Now showing items 1-9 of 9

    • type-icon

      จัดทำคลังข้อมูลทางหลวงชนบท (Data Warehouse) 

      ปกรณ์ เสริมสุข (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      กรมทางหลวงชนบท เป็นหน่วยงานหลักที่มีภารกิจในการดูแลรับผิดชอบโครงข่ายทางหลวงชนบทให้ใช้การได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ตามวิสัยทัศน์ “พัฒนา เพิ่มคุณค่า เติมต่อโครงข่ายทางให้สมบูรณ์ อย่างพอเพียงและยั่งยืน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน” และพันธกิจ “พัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบท เพื่อสนับสนุนการคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว การพัฒนาชายแดน การพัฒนาเมือง อย่างบูรณาการและยั่งยืน แก้ไขปัญหาจราจรโดยสร้างทางต่อเชื่อม (Missing Link) ทางเลี่ยง (Bypass) และทางลัด (Shortcut) รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) การพัฒนาทางหลวงท้องถิ่นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตลอดจนพัฒนาองค์กรตาม ...
    • type-icon

      จัดทำแผนการพัฒนาระบบโครงข่ายสายรอง (Feeder) เชื่อมโยงการขนส่งและโลจิสติกส์กรมทางหลวงชนบท 

      นิพันธ์ วิเชียรน้อย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      โครงการจัดทำแผนพัฒนาระบบโครงข่ายสายรองเชื่อมโยงการขนส่งและโลจิสติกส์ มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกสายทางที่มีความเหมาะสมและศักยภาพทางด้านการค้าการลงทุน การท่องเที่ยว และการเกษตร มาจัดทำเป็นแผนพัฒนาฯ โดยเบื้องต้นได้ทำการคัดเลือกโครงการที่มีศักยภาพ สูงสุด 75 สายทางจากโครงการของกรมทางหลวงชนบททั้งหมด และข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามความเห็นการพัฒนาสายทางจากสำนัก กรมทางหลวงชนบทรายภูมิภาคที่เสนอแนะเพิ่มเติม จากนั้นที่ปรึกษาได้ทำการคัดเลือกโครงการที่มีศักยภาพสูงสุด 55 สายทาง (11 สายทาง ใน 5 ภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ...
    • type-icon

      จ้างที่ปรึกษาพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลโครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนน ระยะเร่งด่วน 

      ชัยวัฒน์ อุตตมากร; วีริศ อัมระปาล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      โครงการจ้างที่ปรึกษาพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลโครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนน ระยะเร่งด่วน มีวัตถุประสงค์ดังนี้ • เพื่อยกระดับคุณภาพงานวางแผน ติดตามและประเมินผลโครงการเงินกู้ฯ ของกรมทางหลวงชนบท • เพื่อประเมินผลลัพธ์ความเชื่อมั่นและความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการดำเนินงานโครงการเงินกู้ฯ • เพื่อพัฒนาระบบงานในการติดตามความก้าวหน้าของโครงการ โดยใช้ระบบภูมิสารสนเทศในการสำรวจ จัดเก็บ วิเคราะห์ แสดงผล และจัดทำรายงานข้อมูลเชิงพื้นที่และเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกร ...
    • Thumbnail

      ปรับปรุง Backup Site ของกรมทางหลวงชนบท 

      ทวีศักดิ์ กิจกาญจนารัตน์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
    • type-icon

      พัฒนาสายทางเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมผ่านรถไฟรางคู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 

      วีริศ อัมระปาล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีความคาดหวังว่าจะมีการขนส่งสินค้าผ่านประเทศไทยมากขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลมีโครงการที่สนับสนุนด้านการคมนาคมขนส่งหลากหลายโครงการ หนึ่งในนั้น คือ การก่อร้างรถไฟรางคู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะส่งผลต่อการลดต้นทุนการขนส่งได้อย่างมาก อย่างไรก็ตาม การขนส่งสินค้ามีโซ่อุปทานเริ่มจากแหล่งเพาะปลูกไปยังโรงงานแปรรูปส่งต่อไปยังผู้บริโภค ซึ่งการขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิต มักใช้เส้นทางของกรมทางหลวงชนบท ที่มักไม่มีการออกแบบเพื่อรองรับการบรรทุกหนักส่งผลต่อการเสื่อ ...
    • type-icon

      พัฒนาแบบจำลองและระบบตรวจวิเคราะห์ความมั่นคงแข็งแรงสะพาน ระยะที่ 3 

      กฤดายุทธ์ ชมภูมิ่ง (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      ในปัจจุบันสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่และอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบทหลายแห่งได้มีการใช้งานมาอย่างต่อเนื่องยาวนานและรองรับปริมาณการจราจรและน้ำหนักบรรทุกที่เพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี จึงทำให้โครงสร้างสะพานเกิดการเสื่อมสภาพและมีความชำรุดเสียหาย การตรวจสอบและประเมินความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างสะพานเหล่านี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้ทราบถึงสภาพความชำรุดเสียหายและความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างในสภาพปัจจุบัน กรมทางหลวงชนบทซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลและบำรุงรักษาสะพานจึงได้ริเริ่มและดำเนินโครงการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาระบบต ...
    • type-icon

      ศึกษารูปแบบและความเหมาะสมในการใช้ระบบตรวจสอบสภาพจราจรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการจราจรบนทางหลวงชนบทในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและพัฒนาระบบการจราจรอัจฉริยะบนโครงข่ายถนนและโครงข่ายสะพานของกรมทางหลวงชนบท ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งจากการเก็บรวบรวมข้อมูลไม่พบว่า มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจนับปริมาณจราจรและระบบการสื่อสารข้อมูล ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขั้นพื้นฐานในการพัฒนาระบบการจราจรอัจฉริยะบนโครงข่ายถนนและโครงข่ายสะพานดังกล่าว งานศึกษานี้ยังพบว่า เทคโนโลยีตรวจนับปริมาณจราจร Microwave radar หรือ Video image processing และระบบการสื่อสารแบบมีสาย มีความเหมาะสมกับโครงข่ายถนนและสะพานในพื้นที่ศึกษานี้นอกจากนี้กรมทางหลวงยังควรพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์เฝ้ามองการจราจร ...
    • type-icon

      ศึกษาแผนพัฒนาสายทางเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าและบริการผ่านรถไฟทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ และสายนครปฐม-หัวหิน 

      วีริศ อัมระปาล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561)

      ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการขนส่งหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) เพื่อเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนในการขนส่ง ซึ่งหนึ่งในโครงการที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่สายลพบุรี – ปากน้ำโพ และ สายนครปฐม – หัวหิน อย่างไรก็ตาม พบว่าความสามารถในการเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างแหล่งเพาะปลูกสินค้า แหล่งกองเก็บ จุดขนถ่ายสินค้า และสถานีรถไฟ รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ไม่ได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาเส้นทางของกรมทางหลวงชนบท ที่มีศักยภาพรองรับการขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ...
    • type-icon

      ศึกษาแผนพัฒนาสายทางเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าและบริการผ่านรถไฟทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ และสายนครปฐม-หัวหิน 

      วีริศ อัมระปาล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)

      ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการขนส่งหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) เพื่อเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนในการขนส่ง ซึ่งหนึ่งในโครงการที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่สายลพบุรี – ปากน้ำโพ และ สายนครปฐม – หัวหิน อย่างไรก็ตาม พบว่าความสามารถในการเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างแหล่งเพาะปลูกสินค้า แหล่งกองเก็บ จุดขนถ่ายสินค้า และสถานีรถไฟ รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ไม่ได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาเส้นทางของกรมทางหลวงชนบท ที่มีศักยภาพรองรับการขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ...