Show simple item record

dc.contributor.authorภุชงค์ เสนานุชth
dc.date.accessioned2019-12-13T04:20:27Z
dc.date.available2019-12-13T04:20:27Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/689
dc.description.abstractโครงการติดตามและประเมินผลมาตรฐานการดำเนินงานด้านสตรีและครอบครัวของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลและตรวจประเมินผลปฏิบัติงาน และวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามมาตรฐานการดำเนินงานด้านสตรีและครอบครัว ของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ตลอดจนเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานด้านสตรีและครอบครัวของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวทั้ง ๘ แห่ง ให้สามารถดำเนินงานได้สอดคล้องกับมาตรฐานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเกิดความคุ้มค่าตามเป้าหมายที่กองคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวได้กำหนดไว้ โดยมีคณะผู้ตรวจประเมินซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาองค์การสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม ด้านการพัฒนาสตรีและครอบครัว สิทธิสตรีและความเสมอภาคระหว่างเพศ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภุชงค์ เสนานุช (หัวหน้าคณะผู้ติดตามและตรวจประเมินมาตรฐาน) รองศาสตราจารย์เล็ก สมบัติ และรองศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญประภา ภัทรานุกรม นอกจากนี้ยังมีผู้แทนจากกองคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ กองส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ กองส่งเสริมสถาบันครอบครัว กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานเลขานุการกรม และศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ร่วมเป็นคณะกรรมการติดตามและตรวจประเมินมาตรฐาน สำหรับผลการติดตามและตรวจประเมินมาตรฐาน พบว่าศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวทั้ง ๘ แห่ง สามารถปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานการดำเนินงานด้านสตรีและครอบครัวของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวในระดับดีเลิศ (โดยทั้ง ๘ แห่ง มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม ตามเกณฑ์ประเมินมาตรฐาน คือ ค่าคะแนนตั้งแต่ ๓.๕๑-๔.๐๐ เท่ากับระดับดีเลิศ) ภาพรวมการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวด้านการพัฒนาสตรีและครอบครัวทั้ง ๘ แห่ง ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่สตรีและครอบครัวเพื่อให้สามารถมีอาชีพและรายได้ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน การป้องกันไม่ให้เป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์และการค้าประเวณี ตลอดจนปัญหาสังคมอื่น ๆ รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้แก่สตรีและครอบครัว อย่างไรก็ตามการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย/กลุ่ม โดยการแก้ไข บำบัดและฟื้นฟูผู้ประสบปัญหาสังคม ตลอดจนการส่งเสริมสิทธิ บทบาทหญิงชาย และความเสมอภาคระหว่างเพศ ยังคงเป็นภารกิจที่ท้าทายของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว และยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะประเด็นการบรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคน ซึ่งเป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว คณะผู้ติดตามและตรวจประเมินมาตรฐานมีข้อเสนอแนะต่อกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวดังนี้ ๑) ควรมีการวิเคราะห์และประเมินค่างาน ลักษณะหน้าที่ ความรับผิดชอบ คุณภาพงาน และความยุ่งยากของงานที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวดำเนินการอยู่ให้เป็นปัจจุบัน เพื่อที่จะกำหนดระดับตำแหน่งให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม มีความสอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในระดับสากลและบริบททางสังคมไทยที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ๒) ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ควรจะต้องเป็นบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้นจากตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษเป็นระดับเชี่ยวชาญ ๓) การดำเนินงานด้านการพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคใต้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวเพิ่มอีก ๑ แห่ง เนื่องจากศูนย์เรียนรู้ฯ เดิมมีพื้นที่รับผิดชอบกว้างไกลครอบคลุมภาคใต้ทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทั่วถึง ทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมในการปฏิบัติงาน ตลอดจนไม่สามารถจัดบริการสังคมให้ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ๔) กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวควรริเริ่มและพัฒนาโครงการใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เพื่อจะได้จัดสรรงบประมาณให้ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวได้พัฒนาสมรรถนะของบุคลากร และสนับสนุนโครงการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตามคณะผู้ติดตามและตรวจประเมินมีข้อเสนอแนะแต่ละมาตรฐานดังนี้ มาตรฐานที่ ๑ การบริหารจัดการ๑) ควรมีการทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัดร่วมกันระหว่างกองต่าง ๆ และศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว (อาจเป็นวิสัยทัศน์ร่วมกัน) ซึ่งศูนย์เรียนรู้ฯ ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้เน้นประเด็นการส่งเสริมสิทธิ บทบาทหญิงชาย และความเสมอภาคระหว่างเพศ ๒) ผู้นำของหน่วยงานควรเน้นย้ำการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ขององค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการรับรู้ ซึ่งจะนำไปสู่การขับเคลื่อนงานให้บรรลุตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ 3) ควรมีการติดตามและประเมินผลแผนการดำเนินงานของหน่วยงานทุก ๖ เดือน และนำผลการประเมินไปปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 4) ควรมีการจัดทำแผนการดำเนินงาน/โครงการด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ รวมทั้งควรมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ 5) ควรมีการจัดทำแผนการฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานให้มีสมรรถนะตามการจัดโครงสร้างการปฏิบัติงานของศูนย์เรียนรู้ฯ เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ทักษะที่เชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานเฉพาะด้าน สามารถเป็นนักฝึกอบรมที่ให้ความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการพัฒนาสตรีและครอบครัว สิทธิสตรี บทบาทหญิงชาย ความเสมอภาคระหว่างเพศ การถอดบทเรียน การจัดการความรู้ เทคนิคการเขียนโครงการ เทคนิคการติดตามประเมินผล การเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ รวมทั้งการฝึกทักษะอาชีพให้แก่ครู เป็นต้น 6) ควรมีการประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่ผลงาน/การดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ฯ ที่หลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ผ่านการประชุมร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ไว้ที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วย มาตรฐานที่ ๒ การคุ้มครอง และพัฒนาอาชีพ ๑) ศูนย์เรียนรู้ฯ ควรมีการถอดบทเรียนความรู้ ความชำนาญของครูสอนวิชาชีพที่มีประสบการณ์ยาวนานไว้ เพื่อถ่ายทอดสู่ครูรุ่นหลัง ๒) ศูนย์เรียนรู้ฯ ควรวิเคราะห์อัตรากำลังผู้ปฏิบัติงานของศูนย์เรียนรู้ฯ โดยเฉพาะอัตรากำลังครูผู้สอนหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อวางแผนจัดหาครูผู้สอนทดแทนหรือรับการถ่ายทอดความรู้จากครูที่เกษียณอายุ ๓) ศูนย์เรียนรู้ฯ ควรร่วมกันทบทวนสถานการณ์ความรุนแรงต่อสตรีและครอบครัวในพื้นที่ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ โดยการทำงานเชิงรุกเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ถือว่าเป็นงานที่ท้าทายบทบาทในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรี รวมถึงความเสมอภาคระหว่างเพศ ซึ่งเป็นเป้าหมายใหม่ในการทำงานของศูนย์เรียนรู้ฯ 4) ศูนย์เรียนรู้ฯ ควรพัฒนางานวิจัยจากข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาใช้บริการในศูนย์เรียนรู้ฯ และวิเคราะห์สถานการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ใช้บริการ มาตรฐานที่ ๓ การส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ใช้บริการ ๑) บุคลากรของศูนย์เรียนรู้ฯ ควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพทั้งด้านการดูแลสุขภาพ การออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มสมรรถนะทางร่างกาย ๒) ควรมีการติดตามผลภายหลังการสำเร็จการอบรมของแต่ละหลักสูตร โดยสรุปเป็นรายงานแล้วนำผลมาปรับปรุง พัฒนาการจัดบริการให้ดียิ่งขึ้น ๓) จัดทำฐานข้อมูลผู้สำเร็จการอบรม (ศิษย์เก่า) ของแต่ละหลักสูตร และติดตามผล รวมถึงปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน เพื่อให้ทราบถึงความสำเร็จของการฝึกอบรม และการใช้ประโยชน์เป็นภาคีเครือข่ายในการปฏิบัติงานของศูนย์เรียนรู้ฯ ต่อไป ๔) ศูนย์เรียนรู้ฯ ควรสร้างระบบฐานข้อมูลของผู้ใช้บริการตามความเหมาะสมของประเภทข้อมูลและมีความเป็นลักษณะเฉพาะของศูนย์เรียนรู้ฯ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์เป็นสารสนเทศเพื่อการบริหารและการพัฒนาการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ ๕) ควรมีการพัฒนาบุคลากรอย่างเร่งด่วน เพื่อรองรับบทบาทใหม่ที่ท้าทายต่อการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ฯ มาตรฐานที่ ๔ การส่งเสริมความเข้มแข็งของสตรี และครอบครัว ๑) ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรเข้าใจแนวคิด มีความรู้และทักษะด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ สิทธิสตรี และความเข้มแข็งของครอบครัวอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จนสามารถประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง ๒) ควรส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านการพัฒนาสตรี ครอบครัว และความเสมอภาคระหว่างเพศในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศในศูนย์การเรียนรู้ด้านการส่งเสริมความเข้มแข็งของสตรีและครอบครัว เช่น การฝึกอบรม การจำลองสถานการณ์ และการจัดนิทรรศการ เป็นต้น มาตรฐานที่ ๕ การพัฒนาศักยภาพบทบาทสตรี ครอบครัว และความเสมอภาคระหว่างเพศ ๑) ควรร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ อัตลักษณ์ แผนการดำเนินงาน และงบประมาณตามแผนในด้านการส่งเสริมสิทธิสตรี บทบาทหญิงชาย และความเสมอภาคระหว่างเพศให้ชัดเจน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวอย่างแท้จริง ๒) ศูนย์เรียนรู้ฯ ต้องสนับสนุนให้บุคลากรทุกภาคส่วนได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการพัฒนาสิทธิสตรี ครอบครัว และความเสมอภาคระหว่างเพศ เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมและสร้างบรรยากาศในการทำงานทางด้านการพัฒนาสตรี ครอบครัว และความเสมอภาคระหว่างเพศอย่างจริงจังในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การกำหนดอัตลักษณ์ร่วมกัน การจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วม และการฝึกอบรม เป็นต้นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.titleติดตามและประเมินผลมาตรฐานการดำเนินงานด้านสตรีและครอบครัวของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวth
dc.title.alternativeAssessing and​ Evaluating the​ Standard of​ Performance for​ Women and​ Family​ of​ Learning Center for​ Women​ and​Family​ Develop​ment, ​Department of​ Women​'s Affairs​ and​ Family​ Developmentth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวth
cerif.cfProj-cfProjId2562A00209th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleติดตามและประเมินผลมาตรฐานการดำเนินงานด้านสตรีและครอบครัวของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record