Show simple item record

dc.contributor.authorธีระ สินเดชารักษ์th
dc.contributor.authorปกป้อง ศรีสนิทth
dc.contributor.authorจุฑาศินี ธัญปราณีตกุลth
dc.contributor.authorอรอุมา เตพละกุลth
dc.date.accessioned2020-03-20T04:09:13Z
dc.date.available2020-03-20T04:09:13Z
dc.date.issued2563-03-20
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/758
dc.descriptionรายงานฉบับสมบูรณ์สามารถเข้าถึงได้ที่ https://knowledge.tijthailand.org/publication/detail/39#book/3th
dc.description.abstractประเทศไทยได้ทุ่มเททรัพยากรจำนวนมาก และมีความพยายามปฏิรูปกระบวนการทางอาญาอยู่หลายครั้งในหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่ไม่ปรากฏว่ามีการพัฒนาระบบข้อมูลและชุดตัวชี้วัดที่ประชาชนสามารถนำมาใช้ติดตามสถานะสภาพ และความเปลี่ยนแปลงของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและนักปฏิบัติ ในหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย พบปัญหาของข้อมูลและตัวชี้วัด ดังนี้ 1. แต่ละหน่วยงานมีนิยามและมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน และทำการจัดเก็บและพัฒนาข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์เพียงแค่ในหน่วยงานของตน 2. ข้อมูลในกระบวนการยุติธรรมหลายประเด็นเป็นข้อมูลลับ ซึ่งการเปิดเผยข้อมูลอาจส่งผลกระทบทางลบแก่บุคคลอันเป็นข้อจำกัดของการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลของหน่วยงาน 3. การบันทึกข้อมูลในระบบฐานข้อมูลมักปรากฏปัญหาการบันทึกข้อมูลไม่ครบถ้วน 4. ขาดการแสดงข้อมูลเพื่อวัดประสิทธิภาพของการทำงานของกระบวนการยุติธรรมในภาพรวม 5. ข้อมูลยังไม่สะท้อนประเด็นสำคัญ เช่น ข้อมูลอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจริงกับประชาชน (ไม่ใช่ข้อมูลรับแจ้ง) ระยะเวลาการดำเนินคดีในแต่ละขั้นตอน ข้อมูลการประเมินการกระทำผิดซ้ำ ข้อมูลผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาเอง ข้อมูลการปล่อยตัวชั่วคราว 6. ปัญหาการบันทึกข้อมูลในระบบรายงานดั้งเดิมกับระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ 7. ข้อจำกัดด้านงบประมาณ อุปกรณ์เครื่องมือในการจัดเก็บ และบุคลากรที่ไม่เพียงพอ8. ตัวชี้วัดของหน่วยงานซึ่งถูกกำหนดโดยแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี นโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลและภารกิจหลักขององค์กร รวมไปถึงกรอบสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการยังไม่สามารถสะท้อนแก่นสารของภารกิจสำคัญของหน่วยงาน 9. ตัวชี้วัดไม่มีความเสถียร มีการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาในแต่ละปี 10. ขาดตัวชี้วัดที่สะท้อนประสิทธิภาพและประสิทธิผลในระดับผลกระทบ (impact) และผลลัพธ์ (outcome) ที่มีต่อสังคม แนวคิด แนวทาง วิธีการและประสบการณ์ ในการพัฒนาและปรับปรุงตัวชี้วัดด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในระดับสากล เช่น Rule of Law Index ของ World Justice Project หรือ Rule of Law Indicators ขององค์การสหประชาชาติ แสดงให้เห็นว่าการสร้างตัวชี้วัดมีสิ่งที่ต้องคำนึงอยู่หลายประการ ได้แก่ แหล่งข้อมูลรวมถึงทฤษฎีเกี่ยวกับวิธีวิทยา โดยแหล่งข้อมูลในที่นี้ได้มาจากการทบทวนวรรณกรรมและจากการสำรวจ (Survey) จากกลุ่ มคนที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไปหรือผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งจะช่วยสะท้อนในเรื่องความคิดเห็นและทำให้เกิดการยอมรับและความเชื่อมั่นในตัวชี้วัดในอนาคตอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ต้นแบบตัวชี้วัดกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในระดับสากลนั้นยังขาดความเฉพาะในบริบทของแต่ละประเทศ ดังนั้น โครงการวิจัยนี้จึงได้มีความพยายามที่จะทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย โดยพบว่ า สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นมากที่สุดในกระบวนการยุติ ธรรมทางอาญาทั้งระบบ และแยกตามภาระงาน ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ อัยการ ศาล และเรือนจำ คือ ความเที่ยงตรง ความเป็นกลาง ความรับผิดชอบ และความโปร่งใส โดยเฉพาะในด้านการทำงานที่ยึดเป้าหมายร่วมกัน ทั้งเรื่องของความเป็นธรรม ความยุติธรรม ความเท่าเทียม ตรงไปตรงมา รวมไปถึงประสิทธิภาพและความสามารถในการบรรลุเป้าหมาย และนอกจากนี้ โครงการฯ ยังได้มีการนำความคิดเห็นของประชาชนดังกล่าวมาจั ดให้สอดคล้องกั บกรอบตัวชี้วัดของ Rule of Law Indicators ทำให้พบว่า มีตัวชี้วัดหลายตัวที่มีเฉพาะในบริบทของประเทศไทย ในขณะที่ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและนักปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับประชาชน กล่าวคือ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฎิบัติ งานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยยังคงต่ำกว่าระดับที่ควรจะเป็นจากสภาพปัญหาในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและผลการสำรวจประชาชนและนักปฏิบัติ ซึ่งปรากฏข้างต้น คณะผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ควรมีการจัดทำตัวชี้วัดที่จะสามารถสะท้อนภาพรวมของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทั้งระบบ 2. ควรให้หน่วยงานต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้มีส่วนร่วมในการเสนอกำหนดตัวชี้วัดตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน 3. เปิดโอกาสการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นจากผู้เสียหายหรือเหยื่อในคดีอาญา จากผู้ที่เคยตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย และจากประชาชนทั่วไป 4. ทุกหน่วยงานของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ควรบูรณาการข้อมูลและสถิติให้เป็นหนึ่งเดียวกัน นอกจากนี้ยังควรมีการพัฒนาชุดคุณค่าและตัวชี้วัดกระบวนการยุติธรรมที่ควรจะเป็น โดยพิจารณาจากการรักษาสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะ ซึ่งหมายถึงดำเนินคดีอาญาที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการค้นหาความจริงกับประโยชน์ของผู้ถูกดำเนินคดี ซึ่งหมายถึง สิทธิในการต่อสู้คดี ในกระบวนการยุติธรรม โดยแยกกำหนดได้ เป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นสืบสวนสอบสวน ขั้นสั่งคดี ขั้นพิจารณาคดี และขั้นบังคับโทษ (ปกป้อง ศรีสนิท , 2559) บนรากฐานของสิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตามมาตรฐานสากล (international standard of criminal justice) ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งได้กำหนดสิทธิพื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมไว้ดังนี้ 1. สิทธิที่จะไม่ถูกฆ่านอกกฎหมาย 2. สิทธิที่จะไม่ถูกทรมาน 3. สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้สูญหาย 4. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย โดยศาลที่เป็นอิ สระและเที่ยงธรรม 5.สิทธิที่จะรับการแจ้งข้อหา 6. สิทธิที่จะมีทนายความ 7. สิทธิที่จะได้รับการดำเนินคดี ในเวลาที่เหมาะสม 8. สิทธิที่จะเผชิญหน้ากับพยานหลักฐาน 9. สิทธิที่จะมีล่าม 10. สิทธิที่จะไม่ให้การปรักปรำตนเอง 11. สิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ 12. สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลที่สูงกว่า 13. สิทธิที่จะได้รับการเยียวยาภายหลังการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ และ 14. สิทธิที่จะไม่ถูกดำเนินคดีซ้ำในความผิดกรรมเดียว Thailand has invested enormous resources on criminal justice process reform during the past decades. It is however unlikely that information and indicators for public investigation have been improved for valuing criminal justice process and each responsible agency. Literature review and expert interviews on concepts, methods for improvement of criminal justice indicators revealed problems in Thai criminal justice system as follow. 1. Information collected by criminal justice agencies has been defined and used only for themselves, not been shared and not been used by others. 2. Information in criminal justice system is secret in nature. Disclosure and exchange of those information may pose adverse impacts on individuals. 3. Information recorded in database is usually incomplete. 4. Information of the whole criminal justice system is still lacking. Work systems of each agency are not integrated and cannot be crosschecked. 5. Important information collected is still missing i.e. factual records of occurred criminal offenses (not only information received by police), processing time of each criminal justice step, recidivism, prosecution by victims, and temporary release, etc. 6. Information is recorded repetitively into traditional filing system and computer database. 7. Limited budget, material resources, and personnel for recording and collection of information. 8. Indicators set based on 4-year strategic and action plans of each agency, urgent government policy, as well as Office of the Public Sector Development Commission do not reflect important missions of responsible agencies. 9. Indicators have been changed or revised every year leading to inconsistency and monitoring problems. 10. Indicators for measuring impacts and outcomes of effectiveness and efficiency are still missing, leading to lack of awareness and participation of public and government on monitoring of criminal justice system. Development of international standard indicators such as those of Rule of Law Index developed by World Justice Project or Rule of Law Indicators developed by the United Nations indicate that sources of information and methodology of information collection from various stakeholders are significant for public opinion, acceptance, and confidence. Moreover, indicators should be flexible and reflect dynamic nature of society. Those international indicators are however usually set with board guidelines for comparison purpose, making them difficult to apply to specific circumstances of countries. This study attempted to survey public opinions on Thai criminal justice system and found that reliability, transparency, responsibility, integrity, and goal achievement are most frequent mentioned by the public. Matching between those indicators from public opinions with the Rule of Law Indicators pointed out that several indicators are particularly Thai context Results from expert survey and public survey pointed out that effectiveness and efficiency of Thai criminal justice process is still below the standard. Problems in criminal justice process and surveys of public and experts, as mentioned earlier, suggested a strong need to develop, improve and upgrade collection, analysis and usage of criminal justice information and statistics as following recommendations. 1. Indicators should be stable and reflects continuing improvement and advancement of standard and quality of the criminal justice system. 2. Responsible agencies should have opportunity to propose indicators based on their missions and duties. 3. Stakeholders such as victims or accused and public should have opportunity to voice their opinions on newly proposed criminal justice system indicators. 4. Systematic collection, record, report and integration of between responsible agencies should be strongly encouraged and practiced. Monitoring mechanism should be also established. This study also proposes indicators that balance the interests of the public and the accused, for the 4 steps in criminal justice system: investigation, prosecution, trial and judgement, and sentencing (Srisanit, 2559) based on basic rights determined by International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR) : 1. Right to be free from extra judicial killing; 2. Right to be free from torture; 3. Right to be free from enforced disappearance; 4. Right to a fair and public hearing by a competent, independent and impartial tribunal established by law; 5.Right to be informed of the charge; 6. Right to legal counsel; 7. Right to prepare defense and to be tried without undue delay; 8. Right to be present during trial and to examine witness; 9. Right to the free assistance of an interpreter; 10. Right to remain silent; 11.Right to be presumed innocence; 12. Right to appeal; 13. Right to compensation for wrongful conviction; 14. Right against second trial for the same offense.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectพัฒนาด้านสถิติและตัวชี้วัดth
dc.subjectกระบวนการยุติธรรมทางอาญาth
dc.subjectการสำรวจความคิดเห็นประชาชนth
dc.subjectคุณค่าของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาth
dc.titleพัฒนาด้านสถิติและตัวชี้วัดกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และการสำรวจความคิดเห็นประชาชนและนักปฏิบัติเกี่ยวกับคุณค่าของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาth
dc.title.alternativeDevelopment of Criminal Justice Statistics and Indicators, and Public and Practitioners' Perception Surveys on Value of Criminal Justice Processth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน)th
cerif.cfProj-cfProjId2559A00328th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการวิจัยth
turac.researchSectorสาขาเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous sector : MS)th
turac.contributor.clientสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน)
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleศึกษาวิจัยพัฒนาด้านสถิติและตัวชี้วัดกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และการสำรวจความคิดเห็นประชาชนและนักปฏิบัติเกี่ยวกับคุณค่าของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record