Show simple item record

dc.contributor.authorนิจ ตันติศิรินทร์th
dc.date.accessioned2020-01-21T07:41:35Z
dc.date.available2020-01-21T07:41:35Z
dc.date.issued2563-01-21
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/699
dc.description.abstractในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งรัฐบาลและเมืองพัทยา รวมถึงภาคธุรกิจและภาคประชาชนในท้องถิ่นต่างมีความเห็นร่วมกันในการพัฒนาเมืองพัทยา โดยมีเป้าหมายสำคัญในการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ จากการเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวสีเทา ให้กลายเป็นเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่ดี ในระดับภูมิภาคและระดับโลก สำหรับนักท่องเที่ยวคุณภาพทั้งชาวไทยและต่างชาติ นอกจากนี้การพัฒนาให้เมืองพัทยาเป็นเมืองที่สามารถดึงดูดการลงทุน เป็นที่ตั้งของธุรกิจที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความเป็นย่านนวัตกรรม เพื่อให้สามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากร ดึงดูดนวัตกร และนักลงทุน สร้างงานเพื่อปรับระดับรายได้ให้สูงขึ้น ให้ประชากรมีอาชีพที่มั่นคง มีการกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม และมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์นวัตกรรมเชิงพื้นที่ (area-based innovation strategy) ในการพัฒนาย่านนวัตกรรม (innovation district) เพื่อศึกษาและนำเสนอศักยภาพและปัญหาทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคมของการพัฒนาเมือง เพื่อเป็นแนวทางในการร่วมกันพัฒนาเมืองจากภาครัฐและเอกชน โดยเมืองพัทยาเป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องของการศึกษาการพัฒนาเมืองตามแนวคิดย่านนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองให้มีความสามารถในการดึงดูดนักลงทุน นวัตกร และทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถ เข้ามาลงทุน ทำงาน และอยู่อาศัยในเมือง รวมถึงเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่สำหรับทุกคน สอดคล้องและส่งเสริมแผนยุทธศาสตร์เมืองพัทยา ในการวิจัยตามโครงการนี้ คณะผู้วิจัยได้ศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสำคัญของโลก (global megatrend) นโยบายของรัฐ (plans and policies) ในฐานะที่เป็นกรอบใหญ่ของการพัฒนาในระดับภูมิภาค จากนั้นจึงวิเคราะห์ศักยภาพของเมืองพัทยา โดยใช้กรอบการพิจารณาตามองค์ประกอบของระบบนิเวศนวัตกรรม (innovation ecosystem) ซึ่งประกอบกันขึ้นจากสินทรัพย์ 3 ประเภท ได้แก่ สินทรัพย์ทางกายภาพ (physical assets) สินทรัพย์ทางเศรษฐกิจ (economic assets) และสินทรัพย์ทางเครือข่าย (networking assets) นอกจากนี้แล้ว คณะผู้วิจัยยังได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) โดยวิธีที่ใช้ในการศึกษาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลนั้น ผลการดำเนินโครงการพบว่ารูปแบบการกระจายตัวและการเคลื่อนที่ของประชากรในเมืองพัทยามีความน่าสนใจอย่างยิ่ง คือ ย่านที่พักอาศัยของคนในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นประชากรทั่วไป นักลงทุน หรือผู้ประกอบการ จะอยู่ทางฝั่งตะวันออกของถนนสุขุมวิทฝั่งทางรถไฟ แต่พื้นที่ที่รองรับการทำงาน การติดต่อธุระทั้งทางราชการ การเงิน และกิจกรรมทั่วไปจะต้องมีการเคลื่อนย้ายมาทางฝั่งตะวันตก ซึ่งพื้นที่แต่ละแห่งนั้น ก็ประสบปัญหาทั้งในเชิงกายภาพ และเศรษฐกิจ-สังคม อาทิ การจราจรติดขัด น้ำท่วมขัง อาคารร้าง ประชากรแฝง การขาดแหล่งงานคุณภาพ เป็นต้น วิสัยทัศน์ของการพัฒนาย่านนวัตกรรมพัทยา คือ “เมืองน่าอยู่และน่าทำงานสำหรับ นวัตกร คนทำงาน และผู้อยู่อาศัย ทั้งชาวไทยและต่างชาติ” โดยแนวทางการพัฒนาตามการดำเนินโครงการของผู้วิจัยสามารถแบ่งออกได้ 2 ด้าน คือ ด้านกายภาพ ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดเรื่องสินทรัพย์กายภาพ (physical assets) และด้านการบริหารจัดการซึ่งเป็นไปตามแนวคิดเรื่องสินทรัพย์ทางเศรษฐกิจ (economic asset) และสินทรัพย์เครือข่าย (networking asset) ตามองค์ประกอบของระบบนิเวศนวัตกรรม แนวทางการพัฒนาย่านนวัตกรรมในด้านกายภาพ คือการออกแบบเมืองและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการพักอาศัย การทำงานโดยเฉพาะการสร้างนวัตกรรม รวมทั้งการสร้างองค์ประกอบอื่น ๆ ของเมืองให้น่าอยู่และมีความยั่งยืน มีส่วนเปลี่ยนภาพลักษณ์ของเมืองพัทยาให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวและเมืองทำงานที่มีคุณภาพ ทั้งนี้แนวคิดของการออกแบบเมือง จะเกิดการผสมผสานกันระหว่างการสร้างย่าน (place making) และการคำนึงถึงการปรับตัวของพื้นที่เมือง (adaptive and resilient) ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ (climate change) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการย่านนวัตกรรมพัทยาที่ยั่งยืน การส่งเสริมให้เกิดศูนย์บริการด้านการลงทุนทางธุรกิจและนวัตกรรมในลักษณะของ one-stop service สามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระเบียบการต่าง ๆ ที่ชัดเจนและถูกต้อง หรือแม้แต่ข้อมูลเรื่องการใช้ชีวิต ติดต่อทำธุระในเมืองพัทยา คือสิ่งที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการเป็นอย่างยิ่ง รองลงมาคือการมีศูนย์หรือเครื่องมือสำหรับแปลภาษาให้คนจากชาติต่าง ๆ ได้เข้าถึงข้อมูลเมืองพัทยาได้ ทั้งนี้ กล่าวโดยสรุปคือหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการย่านนวัตกรรมอยู่ที่การรวบรวม จัดการและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data analysis) ให้มีประสิทธิภาพสามารถเข้าถึงได้ และนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการตัดสินใจในชีวิตประจำวันได้ไม่ว่าจะเป็นประชากรทั่วไป นวัตกร นักลงทุน และผู้บริหารเมือง Pattaya city is a special local administrative area located by the east coast of Thailand. The city can be broadly divided into three zones: North Pattaya, Central Pattaya, and South Pattaya. The City has an outstanding tourism economy. Natural tourist destinations are varied according to geographical location like seashore, hill, and island. Man-made tourist attractions, in addition, are also unique and popular like theme park, floating market, and theater. However, Pattaya also has a reputation of night economy. There have been many attempts from the city and local business in Pattaya to change this image of the city. Within the context of Thailand, people’s perception of ‘innovation’ seemed to be concrete when the Royal Thai Government approved the establishment of the National Innovation Agency (Public Organization) (NIA) in 2003, an independent of bureaucratic operations working under the supervision and management of the Ministry of Science and Technology. The NIA has major responsibilities in building innovation ecosystem to promote national economic development, particularly competitiveness in development strategies and in manufacturing fields. The NIA has formed various strategies in building and managing innovation ecosystem, such as innovation capability, innovation network, market innovation and innovation info-matics. However, there is another strategy paying particular attention to spatial development, so-called ‘area-based innovation.’ Such a strategy aims to accelerate innovation potential in multi-scaled places, i.e. regional corridor, city and district, and to generate the co-creation of communal innovation opportunities for people. It also maximizes people’s innovation potential at an area-based level, leading to the Innovation Corridor, Innovation City, and Innovation District. It also aims to promote infrastructure development conforming to the advancement of an innovative ecosystem. Pattaya city is one of the pilot sites of NIA projects. To examine the development guideline of Pattaya Innovation District, the researcher reviews global trends as well as plans and policies of the government to develop a framework to analyze the development potential of Pattaya. The framework particularly considers three major components of innovation ecosystem: physical assets, economic assets, and networking assets. The researcher also interviewห stakeholders to gain better understanding of innovation ecosystems in the city. The analysis shows that the distribution of residential-related activities for local residents in Pattaya city is concentrated in the Sukhumvit Road near the railway. However, the concentration of businesses and financial services is in the west, which is the area facing many development challenges, for example, severe traffic congestion, floods, and under-utilized or abandoned buildings. The vision for Pattaya Innovation District development is “Livable city and pleasant working environment for innovators, workers, and residents, both Thais and foreigners.” To develop the innovation districts, three aspects of innovation ecosystems: physical assets, economic assets, and networking assets, are emphasized. The development plan pays particular attention to physical assets to create a pleasant environment for living and working using place making strategies as well as being adaptive and resilient to changing environment and climate change. To sustain the development of Pattaya Innovation District, the establishment of an agency that can promote investments and businesses as a one-stop service center is essential. The service center can provide important information, rules, and regulations to investors, innovators, and residents that are crucial for Pattaya city. In addition, language translation service is highly needed to enable the city to incorporate small and medium size foreign innovators and investors. Most importantly, database management should be formally established and utilized so that resources and assets in the city can be efficiently used in a more sustainable way.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectย่านนวัตกรรมพัทยาth
dc.subjectศูนย์กลางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวth
dc.subjectPattaya Innovationth
dc.titleการพัฒนาย่านนวัตกรรมพัทยา (Pattaya Innovation District Development)th
dc.title.alternativePattaya Innovation District Developmentth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)th
cerif.cfProj-cfProjId2560A00536th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการพัฒนาเมือง (Urban Development sector : UD)th
turac.contributor.clientสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleการพัฒนาย่านนวัตกรรมพัทยา (Pattaya Innovation District Development)th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record