Show simple item record

dc.contributor.authorกนกวรา พวงประยงค์th
dc.contributor.authorวีรบูรณ์ วิสารทสกุลth
dc.date.accessioned2020-05-05T06:21:50Z
dc.date.available2020-05-05T06:21:50Z
dc.date.issued2020-05-05
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/782
dc.description.abstractโครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving Unit) แบบมุ่งเป้าพื้นที่๑๐ จังหวัดยากจน ๑ พื้นที่เป้าหมาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจสังคมและศักยภาพของพื้นที่เป้าหมาย คัดเลือกพื้นที่และศึกษาปัญหาและความต้องการของ ๑ พื้นที่เป้าหมายเพื่อนำนวัตกรรมและความรู้ที่ทันสมัยพร้อมใช้งานได้จริงไปแก้ไขปัญหาในพื้นที่ รวมถึงศึกษากิจกรรมและข้อเสนอโครงการนวัตกรรมเพื่อสังคมจากองค์กรธุรกิจนวัตกรรมและนิติบุคคลต่าง ๆ ตลอดจนค้นหาทิศทางการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยมีระยะเวลาดำเนินงานรวม ๙ เดือน (๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๑ - ๒๔กันยายน ๒๕๖๒) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจสังคมและศักยภาพของพื้นที่จังหวัดยากจน ๒ พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่หมู่ ๔ บ้านแม่เหาะ ตำบลแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และพื้นที่ตำบลสงเปลือย อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้เกณฑ์ศักยภาพ ๖ ด้าน ในการพิจารณา ได้แก่ ๑) ภาพรวมของสถานการณ์ความยากจน ๒) ทุนทางกายภาพและทรัพยากรในพื้นที่ ๓) องค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ๔) ผลิตภัณฑ์ชุมชน ๕) ความร่วมมือของชาวบ้าน และ ๖) ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีเครือข่าย พบว่า พื้นที่ หมู่ ๔ บ้านแม่เหาะ มีความจำเป็นในการพัฒนาเพิ่มศักยภาพมากกว่าพื้นที่ตำบลสงเปลือย เพราะมีเอกลักษณ์เฉพาะทางภูมิศาสตร์ มีทุนทางทรัพยากร แต่ยังขาดการสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีและองค์ความรู้เพื่อการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชน ส่งผลให้การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์และบริการชุมชนยังไม่สัมฤทธิ์ผลและเท่าทันยุคสมัยเท่าที่ควร เมื่อทำการศึกษาปัญหาและความต้องการในเชิงลึกของชุมชน หมู่ ๔ บ้านแม่เหาะ และดำเนินกิจกรรมการออกแบบและพัฒนากระบวนการเชื่อมโยงหน่วยธุรกิจนวัตกรรมกับพื้นที่เป้าหมาย พบว่า มีโจทย์หลักที่ชุมชนมีความต้องการและมีความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาจำนวน ๒ โจทย์คือ การพัฒนาผลผลิตกาแฟ และการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมีสมมุติฐานอ้างอิงตามทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of change) ซึ่งภายหลังจากการดำเนินโครงการ ได้เกิดการเชื่อมต่อกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกับหน่วยงานหรือองค์กรธุรกิจนวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนให้สามารถนำองค์ความรู้ที่ทันสมัยไปพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์และบริการและคาดว่าเมื่อชุมชนได้นำนวัตกรรมจาก ๔ โครงการ ได้แก่ โครงการ Green route Good life เที่ยวแม่เหาะ ลัดเลาะชมวิถีกะเหรี่ยง โครงการ Sanuk@แม่เหาะ แอ่วเมืองสามหมอกด้วย Sanuk AR โครงการ แม่เหาะ 360 องศา แพลตฟอร์มท่องเที่ยวชุมชนแม่เหาะ และโครงการระบบลดความชื้นและการอบแห้งผลผลิตจากกาแฟแม่เหาะ ไปใช้แก้ไขปัญหาในพื้นที่ทั้งในด้านผลผลิตกาแฟและการท่องเที่ยวแล้วจะก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและแข่งขันในตลาดได้ สำหรับทิศทางการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมที่เหมาะสมกับพื้นที่เป้าหมาย จากการศึกษาพบว่าต้องดำเนินการเป็นกระบวนการโดยเริ่มต้นจากการคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย พิจารณาจากปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ศักยภาพของทรัพยากรในพื้นที่ ทุน ความรู้ การมีส่วนร่วมของชุมชน การตื่นรู้และความร่วมมือของประชาชนศักยภาพของคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ ความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีนักพัฒนาในพื้นที่ โดยจะต้องร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหรือคณะทำงานที่มีทักษะในการสำรวจพื้นที่ชุมชนเพื่อทำการศึกษาสถานการณ์ปัญหา ศักยภาพ และความต้องการของพื้นที่เป้าหมาย จนกระทั่งสกัดให้ได้มาซึ่งปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของพื้นที่เป้าหมายด้วยวิธีการสานเสวนาและการทำกระบวนการกับชุมชน เมื่อทราบถึงสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนแล้ว ขั้นตอนที่สำคัญต่อไป คือการสรรหาและคัดเลือกนวัตกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่เป้าหมายโดยผ่านกลไกของหน่วยงานผู้ให้ทุน (NIA) เช่น การจัดงานเสวนาเพื่อประชาสัมพันธ์และเชิญชวนผู้ที่มีผลงานนวัตกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ให้ได้รับทราบรายละเอียดของปัญหาในชุมชนและสมัครเข้ารับการคัดเลือกเพื่อนำเสนอผลงานนวัตกรรมต่อชุมชนและนำข้อคิดเห็นจากชุมชนไปปรับปรุงแก้ไขข้อเสนอโครงการนวัตกรรมเพื่อสังคมของตนเองให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทปัญหาที่แท้จริงของพื้นที่ สรุปได้ว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จของหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมในการเชื่อมโยงองค์กรธุรกิจนวัตกรรมกับชุมชนนั้น ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลัก 5 ประการ ได้แก่ คน (Man) เงิน (Money) วัสดุอุปกรณ์หรือทรัพยากรด้านกายภาพ (Material) วิธีการ (Method) และมิตรภาพ (Friendship) ปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักพัฒนาโครงการเพื่อสังคมยุคใหม่ควรให้ความสนใจและให้ความสำคัญ The Social Innovation Driving Unit focusing on 10 poorest provinces, one target area with the objective to study the situation of economic, social and potential of the target area, select the area and study the problems and the requirement of the target area in order to implement modern innovations and knowledge that are truly functional to solve problems in the area, including study activities and proposals for social innovation projects from innovative business organizations and various legal entities, as well as find the directions for the development of innovations for societies that are appropriate for the area. The operational process takes a total of 9 months duration (from 25th December 2018 to 24th September 2019) Regarding the results of comparative analysis the data on situation of economic, social and potential of the two poor provinces, namely the area of Moo 4, Ban Mae Ho, Mae Ho Subdistrict, Mae Sariang District, Maehongsorn province and the area of Songpluay Subdistrict, Kaowong District, Kalasin Province by using 6 aspects of potential criteria in consideration consisting of 1) Overall poverty situation 2) Physical capital and resources available in the area 3) Knowledge of technology 4) Community products 5) Cooperation of villagers and 6) Cooperation of local administrative organizations and associate networks, it was found that the area of Moo 4, Ban Mae Ho needed to be developed to increase its potential rather than the area of Songpluay Subdistrict, due to that area contains remarkable characteristics in geography and resources capital, but still lacking technology and knowledge support for developing and improving of community products and services. As a result, the creation of added value for community products and services is not yet effective and fashionable as it should be. According to our studying for the problems and the insight requirement of Moo 4 community in Ban Mae Ho and conducting the activities of designing and developing the process of linking the innovation business unit with the target area, it is found that there are two main issues that the community requires and urgent needs to be developed including Coffee Product Development and Community Tourism Development by using the hypothesis according to the Theory of Change. After the project has implemented, there is a connection between community enterprise groups and innovative business units or organizations to encourage the community enterprise entrepreneurs to apply modern knowledge to further develop and enhance their products and services. Furthermore, it is expected that when the community has implemented the innovations from 4 projects, namely Green Route Good Life Project – Travelling at Mae Ho and Exploring Karen’s way of live, Sanuk@Mae Ho Project – Visiting the Three Seasons Fog City with Sanuk AR, Mae Ho in 360-degree Project – Mae Ho Community Tourism Platform and the project of establishing a system for dehumidification and drying of coffee products in Mae Ho in order to solve problems in the area regarding coffee production and tourism, resulting in developing the new products and services which can create added value and compete in the market In regard to the direction of innovation development for society that is suitable for the target area, the research result is found that it must be conducting as a process, beginning with the selection of the target area, considering important factors such as the potential of resources in the area, available capital, knowledge, community participation, alertness and public collaboration, potential of the new generation living in the area, cooperation from local administrative organizations and associate developers in the area. There must be a cooperation of educational institutions or working groups with skills in surveying community areas in order to study situations, problems, potentials and requirement of the target areas until obtaining problems and truly needs of the target area by organizing a forum and performing operational procedures with the community. After being aware of the problems and the requirement of the community, the next important process is to recruit and select the proper innovations suit the target area through the mechanism of the fund founder (National Innovation Agency). For example, organizing public forum event and inviting people with innovative works appropriate for the area to realize the comprehensive problems in the community and apply for the selection to have the opportunity of presenting their innovative works to the community, including taking ideas deriving from the community to improve and propose their own social innovation project to suit the context of the real problems occurred in the community. Regarding to the success factors of the Social Innovation Driving Unit in connecting the innovation business organization with the community, it consists of 5 key factors, including Man, Money, Material, Method and Friendship. These factors are the matters that the project developers of creating a new society should pay attention and give precedence to.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectนวัตกรรมเพื่อสังคมth
dc.subjectจังหวัดยากจนth
dc.subjectSocial Innovationth
dc.subjectpoor provincesth
dc.titleหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving unit) แบบมุ่งเป้า พื้นที่ 10 จังหวัดยากจน 1 พื้นที่เป้าหมายth
dc.title.alternativeSocial Innovation Driving Unit Focus on 10 Poorest provinces, 1 Target Areath
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)th
cerif.cfProj-cfProjId2562A00197th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous sector : MS)th
turac.contributor.clientสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving unit) แบบมุ่งเป้า พื้นที่ 10 จังหวัดยากจน 1 พื้นที่เป้าหมายth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record