dc.description.abstract | การศึกษาเรื่อง “การขับเคลื่อนกองทุนด้านการพัฒนาสังคมในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 3 ประการ ประการที่ 1 เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการกองทุนด้านการพัฒนาสังคมที่เหมาะสมในประเทศไทย ประกอบด้วย กองทุนคุ้มครองเด็ก กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม กองทุนผู้สูงอายุ กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ประการที่ 2 เพื่อศึกษาบทเรียนการบริหารจัดการกองทุนด้านการพัฒนาสังคมในประเทศไทยที่จัดตั้งโดยภาครัฐในต่างประเทศ และประการที่ 3 เพื่อเสนอรูปแบบทางเลือกในการบริหารจัดการกองทุนด้านการพัฒนาสังคมประเทศไทย พบว่า สำหรับกระบวนการเกิดกองทุนนั้นส่วนใหญ่กองทุนจะเกิดขึ้นในปี 2546 ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงทิศทางการพัฒนาประเทศจากการมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจสู่การยึดคนเป็นศูนย์กลาง บริบทดังกล่าวจึงทำสังคมให้ความสำคัญกับกลุ่มประชากรกลุ่มต่างๆ มากขึ้น นอกจากนี้สำหรับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแล้วพบว่า เกิดจากนโยบายในการหาเสียงของพรรคการเมือง และเมื่อนโยบายดังกล่าวแถลงต่อรัฐสภาแล้วจึงสามารถเริ่มทำงานได้ทันที สำหรับผลการปฏิบัติงานของกองทุนโดยภาพรวมพบว่า กองทุนเพิ่มโอกาสให้กับกลุ่มเป้าหมายของแต่ละกองทุนได้เข้าถึงแหล่งงบประมาณเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตมากขึ้น อย่างไรก็ตามจากการศึกษาได้พบข้อจำกัดของกองทุน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนกองทุนสู่กลุ่มเป้าหมาย ดังเช่น - การบริหารจัดการกองทุนรายได้ระบบราชการ จากการศึกษาพบว่า เป้าประสงค์หนึ่งของการเกิดกองทุนเพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการในระบบราชการ แต่เมื่อกองทุนเกิดขึ้นและอยู่ภายใต้กำกับของหน่วยงานราชการ และหน่วยงานดังกล่าวยังนำวิธีคิดแบบระบบราชการมาบริหารจัดการกองทุน ประโยชน์ที่เกิดขึ้นด้านหนึ่งคือ ทำให้การใช้จ่ายงบประมาณมีธรรมาภิบาล แต่ในขณะเดียวกันระบบดังกล่าวก่อให้เกิดความล่าช้าในการพิจารณาโครงการ เงินอุดหนุนรายบุคคล เป็นต้น - การขาดฐานข้อมูลในการดำเนินงาน และขาดการติดตามประเมินผล ทำให้กองทุนไม่สามารถมีฐานข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวางยุทธศาสตร์การดำเนินงานที่ชัดเจน - สัดส่วนการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารกองทุนจากภาคประชาสังคมมีน้อยกว่าภาครัฐ ทั้งนี้ยกเว้นกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งมีสัดส่วนของกรรมการบริหารกองทุนจากภาครัฐ 8 : ภาคประชาสังคม 9 ความแตกต่างดังกล่าวทำให้กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มีกระบวนการดำเนินงานที่สามารถกำหนดทิศทางและพัฒนากองทุนได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม - ความจำกัดของที่มาของงบประมาณ ทั้งนี้ยกเว้นกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กองทุนอื่นที่มีของงบประมาณจากงบประมาณแผ่นดินเพียงแหล่งเดียว ทำให้มีข้อจำกัดในการบริหารกองทุน และการพัฒนากลุ่มเป้าหมาย การศึกษาบทเรียนกองทุนด้านการพัฒนาสังคมของต่างประเทศ ได้ศึกษาเอกสารที่เผยแพร่ตามสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น โดยศึกษาจากประเทศอังกฤษ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และเขตปกครองพิเศษ ฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน การเกิดขึ้นของกองทุนในต่างประเทศที่มาที่หลากหลายแตกต่างไปในแต่ละประเทศ โดยขึ้นอยู่กับลักษณะของระบบสวัสดิการสังคมของประเทศนั้น ตัวอย่างเช่น ระบบสวัสดิการในประเทศอังกฤษ ซึ่งมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และมีการวางเป้าหมายในภาพรวมอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยเน้นการเชื่อมโยงกับบริการที่มีอยู่แล้วของภาครัฐ เพื่อหลีกเลี่ยงการทับซ้อน และหาจุดเชื่อมโยง เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ทำให้เกิดการเรียงร้อยของระบบสวัสดิการสังคมอย่างเห็นภาพ ในส่วนของประเทศฟิลิปปินส์ บริการที่มีอยู่ในระบบสวัสดิการสังคมค่อนข้างจะมีลักษณะแยกส่วน การพัฒนากองทุนก็มีลักษณะก้อตั้งขึ้นแบบกระจัดกระจาย ตามนโยบายในช่วงเวลาหนึ่งๆ งบประมาณส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนด้านเงินกู้และเงินให้เปล่าจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศ ส่วนประเทศสิงคโปร์ และเขตปกครองพิเศษฮ่องกงเงินกองทุนที่ค้นคว้า เป็นกองทุนที่เกิดจากการจัดตั้งของรัฐทั้งที่ใช้เงินจากสลากและเงินงบประมาณ วัตถุประสงค์ของกองทุนในต่างประเทศในภาพรวมมุ่งเน้นการขับเคลื่อนไปสู่การพึ่งพาตัวเองของกลุ่มเป้าหมายกองทุนฯ ในต่างประเทศมีวัตถุประสงค์การดำเนินงานที่ชัดเจน มีการกำหนดช่วงเวลาการดำเนินงานของกองทุนว่ามีลักษณะเป็นกองทุนระยะยาว หรือเป็นกองทุนชั่วคราวที่เปิดดำเนินการเฉพาะช่วงเวลาหนึ่งๆ เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายของกองทุน และปิดตัวลง แต่กองทุนในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นกองทุนระยะยาว คือ เกิดขึ้นแบบไม่มีกำหนดเวลาปิดตัว ซึ่งส่งผลต่อความท้าทายในการสร้างกลไกเพื่อนำไปสู่การประเมินผลได้ (Outcomes) อย่างชัดเจน กลุ่มเป้าหมายผู้ได้รับผลประโยชน์ของกองทุนในต่างประเทศ คือ ให้ความสำคัญกับกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มด้อยโอกาส กลุ่มคนยากจน ผู้ว่างงาน กลุ่มผู้ประสบภาวะวิกฤติหรือภาวะฉุกเฉิน กลุ่มที่ต้องการตั้งรกรากในชุมชน คนที่ไม่อยากย้ายออกจากชุมชน คนที่ย้ายออกจากสถานดูแล กลุ่มผู้พ้นโทษ และผู้อพยพจากประเทศอื่น เป็นต้น จากการศึกษากองทุนในต่างประเทศสะท้อนว่า แหล่งที่มาของเงินกองทุนฯ นั้นมาจากแหล่งเงินหลักๆ ได้แก่ งบประมาณของภาครัฐ ที่มีการจัดสรรให้กับกองทุน โดยอาจเป็นการจัดสรรให้ครั้งเดียว หรือจัดสรรให้ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งมีการกำหนดระยะเวลาและจำนวนเงินที่ชัดเจน เงินที่ภาครัฐกู้จากองค์กรการเงินระหว่างประเทศ เช่น จากธนาคารโลก และเงินจากกองทุนสลากภายในประเทศ
การบริหารจัดการกองทุนในต่างประเทศมีรูปแบบการจัดการที่แตกต่างกันแต่มีจุดร่วมที่เน้นให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงกองทุนได้อย่างทั่วถึง เช่น การกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นในการตัดสินใจ และการบริหารกองทุน เพื่อการลดช่องว่างระหว่างภาครัฐ และภาคประชาชน, การทำงานของกองทุนต่างประเทศในภาพรวมเน้นการทำงานร่วมกันขององค์กรภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน รวมถึงองค์กรอาสาสมัคร โดยมุ่งสู่ประโยชน์ปลายทางการเข้าถึงบริการในระดับท้องที่, การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นจะได้รับการดูแลด้านสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึง และเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ กองทุนในต่างประเทศส่วนใหญ่ มีการกำหนดตัวชี้วัดเพื่อการประเมินผลตามกรอบของยุทธศาสตร์ตั้งแต่เริ่มโครงการ และเน้นการประเมินผลเพื่อการพัฒนากองทุน ทำให้เกิดระบบฐานข้อมูล และการสร้างฐานองค์ความรู้อย่างเป็นรูปธรรม และเกิดการสร้างแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศสำหรับนำไปใช้ในอนาคต สำหรับค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการกองทุนนั้นมีการกำหนดงบประมาณส่วนของการบริหารจัดการกองทุนไว้อย่างชัดเจน จากการศึกษาข้อมูลกองทุนด้านการพัฒนาสังคมในประเทศไทยพบว่า แม้กองทุนที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันจะมีข้อจำกัดหลายประการ แต่ในอีกด้านหนึ่งกองทุนเหล่านี้นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มที่ทำให้สังคมหันมาให้ความสนใจกลุ่มเป้าหมายเฉพาะมากขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนมีประสิทธิภาพมาขึ้น มีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ ด้านเป้าหมายและยุทธศาสตร์ของกองทุน ควรมีการทำยุทธศาสตร์รวม และยุทธศาสตร์ของแต่ละกองทุนให้อยู่ในที่เดียวกัน เพื่อให้ตอบเป้าหมายของการพัฒนาบุคคลและสังคมอย่างรอบด้านและมีความเป็นบูรณาการในทุกมิติ รวมทั้งการมีการกำหนดยุทธศาสตร์บนฐานข้อมูลและพัฒนาระบบข้อมูล ด้านการบริหารจัดการกองทุน มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ - คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ควรออกระเบียบการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะระเบียบการใช้เงินของแต่ละกองทุนแทนการใช้ระเบียบของกระทรวงการคลัง - เพิ่มสัดส่วนคณะกรรมการบริหารกองทุนในส่วนของภาคประชาสังคมให้มากขึ้น ทั้งนี้ควรให้มีสัดส่วนระหว่างภาครัฐ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันเพื่อให้ได้ความคิดเห็นที่หลากหลาย - มีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อให้การอนุมัติโครงการเกิดความรวดเร็วและทันท่วงที ควรจัดคู่มือกำหนดแนวทางปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำกองทุน - พัฒนาระบบพี่เลี้ยงให้มีลักษณะเป็นมืออาชีพ เพื่อให้คำแนะนำในการเขียนโครงการพัฒนาโครงการ หรือกิจกรรมอื่นๆ ของกองทุนด้านการติดตามและการประเมินผลการดำเนินงาน - ให้ความสำคัญกับการประเมินยุทธศาสตร์ แผนการทำงานในแต่ละปีงบประมาณ เพื่อนำผลการประเมินดังกล่าวมาใช้ในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ต่อไป - ให้ความสำคัญกับวิธีการการประเมินผลเชิงกระบวนการและเชิงคุณภาพ ซึ่งทำให้กองทุนมีข้อมูลเพียงพอต่อการนำเสนอภาพการพัฒนาให้กับสังคมว่า การดำเนินงานกองทุนที่ผ่านมามีกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมายอย่างไร ด้านการระดมทุน นอกจากงบประมาณแผ่นดินแล้วกองทุนควรหาแหล่งงบประมาณที่แน่นอนและหลากหลาย เพราะจะทำให้กองทุนสามารถวางแผนการดำเนินงานได้ในระยะยาว และจะทำให้มีการพัฒนาต่อยอดกิจกรรม/โครงการต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ด้านการพัฒนาฐานข้อมูล ควรมีการพัฒนาฐานข้อมูลเชิงคุณลักษณะของประชากร เพื่อนำมาใช้ประกอบการดำเนินงาน แผนงาน โครงการ และยุทธศาสตร์ จากการศึกษาการบริหารจัดการกองทุนตามกลุ่มประชากรทั้ง 5 กองทุน พบว่า มีข้อจำกัดหลายประการ เช่น การยึดกับระเบียบราชการทำให้การดำเนินงานมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อย ทั้งนี้ระเบียบราชการด้านหนึ่งเป็นสิ่งที่กำกับการบริหารงานให้เกิดธรรมาภิบาล แต่อีกด้านหนึ่งเมื่อผู้ปฏิบัติงานยึดระเบียบอย่างเคร่งครัดแล้วระเบียบดังกล่าวกลับกลายเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ปฏิบัติงาน และผลที่เกิดขึ้นคือไม่สามารถให้การหนุนเสริมกลุ่มเป้าหมายให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกองทุนได้ ดังนั้นในงานวิจัยนี้เห็นว่าเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการหนุนเสริมด้านการพัฒนาสังคมมากขึ้น และกองทุนสามารถปฏิบัติงานได้คล่องตัวขึ้น การจัดตั้งกองทุนใหม่ย่อมมีความจำเป็น ทั้งนี้กองทุนที่ตั้งขึ้นมาใหม่ผู้บริหารกองทุนควรคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมทั้งในฐานะคณะกรรมการบริหารกองทุน หรือการมีส่วนร่วมในการประเมินผล เป็นต้น การศึกษาครั้งนี้ได้เสนอกองทุนใหม่ขึ้น คือ เพื่อเน้นให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างพลังมนุษย์และสังคม โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ กองทุนพัฒนามนุษย์และสังคม เป็นกองทุนการพัฒนาโดยเน้นการเสริมสร้างพลังมนุษย์และสังคม โดยมีหลักการสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ กล่าวคือ เน้นการทำงานที่ต่อเนื่อง และยั่งยืนผ่านกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักรู้ในตนเอง โดยเน้นการให้คนในชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในงาน โครงดารหรือกิจกรรมที่ได้รับทุนและทำให้ประชาชนได้รับทราบและเห็นถึงความสำคัญของงานนั้น ๆ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวชุมชนองค์กรในทุกภาคส่วน/ภาคีเครือข่าย เพื่อร่วมพัฒนาสังคม และร่วมเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มเปราะบางทางสังคม การบูรณาการทั้งระดับวิธีคิดของการทำงานทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม วิญญาณ และในระดับกระบวนการทำงาน และโดยมีการทบทวนเรียนรู้นำไปสู่การคิดค้นแนวทางการพัฒนามนุษย์และสังคมในรูปแบบใหม่ และสอดคล้องกับบริบทของสังคม สรุปได้ว่า กองทุนพัฒนามนุษย์และสังคม เป็นกองทุนที่ก่อตั้งเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เน้นให้ทุกคน ทุกส่วนสามารถเข้าถึงการบริการของกองทุนได้อย่างแท้จริงและสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/องค์กรรากหญ้า/องค์กรอาสาสมัคร และองค์กรเจ้าของปัญหา สามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรได้โดยตรง, กลุ่มเปราะบางทางสังคม/กลุ่มที่เข้าไม่ถึงบริการสามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น, องค์กรรับทุนมีประสิทธิภาพและคุณภาพมากขึ้น, เกิดนวัตกรรมมากขึ้น, ครอบครัวและชุมชนเข้มแข็งปลอดภัย, ขับเคลื่อน/เปลี่ยนแปลง ทั้งทัศนคติและนโยบาย, เพิ่มพื้นที่การทำงานทางสังคมให้มากขึ้น และเสริมความเข้มแข็งให้กับภาคประชาสังคมที่ทำงานเพื่อสังคม The study titled “Social Development Funds Mobilization of Thailand” had the three objectives as follows: First, to study the body knowledge of social development fund management that is appropriate to Thailand’s contexts in terms of the child protection fund, the fund management and promotion of social welfare, the elderly fund, the fund for empowerment of person with disabilities and the women empowerment fund. Second, to investigate the lessons related to the social development fund management of the overseas government sector. Finally, to suggest the alternatives for the social development fund management in Thailand. The study results can be summarized with two aspects as follows; 1.The study on the five social development funds revealed that: Most of the funds were established in 2003 as, the national development, at that time, changed from the economic development to the citizen center development. As a result, the groups of population have been more concerned. However, the women empowerment fund was originated from the political voting campaign and established when such policy was declared to and approved by the parliament.
The overall performance results of the funds indicated that the funds increased the opportunities of the target groups for the access of budget sources and improvement of their quality of life. However, some limitations of the funds resulted in the obstacles against the fund mobilization to the target groups; for instance: - In fact, the funds were established to eliminate the bureaucratic management. However, the funds were still inevitably established, operated and managed under the bureaucracy. An advantage was that the budget distribution of the funds was conducted with good governance. In contrast, this resulted in the delay of project consideration and approval, approval of personal subsidies, and on; - The lack of operational database and evaluation led to the inaccurate strategic planning of the funds; - The participatory proportion of the fund management committee of the civil society was generally less than the one of the public sector except the fund for empowerment of person with disabilities where the participatory proportion of the fund management committee of the public sector and the civil society was 8:9. With such difference, the fund for empowerment of person with disabilities had the operational procedures on the directions and development of the fund that are consistent with the current social changes; and
- The budget sources were limited except the one for the fund for empowerment of person with disabilities. Since the other funds obtained only the government budgets, their fund management and development of target groups were very limited.
The investigation results on the lessons related to the social development fund management of the overseas government sector that were compiled and studied from the electronics publications on the cases of England, Singapore, Philippines, and Hong Kong Special Administrative Region of the People’s Republic of China were as follows: The overseas funds were various and differentiated depending on the national characteristics and the social welfare systems of a country. For example, the welfare systems of England were systematically developed with the overall concrete targets. In addition, its systems connected with the existing government services to reduce the overlap and maximize the social welfare system unity. In case of Philippines, its services in the social welfare systems were distinguished whereas the funds were occasionally established based on the policies at that time. Some of the budgets were supported from the loans and the grants of the international financial organizations. For Singapore and Hong Kong Special Administrative Region of the People’s Republic of China, their funds were established by the government using the budgets and the lots. The overall objective of the overseas funds was to mobilize towards the self-reliance of the target groups of the funds. The funds were exactly and clearly determined as the short-term (i.e. temporary) or long-term funds. Most of the overseas funds were the temporary ones which might be operated for a while and closed down as the objectives of the funds were achieved. In contrast, the funds in Thailand were the longer ones that did not have the exact end. This thus was the challenge as the mechanisms had to be created for the evaluation of outcomes. The target groups or the beneficiaries of the overseas funds included the risky groups, the vulnerable groups, the poor, the unemployed, the ones facing crisis or emergency, the ones desiring to settle in the community, the ones preferring staying in the community, the former prisoners, the immigrants, and so on. The studies on the overseas funds reflected that fund sources were mainly derived from the government budgets allocated for the funds. The budgets might be once or occasionally allocated with the established periods and amount of budgets. The sources of the funds were also from the government loans borrowed from the international financial organizations such as the World Bank and the domestic lottery funds. Although the overseas funds had the different management patterns, they had the similar objectives to encourage the target groups to access the funds thoroughly. As such, the authority was decentralized to the local governments for the better decision-making and also the fund management to reduce the gap between the government sector and the civil society sector. The overseas funds remarkably emphasized the cooperation among the government, private, and voluntary organizations to achieve the final benefits – the access to the local services. Besides, the governance has been widely used so that the local people could be thoroughly provided with the social welfares. Concurrently, the community participation was emphasized and promoted to result in the learning procedures. It could be noted that the indicators were established to evaluate the performance of the funds in accord with the strategic frameworks from the beginning of the projects with the emphasis on the evaluation for the fund development. The expenses of the fund management were exactly stated in terms of the budgets. These result in the establishment of databases, concrete knowledge body, and excellent practical guidelines that could be used in the future. Suggestions 1. Suggestions for the Management of Five Social Development Funds in Thailand: According to the study on the five social development funds in Thailand, although the current funds had a variety of limitations, these funds are still the good initiation that calls the society and the stakeholders to be interested more in the target groups. To improve the performance of the funds, the following suggestions are proposed: Targets and Strategies of the Funds: The overall and the specific strategies should be provided to respond the personal and social development in all aspects with the all- dimensioned integrity. Besides, the database should be developed so that the strategies should be made based on such database. Suggestions for the Fund Management: - The social development fund committee should provide the specific regulations on the expenses of the individual funds that should be applied instead of the general regulations established by the Ministry of Finance; - The participatory proportion of the fund management committee of the civil society should be increased whereas the proportion between the government sector, scholars, experts, and the civil society should be balanced to obtain the various opinions; - The authority should be distributed more to the local governments so that the projects can be approved promptly and rapidly. Besides, the operational manual should be provided for the fund officers; and
- The mentoring system should be more professionally developed to provide the consultancy on the project proposal, project development, activities of the funds, etc. Monitoring and Performance Evaluation - The emphasis should be provided for the evaluation of strategies and annual budget plans as such evaluation results can be applied in establishing further strategic plans; and - The procedural and qualitative evaluation should be paid for more interest to provide sufficient data related to the actual social development and to reflect whether and how the existing procedures can improve the quality of life of the target groups Fund Raising: Apart from the government budgets, the funds should seek for the certain and various fund sources so that they can make the long-term plans and also extend their current activities and projects. Database Development: The demographic database should be developed so that it can be used in the operation and planning of strategies, projects, and tactics. 2. Suggestions for New Funds: From the study on the five social development funds in Thailand, there are several limitations. For instance, the bureaucracy does not provide flexibility. The government regulations, on the one hand, control the operation and leads to the governance. They, on the other hand, become the obstacles of the officers. As a result, the target groups cannot be supported in accord with the established objectives of the funds. Hence, it is suggested from this study that the target groups should be more supported in terms of the social development. This certainly enhances the flexibility of the operation. The establishment of the new funds is very necessary whereas the fund managers should be concerned with the participation of the civil society as the fund committee or as the performance evaluator. This study finally proposes the new fund, namely, The Human and Social Development Fund to emphasize the importance of human and social empowerment as follows: The human and social development fund emphasizing the human and social empowerment has the five following principles: The Empowerment emphasizing the continual and sustainable operation through the learning procedures so that the target groups can be self- aware; The Involving People encouraging the local people to participate in the funded projects or activities to perceive and see the importance of the operation; The Participation paying importance on the participation of the families, community organizations, and network in the social development and space for the vulnerable groups; The Integration meaning the integration of thinking methods in terms of the body, mind, society, spirit, and working procedures; and The Innovation including the learning revision and creation of human and social development in new ways that are consistent with the related contexts of Thailand. In conclusion, the human and social development funds will be generally established to promote the participation of all related sectors so that all individuals and groups can actually and properly access to the fund management whereas the communities are strengthened at the same time. By this, the local organizations, grass-root organizations, voluntary organizations and the organizations of the problem owners can directly access the resources. The vulnerable groups and the remote groups can also access the services. Besides, the performance of the funded organization will be more efficient and qualified with the innovative enhancement. The families and communities, moreover, will be safe and mobilized with the changes of attitudes and policies. Finally, more space will be provided for the social operation whereas the civil society working for the society will be concurrently strengthened. | th |