Show simple item record

dc.contributor.authorวาสินี วรรณศิริth
dc.date.accessioned2020-03-06T02:08:24Z
dc.date.available2020-03-06T02:08:24Z
dc.date.issued2563-03-06
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/747
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการติดตามการใช้ประโยชน์ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของจังหวัดที่เข้าร่วมในโครงการพัฒนาแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด ด้วยเทคโนโลยีการสำรวจข้อมูลระยะไกล และจัดทำชุดข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ประโยชน์ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจำนวน 3 ช่วงเวลา ในปี 2558 – 2559 ปี 2559 – 2560 และปี 2560-2561 โดยดำเนินการใน 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี สระแก้ว นครพนม และสตูล การประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์บอนสะสมของชีวมวล วิเคราะห์จากการใช้ประโยชน์ที่ดิน 6 ประเภทหลัก ได้แก่ ป่าไม้ เกษตรกรรม พื้นที่ทุ่งหญ้า พื้นที่น้ำ พื้นที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่อื่น ๆ และจำแนกพื้นที่เกษตรกรรม ออกเป็น 4 กลุ่มย่อย ได้แก่ นาข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และเกษตรกรรมอื่น ๆ ซึ่ง การติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้น ใช้วิธีการแปลตีความภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat จำนวน 4 ช่วงเวลา และประเมินปริมาณการปล่อยและกักเก็บก๊าซเรือนกระจกโดยใช้วิธีตามมาตรฐานการคำนวณตามคู่มือ Global Protocol for Community-Scale Greenhouse Gas Emission Inventories (GPC) และ 2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventory (2006 IPCC) โดยจากการศึกษา พบว่า จังหวัดสตูล และจังหวัดสระแก้ว เป็นจังหวัดที่อยู่ในกลุ่มของการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกทั้งสามช่วงปี โดยจังหวัดสตูลมีการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด พบในพื้นที่เกษตรกรรม โดยพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการกักเก็บก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ พื้นที่ปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมัน รองลงมา คือ พื้นที่ป่าไม้ และป่าชายเลน ซึ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินที่กล่าวมานั้นเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัด ทำให้ภาพรวมของจังห วัดมีการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกสูง ส่วนจังหวัดสระแก้วมีสัดส่วนการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในพื้นที่ป่าไม้ สรุปผลภาพรวมในปี 2558-2559 จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่อยู่ในกลุ่มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พบการปล่อยก๊าซเรือนมากที่สุดในพื้นที่ใด ๆ เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่สิ่งปลูกสร้างและที่อยู่อาศัย เนื่องจากจังหวัดชลบุรีมีการเพิ่มขึ้นของสิ่งปลูกสร้างเพื่อรองรับกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนออก ส่งผลให้ภาพรวมของจังหวัดชลบุรี ในปี 2558-2559 มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าการกักเก็บ แต่ในปี 2559-2560 และปี 2560-2561 จังหวัดชลบุรี มีการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น เนื่องจากการปล่อยก๊าซจากขยายตัวของพื้นที่สิ่งปลูกสร้างมีแนวโน้มลดลง จังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดที่อยู่ในกลุ่มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสามช่วงปี เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ส่วนใหญ่พื้นที่นาข้าว ประกอบกับมีพื้นที่ป่าไม้น้อยและเป็นป่าประเภทเต็งรังซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลับต่ำ ส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกพบมากที่สุดในกลุ่มของพื้นที่ใด ๆ เปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ทุ่งหญ้า และพื้นที่อื่น ๆ ตามลำดับ ผลการศึกษาที่ได้นี้ใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนโครงการพัฒนาแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด และการประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งที่นำเทคโนโลยีด้านการรับรู้ระยะไกลเข้ามาช่วยประเมิน ทำให้สามารถแสดงค่าของก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบแผนที่ รวมถึงระบุแหล่งปล่อยและแหล่งกักเก็บของก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วยข้อมูลสถานการณ์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ประโยชน์ที่ดินนี้ นอกจากจะมีประโยชน์อย่างยิ่งในการวางแผนรับมือการปล่อยและกักเก็บก๊าซเรือนกระจกแล้ว ยังจะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถกำหนดนโยบายและวางแผนการดำเนินโครงการที่จะช่วยลดการปล่อยหรือเพิ่มการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกที่มีประสิทธิภาพ นำข้อมูลไปใช้ได้จริง และมีความสอดคล้องกับลักษณะของแต่ละพื้นที่ต่อไป The objectives of this research were to study and develop a system for tracking land use and land use change by using remote sensing technology. Including to estimate the greenhouse gas emissions from land use change and land use change for 3 periods in 2015 - 2016, 2016 - 2017 and 2017-2018 in four provinces, which are Chon Buri, Sa Kaeo, Nakhon Phanom and Satun with composed of were assessed. The main types of land use are Forest, Agriculture, Grassland, Wetland, Settlement and Other land. There are 4 subgroups of rice, rubber, oil palm in agriculture land. The monitoring of 4 years Land use and Land use change assessed by LANDSAT 8 satellite imagery interpretation. The inventory of greenhouse gas emissions and reduction using the Global Protocol for Community-Scale Greenhouse Gas Emission Inventories (GPC) and 2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventory (2006 IPCC) methodology. The results of the study are summarized as follows: Satun Province and Sa Kaeo Province is a province that is the group of greenhouse gas storage in all three periods. Satun has the largest greenhouse gas storage found in agricultural areas which agricultural areas that contain carbon stock, such as rubber plantations and oil palm. The forest and mangrove areas where land use is the most area of the province causing the overall of the province to have high greenhouse gas storage. Sa Kaeo province has the highest proportion of greenhouse gas storage in forest areas. Summary of the overall results in 2015-2016, Chon Buri is a province in the group of greenhouse gas emissions. The most greenhouse gas emissions in any area changed to a building and residential area due to the increase of buildings to support the Eastern Special Development Zone. Resulting in Chon Buri province in 2015-2016 having more greenhouse gas emissions than storage. But in 2016-2017 and 2017-2018, Chonburi province is an increase in greenhouse gas storage due to the emission of gas from the expansion of the building area is likely to decrease. Nakhon Phanom is a province in the group of greenhouse gas emissions in all three periods. The most areas of the province are agricultural areas. In addition, there is dry dipterocarp forest which has low coefficient of absorption. Greenhouse gas emissions are the most common among any area change to agricultural areas, grassland and other areas, respectively. The results of the study will be used as supporting data for Provincial Greenhouse Gas Reduction Project Development and Assessment of Impacts. This is another step forward in bringing Remote Sensing technology to display greenhouse gas values in a map format including specifying emission and storage locations of greenhouse gases. Information of greenhouse gas situation from land use is useful in planning to handle greenhouse gas emissions and storage. It will also help government agencies set policies and plan projects that will help reduce greenhouse gas emissions or increase efficiency which consistent with the characteristics of each area.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกth
dc.subjectก๊าซเรือนกระจกth
dc.subjectการใช้ประโยชน์ที่ดินระดับจังหวัดth
dc.subjectเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศth
dc.titleประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ประโยชน์ที่ดินระดับจังหวัด ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศth
dc.title.alternativeEvaluating an amount of greenhouse gas from land use at provincial level with geospatial technologyth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)th
cerif.cfProj-cfProjId2562A00083th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาสิ่งแวดล้อม (Environment sector : EV)th
turac.contributor.clientองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีth
cerif.cfProj-cfTitleประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ประโยชน์ที่ดินระดับจังหวัด ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record