Now showing items 1-20 of 41

    • type-icon
    • type-icon

      กรอบการเจรจา ข้อตกลง และสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงและการควบคุมการลดอาวุธตามแบบ อาวุธเล็ก อาวุธเบา และอาวุธชนิดอื่นๆ 

      ภิญญ์ ศิรประภาศิริ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์ความพยายามระหว่างประเทศในการควบคุมการลดอาวุธเล็กและอาวุธเบส โดยการศึกษาทั้งในแง่องค์การที่มีบทบาทสำคัญ เวที กรอบการเจรจาสนธิสัญญาและข้อตกลง รวมถึงศึกษาความสอดคล้องของกฎหมายไทยต่อความพยายามดังกล่าว ทั้งนี้ งานวิจัยมุ่งให้ความสำคัญต่อประเด็นเรื่องสนธิสัญญาว่าด้วยการค้าอาวุธ (Arms Trade Treaty) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการจำกัดอาวุธเล็กและอาวุธเบา และอยู่ระหว่างเปิดให้ประเทศต่างๆ ร่วมลงนามและให้สัตยาบันเป็นรัฐภาคี งานวิจัยฉบับนี้พบว่า เวทีการประชุมหรือเวทีแลกเปลี่ยนขนาดใหญ่ในระดับพหุภาคีในภาพรวมไม่มีความก้าวหน้าท ...
    • type-icon

      การจัดทำบัญชีอัตราโทษ ศึกษากรณีคดียาเสพติด 

      ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์; ชลธิชา พันธุ์พานิช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      การศึกษาวิจัย เรื่อง “การจัดทำบัญชีอัตราโทษ ศึกษากรณีคดียาเสพติด” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาบัญชีอัตราโทษของประเทศต่าง ๆ ในคดียาเสพติด เพื่อศึกษาถึงบัญชีอัตราโทษในคดียาเสพติดของศาลไทย และเพื่อจัดทำบัญชีอัตราโทษในคดียาเสพติดที่สอดคล้องกับสภาพของการกระทำผิดและภาวะทางเพศสภาพ ขอบเขตการศึกษา จะศึกษาเฉพาะคดียาเสพติด และศึกษาจากคำพิพากษาในคดียาเสพติดที่สิ้นสุดแล้วโดยมี วิธีการศึกษามีดังนี้ ได้แก่ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกับบัญชีอัตราโทษในคดียาเสพติดทั้งในและต่างประเทศ ศึกษาคำพิพากษาคดียาเสพติดที่สิ้นสุดแล้ว เพื่อสืบค้นที่มาของการกำหนดบัญชีอัตราโทษ ...
    • type-icon

      การนำแนวทางศาลยาเสพติดกับการนำมาปรับใช้ในประเทศไทย 

      ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      การศึกษาวิจัย เรื่อง “การนำแนวทางศาลยาเสพติดมาปรับใช้ในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการเบี่ยงเบนผู้กระทำความผิดออกจากกระบวนการยุติธรรมปกติ กลั่นกรองและบำบัดผู้ติดยาเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจโดยจัดตั้งศาลชำนาญการพิเศษที่เรียกว่าศาลยาเสพติด โดยมีทีมงานศาลยาเสพติดซึ่งมาจากองค์กรสหวิทยาการ เข้าร่วมพิจารณาอย่างใกล้ชิด และเพื่อเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ กระบวนการ และแนวคิดในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด (Rehabilitation) อันนำมาใช้กับผู้ติดยาเสพติดในรูปแบบระบบบำบัดแบบบูรณาการภายใต้รูปแบบศาลยาเสพติด รวมทั้งเพื่อเสนอรูปแบบใหม่ของการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภา ...
    • Thumbnail

      การพัฒนารูปแบบการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน 

      เดชา สังขวรรณ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
    • type-icon

      การพิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญ ตามบทบัญญัติมาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 

      สุปรียา แก้วละเอียด (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-13)

      มาตรา 144 ของรัฐธรรมนญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดห้ามมิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแปรญัตติเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมรายการหรือจำนวนในรายการ ในร่างกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย และห้ามมิให้มีการเสนอการแปรญัตติหรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการวิสามัญที่พิจารณาร่างกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายมีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย รวมทั้งได้กำหนดมาตรการในการลงโทษผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติ และมาตรการในการเยียวยาความเสียหายแก่รัฐไว้ด้วย โดยให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาวิน ...
    • type-icon

      การริบทรัพย์สินของผู้กระทำผิดในคดียาเสพติดกับความเป็นธรรมและมนุษยธรรม 

      ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      โครงการศึกษาเรื่อง “การริบทรัพย์สินของผู้กระทำผิดในคดียาเสพติดกับความเป็นธรรมและมนุษยธรรม (Fairness and Humanity of Assets Forfeiture in Drug Cases)” มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาแนวคิด ที่มาของพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 เพื่อศึกษาว่าการริบทรัพย์สินตามาตรา 27 แห่ง พระราชบัญญัติมาตรการในการ ปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 เมื่อเป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 285 ศาลสามารถริบได้หรือไม่ และริบได้มากน้อยเพียงใด รวมทั้งเพื่อเสนอ ...
    • type-icon

      การสร้างทางเลือกที่เหมาะสมด้วยมาตรการไม่คุมขังกับผู้ต้องขังหญิงและการหลีกเลี่ยงการใช้โทษจำคุก และการสร้างความฉลาดรู้ทางกฎหมาย ตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ 

      ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์; มาดี ลิ่มสกุล; ชลธิชา พันธ์พานิช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      การศึกษาการสร้างทางเลือกที่เหมาะสมด้วยมาตรการไม่คุมขังผู้หญิงและการหลีกเลี่ยงการใช้โทษจำคุกและการสร้างความฉลาดรู้ทางกฎหมาย ตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ (Bangkok Rules) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางมาตรการในการสร้างทางเลือกที่เหมาะสมด้วยมาตรการไม่คุมขังสำหรับผู้ต้องขังหญิง ศึกษาแนวทาง มาตรการที่เหมาะสมในการลดระยะเวลาการจำคุกของผู้ต้องขังหญิง ศึกษาและทำให้เกิดการเข้าถึงความยุติธรรมในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อีกทั้งเพื่อสร้างกระบวนการให้ความรู้ทางกฎหมายที่จำเป็นสำหรับผู้ต้องขัง และการให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ผู้ต้องขัง และท้ายสุดได้แก่ แสวงหาแนวทางแก้ไข ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนแผนบูรณาการเพื่อช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมของประเทศไทยและประชาคมอาเซียน (ระยะที่ 1) 

      ณรงค์ ใจหาญ; Narong Jaiharn (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรกคือ ศึกษารูปแบบ มาตรการ กลไก หรือเครื่องมือในการช่วยเหลือผู้เสียหายจากการกระทำความผิดอาญา และปัญหาอุปสรรคที่มีในประเทศไทย และพัฒนากฎหมายไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและสอดคล้องกับแผนปฏิรูปการคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิดอาญาของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ประการที่สอง ศึกษาและพัฒนากฎหมาย รูปแบบ มาตรการ กลไก เครื่องมือในการช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับประเทศไทยและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กิจกรรมที่ 2 การศึกษาความเหมาะสมการตรากฎหมายรองรับกลไกขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชน 

      ณรงค์ ใจหาญ; รณกรณ์ บุญมี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-07-04)

      โครงการนี้มีวัตถุประสงค์สองประการคือ ประการแรก เพื่อให้การดำเนินงานของฝ่ายบริหารมีกฎหมายมารองรับมาตรการ กลไก หรือเครื่องมือต่าง ๆ ในด้านสิทธิมนุษยชนในภาพรวมของประเทศ และเพื่อให้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นรูปธรรม มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีความยั่งยืน วิธีการศึกษา (1) ศึกษาวิจัยเอกสาร ตำรา กฎหมายของไทยและต่างประเทศ 5 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย สวีเดน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (2) รับฟังความคิดเห็นผู้ที่เกี่ยวข้องในร่างกฎหมาย และข้อเสนอกลไกในการดำเนินงาน ในแต่ละภาค ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกิจกรรมที่ 4 การศึกษาความเหมาะสมในการตรากฎหมายรองรับกลไกการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติระยะที่ 2 

      ณรงค์ ใจหาญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-07-04)

      โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ สองประการ คือ ยกร่างพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน พ.ศ. .... พร้อมด้วยร่างอนุบัญญัติ โดยดำเนินการรับฟังความคิดเห็นตามแนวทางของสอดคล้องตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติจัดทำร่างกฎหมายและประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ประการที่สอง กำหนดมาตรการ กลไก หรือเครื่องมือต่าง ๆ ด้านสิทธิมนุษยชนในภาพรวมของประเทศ และสามารถการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างยั่งยืน วิธีการศึกษา สัมภาษณ์ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม และนำข้อเสนอแนะม ...
    • type-icon

      จัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาและปรับปรุงกฎหมาย Product Safety ประจำปีงบประมาณ 2556 

      อนันต์ จันทรโอภากร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      จากข่าวสารที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่ามีสินค้าจำนวนมากที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อสุขภาพ อนามัย ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน สินค้าที่เป็นต้นเหตุจำนวนหนึ่งเป็นสินค้านำเข้าจากประเทศคู่ค้าของไทยบางราย แม้พระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมาจะได้บัญญัติว่า ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า แต่กฎหมายที่เกี่ยวข้องก็เป็นกฎหมายที่เน้นการกำกับดูแลสินค้าเฉพาะอย่าง เช่น กฎหมายอาหาร กฎหมายยา และกฎหมายเครื่องสำอาง เป็นต้น ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ นอกจากจะเป ...
    • type-icon

      จัดทำกรอบการดำเนินการด้าน GMBM และร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อมการบิน 

      จันทจิรา เอี่ยมมยุรา (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-10-05)

      รายงานเรื่อง “โครงการจัดทำกรอบการดำเนินการด้าน GLOBAL MARKET- BASED MEASURE (GMBM) และกรอบแนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายไทยว่าด้วยสิ่งแวดล้อมการบินพลเรือน” เป็นการศึกษาวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (Civil Aviation Authority of Thailand : CAAT) ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ที่เรียกว่า โครงการ Global Market Based Measure (GMBM) และซึ่งมีโครงการย่อยที่เรียกว่า โครงการ Carbon Offsetting and Reduction Scheme for International Aviation : CORSIA) มีผลบังคับใช้ในปี ...
    • type-icon

      จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในกฎหมายไทยเข้ากับหมวดหมู่ ตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรม เพื่อประโยชน์ทางสถิติ ระยะที่ 1 

      ณรงค์ ใจหาญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-20)

      โครงการนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ คือ ประการแรก จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาของไทย ให้เข้ากับหมวดหมู่ ๐๑ ความผิดเกี่ยวกับชีวิต และหมวดหมู่ ๐๓ ความผิดเกี่ยวกับเพศ ของตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ( ICCS version 1.0) ประการที่สอง หาแนวทางที่มีประสิทธิภาพและแนวทางการแก้ไขปัญหาหากมี ในการจัดทำหมวดอื่นที่เหลือของมาตรฐานระหว่างประเทศ วิธีการศึกษา (๑) ศึกษาวิจัยเอกสาร ตำรา และแนววินิจฉัยของศาลฎีกา และข้อมูลกฎหมายทางเวปไซด์ ที่เกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่อาชญากรรมตามมาตรฐา ...
    • type-icon

      จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในกฎหมายไทยเข้ากับหมวดหมู่ตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ ระยะที่ 3 

      ณรงค์ ใจหาญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-04)

      โครงการนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ คือ ประการแรก จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาของไทย ให้เข้ากับหมวดหมู่ ๐๗ การกระทำเกี่ยวกับการฉ้อฉล การหลอกลวง หรือการทุจริต หมวดหมู่ ๐๘ การกระทำความผิดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน อำนาจรัฐ และบทบัญญัติแห่งรัฐ หมวดหมู่ ๐๙ การกระทำความผิดต่อความปลอดภัยสาธารณะและความมั่นคงของรัฐ และหมวดหมู่ ๑๑ การกระทำความผิดทางอาญาในลักษณะอื่นซึ่งไม่ได้จัดประเภทไว้ในหมวด ๑-๑๐ ตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ( ICCS version 1.0) ประการที่สอง ...
    • type-icon

      จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในกฎหมายไทยเข้ากับหมวดหมู่ตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ ระยะที่ 4 

      ณรงค์ ใจหาญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-10-29)

      โครงการนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ คือ ประการแรก จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาของไทย ให้เข้ากับหมวดหมู่ ๑๐ ความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ (ICCS version 1.0) ประการที่สอง หาแนวทางที่มีประสิทธิภาพและแนวทางการแก้ไขปัญหาหากมีในการจัดทำหมวดอื่นที่เหลือของมาตรฐานระหว่างประเทศ วิธีการศึกษา (๑) ศึกษาวิจัยเอกสาร ตำรา และแนววินิจฉัยของศาลฎีกา และข้อมูลกฎหมายทางเวปไซด์ ที่เกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่อาชญากรรมตามมาตรฐานระหว่างประเทศ ...
    • type-icon

      ดำเนินการสร้างตัวชี้วัดการประเมินผลการดำเนินงานด้านการป้องกัน ปราบปราม และการบำบัดฟื้นฟูการแก้ไขผู้ติดยาเสพติด ตามแนวคิด (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติด 

      ณัฐพล แสงอรุณ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      โครงการวิจัย “การสร้างตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลการดำเนินงานด้านการป้องกัน ปราบปราม และการบำบัดฟื้นฟูการแก้ไขผู้ติดยาเสพติดตามแนวคิด (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติด” มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดทิศทางและเป้าหมายสำหรับการจัดทำตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลตาม (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติด (2) เพื่อสร้างตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์สำหรับการประเมินผลการบังคับใช้ตาม (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติดและวิธีการรวบรวมข้อมูลตามตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่แท้จริงของการดำเนินงานตามร่างกฎหมายดังกล่าว และ (3) เพื่อประเมินควา ...
    • Thumbnail

      บทบาทของศาลภาษีอากรในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากรในศตวรรษที่ 21 

      สุเมธ ศิริคุณโชติ; วิริยะ นามสิริพงศ์พันธุ์; บุญมี มีวงศ์อุโฆษ; วินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ; ชนินทร์ มีโภคี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2009)

      บทบาทของศาลในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากรนั้นมีปัญหาหลายประการ และเริ่มมีกระแสเรียกร้องเกี่ยวกับประสิทธิภาพของศาลภาษีอากรอย่างสูงทั้งในและต่างประเทศ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้มี 4 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง ศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียภาษีอากรกระบวนการยุติธรรมทางภาษีอากร และบทบาทของศาลภาษีอากรในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากร โดยศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศ ออสเตรเลีย ประเทศเยอรมนี และประเทศญี่ปุ่น ประการที่สอง ศึกษาวิเคราะห์สภาพของปัญหาในกระบวนการยุติธรรมทางภาษีอากร ...
    • type-icon

      พัฒนาระบบสอบสวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบและคดีค้ามนุษย์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 

      ณรงค์ ใจหาญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      รายงานวิจัยเรื่อง โครงการพัฒนาระบบการสอบสวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และคดีค้ามนุษย์ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิขอบ พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 มีวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรก เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางการดำเนินงานของพนักงานสอบสวนและพนักงานไต่สวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และคดีค้ามนุษย์ว่ามีความสอดคล้องกับกระบวนพิจารณาคดีในระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 และประการที่สอง ...
    • type-icon

      รวบรวมและแปลพร้อมจัดพิมพ์หนังสือรวมกฎหมายกิจการพลังงาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เล่มที่ ๒ Commentaries of Law related to Energy Industry Energy Regulatory Commission Volume 2 

      ธีร์ เจียศิริพงษ์กุล; Jearsiripongkul, Thira (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      งานแปลฉบับนี้ เป็นการแปลพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อรองรับนโยบายการปรับโครงสร้างการบริหารกิจการพลังงานของประเทศ โดยแยกงานนโยบายงานกำกับดูแล และการประกอบกิจการพลังงานออกจากกัน เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน ชุมชน และประชาชนมีส่วนร่วมและมีบทบาทมากขึ้น รวมทั้งให้การประกอบกิจการพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความมั่นคง มีปริมาณเพียงพอและทั่วถึง ในราคาที่เป็นธรรมและมีคุณภาพได้มาตรฐานตอบสนองต่อความต้องการและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในด้านสังคมเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ...