Show simple item record

dc.contributor.authorชานนท์ โกมลมาลย์th
dc.date.accessioned2020-04-14T06:36:33Z
dc.date.available2020-04-14T06:36:33Z
dc.date.issued2020-04-14
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/767
dc.description.abstractรายงานสถานการณ์การพัฒนาเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2561 นำเสนอสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมสถานการณ์ที่สำคัญในช่วง พ.ศ. 2559-2561 เพื่อเปรียบเทียบสถานการณ์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาเด็กและเยาวชนซึ่งจะนำไปสู่การวิเคราะห์และวางแผนงานด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนได้ สามารถสรุปผลที่ปรากฏในรายงานฉบับนี้ได้ดังนี้ สถานการณ์เด็กและเยาวชน ประกอบไปด้วย ประชากรเด็กและเยาวชนในปี พ.ศ. 2561 พบว่า มีแนวโน้มลดลงจากช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยลดลง 319,021 คนและการกระจุกตัวการเกิดของเด็กอยู่ในภาคกลางมากที่สุดเป็นอันดับแรก จำนวน 7,241,359 คน สำหรับบริบทที่ส่งผลต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนมีทั้งจากนโยบายในระดับสากล คือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) และนโยบายในระดับชาติ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 กองทุนความเสมอภาคทางการศึกษา เป็นต้น แม้ว่านโยบายและกฎหมายบางฉบับจะเกิดขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2561 แต่สามารถนำมาวิเคราะห์ผลสืบเนื่องในการพัฒนาเด็กและเยาวชนได้ นอกจากนี้แล้วยังพบว่าสถานการณ์ทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนเช่นเดียวกัน ประกอบด้วย สถานการณ์ทางด้านเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ สถานการณ์ผู้สูงวัย สถานการณ์ด้านการพนันออนไลน์และเกมออนไลน์ สถานการณ์การค้ามนุษย์และการใช้แรงงานเด็ก สถานการณ์เด็กที่ถูกกระทำความรุนแรงและละเมิด และสถานการณ์ด้านความร่วมมือขอองค์กรเครือข่ายเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน กรณีโครงการมหัศจรรย์พันวัน และกรณีความร่วมมือช่วยเหลือนักฟุตบอลเยาวชน 13 คน ที่ถ้ำหลวง จังหวัดเชียงราย สถานการณ์การอุ้มบุญผิดกฎหมาย ด้านข้อมูลสภาพการณ์และแนวโน้มของปัญหาเด็กและเยาวชนและผลการดำเนินการ แนวทางแก้ไขปัญหาการพัฒนาเด็กและเยาวชน พบว่า สถานการณ์ช่วงปฏิสนธิถึงอายุสองปีสถานการณ์ด้านการฝากครรภ์มีแนวโน้มดีขึ้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีแนวโน้มที่ไม่ที่คงที่ การได้รับไอโอดีนที่ส่งผลต่อการพัฒนาของเด็กยังคงมีแนวโน้มที่ไม่คงที่ ประเด็นทารกน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ประเด็นอัตราการตายของมารดามีแนวโน้มลดลง การได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ในช่วงอายุแรกเกิดถึงสามปีมีแนวโน้มดีขึ้น หากพิจารณาจากข้อมูลทั้งหมด พบว่าการดำเนินงานเพื่อพัฒนาเด็กในช่วงวัยนี้เริ่มมีการดำเนินงานประเด็นการเลี้ยงดูลูกด้วยนมแม่มีแนวโน้มดีขึ้นในทุกปี โดยมีภาครัฐและภาคเอกชนให้ความร่วมมือผ่านการประชาสัมพันธ์และการดำเนินงานจากภาคีในหลายภาคส่วน เช่น บริษัทขนส่งมวลชนให้ความร่วมมือบริการส่งนมแช่แข็งโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย การจัดทำโครงการจากภาคประชาสังคม เป็นต้น ข้อมูลเด็กช่วงปฐมวัย 3-5 ปี ด้านพัฒนาการสมวัย พบว่าร้อยละ 96.59 มีพัฒนาการสมวัยซึ่งบรรลุเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในทุกปี สำหรับการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์นั้นในช่วงอายุแรกเกิดจนถึงสามปีได้รับวัคซีนมีแนวโน้มที่ไม่แน่นอน ในขณะที่เด็กอายุครบ 5 ปีที่ได้รับวัคซีนกลับมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในทุกปี ด้านการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยมีแนวโน้มที่ไม่แน่นอนและไม่บรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ ด้านสุขภาวะช่องปากของเด็กอายุสามปีไม่มีฟันผุพบว่าบรรลุตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้เช่นเดียวกันและมีแนวโน้มดีขึ้นในทุกปี ด้านสถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก พบว่าเด็กที่มีอายุ 1-2 ปีป่วยมากที่สุด และมักจะป่วยในช่วงเปิดเทอมจนถึงฤดูฝนแต่ในปี พ.ศ. 2561 ยังไม่พบเด็กที่เสียชีวิตจากโรคมือเท้าปาก การดำเนินงานที่ผ่านมาเพื่อพัฒนาเด็กในช่วงวัยนี้ แบ่งเป็นการดำเนินงานและการสนับสนุนภาควิชาการพบว่ามีการสนับสนุนพัฒนาการด้านวิชาการจากภาครัฐและภาคประชาสังคม โดยเฉพาะด้านการพัฒนาบุคลากรในชุมชนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก และสนับสนุนส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ใช้สมุดสีชมพูเป็นเครื่องมือในการดูแลสุขภาพของตนเองและลูกที่น่าสนใจมากยิ่งไปกว่านั้นคือการส่งเสริมด้านการมีส่วนร่วมของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้เข้าร่วมนโยบายการยกระดับคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ข้อมูลเด็กช่วงวัย 6-12 ปี พบว่า พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์แม้ว่าจะมีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติแต่ยังคงต่ำกว่ามาตรฐานสากล แต่ผลการศึกษาขั้นพื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีในรายวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางด้านการศึกษาซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของปัจจัยย่อยในปัจจัยหลักด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทยมีอันดับด้านการศึกษาอยู่ในอันดับที่ 56 ลดลง 2 อันดับเมื่อเปรียบเทียบกับ ปี พ.ศ. 2560 หากเปรียบเทียบกับประเทศ ในภูมิภาคอาเซียน พบว่า ไทยมีอันดับดีกว่าอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ (อันดับ 57,61) ส่วนมาเลเซียและสิงคโปร์ได้อันดับดีกว่าไทย จากการสำรวจระดับสติปัญญาของเด็กไทยที่มีต้นทุนทางพัฒนาการต่ำนั้นพบว่ามีค่าเฉลี่ยของสติปัญญาเท่ากับ 94.73 ซึ่งยังคงมีแนวโน้มที่ไม่คงที่เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2554 และ ปี พ.ศ. 2559 นอกจากนี้ข้อมูลที่น่าสนใจคืออัตราการจมน้ำของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปีมีจำนวนลดลงจากปี พ.ศ. 2560 จำนวน 36 คน การเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะสูงดีสมส่วนมีแนวโน้มที่ไม่แน่นอน การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาของเด็กในวัยนี้ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายและความร่วมมือในระดับชุมชนหรือองค์กรท้องถิ่น สถานการณ์เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจน การสำรวจของกองทุนเสมอภาคเพื่อการศึกษาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้สำรวจสถานะนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษ ปี พ.ศ. 2561 โดยการใช้เกณฑ์วัดกรองนักเรียนยากจนด้วยวิธีการวัดจากรายได้ทางอ้อม (Proxy Mean Test) พบว่ามีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองที่มีรายได้ครัวเรือนน้อยกว่า 3,000 บาทต่อคน/เดือน มีภาระพึ่งพิงและอาศัยในบ้านทรุดโทรม ไม่มียานพาหนะ บางส่วนประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรไม่มีที่ดินทำกิน รวมทั้งหมด 1,696,433 คน แม้ว่านักเรียนยากจนและนักเรียนยากจนพิเศษจะได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ. ในรูปแบบของการจัดสรรเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานจากนักเรียนที่ยากจนแต่ยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการและเงินที่สนับสนุนนั้นยังคงน้อยกว่าค่าครองชีพ สำหรับผลการดำเนินการและการแก้ไขปัญหานั้นส่วนใหญ่ข้อมูลมักจะมุ่งเน้นไปที่ด้านพัฒนาการทางสติปัญญา พัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านอารมณ์ และพัฒนาการด้านการศึกษาข้อมูลช่วงวัย 13-17 ปี พบว่า สถานการณ์ด้านการใช้อินเตอร์เน็ตและสื่อออนไลน์ได้รับความสนใจมากและมีแนวโน้มว่าเด็กวัยนี้จะมีพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตและสื่อออนไลน์มากขึ้นโดยเฉพาะเพื่อความบันเทิง เมื่อเด็กวัยนี้สามารถเข้าถึงสื่ออินเตอร์เน็ตมากขึ้นจึงส่งผลไปยังปัญหาการติดเกมออนไลน์และเข้ารับการรักษาโรคติดเกมมากเป็นอันดับสามรองจากโรคสมาธิสั้นซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2559 ถึงหกเท่าตัว จากการวิเคราะห์สถานการณ์ของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่ามีเด็กป่วยโรคติดเกมรายใหม่เข้ามารักษาตัว 129 ราย ในขณะที่ปัญหาการพนันจากรายงานสถานการณ์การเล่นพนันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและผลกระทบ สำรวจจากกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น คือระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้งหมด 3,470 ตัวอย่าง พบว่า เด็กและเยาวชนรู้จักการเล่นพนันจากคนในครอบครัวมากเป็นอันดับแรกและในการศึกษาเดียวกันยังได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเล่นการพนันครั้งแรกของเด็กระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า ช่วงอายุระหว่าง 10-12 ปีมากที่สุด เช่นเดียวกับปัญหาการติดยาเสพติดพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจำนวนมากซึ่งจากข้อมูลของสถานบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดบรมราชชนนีมีผู้เข้ามารักษาและบำบัดยาเสพติดเป็นวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 0-14 ปี จำนวน 78 ราย อายุ 15-19 ปี จำนวน 772 รายและอายุ 20-24 ปีจำนวน 1,116 ราย แม้ว่าปัญหาที่ดังที่กล่าวไปข้างต้นจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นและการตั้งครรภ์ซ้ำกลับมีแนวโน้มลดลง สำหรับสถานการณ์การศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษาพบว่า จำนวนนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาทั่วประเทศเข้าศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษามีจำนวนน้อยกว่านักเรียนที่ศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายคิดเป็นอัตราส่วน 40:60 โดยประมาณมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นผลมาจากการที่ผู้ปกครองไม่ต้องการให้บุตรหลานของตนเองเข้าเรียนในสายอาชีวศึกษา สืบเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ภาพลักษณ์ของนักศึกษาอาชีวศึกษา การที่ไม่ทราบรายละเอียดของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาที่มีการศึกษาในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงจนถึงระดับปริญญาสายปฏิบัติการซึ่งเป็นกลุ่มที่ตลาดแรงงานมีความต้องการสูงมากเนื่องจากมีความรู้ทั้งทางด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติควบคู่กันไป สุดท้ายคือสถานการณ์เด็กนอกระบบการศึกษาด้านการการสำรวจของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (2561) ได้สำรวจข้อมูลตามโครงการแก้ปัญหาประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษาในระบบฐานข้อมูลทั้งหมดจากการสำรวจพบว่ามีเด็กปกติที่ไม่เข้าเรียน จำนวน 95,473 คน เด็กพิการที่ไม่ได้เข้าเรียน จำนวน 24,331 คน และกลุ่มเด็กที่ออกจากระบบการศึกษากลางคัน จำนวน 81,904 คน ดำเนินงานและการแก้ไขปัญหายังคงมุ่งเน้นไปที่การเฝ้าระวังและการให้ความรู้โดยการสอดแทรกทักษะชีวิตแต่ยังไม่มีการบูรณาการหรือมีแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการของภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากนัก ข้อมูลช่วงเยาวชนวัย 18-25 ปี ด้านความต้องการในการพัฒนาขีดความสามารถจากประชากรวัยแรงงานทั้งหมดมีผู้ต้องการพัฒนาขีดความสามารถประมาณสี่ล้านคนแต่เมื่อพิจารณาข้อมูลย้อนหลังกลับพบว่าผู้ที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถนั้นมีแนวโน้มไม่แน่นอน นอกจากนี้ยังมีผลการสำรวจการมีงานทำของเยาวชน พบว่าอัตราการว่างของของเด็กและเยาวชนนั้นมีแนวโน้มลดลง แต่หากวิเคราะห์ไปถึงความต้องการในการเพิ่มศักยภาพด้านการทำงานกลับพบว่าเด็กและเยาวชนในวัยนี้ไม่ต้องการพัฒนาศักยภาพเป็นส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่งมาจากไม่มีเวลาและการพัฒนาศักยภาพนั้นยังไม่ตรงกับความต้องการของเด็กและเยาวชน ด้านปัญหาการสูบบุหรี่มีแนวโน้มลดลงทุกปีและค่าเฉลี่ยอายุของผู้ที่สูบบุหรี่มีค่าเฉลี่ยอายุที่สูงขึ้นจากอายุเฉลี่ย 17.8 ปี กลายมาเป็นอายุเฉลี่ย 18 ปี ซึ่งปัญหาการดื่มสุรายังมีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกันแต่การเข้าถึงการจำหน่ายและซื้อสุรากลับมีช่วงอายุที่น้อยลง ในขณะที่ปัญหาการแข่งรถในทางกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้แสดงข้อมูลผลการดำเนินการมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแข่งขันรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในทาง (ตุลาคม 2559 - เมษายน 2562) นั้นได้มีการดำเนินคดีกับเด็กที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมและเสี่ยงต่อการกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 จำนวน 1,421 ราย ดำเนินการว่ากล่าวตักเตือนเด็กและเยาวชน จำนวน 1,028 ราย และทำทัณฑ์บนกับเด็กและเยาวชน สุดท้ายคือปัญหาการทะเลาะวิวาทจากการสำรวจของคณะกรรมการอำนวยการศูนย์อำนวยการประสานกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พบว่า มีแนวโน้มลดลงจากปี พ.ศ. 2560 หากนับจากจำนวนของผู้ทะเลาะวิวาทที่รับแจ้งและผู้ต้องหาในขณะที่อัตราการของที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตก็ลดลงเช่นเดียวกัน จากข้อมูลของเยาวชนในวัยนี้ พบว่า การดำเนินงานเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาของเด็กและเยาวชนวัยนี้ยังขาดประเภทข้อมูลความต้องการในการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ข้อมูลแหล่งทุนการศึกษาและข้อมูลด้านการมีส่วนร่วมของเยาวชนที่จะช่วยให้เห็นถึงความต้องการของเยาวชนได้อย่างแท้จริงมากขึ้น สำหรับประเด็นเด็กและเยาวชนที่มีความต้องการคุ้มครองเป็นพิเศษ จากข้อมูลพบว่าเด็กกลุ่มต่าง ๆ ประกอบด้วย เด็กและเยาวชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2547-2561 พบว่ามีเด็กและเยาวชนเด็กเสียชีวิตจากเหตุความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนทั้งสิ้น 238 คน แต่อย่างไรก็ตามมีการดำเนินงานแก้ไขปัญหาจากภาครัฐโดยการบูรณาการความร่วมมือในการปฏิบัติงานและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่เข้าถึงสวัสดิการทางสังคม เช่น สวัสดิการการศึกษา โครงการอุดหนุนเงินเด็กแรกเกิด เป็นต้น และจากข้อมูลพบว่าเด็กและเยาวชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีเด็กและเยาวชนเสียชีวิตและสูญเสียบิดามารดาจากสถานการณ์ความไม่สงบ เด็กบางส่วนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางสังคม เช่น การแต่งงานเมื่อไม่พร้อมเนื่องจากการบังคับของบิดามารดา ในขณะที่สถานการณ์เด็กที่กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมจากการสำรวจของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พบว่า มีแนวโน้มที่ลดลง ในขณะที่สถานการณ์เด็กและเยาวชนที่มีความพิการนั้นพบว่าจำนวนของเยาวชนพิการในช่วงอายุ 15-21 ปี มีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคืออายุ 6-14 ปี และลำดับสุดท้ายคือช่วงอายุ 0-5 ปี และกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มเด็กที่กระทำความผิดและเด็กที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมยอดสะสมเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ จากการสำรวจของระบบงานคดีอาญา (2561) พบว่ามียอดสะสมเด็กและเยาวชนในสถานพินิจทั้งหมด 17,705 คน แบ่งเป็น เพศชาย จำนวน 16,313 คน และเพศหญิง จำนวน 1,391 คน ซึ่งหากเปรียบเทียบในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ถือว่ามีแนวโน้มลดลง ข้อมูลของเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษพบว่าภาครัฐ เอกชนและภาคประชาสังคมให้การสนับสนุนกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษเพิ่มขึ้น เช่น การสนับสนุนด้านวิชาการ การสนับสนุนด้านศิลปะ การสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น แต่การเก็บข้อมูลยังคงไม่มีหน่วยงานกลางหรือองค์กรใดเข้ามาดำเนินการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบส่งผลให้ข้อมูลของเด็กที่มีความสามารถพิเศษไม่มีความชัดเจนส่งผลต่อการคาดการณ์แนวโน้มและการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ในอนาคต ที่สำคัญคือแม้ว่าจะมีการสนุนกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษแต่กลับไม่มีข้อมูลปรากฏที่เกี่ยวกับการส่งเสริมหลักสูตรการพัฒนาบุคคลที่อยู่รอบข้างตัวเด็กที่มีความสามารถพิเศษ เช่น การดำเนินงานเพื่อพัฒนาครูหรือพัฒนาพ่อแม่ทั้งในระบบในโรงเรียนและที่บ้าน ข้อมูลด้านการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการพัฒนาเด็กและเยาวชน พบว่าในช่วงสามปีที่ผ่านมาสภาเด็กและเยาวชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินการทั้งภาคส่วนนโยบายและดำเนินการเชิงปฏิบัติการเชิงพื้นที่โดยมีองค์กรท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ส่วนใหญ่แล้วการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนเป็นการเสริมสร้างความรู้และดำเนินงานด้านโครงการพัฒนาศักยภาพของเด็กในพื้นที่ต่าง ๆ การดำเนินการจะเป็นรายประเด็นและปัญหาในเชิงพื้นที่ เช่น โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสางเสริมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพของสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับจิตอาสา โครงการหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมการรู้เท่าทันเรื่องเพศ และโครงการหรือกิจกรรมที่ดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ แต่ยังไม่มีการดำเนินการด้านการวิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมการเรียนรู้แบบใหม่ ปัญหาการดำเนินการของสภาเด็กและเยาวชในทุกระดับนั้นมาจากรูปแบบการบริหารจัดการและการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรมทำให้สภาเด็กและเยาวชน ประเด็นสำคัญคือสภาเด็กและเยาวชนเข้าไปมีส่วนร่วมในระดับนโยบายมากขึ้นในปี พ.ศ. 2561 สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ร่วมกับกรมกิจการเด็กและเยาวชน และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ประเทศไทย ได้ร่วมกันพัฒนามติสมัชชาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2561 โดยมีขอบเขตในการพิจารณา 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 การศึกษา และประเด็นที่ 2 ทักษะชีวิตและวางแผนครอบครัว โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นสภาเด็กและเยาวชน รวมถึงเครือข่ายเด็กและเยาวชนจากทั่วประเทศประมาณ 150 คน จากนั้นจึงเปิดโอกาสให้สภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด รวมถึงเครือข่ายเด็กและเยาวชนได้ร่วมกันพัฒนามติสมัชชาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย มิใช่เพียงในระดับนโยบายเท่านั้นที่สภาเด็กและเยาวชนเข้าไปมส่วนร่วมแต่ยังหมายรวมไปถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมในระดับปฏิบัติการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2560 ของสภาเด็กและเยาวชนระดับประเทศและระดับจังหวัดยังคงมีส่วนร่วมด้านการปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่น โครงการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะโดยการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน : กรณีศึกษานำร่องสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด ดำเนินการโดยคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนและแกนนำเยาวชนต่อการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางสังคมในการแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่และจังหวัด และเพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่ายแกนนำเยาวชนสภาเด็กและเยาวชนและคนทำงานด้านพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ โครงการได้สนับสนุนให้เกิดโครงการย่อยในระดับพื้นที่ซึ่งดำเนินงานโดยสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัดที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพผ่านหลักสูตรการอบรมของโครงการ และเพื่อให้สภาเด็กและเยาวชนสามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินงานเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนในปี พ.ศ. 2561 มีประเด็นเครือข่ายด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนเริ่มมีนโยบายและเข้ามามีส่วนร่วมการพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่มากขึ้นโดยมีการจัดทำยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงาน ส่วนใหญ่แล้วการดำเนินงานในช่วงปี พ.ศ. 2561 เน้นทักษะด้านการศึกษาและสร้างกระบวนการเรียนรู้และมีบางส่วนที่เน้นโครงการสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนและเด็กและเยาวชน จากการรวบรวมเครือข่ายเด็กและเยาวชนในพื้นที่ของสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พบว่า มีหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายเด็กและเยาวชน จำนวน 19 องค์กร แบ่งกิจกรรมออกได้ทั้งหมด 4 ประเภท ประกอบไปด้วย ประเภทกิจกรรมสร้างสรรค์ ประเภทภาวะโภชนาการและอาหาร ประเภทดนตรีและการแสดง และประเภทการพัฒนาทักษะชีวิตนอกจากนี้ยังพบว่า เด็กและเยาวชนเริ่มมีบทบาทในเวทีอาเซียนและระดับนานาชาติเพิ่มมากขึ้นทั้งในด้านของการเป็นตัวแทนเข้าร่วม การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การประกวดสิ่งประดิษฐ์ หรือแม้แต่การแข่งขันด้านความสามารถทางวิชาการในเวทีระดับนานาชาติ บทบาทและผลการดำเนินงานขององค์กรภาครัฐต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน พบว่า องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านเด็กและเยาวชนในพื้นที่มากขึ้นโดยเฉพาะด้านการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในพื้นที่ สำหรับประเด็นด้านการดำเนินงานในการพัฒนาเด็กและเยาวชนขององค์กรพัฒนาเอกชนและภาคธุรกิจ พบว่า ประเด็นการทำงานขององค์กรเอกชนซึ่งมีการสำรวจทั้งหมด 95 องค์กร นั้นมีประเด็นหลักในการดำเนินงานคือการส่งเสริมนันทนาการ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญหา รองลงมาคือการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม ในด้านแนวทางการดำเนินงานขององค์กรเอกชนพบว่าเป็นการพัฒนาศักยภาพมากที่สุด รองลงมาคือการสนับสนุนการมีส่วนร่วม ในขณะที่กลุ่มเป้าหมายการดำเนินงานคือกลุ่มเด็กอายุ 0-18 ปี ด้านปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานนั้นมีตั้งแต่ระดับนโยบายไปจนถึงระดับกลไกแวดล้อม สำหรับการสนับสนุนงานพัฒนาเด็กและเยาวชนของภาคธุรกิจ จากการสำรวจบริษัทที่ให้ข้อมูล 70 แห่ง พบว่า ประเด็นที่ให้การสนับสนุนมากที่สุดคือการส่งเสริมการศึกษา รองลงมาคือการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจโดยให้เหตุผลของการสนับสนุนคือการคืนกำไรสู่สังคมและรับผิดชอบต่อสังคม รองลงมสาคือผู้บริหารให้ความสนใจ ในขณะเดียวกันการดำเนินงานของภาควิชาการยังคงถือว่ามีส่วนสำคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยมีสถาบันวิชาการที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว สถาบันวิจัยประชากรและสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีบทบาทของสื่อที่เห็นได้ชัดในช่วงปี พ.ศ. 2561 คือบทบาทของสื่อที่มีส่วนในการเฝ้าระวังและสร้างเสริมเด็กและเยาวชนให้มีการรู้เท่าทันสื่อ เช่น มูลนิธิอินเตอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สมาคมวิทยุเพื่อเด็กและเยาวชน รวมไปถึงบทบาทของอาสาสมัครและภาคประชาสังคมที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและเยาวชนด้วยเช่นเดียวกันโดยเฉพาะกลุ่มอาสาสมัครที่มีประสบการณ์ในการทำงานกับเด็กและเยาวชน สุดท้ายคือด้านงบประมาณเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน พบว่ารัฐบาลมีการกำหนดวงเงินงบประมาณเพิ่มสูงขึ้นทุกปีและยังมีการตั้งตั้งหน่วยงานใหม่เพิ่มขึ้น 1 หน่วยงาน และ 2 กองทุน คือ สำนักคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย และกองทุนพรรคการเมือง ซึ่งถือว่าเป็นภาระผูกพันที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายบุคคลของรัฐซึ่งจะเพิ่มขึ้นในอนาคต ด้านหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณสูงสุดคือ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม และกระทรวงคมนาคมตามลำดับ ในขณะที่หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณต่ำที่สุดสี่ลำดับแรก คือ กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำหรับงบประมาณการดำเนินงานของภาคเอกชนและภาคธุรกิจนั้นพบว่าจากวิกฤติทางเศรษฐกิจส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างจากการสำรวจอุดหนุนเงินด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนน้อยลง Children and Youth Development Situation Report 2018 presented situations related to children and youth development occurring in 2018. The report aimed to accumulate every significant situation happening in 2016-2018 to compare to conditions and trends of children and youth development that would further lead to the children and youth development analysis and planning. The critical summaries of this report included; Children and youth situations consisted of the population of children and youth in 2018 tended to reduce from the last two years (319,021 persons). The highest birth concentration was in the central region (7,241,359 persons). Several factors frame the children and youth development policy in Thailand, such as Sustainable Development Goals (SDGs), 20-year National Strategies and National Children and youth Development Plan 2017-2021 and Education Equality Fund (EEF), etc. Although some policies and regulations had been launched before 2018, it could assist in analyzing the consequence of children and youth development. Besides, social factor generated significant impact to children and youth development, for instance, technological and Artificial Intelligence (AI) situations, aging society, online gambling and games, human trafficking and child labor, child exploitation and abuse, and collaboration of children and youth development network including 1000-day miracle project (โครงการมหัศจรรย์พันวัน), collaboration to help 13 youth football players from the Tham Luang Cave in Chiangrai Province, as well as illegal surrogacy situation. In terms of situations and trends of children and youth problems and solutions, it was found that the situations from the fertilization period to two years old in particular, the antenatal care situation tended to be improved. Unlike the antenatal care, the trend of breastfeeding and iodine intake that would affect child development was unstable. Some improvements were noticeable in the low-birth-weight infants, maternal mortality rate, and the completion of vaccination among children from zero to three years old. According to gathered information, the implementation of the breastfeeding campaign had been improved every year. That should be due to the collaboration between the private and government sectors. Many stakeholders involving in the public relation and advertisement of breastfeeding campaigns, such as the shipping companies that agreed to deliver the frozen breast milk free of charge, etc. Civil society organizations also supported the breastfeeding campaign. The information of 3-5-years-old children showed that 96.59% of them achieved the childhood development standard as required by the Ministry of Public Health (MOPH). The trend of childhood development improved every year. However, the pattern of vaccination completion among children from zero to three years old was unstable, while the direction of vaccination completion among 5-years-old children was higher every year. The trend of early childhood growth was unstable and unable to meet the standard as determined by MOPH. The dental health of 3-years-old children could meet the standard of MOPH, such as no dental caries found, and tends to get improved every year. 1-2-years-old children found to get sick by Hand, Foot, and Mouth Diseases (HFMD) the most, especially from the beginning of the semester to the rainy season. No death reported in 2018. The government agencies and civil society organizations supported the academic development of children aged 1-2 years, in particular, by providing communities human resources to support child development. The support was also offered to pregnant women by giving them a pink book as health guidance for them to take care of themselves and unborn babies. More interestingly, the Department of Local Administration was encouraged to participate in the policy to enhance the quality of early childhood development centers. Although the emotional and intellectual development of 6-12-years-old children was normal, it was lower than the international standard. The school performance of them tended to increase in primary level, including Thai Language, Math, Science, and English. Thailand was ranked 56th of the educational competitiveness, which was down two positions compared to 2017. Among the ASEAN region, Thailand was ranked better than Indonesia and the Philippines (57th and 61st, respectively), while the rank of Malaysia and Singapore was better than Thailand. The educational competitiveness was one of five main infrastructure factors. According to the survey on the intelligence level of Thai children lacking development resources, the average intelligence level was equal to 94.73, which tended to be unstable compared to 2011 and 2016. Additionally, the rate of <15-years-old child drowning death in Thailand was 36 persons lower than the rate in 2017. The growth of school-age children met the standard while its tendency was unstable, while communities and local organizations worked together to make the situation better. EEF and Office of the Basic Education Commission (OBEC) surveyed to study the situation of children in poor and impoverished families in 2018 by using Proxy Mean Test. The survey finding showed that 1,696,433 students passing the Proxy Mean Test came from families with less than 3,000 THB/person/month. Their households had dependable family members. The surveyed children were living in a dilapidated house, without proper vehicles. Some of the surveyed families were agriculturists who do not have land. Although children coming from poor and destitute families access the financial subsidies provided by OBEC to support the original learning materials, it was not enough and given subsidies were lower than the minimum cost of living. The recommended solutions towards the problems, as mentioned above, were to enhance intelligence, physical, emotional, and educational development. 13-17-years-old youth were interested in internet surfing and online media using, especially for entertainment purposes. They could access the internet very easily, and they were addicted to online games. The youth receiving the medical treatment to cure the game addiction was ranked 3rd after Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD), the rate had increased six times compared to 2016. According to the analysis on the situation of children with game addition by the institute of child and adolescent mental health in Bangkok, the result showed that 129 children were getting the medical treatment due to the game addiction. The survey on the gambling of junior high school students (grade 7 to grade 9) in 3,470 students showed that children and youth learn how to play gambling from their family members the most. Most of the surveyed children informed the surveyors that they first played gambling when they were 10-12 years old. The tendency of drug addiction was worse when the number of children receiving the drug treatment had hugely increased. According to the information of the Princess Mother National Institute on Drug Abuse Treatment (PMNIDAT), the number of children and youth accessing the treatment was 78, 772 and 1,116 persons in 0-14, 15-19 and 20-24 years old, respectively. Unlike drug addiction, the problem of pregnancy and repeated pregnancy among adolescents tended to get better when the number of teen mothers was reduced. Since 2006, the proportion of students choosing to study in vocational education was less than high schools, approximately calculated as 40:60. Parents did not want their children to study in vocational schools due to several reasons, such as the image of students and institutes. Parents did not thoroughly know the level of vocational education, dividing into basic, intermediate, and advanced levels. Students could study in universities after graduation from the vocational school. The labor market highly required students who graduated from vocational schools because they had both academic knowledge and practical skill. Finally, the Office of Non-Formal and Informal Education (NFE) surveyed to overcome the problems that the school-age population was facing. 95,473 normal students were skipping the class, 24,331 disabled students who did not study in the educational system, and 81,904 students dropping out of education, joining the survey. The recommended solutions for this group of children were mainly focusing on monitoring and educating them. However, the level of integration and integrative policy development across stakeholders was low. 18-25-years-old people (or about 4 million) required capacity development. However, when considering historical data, the number of people requiring capacity development tended to be unstable. Besides, the survey on the employment of youth showed that the unemployment rate of children and youth tends to reduce. When considering the requirement of capacity development, the result, however, showed that children and youth at this age range did not want to develop their capacity due to few reasons, including time limitation and the unmatched capacity development. The smoking prevalence among youth tended to reduce every year, and the average smoking age had increased from 17.8 years to 18 years. Like smoking, the rate of alcohol beverage drinking had reduced. However, the age range of children and youth access to alcohol beverage products was lower. The Department of Children and Youth (DCY), Ministry of Social Development and Human Security (MSDHS) showed the information about the implementation result of measure to prevent and solve the problem on car and motorbike racing along the public road (October 2016-April 2019). According to the survey of DCY, 1,421 children and youth got prosecuted under the Juvenile and Family Court Act, and Procedure for Juvenile and Family Cases B.E. 2553 (2010), 1,028 children and youth got admonished and paroled. Lastly, the Committee of the Director of the Center for Coordination and Supervision under the implementation of the Chief of the National Council for Peace and Order surveyed youth controversies. The survey result showed that the cases and suspects related to youth controversies had reduced compared to 2017. The rate of deaths and injuries due to youth controversies had reduced as well. However, the policy implementation to support and solve the problem of youth controversies lack information about skill development, educational funding resources, and youth participation that could effectively reflect actual requirements of youth and child. Regarding children and youth with special protection needs, such as children and youth living in the deep-south provinces of Thailand, based on the survey conducted in 2004-2018, 238 children and youth died due to the conflict in deep-south regions. However, the government agencies tried to work collaboratively to support children and youth in the deep-south provinces to access social welfare including, educational aid, child support grant scheme for newborn children, etc. The survey result showed that children and youth living in the deep-south provinces of Thailand died and suffered by losing their parents due to the conflicts found in respective areas. Some children got affected by social factors, such as forced marriage. The Department of Juvenile Observation and Protection (DJOP) surveyed children and youth in the justice process. The survey result showed that 15-21-years-old adolescents were in the justice process the most, followed by children aged 6-14 years and 0-5 years. According to the survey of the criminal case system in 2018 on the cumulative number of children and youth, 17,705 children and youth were in the Juvenile Observation and Protection Centers throughout the country (16,313 males and 1,391 females), which was reduced compared to the last three years. The government agencies, private sectors, and civil society organizations provided more support to the children and youth with unique talents, such as support on academics, art, science, and technology, etc. However, no organization took the leading role to collect information and set up the database management system on this group of children so that the information about children and youth with unique talents remains unclear that could further affect the capacity development for this group of children in the future. More importantly, the support provided to children and youth with unique talents were reported. In contrast, information about the capacity development targeting children’s surrounding people at home and school, such as teachers and parents, is unidentified. The information about youth participation for children and youth development showed that in the last three years, the Children and Youth Council of Thailand (CYCT) had increased its involvement in policy implementation by collaborating with local organizations. CYCT mainly supported knowledge strengthening and project implementation to build the capacity of children. CYCT's activities or projects were divided into issue-based and area-based, for instance, projects or activities related to cultural and local wisdom promotion, the capacity building for CYCT’s members at provincial level, volunteering, sex education, and networking with partners organizations. However, CYCT did not have any project or activity related to build new knowledge or learning innovation. CYCT was facing the difficulties of management structure, and concrescence of support from stakeholders. Importantly, in 2018, CYCT had more participation in projects and activities of partner organizations at policy level, such as DCY, and UNICEF Thailand to develop the resolution of National Children and Youth Assembly (NCYA) 2018. The decision covered two issues; 1) education and 2) life skill and family planning. At first, CYCT’s members and about 150 children from children and youth networks throughout Thailand participated in the activity then, the opportunity was offered to the CYCT’s members and children and youth networks at provincial and local level to contribute to develop the NCYA resolution. Besides policy-related activities, CYCT also participated in project implementation. In 2017, national and provincial CYCT participated in many projects related to children and youth development, for example, the Project for the study and development of social innovation to drive well-being through participation of children and youth: pilot study on the provincial CYCT, implemented by the Faculty of Social Administration, Thammasat University and ThaiHealth Foundation. CYCT aimed to strengthen the children and youth participation on driving the social innovation for solving problems at local and provincial level. CYCT also expected to build and develop children and youth leaders as well as anybody who would like to work for children at local level. The Project organized the capacity building for CYCT members before supported them to establish and effectively implement development activities at the local level. The theme of children and youth development in 2018 focused on policies and strategies strengthening children and youth participation at the local level to support children and youth-related project implementation. Children and youth development projects in 2018 mainly emphasized the education and learning process that part of the projects was related to establishing the collaboration between communities and children. According to the information about children and youth networks accumulated by the Office of Creative Activities and Innovation, ThaiHealth, there were 19 children and youth networks working on four types of activity consisting of creativity, nutrition and food, music and performance, and life skill. Additionally, children and youth started having a role at the regional and international levels, such as being the country representatives for cultural exchange, invention contest, or even academic competition at the international level. Regarding the roles and implementation results of children and youth development projects conducted by the government agencies, the local administrative offices started increasingly participating in children and youth development projects especially, the development of nursery centers at the local level. There were 95 private and business sectors involving the children and youth development project implementation. Issues that individual and business sectors focused on the most are recreational activities, art, culture, and wisdom, followed by the promotion of morality and ethics. Capacity-building activities and youth participation were significant issues among the private and business sectors. The target populations of individual and business sectors’ activities were children aged 0-18 years. However, private and commercial sectors faced difficulties from the policies to practical mechanism levels. In terms of support of business companies provided to children and youth development, the majority of business companies provided educational scholarships to children. Secondly, business companies focused on building the economic capacity of youth and children. Children and youth development activities were part of the Corporate Social Responsibility of business companies. Some business companies provided support to youth and children because the company owners were interested in doing so. At the same time, several academic institutes were significantly involved in the children and youth development, such as the National Institute for Child and Family Development, Institute for Population and Social Research, the Thailand Research Fund and the Faculty of Social Administration – Thammasat University. Besides, media also played an essential role in 2018 to monitor and support children and youth on media literacy, some media organizations including Internet Foundation for Thai Development, Safe and Creative Media Development Fund, and Association of Radio for Children and Youth. Volunteers and civil society organizations participated in children and youth development as well, in particular, volunteers who had experiences working with children and youth for years. Finally, the government allocated more budget for children and youth development projects. The government also established the Office of the Trade Competition Commission, Contemporary Art Promotion Fund, and Political Party Fund, with the binding of state party expenses that would be increased in the future. Ministries receiving the highest budget were Ministry of Education, Ministry of Interior, Ministry of Defense and Ministry of Transportation, respectively. On the other hand, government agencies receiving the lowest budget were the Ministry of Energy, Ministry of Industries, Ministry of Digital Economy and Society, and Ministry of Tourism and Sports. According to the survey, the economic crisis made private and business sectors reduce, providing support on children and youth development.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectรายงานสถานการณ์การพัฒนาเด็กและเยาวชนth
dc.subjectสถานการณ์เด็กและเยาวชนth
dc.titleการจัดทำรายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชน ประจำปี 2561th
dc.title.alternativeChild and Youth Development Annual Report (2018)th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมกิจการเด็กและเยาวชนth
cerif.cfProj-cfProjId2562A00563th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาประชากร (Population sector : PO)th
turac.contributor.clientกรมกิจการเด็กและเยาวชน
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleการจัดทำรายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชน ประจำปี 2561th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record