Show simple item record

dc.contributor.authorสามชาย ศรีสันต์th
dc.date.accessioned2020-03-31T07:40:43Z
dc.date.available2020-03-31T07:40:43Z
dc.date.issued2020-03-31
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/761
dc.description.abstractโครงการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายเฝ้าระวังและป้องกันการเผาในที่โล่งและลดหมอกควัน มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานทั้งผลผลิตและผลลัพธ์ และการขยายผลด้านต่าง ๆ ของโครงการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการป้องกันการเผาในที่โล่งและลดหมอกควัน ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทราบสถานภาพปัจจุบัน วิเคราะห์กลไกและกระบวนการจัดตั้งและดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค เพื่อให้ทราบปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของโครงการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการป้องกันการเผาในที่โล่งและลดหมอกควัน และเสนอบทเรียนและแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมในการพัฒนาการทำงานของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างการเรียนรู้ของประชาชนในพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายในโครงการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการป้องกันการเผาในที่โล่งและลดหมอกควัน ดำเนินการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ ๙ จังหวัดภาคเหนือ จำนวน ๕๒๗ ตัวอย่าง สอบถามผู้นำศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านต้นแบบปลอดการเผาและชุมชนต้นแบบปลอดการเผา จำนวน ๓๐ แห่ง ดำเนินการจัดประชุมกลุ่มย่อยระดมความเห็น (Focus group) จากกลุ่มของศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านต้นแบบปลอดการเผาและชุมชนต้นแบบปลอดการเผา จำนวน ๒๘ แห่ง ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลเชิงลึกเพื่อสอบถามผู้นำชุมชน ผู้นำเครือข่ายความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านต้นแบบปลอดการเผาและชุมชนต้นแบบปลอดการเผา ใน ๙ แห่ง รวม ๙ จังหวัด ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับจิตสำนึกเฉลี่ยในภาพรวมที่ ๒.๙๖ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๔ คะแนน เมื่อแปรค่าระดับ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีจิตสำนึกและพฤติกรรมต่อการปลอดการเผาและลดการเผาในที่โล่ง “ที่สูง” สะท้อนให้เห็นถึง “ความสำเร็จ” ของผลลัพธ์ในการดำเนินกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายเฝ้าระวังและป้องกันการเผาในที่โล่งและลดหมอกควัน ด้านปัญหาความรุนแรงสถานการณ์ปัญหาหมอกควัน ไฟป่า และการเผาในที่โล่ง ของพื้นที่ชุมชนต้นแบบปลอดการเผาของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เปรียบเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบัน (ปี ๒๕๖๒) จากการสอบถามประชาชนในพื้นที่พบว่า มีสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในภาพรวม “ลดลง” มากกว่าปี พ.ศ. ๒๕๖๑ สำหรับปัญหาความรุนแรงที่ยังพบในพื้นที่ ๓ อันดับแรก คือ ๑) การเผาตอซังข้าว และตอซังข้าวโพด ๒) การเผาขยะ และ ๓) การเกิดไฟป่า Monitoring and Evaluation Project for Strengthening Network Surveillance and Burn Prevention and Reducing Haze Project Aims to monitoring and evaluate the output and outcome of operations and expanding the various aspects of the project to raise awareness and participation in preventing open air burning and reducing haze. To be aware of the mechanisms and procedures and solutions to the problems in the implementation of the project to raise awareness and participation in community, and recommendations and appropriate operations guidelines Department of Environmental Quality Promotion for learning, participation in raising awareness and participation in prevention to burn in the open air and reduce smog. And propose lessons and guidelines for appropriate work in the development of the Department of Environmental Quality Promotion To create knowledge among the people in the area and target group in the project to raise awareness and participation in preventing open air burning and reducing smog. This project collects data from 527 sample groups in 9 Northern provinces. Ask the leaders of Burn-Free Model Village Learning Centers and Burn-Free Model communities in 30 places. Organize a focus group meeting from a group of 28 Burn-Free Model Village Learning Centers and Burn-Free Model communities were conducted in the in-depth study area for examinations according to community leaders of the Environmental Cooperation Network Government officials involved in the Burn-Free Model Village Learning Center and the Burn-Free Model Community in 9 locations total 9 provinces. The study found that the average sample level of Consciousness without burning in the open air is 2.96 points out of 4 points. When changing the level, it is found that the samples have consciousness and behavior towards burning-free and reduce burning at high altitudes, reflecting To the "success" of the results Project for Strengthening Network Surveillance and Burn Prevention and Reducing Haze in the case of violence, haze, forest fires and open burning Of the burn-free prototype community area of the Department of Environmental Quality Promotion during February - April B.E. 2561, compared to the current situation (B.E. 2560). There is a situation of violence in the overall "decreasing" more than year B.E. 2560 for the violence that is still found in the top 3 areas which are 1) burning rice stubble And corn stubble 2) Incineration and 3) Forest fires.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectติดตามประเมินผลth
dc.subjectเครือข่ายเฝ้าระวังth
dc.subjectป้องกันการเผาในที่โล่งth
dc.subjectลดหมอกควันth
dc.titleติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายเฝ้าระวัง และป้องกันการเผาในที่โล่งและลดหมอกควันth
dc.title.alternativeMonitoring and Evaluation Research Project : Activity Implementation for Strengthening of the Watch and Protection for Open Burning, Forest Fire and smog Reduction Networkth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมth
cerif.cfProj-cfProjId2562A00387th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาสิ่งแวดล้อม (Environment sector : EV)th
turac.contributor.clientกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีth
cerif.cfProj-cfTitleติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายเฝ้าระวัง และป้องกันการเผาในที่โล่งและลดหมอกควันth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record