Show simple item record

dc.contributor.authorอุรุยา วีสกุลth
dc.date.accessioned2019-12-11T04:25:51Z
dc.date.available2019-12-11T04:25:51Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/676
dc.description.abstractตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย ได้มอบหมายให้สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการเกิดอุทกภัย การจัดการความเสี่ยงด้านอุทกภัยของชุมชน และวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอุทกภัย เป็นการดำเนินการในระยะที่ 1 เพื่อเป็นพื้นฐานในการกำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอุทกภัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ สามารถลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุทกภัยได้ต่อไป สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการสุ่มตัวอย่างเพื่อสำรวจข้อมูลชุมชนที่เป็นพื้นที่เสี่ยง และลงทะเบียนกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยไว้แล้ว จำนวนทั้งสิ้น 113 ชุมชน จากจำนวนชุมชนทั้งสิ้น 1,385 ชุมชน ในเขตจังหวัดนนทบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และจังหวัดลพบุรี โดยเริ่มดำเนินงานตามสัญญาจ้างตั้งแต่ วันที่ 7 กรกฎาคม 2560 ถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 การสำรวจฯ ดังกล่าว สำนักงานศูนย์วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนในการจัดการความเสี่ยงด้านอุทกภัยของชุมชนโดยใช้ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบในการวิเคราะห์ได้แก่ 1) ผลการประเมินคุณภาพการจัดการความเสี่ยงด้านอุทกภัย สรุปว่าคุณภาพการจัดการความเสี่ยงของชุมชนตัวอย่างมีคุณภาพในระดับปานกลางและแผนจัดการความเสี่ยงด้านอุทกภัยจะเกี่ยวข้องกับคุณภาพการจัดการความเสี่ยงของชุมชน และพบว่าชุมชนส่วนใหญ่ไม่มีแผนจัดการความเสี่ยงของชุมชน 2) ในชุมชนมีบุคลากรหลายฝ่ายที่มีบทบาทในการจัดการความเสี่ยงด้านอุทกภัย เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน อสม. อปพร. รวมทั้งหน่วยงานภายนอก เป็นต้น แต่ยังขาดการบริหารจัดการที่จะบูรณาการทรัพยากรรวม ทั้งยังขาดเจ้าภาพในชุมชนที่จะทำหน้าที่ขับเคลื่อนกิจกรรมการจัดการความเสี่ยงด้านอุทกภัยของชุมชน 3) ความตระหนัก/ความสำนึก (awareness) เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงของชุมชน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอยู่ในระดับมาก เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของคนในชุมชนที่พร้อมจะดำเนินกิจกรรมการจัดการความเสี่ยงด้านอุทกภัยของชุมชนหากได้รับการกระตุ้นและการพัฒนาให้เหมาะสม ดังนั้นการพัฒนาความตระหนัก หรือการรับรู้แนวทางการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 4) การอบรมและการถ่ายทอดความรู้ฯ ช่วงเวลาที่ผ่านมา การอบรมความรู้ด้านภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน (CBDRM) อาจสร้างการรับรู้ได้ (awareness) แต่การนำไปปฏิบัติ ยังไม่สามารถทำให้ผู้เข้าอบรมเห็นประโยชน์ และยอมรับมาใช้ปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังขาดแหล่งความรู้ในชุมชนท้องถิ่น ที่จะเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงฯ ให้ผู้นำชุมชน และประชาชนให้เข้ามาเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง 5) โครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์เผชิญเหตุ พบว่าโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องซ่อมมีสัดส่วนสูงสุดคือ พนังกั้นน้ำ ส่วนใหญ่จะอยู่ในจังหวัดลพบุรี นอกจากนี้การวิเคราะห์ระดับความพร้อมของชุมชนในการรับมืออุทกภัย ดำเนินการโดยให้กลุ่มตัวอย่างประเมินจากสถานภาพโครงสร้างพื้นฐาน และอุปกรณ์เผชิญเหตุ พบว่าชุมชนตัวอย่างมีความพร้อมการเผชิญเหตุในระดับพอใช้ มีสัดส่วนมากที่สุด As the Department of Disaster Prevention and Mitigation, together with the Asian Development Bank, has appointed the Thammasat University Research and Consultancy Institute to conduct a research in relations to the Community – Based Flood Risk Management and Disaster Response in the Chao Phraya Basin, as well as to analyze the capability of the society in managing the flood risk. The process occurred in the phase 1 as a base in determining the capability enhancement process plan in the Community – Based Flood Risk Management properly and effectively to reduce the flood damages in the future. The Thammasat University Research and Consultancy Institute had conducted the sampling survey in the risk-prone areas, which have already been registered with the Department of Disaster Prevention and Mitigation. There were 113 communities from the total of 1,385 communities from Nonthaburi, Ayutthaya, Ang Thong, and Lopburi. The institute had performed the survey research according to the contract from 7th July 2017 until 28 February 2018. According to its result, the institute had analyzed the capability of the community in terms of flood risk management using the following components in the analysis. 1) The Quality Assessment of the Flood Risk Management – This resulted that the surveyed communities have a moderate quality in managing the flood risk. But the communities don’t have the risk management plans to cope with the risk in the community. 2) Human Resource – There are many personals, who serve the community in managing the flood risk, such as the village headman, village council, village health volunteers (VHV), civil protection volunteers (CPV), and the outside sectors. However, the communities are still in need of a management system in resources development as well as a host within the community who will lead the activities in regards to the flood risk management. 3) Awareness – Relating to the awareness of the risk management in the community, the research has found that the awareness level within the surveyed group was high, reflecting that the people within the communities have an ability and are ready to participate in the risk management activities, when they are properly influenced and instructed. Therefore, in order to increase the awareness and knowledge in managing the risk in the community, a constant development is very much needed. 4) Training and Knowledge – Previously, the training in the Community – Based Disaster Risk Management (CBDRM) might have helped in increasing the awareness among the villagers, yet the communities still lack of continual implementation to show the benefits of the management. Moreover, the villages are in need of a knowledge center, which would help in expanding the knowledge in risk management to both the village leaders, and the villagers to participate in on a regular basis. 5) Infrastructure and Emergency Response Equipments – the research had found that the infrastructure that is in a great need of reconstruction is the levees, which are mostly in Lopburi province. Furthermore, after analyzing the preparedness of the people in handling the flood by evaluating the infrastructure and the emergency response equipments, we have found that the largest proportion of the community is in the fair level.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.titleบริหารจัดการความเสี่ยง ด้านอุทกภัยโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน และการรับมือกับภัยพิบัติในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาth
dc.title.alternativeCommunity-Based Flood Risk Management and Disaster Response in the Chao Phraya Basinth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยth
cerif.cfProj-cfProjId2560A00577th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการวิจัยth
turac.researchSectorสาขาสิ่งแวดล้อม (Environment sector : EV)th
turac.contributor.clientกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีth
cerif.cfProj-cfTitleบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอุทกภัยโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน และการรับมือกับภัยพิบัติในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record