growth of expressway usage and help with decision making for EXAT management and staff of EXAT as well as to support the cooperation with the other organizations in the future. 1. Purpose The purposes of the project consist of: 1. To study the current Information Technology structure and other systems related as well as to assess the current resource usage and the future resources needed. 2. To study, design, and provide the Term of Reference (TOR) for CCH implementation for the procurement process of the CCH and ensure that the CCH aligns with the development of the CS system. 3. To analyze the direction of the technical improvement of CCH. 4. To give a consultancy and suggestion to define the process structure related to CCH. 2. Goal To make sure the efficiency of CCH of EXAT, the faster services, the information for management and staff of EXAT, and the ability to expand the cooperation with other organizations in the future. 3. Methods and Procedures - To study data from the current system design - To organize the focus group meeting - Interviewing senior executives of the Expressway Authority of Thailand - To organize the Focus Group Meeting - To organize the workshop 4. Detailed study results and design Overview of the Central Clearing House System (CCH) Central Clearing House (CCH) will connect with various systems by Central Clearing House (CCH) will support payment information (Transaction) from toll payment via the Manual Toll Collection System (MTC) and Electronic Toll Collection System (ETC) for both payments from Easy Pass and M-Pass. The payment information that the payment system makes the central deficit received will be from EXAT's Central System (CS) and the Central System (CS) of the Department of Highways and supports connection to collect payment information from other systems that EXAT will expand business types in the future. The Central Clearing House (CCH) will connect to send and receive data with EXAT's SAP system so that EXAT's SAP system will bring the data to issue tax invoices, receipt and there is also a connection with the banking system for the transfer of funds between toll revenue accounts And accounts in case of top-up via bank system. 5. Business Development Conceptual Framework The project recommends the implementation of the EXAT’s the Central Clearing House (CCH) by dividing the development into 3 plans consisting of the short-term plan of the Central Clearing House (CCH) for expressway collection systems by compiling all transactions occurring in both MTC and ETC. The implementation of the Central Clearing House (CCH) medium-term plan is an operation to support expressway payments by other payment types such as e-wallet or EMV. For the payment system operations in the long-term plan is an operation to expand the use of Easy Pass with other business areas apart from toll collection. Which will start with the business related to vehicles and other current businesses related to EXAT. The plans and operational phases can be divided according to the period as follows • Short-term Plan within 1 year • Gather MTC & ETC information. • Settlement, revenue audit, reconcilement • Establishing connection standards • Medium-term Plan within 2-3 years • Supports payment via other payment types • Long-term Plan within 3-5 years • Expanding Easy Pass usage with other business arears |
|
ระบบชำระดุลส่วนกลาง
Central Clearing House CCH |
|
รายงานวิจัย | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้ | |
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/788 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|