Show simple item record

dc.contributor.authorหาญพล พึ่งรัศมีth
dc.date.accessioned2020-03-06T02:16:38Z
dc.date.available2020-03-06T02:16:38Z
dc.date.issued2563-03-06
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/748
dc.description.abstractองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ได้ศึกษาวิจัยและดำเนินโครงการนำร่องระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Trading Scheme: Thailand V-ETS) อย่างเป็นระบบและ ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552-2559 โดยระบบ Thailand V-ETS เป็นหนึ่งในมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทยที่ อบก. ได้พัฒนาขึ้นด้วยการใช้กลไกตลาดขับเคลื่อนให้เกิดแรงจูงใจในการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อเตรียมความพร้อมและเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการและภาคีที่เกี่ยวข้องให้มีโอกาสเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นมาตรการที่หลายประเทศให้การยอมรับว่าสามารถบริหารจัดการต้นทุนในการลดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิผลมากที่สุดมาตรการหนึ่ง อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่มุ่งเตรียมความพร้อมทุกภาคส่วนของประเทศไทยให้สามารถรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากมาตรการทางการค้าและข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมุ่งให้ภาคอุตสาหกรรมไทยขับเคลื่อนไปสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปีงบประมาณ 2558-2560 อบก. ได้จัดทำ “โครงการนำร่องระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย” อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2558 เพื่อทดสอบระบบการตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ (Measurement, Reporting and Verification System) หรือ ระบบ MRV ของ Thailand V-ETS สำหรับสาขาอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงรวมถึงพัฒนากฎการดำเนินงานและรูปแบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของระบบ Thailand V-ETS ให้มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศ ในปีงบประมาณ 2561 อบก. จึงเสนอให้จัดทำโครงการนำร่องระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย ระยะที่ 2 ขึ้น ซึ่งจะครอบคลุมการดำเนินงาน 3 ปี (2561-2563) เพื่อปรับปรุงระบบ MRV ตลอดจนทดสอบการดำเนินงานตามปฏิทินการดำเนินงานของระบบ Thailand V-ETS กับโรงงานนำร่องทั้ง 33 แห่ง ให้ครบถ้วนและต่อเนื่องโดยในครั้งนี้มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงใน 3 สาขา ที่เข้าร่วมโครงการในปี 2559 ดำเนินงานต่อเนื่องในปี 2561 ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษเข้าร่วมโครงการฯ สาขาละ 4 โรงงาน รวม 12 โรงงาน และมีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเพิ่มเติมใน 5 สาขา ที่เข้าร่วมโครงการในปี 2560 ดำเนินงานต่อเนื่องในปี 2561 ได้แก่ อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม 2 โรงงาน อุตสาหกรรมแก้วและกระจก 2 โรงงาน อุตสาหกรรมเซรามิก 3 โรงงานอุตสาหกรรมพลาสติก 4 โรงงานและอุตสาหกรรมอาหาร 8 โรงงาน รวม 19 โรงงาน และในปี 2561 มีโรงงานนำร่องเข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มเติม 2 โรงงาน ได้แก่ อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษและแก้วและกระจก สาขาละ1 โรงงานทั้งนี้ ผลการศึกษาที่ได้จะเป็นแนวทางในการนำระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Trading Scheme: Thailand V-ETS) ไปสู่การปฏิบัติใช้ได้จริงในอนาคต ในการนี้ ภายใต้ข้อกำหนดการศึกษาของโครงการนำร่องระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย ระยะที่ 3 ในปี 2562 นี้ ได้กำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมทั้ง 8 สาขาที่เข้าร่วมโครงการฯ ต่อเนื่อง จะต้องดำเนินการทวนสอบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรตามแนวทางการทวนสอบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับระบบ Thailand V-ETS เพื่อเป็นการติดตามผลการลดก๊าซเรือนกระจกของแต่ละสาขาอุตสาหกรรม ด้วยเหตุนี้ อบก.จึงมีความจำเป็นต้องจัดจ้างหน่วยงานผู้ทวนสอบซึ่งเป็นบุคคลที่ 3 ซึ่งผ่านการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานทวนสอบ (Verification Body: VB) กับ อบก. ในการรับรองผลการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงงานนำร่อง โดยปีนี้ได้มอบหมายให้ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านพลังงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ทวนสอบโรงงานภายใต้โครงการฯ 11 แห่ง โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.หาญพล พึ่งรัศมี เป็นหัวหน้าคณะผู้ทวนสอบ ดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 – สิงหาคม 2562 จากผลการดำเนินงานการทวนสอบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรตามแนวทางการทวนสอบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับระบบ Thailand V-ETS ของโรงงานทั้ง 11 แห่ง ผ่าน การรับรองโดยคณะผู้ทวนสอบ โดยมีระดับการรับรองแบบสมเหตุสมผล (Reasonable assurance) Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization) or TGO has conducted a research study and systematically implemented Thailand Voluntary Emission Trading Scheme (Thailand V-ETS) for many years in a row from the fiscal year 2009 to 2016. Thailand V-ETS is one of the effective measures for reducing voluntary GHG emission which is developed by TGO. The measure uses market-based mechanism by providing financial incentives for inventors and investors to encourage them to reduce their GHG emissions. Through Thailand V-ETS, all participants could increase their readiness and level of competency for learning to understand Emission Trading Scheme (ETS), the most cost-effective ways of reducing GHG emissions considered to be acceptable in many countries. This conforms to the government policies intending to prepare all sectors in Thailand to be in readiness for the effects of trade measures and the Framework Convention on Climate Change and push the industrial sector forward to the low-carbon economy system aligning The Ministry of Natural Resources and Environment Strategic Plan. In 2015 – 2017, Thailand Voluntary Emission Trading Scheme has been continuously implemented by TGO for the purpose of examing Measurement, Reporting and Verification System or MRV system for high-emitting sector and operating based on Thailand V-ETS action plan. In 2018, TGO proposes a pilot project for the second phase of Thai Voluntary Emissions Trading Scheme (2018-2020) to improve and test the MRV system in 33 pilot plants, including the steel industry, cement industry and pulp and paper industry (12 factories) and 5 high-emitting industry (petroleum, glass, ceramic, plastic and food and beverage) 19 factories. This study is a guideline for Thailand V-ETS in the future. In this year, Excellence Center of Eco-Energy, Thammasat University are assigned to serve as a verification body to verify 11 plants in the project, headed by Associate Professor Dr. Harnpon Phungrassami, and to conduct the verification during May to August 2019. The verification of those 11 plants was carried out to a reasonable level of assurance (Reasonable assurance) by the verification body. All of them were ceritified by Excellence Center of Eco-Energy, Thammasat University.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectทวนสอบโรงงานth
dc.subjectการปล่อยก๊าซเรือนกระจกth
dc.titleทวนสอบโรงงานนำร่องสำหรับสาขาอุตสาหกรรมแก้วและกระจก พลาสติก และอาหาร ภายใต้โครงการนำร่องระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย ประจำปี 2562th
dc.title.alternativeVilification of Glass, Plastic and Food plot industries for Thailand Voluntary Emission Trading Shane Pilot Implementation Project (ฺBy 2562)th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)th
cerif.cfProj-cfProjId2562A00555th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาสิ่งแวดล้อม (Environment sector : EV)th
turac.contributor.clientองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีth
cerif.cfProj-cfTitleทวนสอบโรงงานนำร่องสำหรับสาขาอุตสาหกรรมแก้วและกระจก พลาสติก และอาหาร ภายใต้โครงการนำร่องระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย ประจำปี 2562th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record