Browsing สาขาการบริหารและการพัฒนาองค์กร by Research Sector "สาขาการบริหารและการพัฒนาองค์กร (Management and Institutional Development sector : MID)"
Now showing items 21-40 of 130
-
การออกแบบสำรวจ ประมวลผลและการจัดทำรายงานสรุป การสำรวจความพึงพอใจลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ สายงาน รวผ.
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
เพื่อให้การดำเนินงานของสายงานรองผู้ว่าการนโยบายและแผน (รวผ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สามารถบรรลุเป้าหมายของเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ตามแผนยุทธศาสตร์ กฟผ. และแผนกลยุทธ์สายงาน รวผ. ปี 2559 – 2569 สายงาน รวผ. จึงได้จัดทำการสำรวจความพึงพอใจลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสายงาน รวผ. เพื่อเป็นกิจกรรมที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการคือ การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสายงาน รวผ. การรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อสายงานรวผ. เพื่อนำมาปรับปรุงการดำ ... -
การเสริมสร้างความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร ประจำปี 2556
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)
โครงการเสริมสร้างความพึงพอใจ และความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร ปี 2556 มีวัตถุประสงค์3 ข้อ ประกอบด้วย (1) เพื่อกำหนดปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการเคหะแห่งชาติ (2) เพื่อสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร และ (3) เพื่อกำหนดกิจกรรมยกระดับความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรพร้อมแนวทางในการดำเนินงาน การวิจัยในครั้งนี้ คณะผู้วิจัยใช้วิธีการผสมผสานทั้งวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งทำการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงานการเคหะแห่งชาติทั้งหมด ... -
กิจกรรมการวิจัยและทดสอบตลาดสู่เชิงพาณิชย์ ภายใต้โครงการ “ สร้างและบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ (NEC) ”
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-09-15)
กิจกรรม “การวิจัยและทดสอบตลาดสู่เชิงพาณิชย์” ภายใต้โครงการ “สร้างและบ่มเพาะผู้ประกอบการรายใหม่ (NEC)” ประจำปีงบประมาณ 2563 เพื่อที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จนั้น ทีมที่ปรึกษาได้จัดทำแผนปฏิบัติงานทั้งหมดของโครงการ โดยมีระยะเวลาในการดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 5 เดือน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา (150 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา) พบว่า 1. ได้จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนากลยุทธ์ด้านการตลาดและการส่งเสริมการขาย จำนวน 5 วัน มีผู้เข้าร่วมการอบรมจำนวนทั้งสิ้น 1,352 คน มีค่าผลคะแนนก่อนเรียน (Pre-Test) รวมที่ 3.24 (ร้อยละ 32.4) มีค่าผลคะแนนหลังเรียน (Post-Test) ... -
กิจกรรมยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการร้านค้าส่งค้าปลีกให้สามารถแข่งขันได้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีกไทย เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค ปีงบประมาณ 2563
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-12-16)
ธุรกิจค้าส่งค้าปลีกเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศ เพราะเป็นกลุ่มธุรกิจที่ติดอันดับหนึ่งในสามของจำนวน SMEs ทั้งหมดในประเทศ รวมถึงยังเป็นเครื่องมือสำคัญของภาครัฐในการช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อย ปัจจุบันพบว่าร้านค้าส่งค้าปลีกแบบดั้งเดิมต้องเผชิญกับปัจจัยหลายอย่าง อาทิ การแข่งขันอย่างรุนแรงจากร้านค้าสะดวกซื้อและร้านค้าปลีกสมัยใหม่ พฤติกรรมของผู้บริโภคปัจจุบันที่หันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้น เป็นต้น ทำให้ร้านค้าส่งค้าปลีกท้องถิ่นที่มีองค์ความรู้จำกัด มีความเสี่ยงที่จะเสียเปรียบทางการแข่งขัน และอาจต้องมีการปิดตัวลง ทำให้ร้านค้าส่งค้าปลีกต้ ... -
ขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองและความสมานฉันท์
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
การจัดตั้งศูนย์ประสานงานการเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองและlมานฉันท์เป็นโครงการของกระทรวงยุติธรรมโดยสำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติซึ่งเป็นการขับเคลื่อนนโยบายการสร้างความสามัคคีปรองดองและความสมานฉันท์ตามกรอบยุทธศาสตร์20 ปี กระทรวงยุติธรรม ที่กำหนดให้มีหน่วยงานประสานงานระดับพื้นที่กับส่วนกลางเป็นศูนย์ประสานงานในการประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ต่างๆ และส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และสันติ วัฒนธรรม การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ทดลองวางระบบในการจัดการความขัดแย้งให้กับสำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉ ... -
ขับเคลื่อนการบริหารราชการ แบบประชารัฐที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-09-28)
โครงการขับเคลื่อนการบริหารราชการแบบประชารัฐที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อศึกษารูปแบบหรือวิธีการเปิดให้ภาคประชาสังคม/ชุมชนเข้ามามีบทบาทร่วมในการจัดบริการสาธารณะ รวมถึงเพื่อเป็นแนวทางและต้นแบบในการจัดทำข้อตกลงร่วมกันระหวางภาครัฐกับภาคประชาสังคม/ชุมชน อันจะเป็นกลไกในการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งมอบบริการสาธารณะที่มีคุณภาพให้กับประชาชนหรือผู้รับบริการอย่างทั่วถึง โดยโครงการวิจัยนี้มีขอบเขตการศึกษา คือ การสร้างภาคความร่วมมือจากส่วนราชการภาคประชาสังคม/ชุมชนที่เกี่ยวข้อง โดยนำรูปแบบหรือวิธีการในการเปิดให้ภาคประชาสังคม/ชุมชนเข้า ... -
ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กิจกรรมที่ 3 การดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ : จัดทำห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ (Government Innovation Lab) ในระดับพื้นที่
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
การจัดทำห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐในระดับพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัดอันได้แก่ 1) อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ในประเด็นสังคมผู้สูงอายุ 2) อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ในประเด็นการท่องเที่ยวชุมชน 3) อำเภอ เลิงนกทา จังหวัดยโสธร ในประเด็นเกษตรอินทรีย์ และ 4) อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ในประเด็นวิสาหกิจชุมชน โดยได้ใช้เครื่องมือในกระบวนการคิดเชิงออกแบบเข้าไปสร้างให้เกิดการระดมความคิดเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมเพื่อแก้ไขปัญหา ผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน 5 เดือนที่ผ่านมาเกิดขึ้นใน 2 ระดับ ทั้งในระดับ ผลลัพธ์ในเชิงกระบวนการ ... -
ขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ CSR ไปสู่ CSR 4.0 และแผนการดำเนินงานด้าน CG/CSR ปี 2562-2564
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-04)
การดำเนินการให้คำปรึกษาในโครงการยกระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG) และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม CSR ปี 2562-2564 ทีมที่ปรึกษามีบทสรุปและข้อเสนอ ดังนี้ ข้อเสนอด้านยุทธศาสตร์ : CG/CSR สอดคล้องกับยุทธศาสตร์องค์กรฉบับล่าสุด และมีความต่อเนื่องกับงาน CG/CSR ที่องค์กรได้พัฒนามาในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบันเน้น CSR 4.0 ซึ่งมีการบูรณาการงานของฝ่ายต่าง ๆ โดยใช้ยุทธศาสตร์องค์กรเป็นตัวตั้ง ลดโครงการย่อย ๆ ที่เป็นงานเพิ่มและไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และเพิ่มโครงการใหญ่ ๆ ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และจะก่อให้เกิดผลกระทบในมุมกว้างเพื่อตอบสนอง ... -
ความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-27)
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน เป็นการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิควบคู่ไปกับข้อมูลปฐมภูมิเกี่ยวข้องกับความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ต่อยอดจากองค์ความรู้เรื่องแนวโน้มความต้องการกำลังคนที่ยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) ให้เห็นความเชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) อันจะส่งผลให้มีข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ในการจัดทำข้อเสนอเชื่อมโยงกับภาคการทำงาน รวมถึงยังเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนางานกลไก ... -
จัดทำกรอบแนวคิดแผนการปรับปรุงการจัดองค์กรกำหนดนโยบายและการกำกับดูแลกิจการสื่อสารของประเทศ
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการสื่อสารเน้นระบบที่สมดุลของการกำหนดนโยบายและการกำกับดูแล แต่จากทางปฏิบัติของประเทศไทยตามระบบกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีปัญหาสำคัญต่าง ๆ อันเกิดจากการทับซ้อนของอำนาจในการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง การศึกษากฎหมายเปรียบเทียบกับบางประเทศในแง่ขององค์กร โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ทำให้ทราบถึงรูปแบบและแนวทางที่เป็นไปได้อันจะได้นำมาใช้ประโยชน์ในการทำข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมายที่ใช้อยู่และจัดทำกรอบแนวคิดแผนการปรับปรุงการจัดองค์กรกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการสื่อสารของประเทศไทย โดยประการแรกให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ ... -
จัดทำคู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
โครงการจัดทำคู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายสำหรับหน่วยงานภาครัฐ (Gender Responsive Budgeting: GRB) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1) พัฒนาร่างคู่มือและทดลองนำร่างคู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายในหน่วยงานนำร่อง 2 แห่ง ได้แก่ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) และ 2) เพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางการผลักดันให้มีการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายในหน่วยงานภาครัฐ การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการนี้มีผลผลิตที่เกิดขึ้น ได้แก่ คู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ... -
จัดทำยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2560 - 2565
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015) -
จัดทำหลักการบริหารข้อมูลและธรรมาภิบาลข้อมูล หรือ Data Governance และ Cyber Security สำนักงานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
(สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-11-21)
สำนักงานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐได้ตระหนักถึงการดำเนินการให้สอดคล้องต่อพระราชบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จึงได้ดำเนินการประเมินช่องว่างของการดำเนินงานในปัจจุบันกับสิ่งที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จากนั้นจึงได้ดำเนินการให้ทุกกระบวนการสอดคล้องต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย อีกทั้งสำนักงานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐยังได้ทำการประเมินสภาพแวดล้อมภายในเกี่ยวกับธรรมาภิบาลข้อมูลเพื่อวางแผนเกี่ยวกับการดำเนินงานทางด้านธรรมาภิบาลข้อมูลซึ่งต้องดำเนินการต่อไปอนาคต -
จัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี 2557-2560
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)
Department of Tourism (DOT) and Thammasat University (Thammasat University Research and Consultancy) collaborated to issue DOT Human Resource Management and Human Resource Development Plan (2014 – 2019). Human resources are the key to implement DOT’s strategy plan, so it is necessary to have a plan to manage and develop human resources in organization. Human resources need to be well prepared for job knowledge, understanding of organization’s policy, having motivation in works, and also having quality of life. Moreover Human Resource Management ... -
จัดทำแผนการตลาดและประชาสัมพันธ์เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-02-10)
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นนโยบายการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่รัฐบาลให้ความสำคัญสูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่บริเวณชายแดนเป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้ประโยชย์จากโอกาสการเชื่อมโยง (Connectivity) ในภูมิภาค เพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ดังจะเห็นได้จากความมุ่งมั่นของภาครัฐที่จะพัฒนาปัจจัยสนับสนุนเพื่อส่งเสริมให้พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 10 จังหวัด มีความเข้มแข็งในทุกด้าน และเพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ในแต่ละป ... -
จัดทำแผนขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สู่การพัฒนาในระดับพื้นที่กลุ่มจังหวัด
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-01-07)
กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์อุตสาหกรรม กองนโยบายอุตสาหกรรมมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้จัดทำโครงการจัดทำแผนขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สู่การพัฒนาในระดับพื้นที่กลุ่มจังหวัด เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนและขยายผลการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนลงสู่ระดับพื้นที่ เป็นการยึดโยงการพัฒนาอุตสาหกรรมกับศักยภาพเชิงพื้นที่ และเชื่อมโยงให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ผ่านรูปแบบการผลิตตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนภายใต้ความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างบูรณาการ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจัดทำ ... -
จัดทำแผนบูรณาการที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
กรุงเทพมหานครได้จัดทำแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556 – 2575) ขึ้น โดยนำแผนวิสัยทัศน์ของประชาชนเพื่อการพัฒนากรุงเทพมหานครมากำหนดเป็นกรอบในการปรับปรุงบริการสาธารณะต่างๆ และประเด็นปัญหาที่ต้องได้รับการพัฒนาและแก้ไข เพื่อให้เมืองกรุงเทพฯ ก้าวสู่การเป็น “มหานครแห่งเอเชีย” ในปี พ.ศ. 2575 แผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี แบ่งช่วงการพัฒนาออกเป็น 4 ระยะๆ ละ 5 ปี โดยในแต่ละช่วงจะมีการจัดทำแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 5 ปี เนื่องจากแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2556-2560) ใกล้จะสิ้นสุดลง สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร ... -
จัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) พ.ศ.2566-2569
(สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-18)
รายละเอียดตามไฟล์แนบ -
จัดทำแผนปฏิบัติการบริหารจัดการธรณีพิบัติภัยของกรมทรัพยากรธรณี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570)
(สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-27)
แผนปฏิบัติการบริหารจัดการธรณีพิบัติภัยของกรมทรัพยากรธรณี ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบนโยบายและแนวทางในการบริหารจัดการธรณีพิบัติภัยภายใต้ความรับผิดชอบหลัก ของกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง เพื่อเป็นการปรับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในด้านธรณีพิบัติภัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาในระดับต่างๆ อันได้แก่ 1. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 2. กรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจาก ภัยพิบัติ พ.ศ. 2558-2573 3. ข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถาน ... -
จัดทำแผนพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูงของเทศบาลนครลำปาง โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
(สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2023-02-16)
รายละเอียดตามเอกสารแนบ