Show simple item record

dc.contributor.authorเกียรติอนันต์ ล้วนแก้วth
dc.date.accessioned2019-12-11T07:01:33Z
dc.date.available2019-12-11T07:01:33Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/682
dc.description.abstractการดำเนินงานที่ผ่านมา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดทำโครงการแผนงานขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์เพื่อเศรษฐกิจและสังคมฐานราก (ยกระดับ OTOP ในพื้นที่ 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศ) ซึ่งนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ที่ผ่านการวิจัยและพัฒนาและจัดระเบียบองค์ความรู้แล้ว ไปถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการ OTOP โดยมีผลการศึกษาจำแนกตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อพัฒนากระบวนการ เครื่องมือ ตลอดจนทำการประเมินมูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม จากผลการเนินงานโครงการยกระดับ OTOP ใน 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศ การพัฒนากระบวนการในการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม เริ่มจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาเครื่องมือการประเมินที่เหมาะสมสำหรับโครงการ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างของผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกเป็น 5 กลุ่ม ตามประเภทกิจกรรมที่เข้าร่วม กลุ่มที่ 1. สัมมนาเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน วทน. และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการ OTOP กลุ่มที่ 2. การจัดทำ Product Champion รายจังหวัด กลุ่มที่ 3. การพัฒนาผู้นำกลุ่ม OTOP ให้มีทักษะด้านการตลาด กลุ่มที่ 4. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้แก่กลุ่ม OTOP ที่มีศักยภาพ และ กลุ่มที่ 5. กิจกรรมส่งเสริมการตลาด วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อสำรวจระดับการรับรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) และการนำ วทน.ของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เข้าร่วมโครงการยกระดับ OTOP ใน 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศ สัมมนาเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน วทน. และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการ OTOP ระดับการรับรู้ความเข้าใจเนื้อหาหลักสูตรก่อนและหลังการฝึกอบรม จำแนกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ พบว่า ภาพรวมการรับรู้และความเข้าใจเนื้อหาก่อนการอบรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.61 คะแนน และภายหลังผ่านการอบรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 คะแนน มีระดับการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.39 ภาพรวมแนวโน้มการนำไปใช้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 คะแนน ระดับการใช้ประโยชน์มีค่าเฉลี่ย 4.03 คะแนน วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อทำการประเมินความคุ้มค่าจากการลงทุนของโครงการยกระดับ OTOP ใน 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศต่อเงินงบประมาณแผ่นดินที่ได้รับการจัดสรร จากการประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมพบว่า โครรงการนี้ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมประมาณ 2,945,226,779.125 บาท ถึง 3,204,482,462.852 บาท และช่วยให้เศรษฐกิจของจังหวัดเป้าหมายแต่ละจังหวัดขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 0.92% ต่อปี นอกจากนี้แล้ว ผลการประเมินความคุ้มค่าของโครงการพบว่า งบประมาณที่ใช้ในโครงการ 1 บาท สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมได้ประมาณ 7.75 ถึง 8.43 บาท จึงเป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าในการลงทุน This study aims at estimating the socio-economic impact of innovation training for OTOP producers in 10 provinces provided by the Thailand Institute of Scientific and Technological Research (TISTR). The method developed for this study is based on the approach known as Social Returns on Investment (SROI). Prior to employing this method to the context of this study, the consultants did extensive literature review to find to right technical approach which are in line with the objective of this study. By and large, total social and economic value from this training is around 2,945 million to 3,204 million Baht. Provincial-wise economic impact was estimated to increase gross provincial products by around 0.95 percent. The SROI was approximated to be in the order o 1: 7.75 to 1: 8.43; therefore, this training project provide benefits to stakeholders in the area at the rate of 7 to 8 times higher that the cost in terms of public funds. In addition, the evaluation of training outcome also revealed that around 90 percent of participants confirmed that they have better understanding of the knowledge compared to before they attended the meeting. On the scale of 5, pre-training average score was 2.61; the post-training average score was 4.16. Both of these evidences confirmed that the project carried out by TISTR has been successful.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectOTOPth
dc.subjectประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมth
dc.titleประเมินผลลัพธ์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการยกระดับ OTOP ใน 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศth
dc.title.alternativeTISTR SROI for 10 Provincesth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยth
cerif.cfProj-cfProjId2562A00071th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการเกษตรและการพัฒนาชนบท (Agriculture And Rural Development sector : AG)th
turac.contributor.clientสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleประเมินผลลัพธ์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการยกระดับ OTOP ใน 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record