Browsing โครงการที่ปรึกษา by Research Sector "สาขาการบริหารและการพัฒนาองค์กร (Management and Institutional Development sector : MID)"
Now showing items 41-60 of 60
-
พัฒนาองค์กรและระบบการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศโดยรัฐ
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-12-04)
รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์กรและระบบการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศโดยรัฐใช้การศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed methods) จากการศึกษาเอกสาร การสำรวจด้วยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้อง และการศึกษาดูงานหน่วยงานด้านการส่งแรงงานไปต่างประเทศของประเทศฟิลิปปินส์ การศึกษามีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษา/วิเคราะห์ปัญหาการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศโดยรัฐ รวมทั้งแนวโน้มความต้องการแรงงานในอนาคต 2) เพื่อให้คำปรึกษา รวมทั้งเสนอแนะรูปแบบองค์กรและแนวทางการให้บริการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศโดยรัฐที่มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ ... -
พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นเพื่อรองรับโอกาสเเละผลกระทบจากการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามเเนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-11)
วัตถุประสงค์ของงานศึกษาประกอบด้วย 1) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นสู่ ความยั่งยืนของจังหวัดในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ โดยพิจารณาความเชื่อมโยงระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน 2) เพื่อประเมินโอกาสและผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้และการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 3) เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นสู่ความยั่งยืนเพื่อรองรับโอกาสและผลกระทบจากการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ และ 4) เพื่อนำองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยมา ... -
พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ประจำปี 2561
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-10)
วัตถุประสงค์ของโครงการ : 1. เพื่อให้การปฏิบัติงานของกองทุนฯ สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีทิศทางการดำเนินงานระยะยาวที่ชัดเจน สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาพลังงานของประเทศ การอนุรักษ์พลังงาน และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 2. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินการของกองทุนฯ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับทิศทางของยุทธศาสตร์อนุรักษ์พลังงาน ระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนฯ และเกณฑ์การชี้วัดของกรมบัญชีกลาง 3. เพื่ออำนวยการให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็น ร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานของกองทุนฯ และดำเนินการในแผนต่าง ... -
ยกระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG) และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-21)
โครงการการยกระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG) และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม (CSR) มีที่มาจากองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) มีแนวทางการบริหารจัดการองค์กรที่สอดคล้องตามทิศทางนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโคนมไทยที่มี ความรับผิดชอบต่อสังคม และสร้างความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงโคนมอย่างยั่งยืน โดยเน้นกระบวนการทำแผนและทบทวนแผนการปฏิบัติงานประจำปีทุกปี เพื่อให้การนำแผนไปสู่การปฏิบัติใน อ.ส.ค. โดยได้ทำการทบทวนแผนวิสาหกิจ 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564) สำหรับปี พ.ศ. 2561 โดยนำนโยบายประเทศไทย 4.0 (THAILAND 4.0) ... -
ยกระดับขีดความสามารถของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาระดับพื้นที่
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-06)
อุตสาหกรรมไมซ์เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศสูง เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ผนวกเรื่องการเดินทางและการทำงาน/ประกอบธุรกิจ ทำให้เกิดประโยชน์อย่างน้อย 2 ประการได้แก่ 1) เกิดการใช้จ่ายของนักเดินทางไมซ์และการจ้างงานเพื่อจัดกิจกรรมการจัดประชุม/สัมมนา/นิทรรศการ/การท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งนักเดินทางไมซ์เป็นนักเดินทางธุรกิจย่อมมีการใช้จ่ายในอัตราสูงกว่าการท่องเที่ยวแบบทั่วไป และ 2) เป็นโอกาสในการสนับสนุน ความโดดเด่นของธุรกิจ/อุตสาหกรรมของเมืองที่จัดงานให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ปัจจุบันอุตสาหกรรมไมซ์กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมาณฑล ... -
ยกระดับธุรกิจเริ่มต้น (Boost up New Entrepreneurs) ปี 2563
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-03-04)
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการพัฒนาผู้ประกอบการที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกภูมิภาคและทำธุรกิจใน ภาคผลิต ภาคการค้า ภาคบริการ และภาคการเกษตร ให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่งคั่งและยั่งยืน และใน 3 ปีที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่กว่า 30,000 ราย เพื่อกระตุ้นให้เกิดนักธุรกิจใหม่ขึ้นทั่วประเทศ โดยมีการพัฒนาแนวคิดและแผนธุรกิจที่มุ่งเน้นให้สามารถขายสินค้าได้ เป็นที่ยอมรับของสถาบันการเงิน และสามารถเพิ่มมูลค่า ก่อให้เกิดรายได้มากขึ้น การพัฒนาที่ผ่านมาเป็นเพียงการพัฒนาระยะเริ่มต้นธุรกิจ ผู้ประกอบการบางส่ว ... -
ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารทะเลให้เป็นศูนย์กลางผลิตอาหารทะเลแห่งอนาคต ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2564 – 2566)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-01-29)
โครงการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารทะเลให้เป็นศูนย์กลางผลิตอาหารทะเลแห่งอนาคต ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2564 – 2566) ภายใต้การดำเนินของ ศภ.8 มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายในระดับพื้นที่ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ให้สอดคล้องกับกรอบนโยบายและการพัฒนาประเทศในภาพรวมและเป็นไปตามภารกิจการดำเนินงานใหม่ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภารกิจในการเป็นหน่วยงานวิชาการในการเสนอความเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจชุ ... -
วิเคราะห์เนื้อหารายการ ฟังเสียงประเทศไทย โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-18)
โครงการฟังเสียงประเทศไทยเป็นการสร้างกลไกและพื้นที่สำหรับการรับฟังเสียงประชาชน (Public consultation) เพื่อส่งถึงระดับนโยบาย เป็นการตอกย้ำหลักการสื่อสาธารณะในการเปิดพื้นที่รับฟังสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม ทั้งภาคประชาชน ราชการ และการเมือง ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศเป็นโครงการผลิตเนื้อหาและเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการวาระหลักการเมืองการกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามเนื้อหาวาระหลักขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ในปีพ.ศ. 2563 ทั้งนี้เพื่อให้การขับเคลื่อนวาระหลักการเมืองการกระจายอำนาจบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ ... -
วิเคราะห์และประเมินรูปแบบเพื่อพัฒนารูปแบบและแนวทางการดำเนินงาน ของสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
(สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2023-01-13)
รายละเอียดตามเอกสารแนบ -
ศึกษาความเป็นไปได้และโอกาสของประเทศไทยในการประมูลสิทธิ์และจัดงานเอ็กซ์โปวาระพิเศษ (Specialized Expo)
(สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2023-04-04)
รายละเอียดตามเอกสารแนบ -
ศึกษาวิเคราะห์อัตรากำลัง (Supply Analysis) เพื่อจัดทำแผนอัตรากำลังของการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
(สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-12-13)
รายละเอียดตามเอกสารแนบ -
ศึกษาเพื่อกำหนดรูปแบบ สถาบันส่งเสริมการฝึกวิชาชีพและทักษะการทำงาน สำหรับจัดตั้งหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (SDU)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-02)
กรมราชทัณฑ์มีนโยบายที่จะจัดตั้งองค์กรรูปแบบพิเศษ SDU (Services Delivery Unit) โดยใช้ชื่อ ‘สถาบันส่งเสริมการฝึกวิชาชีพและทักษะการทำงาน’ ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งของการแก้ปัญหาด้วยการนำภารกิจด้านการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ และการบริหารแรงงานรับจ้างผู้ต้องขัง ออกนอกระบบ โดยตั้งให้เป็นองค์กรพิเศษเฉพาะทางที่มีความคล่องตัว การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาประเมินสภาพแวดล้อมขององค์กรและภารกิจต่าง ๆ ของกรมราชทัณฑ์เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้และรูปแบบการจัดตั้งองค์กรที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่าการจัดตั้งหน่วยบริการรูปแบบพิเศษจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพงานของกรมรา ... -
ศึกษาแนวทางการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดตั้งส่วนราชการให้มีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ชาติ
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-04-02)
ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ระบบราชการของประเทศไทยขาดความยืดหยุ่นและคล่องตัวมาจากการที่ส่วนราชการในระดับกระทรวง ทบวง กรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ตามมาตรา 7 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และการกำหนดให้การจัดตั้ง การรวม หรือการโอนส่วนราชการดังกล่าว ให้กระทำโดยการตราเป็นพระราชบัญญัติ ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ส่งผลให้การจัดตั้ง รวม โอน หรือยุบเลิกกระทรวง ทบวง กรม กระทำได้ยาก เพราะต้องจัดทำเป็นร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาซึ่งใช้เวลานาน ทำให้ไม่สามารถปรับปรุงโคร ... -
ศึกษาแนวทางการพัฒนาบริหารจัดการสนาม และสถานการกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-06-21)
การศึกษานี้ประกอบด้วยวัตถุประสงค์หลักสองประการ สิ่งแรกคือการออกแบบศูนย์กีฬาของจังหวัดสระบุรีใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรในจังหวัด วัตถุประสงค์ประการที่สองคือการพัฒนาแผนการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมเพื่อให้ศูนย์กีฬาแห่งใหม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งสองกิจกรรมดังต่อไปนี้ได้ดำเนินการ ดังนี้ 1. การสำรวจผู้ใช้ของผู้เข้าร่วม 400 คน ดำเนินการที่ศูนย์กีฬาและพื้นที่ใกล้เคียงในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ของศูนย์กีฬาในปัจจุบัน มีการรวบรวมคำแนะนำวิธีการปรับปรุงสนามกีฬา 2. มีการอภิปรายกลุ่มสองครั้งด้วยแบบฝึกหั ... -
สร้างแผนการยกระดับ Ambassador (MEA Premium Ambassador) ประจำปี 2562
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-11)
รายละเอียดตามไฟล์แนบ -
สัมมนาและประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ 2563 - 2565
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-12)
กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง มีบทบาทความรับผิดชอบในการพัฒนา กำกับ ดูแล ปรับปรุง ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคมที่สำคัญของประเทศ โดยนอกจากมีหน้าที่ในการพัฒนา ขยายและเชื่อมโยงโครงข่ายให้สามารถรองรับการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อม ล้ำทางสังคมแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับการปรับตัวให้เท่าทันยุคดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อรองรับ การเดินทางของประชาชนและการขนส่งสินค้าที่อยู่ในรูปแบบของ Smart Mobility และ Digital Logistics พร้อม กับกับการพัฒนาองค์กรให้มี Smart ... -
สำรวจความพึงพอใจและส่วนแบ่งทางการตลาดของ สธค.
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-30)
ภายใต้การวิจัยทางการตลาด โครงการสำรวจความพึงพอใจ และส่วนแบ่งทางการตลาดของสำนักงานธนานุเคราะห์ (สธค.) ภายใต้วัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ สำรวจ และประเมินศักยภาพการดำเนินการให้บริการของโรงรับจำนำ ของ สธค. (2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ พฤติกรรม ทัศนคติของผู้รับบริการที่มีต่อการเข้าใช้บริการโรงรับจำนำของ สธค. (3) เพื่อศึกษาส่วนแบ่งทางการตลาด โรงรับจำนำของสธค. โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาวิจัย โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ผ่านเครื่องมือแบบสอบถาม (Questionnaire) ... -
สำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนเเละการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการตามเเนวทางระบบราชการ 4.0 ของกรมบังคับคดี ปีงบประมาณ พ.ศ.2564
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-03-30)
การสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการตามแนวทางระบบราชการ 4.0 ประจำปี พ.ศ.2564 ของกรมบังคับคดี มีวัตถุประสงค์หลักคือ การประเมินคุณภาพการให้บริการ เพื่อให้ทราบถึงความเชื่อมั่น ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ แนวทางการปรับปรุงและพัฒนา ตลอดจนทราบถึงความคิดเห็นต่อระบบงานและกระบวนการทำงาน อันจะนำมาซึ่งแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและส่งผลให้กรมบังคับคดีมีแนวทางในการขับเคลื่อนกระบวนการทำงานตามยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ของกรมบังคับคดี สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ ... -
ส่งเสริมการลงทุนไทย-จีน
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-10-29)
ในช่วงเวลาโครงการ (กรกฎาคม 2562 – มีนาคม 2563) ที่ปรึกษาฯ ได้ดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือการปฏิบัติงานของสำนักงานฯ ทั้งการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการและการสนับสนุนผ่านทางจัดกิจกรรม ได้แก่ 1. ข้อมูลด้านวิชาการ ที่ปรึกษาฯ ได้ศึกษาและจัดทำรายงานทางวิชาการได้แก่รายงานการศึกษา สถานภาพทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรม หรือพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะที่รัฐบาล ท้องถิ่น ให้การส่งเสริมโอกาสและลู่ทางในการชักจูงการลงทุน รวมถึงโอกาส และลู่ทางในการส่งเสริมการลงทุนจากไทยไปยังมณฑลและพื้นที่ที่เป็นเป้าหมาย จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ... -
แผนพัฒนาระบบบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-03)
คู่มือการใช้งานระบบงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล เรื่อง OKRs และการจัดการผลการปฏิบัติงาน สำหรับสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติฉบับนี้ ได้มีการประยุกต์ใช้แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) และ OKRs โดยกำหนดให้มีการถ่ายโยงเป้าหมาย (Cascade) การร่วมกับการหารือร่วม (Performance Agreement) และการเชื่อมโยงเป้าหมายในรูปแบบบูรณาการข้ามหน่วยงาน (Cross Functional Alignment) เพื่อให้การกำหนด OKRs และ KPI ส่งผลต่อการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ของสถาบัน รวมถึงการสร้างความเป็นทีม สนับสนุนสนุนซึ่งกันและกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ...