Show simple item record

dc.contributor.authorโมไนยพล รณเวชth
dc.date.accessioned2020-02-13T02:45:08Z
dc.date.available2020-02-13T02:45:08Z
dc.date.issued2563-02-13
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/713
dc.description.abstractการประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์การจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 นี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 1,208 คน จำแนกเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้ประกอบการ จำนวน 186 คน แรงงานต่างด้าว (เมียนมา ลาว กัมพูชา) จำนวน 552 คน และกลุ่มเป้าหมายรอง คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 26-50 ปี จำนวน 377 คน และประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป จำนวน 193 คน ทั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2562 ประสิทธิผลของโครงการประชาสัมพันธ์แรงงานต่างด้าวดังกล่าวนี้ จะถูกประเมินจาก 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว 2) ด้านความเข้าใจในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว 3) ด้านความเชื่อมั่นในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว 4) ด้านการนำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวไปใช้ประโยชน์ และ 5) ด้านการมีส่วนร่วมในการนำแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบการจ้างงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผลการประเมินพบว่า ผ่านเกณฑ์ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวได้ร้อยละ 80.1 (จากเกณฑ์ที่ร้อยละ 80.0) ด้านความเข้าใจในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวได้ร้อยละ 78.3 (จากเกณฑ์ที่ร้อยละ 78) ด้านความเชื่อมั่นในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวได้ร้อยละ 74.2 (จากเกณฑ์ที่ร้อยละ 74) ด้านการนำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวไปใช้ประโยชน์ได้ร้อยละ 73.5 (จากเกณฑ์ที่ร้อยละ 71) และด้านการมีส่วนร่วมในการนำแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบการจ้างงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้ร้อยละ 71.8 (จากเกณฑ์ที่ร้อยละ 65) การรับรู้ในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว พบว่า ประเด็นที่กลุ่มเป้าหมายรับรู้สูงที่สุด คือ การนำแรงงานต่างด้าวไปขึ้นทะเบียนและพิสูจน์สัญชาติ รองลงมา คือ แรงงานต่างด้าวจะได้รับความคุ้มครองและสิทธิต่าง ๆ เมื่อไปขึ้นทะเบียนและพิสูจน์สัญชาติ ภาครัฐได้ออกกฎหมาย ระเบียบ และข้อปฏิบัติที่มุ่งแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว แรงงานต่างด้าวมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศ สโลแกนที่ว่า “แรงงานถูกกฎหมาย มั่นใจ ปลอดภัยค้ามนุษย์” และช่องทางการสอบถามให้ข้อมูลเพื่อช่วยเหลือแรงงานต่างด้าว หรือผู้ประกอบการ (สายด่วน 1694 และ 1506) ตามลำดับ ความเข้าใจในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว พบว่า ประเด็นที่กลุ่มเป้าหมายเข้าใจ สูงที่สุด คือ แรงงานต่างด้าวสามารถประกอบอาชีพในไทยได้บางอาชีพเท่านั้น รองลงมา คือ แรงงานต่างด้าวมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันสังคมและสามารถทำบัตรประกันสุขภาพได้ การจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว สามารถดำเนินการได้ที่ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) แรงงานต่างด้าวที่เปลี่ยนงานโดยไม่บอกนายจ้าง หรือทำงานข้ามเขตพื้นที่จดทะเบียน ถือว่า ผิดกฎหมาย รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้นายจ้างดูแลลูกจ้างที่เป็นแรงงานต่างด้าวอย่างเท่าเทียมกันกับแรงงานชาวไทย แรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมาย ทำให้ทุกคนมั่นใจได้ว่า สังคมจะปลอดภัยและปราศจากการค้ามนุษย์ และหมายเลขโทรศัพท์ในการแจ้งเรื่องแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ คือ 1694 หรือ 1506 ตามลำดับ ความเชื่อมั่นในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว พบว่า กลุ่มเป้าหมายเชื่อมั่นว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวจากภาครัฐมีความถูกต้องสูงที่สุด รองลงมา คือ เชื่อมั่นว่า มีความรวดเร็ว และเชื่อมั่นว่า มีความเป็นกลาง ตามลำดับ การนำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวไปใช้ประโยชน์ พบว่า กลุ่มประกอบการส่วนใหญ่สนับสนุนให้มีการจัดระบบการบริหารจัดการที่ดีเกี่ยวกับเรื่องของแรงงานต่างด้าว และสนับสนุนให้แรงงานต่างด้าวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมอย่างสงบสุข ส่วนกลุ่มแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติตามหรือแนะนำผู้อื่นเกี่ยวกับแนวปฏิบัติทั่วไป หรือกฎระเบียบเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าวได้ สำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่สามารถนำข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ไปพูดคุยหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นได้ การมีส่วนร่วมในการนำแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบการจ้างงานอย่างถูกต้อง พบว่า กลุ่มผู้ประกอบการส่วนใหญ่นำแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบการจ้างงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวให้ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนกลุ่มแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของแรงงานต่างด้าวตามกฎหมาย และเข้าร่วมในกิจกรรม การอบรม ประชุม สัมมนาต่าง ๆ ที่จัดให้แรงงานต่างด้าวมาพูดคุยหรือรับฟังแนวทางแนวทางการปฏิบัติตนตามกฎหมาย สำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว The Evaluation of Publicity Program on Management of Migrant Workers for FY 2019 is a survey research, using questionnaire to collect data from 1,208 primary and secondary samples. The former group consist of 186 business operators and 552 migrant workers (Myanmar, Lao, and Cambodian), while the latter comprise 377 members of the general public aged 26-50 years and 193 people aged 51 years and above. Data were collected during May-June 2019. The efficiency of the program will be evaluated on five aspects: 1) exposure to information on migrant workers, 2) understanding of information on migrant workers, 3) confidence in information on migrant workers, 4) utilization of information on migrant workers, and 5) participation in bringing migrant workers into the regular employment system. The finding reveals that the program has satisfied the criteria in all five aspects: 80.1% for exposure to information on migrant workers (compared to the set criterion of 80.0%), 78.3% for understanding of information migrant workers (compared to the set criterion of 78%), 74.2% for confidence in information on migrant workers (compared to the set criterion of 74%), 73.5% for utilization of information on migrant workers (compared to the set criterion of 71%), and 71.8% for participation in bringing migrant workers into the regular employment system (compared to the set criterion of 65%). With regard to exposure to information on migrant workers, it is found that the issue that the target group is most exposed to is the registration of migrant workers and nationality verification, followed by the protection and various rights that the migrant workers are entitled to upon registration and nationality verification, the government’s issuance of laws, regulations, rules and procedures designed to resolve migrant worker issues, migrant workers’ contribution to national economic development, slogan of “legally employed workers are confident and safe from human trafficking”, and channel for inquiry to assist migrant workers or business operators (hotlines 1649 and 1506) respectively. With regard to understanding of information on migrant workers, it is found that the issue that the target group understand most is that migrant workers are allowed to work in Thailand only in certain occupations, followed by that migrant workers are entitled to protection from the social security system and can apply for health insurance cards, that registration of migrant workers can be made at One Stop Service centers, that it is illegal for migrant workers to change their employment without notifying their employers or work in the zone beyond their registration area, that the it is the government policy to support the employers’ action to equally treat migrant workers as Thai workers, that legally employed migrant workers help to assure everyone that society will be safe and free from human trafficking, and that the hotline numbers to report on migrant workers and human trafficking are 1694 or 1506, respectively. With regard to confidence in the information on migrant workers, it is found that the target group have the most confidence in the accuracy of the information from the public authorities on migrant workers, followed by confidence in the speed and objectivity respectively. With regard to utilization of information on migrant workers, it is found that most of the business operators support a good management system about migrant workers and support action that will improve their quality of life and enable them to live in society peacefully. Meanwhile, the majority of migrant workers are able to follow and advise others about general procedures or primary rules and regulations on migrant workers, while most of the general public can make use of the information on migrant workers and human trafficking in their conversation and exchange their opinions with others. With regard to participation in bringing migrant workers into the regular employment system, it is found that most of the business operators legally introduce migrant workers into the employment system and keep themselves informed of the management of migrant workers to ensure proper legal compliance. Most migrant workers keep themselves informed about legal practice and procedures and participate in activities, training, meetings and seminars that are organized to allow them to discuss or listen to ways to conduct themselves legally, while most of the general public also keep themselves informed about migrant workers.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectการประเมินผลโครงการth
dc.subjectการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวth
dc.titleการประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์การจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562th
dc.title.alternativeEvaluation of Publicity Program on Management of Migrant Workers for FY 2019th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมประชาสัมพันธ์th
cerif.cfProj-cfProjId2562A00440th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการวิจัยth
turac.researchSectorสาขาการพัฒนาเมือง (Urban Development sector : UD)th
turac.contributor.clientกรมประชาสัมพันธ์
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleการประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์การจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record