• Thumbnail

    จ้างที่ปรึกษาศึกษาการใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อการปฏิบัติงานด้านทรัพยากรธรณีและเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรณี 

    กรกมล ตันติวนิช (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-11-09)

    รายละเอียดตามไฟล์แนบ
  • type-icon

    หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่ภาคกลาง ปีงบประมาณ 2564 

    กนกวรา พวงประยงค์; สานิตย์ หนูนิล; วีรบูรณ์ วิสารทสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-01-18)

    โครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่ภาคกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชน สถานการณ์ปัญหา และศักยภาพของชุมชนพื้นที่เป้าหมายในเขตภาคกลาง บ่มเพาะและส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจเชิงนวัตกรรมให้สามารถต่อยอดผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงกับกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนสร้างเครือข่ายระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อสังคมและเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาองค์กรธุรกิจและวิสาหกิจเพื่อสังคมสำหรับการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนเป้าหมายได้อย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีการดำเนินงานผ่านกระบวนการบ่มเพาะให้คำปรึกษาและสนับสนุนการพัฒนาแนวคิดผลงานนวัตกร...
  • type-icon

    การพัฒนาชุมชนเศรษฐกิจหมุนเวียนเชิงบูรณาการด้วยนวัตกรรมการเชื่อมต่อระบบขนส่งทางน้ำ 

    ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-11-17)

    โครงการการพัฒนาชุมชนเศรษฐกิจหมุนเวียนเชิงบูรณาการด้วยนวัตกรรมการเชื่อมต่อระบบขนส่งทางน้ำมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการศึกษาเพื่อต่อยอดองค์ความรู้สู่การพัฒนาพื้นที่ด้วยการสร้างรูปแบบกาบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในชุมชนเชิงบูรณาการด้านการท่องเที่ยวและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการพัฒนาเชิงบูรณาการของระบบกิจกรรมชุมชนกับการสร้างการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับชุมชนผู้มีรายได้น้อย งานวิจัยนี้ได้ทำการประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยใช้ระเบียบของการวิจัยในเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และสถิติเชิงวิเคราะห์ (Analytical Statistic...
  • type-icon

    การศึกษาแนวทางการดำเนินงานการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมระดับภูมิภาคของประเทศไทย 

    ทวิดา กมลเวชช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-26)

    คู่มือระบบนวัตกรรมภูมิภาคฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ และเป็นแนวทางในการดำเนินการสร้างระบบนวัตกรรมภูมิภาค ร่วมกับตัวแสดง และเครือข่ายต่าง ๆ ในพื้นที่ การวิจัยอันนำมาสู่คู่มือฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research) โดยสำรวจ และรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ตัวแบบระบบนวัตกรรมภูมิภาคของต่างประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบัน และการวิจัยภาคสนาม (Field Research) โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลทั้งจากการประชุมกลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์เชิงลึก ...
  • type-icon

    จัยการบริหารงานที่เป็นเลิศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 2562 

    สายฝน สุเอียนทรเมธี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-15)

    เข้าถึงข้อมูลได้ที่ http://kpi.ac.th/knowledge/research/data/10374
  • type-icon

    พิพิธภัณฑ์เสมือน (Virtual Museum) การเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย 

    ชาวี บุษยรัตน์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-30)

    การพัฒนาที่อยู่อาศัยในปัจจุบันนั้นมีการแสวงหาแนวทางใหม่ให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อการอยู่อาศัยเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยให้มากขึ้น ซึ่งแนวทางในการพัฒนาเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ในการพัฒนาที่ผ่านการศึกษาและพัฒนาที่เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตเศรษฐกิจสภาพสังคม ทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรม รวมถึงนโยบายของภาครัฐ การเรียนรู้ข้อดีและข้ออุปสรรคของวิวัฒนาการที่อยู่อาศัยในประเทศไทยสามารถนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยในอนาคตต่อไป ซึ่งผลการศึกษาที่เกิดขึ้นนั้นจำเป็นต้องมีการจัดการองค์ความรู้ในเรื่องของวิวัฒนาการการพัฒนาทอ...
  • type-icon

    วิเคราะห์สถานการณ์ด้านความมั่นคงระยะยาวในภูมิภาคอาเซียน 

    ภัณณิน สุมนะเศรษฐกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-27)

    เอกสารนี้เป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการที่ปรึกษาด้านวิชาการเพื่อศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ด้านความมั่นคงระยะยาวในภูมิภาคอาเซียน (ซึ่งในที่นี้เรียกว่า “โครงการ”) ซึ่งให้การสนับสนุนด้านวิชาการจากภายนอกในการวางกรอบวิเคราะห์อนาคตระยะยาวที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ดำเนินการอยู่ ให้มีความทันต่อสถานการณ์และมีความต่อเนื่อง งานดังกล่าวเกี่ยวข้องกับรายงานให้หน่วยงานต่าง ๆ ของราชอาณาจักรไทยทราบถึงความท้าทายที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความรับผิดชอบด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานเหล่านั้น การศึกษานี้เป็นการสำรวจภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ (nontraditional secu...
  • type-icon

    การประเมินองค์กรส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562 

    รณรงค์ จันใด (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-26)

    สามารถเชื่อมโยงข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของสถาบันพระปกเกล้า http://kpi.ac.th/knorledge/research/data/999
  • type-icon

    การประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์การจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 

    โมไนยพล รณเวช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-13)

    การประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์การจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 นี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 1,208 คน จำแนกเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้ประกอบการ จำนวน 186 คน แรงงานต่างด้าว (เมียนมา ลาว กัมพูชา) จำนวน 552 คน และกลุ่มเป้าหมายรอง คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 26-50 ปี จำนวน 377 คน และประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป จำนวน 193 คน ทั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2562 ประสิทธิผลของโครงการประชาสัมพันธ์แรงงานต่างด้าวดังกล่าวนี้ จ...
  • type-icon

    ประเมินผลการขับเคลื่อนแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558 

    ทวิดา กมลเวชช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)

    ภายหลังการประกาศใช้แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ของรัฐบาลประเทศไทยได้เผชิญกับความท้าทายใหม่ ในการบริหารจัดการสาธารณภัย ที่มีความซับซ้อนของปัญหาหรือภัยมากขึ้น ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ประเทศไทยเผชิญกับภัยแล้งรุนแรง จากปรากฏการณ์เอลนีโญที่ส่งผลกระทบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 - 2559 และยังก่อให้เกิดปัญหาไฟไหม้ป่าในหลายจังหวัดในปี พ.ศ. 2559 นอกจากนี้ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 ประเทศไทยเผชิญกับอุทกภัยกว่า 50 จังหวัด ด้วยเหตุนี้จะเห็นได้ว่า แนวโน้มสาธารณภัยที่เกิดขึ้นในรอบทศวรรษที่ผ่านมามีแนวโน้มที่จะมีความถี่เพิ่มสูงขึ้นมีระดับควา...
  • Thumbnail

    ศึกษาวิจัยทิศทางการจ้างงานของประเทศไทยในยุคอุตสาหกรรม 4.0 

    ศุภชัย ศรีสุชาติ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561)

    มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 เห็นชอบให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี เพื่อใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกลไกประชารัฐ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน สร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนเพื่อให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง ประชาชนอยู่ดีมีสุข ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำของการพัฒนา การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยเริ่มตั้งแต่ยุคอุตสาหกรรม 1.0 ที่เน้นภาคเกษตร ยุคอุตสาหกรรม 2.0 ที่เน้...
  • type-icon

    ศึกษา ทบทวน และปรับตัวชี้วัดระดับเมืองตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี 

    ทวิดา กมลเวชช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

    กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2556-2575)มาแล้วช่วงเวลาหนึ่งแต่ยังมีข้อจำกัดในการติดตามความก้าวหน้าของมหานครทั้ง 7 ยุทธศาสตร์ โดยพบว่ามีความไม่สอดคล้องกันระหว่างตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง กับภารกิจและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร อีกทั้งการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่กำหนดบทบาทและภารกิจของหน่วยงานต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน และการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) ซึ่งถือเป็นเป้าหมายหลักและทิศทางการพัฒนาที่สำคัญ โดยมีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.25...
  • type-icon

    ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพชุมชน และเศรษฐกิจชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

    เจียรนัย เล็กอุทัย; ยงธนิศร์ พิมลเสถียร; จารุณี พิมลเสถียร; พุฒพัณณิน คำวชิระพิทักษ์; วราลักษณ์ คงอ้วน (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

    พื้นที่ส่วนใหญ่ของเทศบาลเมืองมาบตาพุดเป็นชุมชนอุตสาหกรรมที่ประกอบไปด้วยนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีการผลิตที่ก่อมลพิษสูง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชุมชนดั้งเดิมทั้งในด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และโดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ส่งผลต่อความเสี่ยงในด้านคุณภาพชีวิตของชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ในปัจจุบันได้มีมาตรการปกป้องคุ้มครองพื้นที่ในด้านการลดผลกระทบของมลพิษจากกิจการอุตสาหกรรมโดยการประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ แต่ยังไม่มีมาตรการใดๆ ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในด้านประเพณี วัฒนธรรมของท้องถิ่น เทศบาลเมืองมาบตาพุดได้ตระหนักถึงความจำเป็นในเรื่องนี้ซึ่งเป็นหน...
  • type-icon

    อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า : กำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่ากลุ่มที่ 2 (เมืองเก่าราชบุรี เมืองเก่าสุรินทร์ เมืองเก่าภูเก็ต และเมืองเก่าระนอง) 

    วิลาวัณย์ ภมรสุวรรณ; สมบูรณ์ กีรติประยูร; ไตรเทพ วิชย์โกวิทเทน; มารุต สุขสมจิต; สุริยะกิจ ย่อมมี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

    เมืองเก่าเป็นเมืองที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะแห่งสืบต่อมาแต่กาลก่อน และมีเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือมีรูปแบบผสมผสานของสถาปัตยกรรมท้องถิ่น หรือมีลักษณะของรูปแบบวิวัฒนาการทางสังคมที่สืบต่อมาของยุคต่างๆ ซึ่งมีคุณค่าในทางศิลปะ สถาปัตยกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์ และยังมีการใช้สอยในลักษณะเมืองที่ยังมีชีวิตอย่างต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน เช่น กรุงรัตนโกสินทร์ เมืองเก่าเชียงใหม่ เมืองเก่าสงขลา เมืองเก่าน่าน เป็นต้น ปัจจุบันเมืองเก่าได้ถูกความเจริญและการขยายตัวของตัวเมืองอย่างไร้ทิศทาง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่หลากหลายกิจกรรม ทั้งภาคราชการและเอกชน เ...
  • type-icon

    จัดทำแผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 2 

    ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, โกวิทย์ พวงงาม, อรรถสิทธิ์ พานแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

    จากสภาพปัญหาทางการเมืองไทยตลอดระยะเวลากว่า 8 ทศวรรษ ที่แม้จะผ่านการปฏิรูปทางการเมืองมาหลายครั้งก็ยังไม่สามารถจะพัฒนาไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มั่นคงถาวรได้ ซึ่งสาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ การไม่มีแผนพัฒนาการเมืองที่ชัดเจน เพื่อจะกำหนดแนวทางการพัฒนาประชาธิปไตยให้มีความต่อเนื่อง ดังนั้นในรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 จึงได้กำหนดให้จัดทำแผนพัฒนาการเมืองขึ้น โดยให้สภาพัฒนาการเมืองเป็นผู้จัดทำ หลังการจัดทำแผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 1 ของสภาพัฒนาการเมืองแล้วเสร็จ ผลที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นดังความคาดหวังเนื่องจาก แผนพัฒนาการเมืองไม...
  • type-icon

    ศึกษาข้อเสนอการถ่ายโอนภารกิจในการจัดบริการสาธารณะให้ภาคประชาสังคม/ชุมชน 

    วสันต์ เหลืองประภัสร์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

    การดำเนินการ “โครงการศึกษาข้อเสนอการถ่ายโอนภารกิจการจัดบริการสาธารณะให้ภาคประชาสังคม/ชุมชน” โดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) มีวัตถุประสงค์การศึกษาวิจัย คือ 1) เพื่อกำหนดขอบเขตภารกิจในการจัดบริการสาธารณะที่สามารถถ่ายโอนให้ภาคประชาสังคม /ชุมชนเข้ามามีบทบาทร่วมดำเนินการหรือดำเนินการแทนหน่วยงานภาครัฐ 2) เพื่อสร้างกลไกหรือเครื่องมือที่เป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคประชาสังคม/ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณะ และ 3)...
  • type-icon

    เสริมสร้างประสิทธิภาพความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นโดยผ่านกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนาท้องถิ่น 

    สกนธ์ วรัญญูวัฒนา (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

    Putting into practice with current budgeting system still lacks integration and connection between central ministry/department, provincial and local administration. Moreover, community organization and civil society cannot link its plan to the governmental plan explicitly. Office of The National Economic and Social Development Board, therefore, initiates the project of improving efficiency in the connection between the central, regional and local administration through the process of designing provincial and local plan. To achieve its purposes...
  • type-icon

    บทบาทสตรีกับการมีส่วนร่วมในการเมืองภาคพลเมือง 

    ฐิติพร ศิริพันธ์ พันธเสน; ศิรินทร์รัตน์ กาญจนกุญชร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2012)

    The entitled “The Roles of Women and their Participation in People’s Politics” aims at understanding the participation of Thai women in people’s politics which comprises diverse dimensions. The research explores the levels of engagement in participating in various actions using different means and strategies in order to secure social change. Additionally, motivation, enabling and disabling factors to women’s participation in people’s politics are examined. The researchers conducted the research using mixed-methodology. For the quantitative met...
  • Thumbnail

    การศึกษาอำเภอต้นแบบในการจัดบริการสาธารณะเพื่อการบริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ (Government outlet) 

    นครินทร์ เมฆไตรรัตน์; อรทัย ก๊กผล; ดวงมณี เลาวกุล; ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์; วสันต์ เหลืองประภัสร์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2005)

    การวิจัยนี้เป็นการวิจัยพื้นฐานแบบมีทิศทางเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเรื่องการจัดการบริการประชาชนของรัฐทั้งในส่วนของรัฐบาลกลางและท้องถิ่นโดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศสหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและประเทศไทย วิเคราะห์และจำแนกงานบริการประชาชนเป็น งานประเภท counter service, service link, off-house service หรือ in-house service ศึกษาความเป็นไปได้ในการมอบให้อำเภอให้บริการงาน counter service และเสนอแนะรูปแบบหน่วยงานของรัฐเพื่อบริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จในระดับอำเภอ
  • Thumbnail

    โครงการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรองรับการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่น (ระยะที่ 1) : รายงานฉบับสมบูรณ์ 

    ทวีป ชัยสมภพ; ทรงชัย ทองปาน; จิระ บุรีคำ; ปรัชญา สังข์สมบูรณ์; องอาจ หุดากร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2008)

    Purposes of the study are to evaluate efficiency and effectiveness of rural road maintenance being in charge of local administrative agencies in B.E. 2546-2549, to assess perception on authority transfer of rural roads responsibility from Department of Rural Roads to the local administrative agencies, to appraise potential of the local administrative agencies to be responsible for more new roads in B.E. 2552-2553, and to set up a guideline for strategic planning to strengthen the local agencies.