Now showing items 4-7 of 7

    • type-icon

      ศึกษา Apparent Losses เนื่องจาก Meter Inaccuracy 

      ธีร เจียศิริพงษ์กุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      ในกิจการของการประปา เราไม่สามารถกล่าวได้ว่ามาตรวัดน้ำทุกเครื่องสามารถอ่านค่าได้อย่างถูกต้องเช่นเดียวกับเครื่องมือวัดอื่นๆ เมื่อทำการติดตั้งแล้ว มาตรวัดน้ำมักไม่สามารถอ่านค่าปริมาณการใช้น้ำของผู้ใช้น้ำได้อย่างถูกต้อง บ่อยครั้งที่ปริมาณน้ำเหล้านี้ไม่ถูกเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้น้ำ กรณีเช่นนี้เรียกว่ามาตรวัดน้ำอ่านค่าได้น้อยกว่าความเป็นจริง ความคลาดเคลื่อนของมาตรวัดน้ำถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของน้ำสูญเสียจากการบริหารจัดการ ความไม่เที่ยงตรงของมาตรวัดน้ำมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ ขนาดของมาตรวัดน้ำ ชนิดของมาตรวัดน้ำ การติดตั้งมาตรวัดน้ำที่ไม่เหมาะสม ...
    • type-icon

      ศึกษาการออกแบบ โครงการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดสงขลา 

      พัชรา พัชราวนิช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-21)

      โครงการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจ้างที่ปรึกษาศึกษาและออกแบบโครงการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดสงขลา ซึ่งประกอบด้วย การสำรวจออกแบบงานก่อสร้างระบบประปา การจัดทำประมาณราคาในการลงทุน การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เพื่อการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำสะอาดถูกสุขอนามัยเพื่อการอุปโภคและบริโภคแก่ประชาชนในพื้นที่ 6 อำเภอของจังหวัดสงขลา ประกอบด้วยอำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอระโนด อำเภอควนเนียง อำเภอบางกล่ำ ผลการศึกษาเป็นดังนี้ ระยะเวลาโครงการ 30 ปี ใช้เงินลงทุนรวม 2,274.14 ล้านบาท โรงผลิตน้ำประปาใช้พื้นที่ประมาณ 20 ไร่ มีกำลังการผลิตรวม ...
    • type-icon

      ศึกษาวิเคราะห์บริบททางความคิดและทัศนคติของหน่วยงานภาครัฐเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 

      วีรบูรณ์ วิสารทสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      โครงการการศึกษาวิเคราะห์บริบททางความคิดและทัศนคติของหน่วยงานภาครัฐ เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มีวัตถุประสงค์สำคัญในการดำเนินโครงการเพื่อนำเสนอบทบาทของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรอบนโยบาย/ยุทธศาสตร์ และแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำกว่า 50 หน่วยงาน ผลจากการศึกษานำไปสู่แนวทางในการ "สื่อสาร ทำความเข้าใจ" บทบาท อำนาจ หน้าที่ของ สทนช. ให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ได้รับทราบ อันนำไปสู่การบูรณาการงานและดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ...
    • type-icon

      ส่งเสริมการบริหารจัดการขยะโดยชุมชนจังหวัดปทุมธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 

      วิลาวัณย์ ภมรสุวรรณ; สมบูรณ์ กีรติประยูร; ไตรเทพ วิชย์โกวิทเทน; มารุต สุขสมจิต; สุริยะกิจ ย่อมมี; นิรมล สุธรรมกิจ; สุวรรณี จุฑามณีพงษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศที่แก้ไขยากมาก โดยเฉพาะหากแก้ไขโดยวิธีการก่อสร้างระบบกำจัดขยะขนาดใหญ่ก็จะถูกคัดค้านต่อต้านค่อนข้างรุนแรงจากประชาชน ซึ่งสาเหตุหลักของปัญหาขยะมูลฝอยมาจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีส่วนร่วมในการจัดการขยะที่เกิดขึ้นจากชุมชนของตน และพบว่า การสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะจากครัวเรือน เป็นรูปแบบที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ ประชาชนให้การยอมรับเนื่องจากได้ประโยชน์จากการขายขยะและใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น ทำปุ๋ยน้ำหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้ปริมาณขยะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดเก็บมีจำน ...