Now showing items 1-4 of 4

    • type-icon

      ศึกษาและประเมินการเพิ่มประสิทธิภาพมาตรฐานการเคลื่อนตัวของจราจรบริเวณทางแยกระยะที่ 1 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทางแยกในพื้นที่เขตเมืองที่มีลักษณะเป็นโครงข่าย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ซึ่งการศึกษาพบว่า ระบบการควบคุมการจราจรแบบทำงานประสานสัมพันธ์กันที่มีระบบปรับเปลี่ยนตามสภาพการจราจร (บน 5 ทางแยกบนถนนประเสริฐมนูกิจ) ช่วยทำให้ระบบการควบคุมทางแยกทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดการทำงานของตำรวจจราจรลดลงจากเดิมที่เคยทำงาน 13 ชั่วโมงต่อวันเหลือเพียง 8 ชั่วโมงต่อวันในวันธรรมดา (คิดเป็นลดลงร้อยละ 37.7) และลดจาก 7 ชั่วโมงต่อวันเป็นเหลือเพียง 2 ชั่วโมงต่อวันในวันอาทิตย์ (คิดเป็นร้อยละ 71.4) ...
    • type-icon

      สำรวจและวิเคราะห์สภาพทางหลวงผิวลาดยางและผิวคอนกรีต 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      ปัจจุบันกรมทางหลวงมีโครงข่ายทางหลวงทั่วประเทศเป็นระยะทางในความรับผิดชอบกว่า 70,077.043 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) และด้วยสภาพความเสียหายของถนนในโครงข่ายของกรมทางหลวงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กรมทางหลวงจึงต้องทำการสำรวจสภาพเส้นทางในความรับผิดชอบเป็นประจำทุกปี และนำข้อมูลสำรวจสภาพทางมาจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูลกลาง (Central Road Database, CRDB) และระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวง (Road Net) เพื่อใช้สำหรับการสืบค้นวิเคราะห์ การให้บริการข้อมูลต่อหน่วยงานอื่น และการเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศอื่น ๆ โดยการนำเข้าข้อมูลการสำรวจที่กรมทางหลวงได้นำระบบบริหารงานบำรุงทาง ...
    • type-icon

      สำรวจและวิเคราะห์สภาพทางหลวงผิวแอสฟัลต์ปี 2557 ส่วนที่ 2 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-30)

      กรมทางหลวงเป็นหน่วยงานหลักที่ต้องดูแลโครงข่ายสายทางทั่วประเทศ ปัจจุบันมีระยะทางในความรับผิดชอบกว่า 67,793 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) โดยแบ่งเป็นผิวทางลาดยาง 61,834 กิโลเมตร ผิวทางคอนกรีต 5,605 กิโลเมตร และผิวทางลูกรัง 354 กิโลเมตร ที่ผ่านมากรมทางหลวงได้นำเอาระบบบริหารงานบำรุงทาง โดยใช้โปรแกรมบริหารงานบำรุงทาง (Thailand Pavement Management System, TPMS) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้วิเคราะห์วิธีการซ่อมบำรุงทางจากสภาพความเสียหายของทางผิวแอสฟัลต์มาใช้ตั้งแต่ปี 2530 เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำแผนบำรุงทางของสำนักงานทางหลวงและแขวงการทาง โปรแกรมดังกล่าววิเคราะ ...
    • type-icon

      เพิ่มประสิทธิภาพระบบการติดตามการบริหารงานบำรุงปกติ 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      การปรับปรุงระบบหมายเลขทางหลวงทุกสายทางทั่วประเทศ ส่งผลให้ข้อมูลทางหลวงเปลี่ยนแปลงไปจากบัญชีสายทางเดิมในฐานข้อมูลกลางงานบำรุงทาง สำนักบริหารบำรุงทางจึงได้ทำการปรับปรุงข้อมูลในระบบฐานข้อมูลกลางงานบำรุงทางให้เป็นระบบหมายเลขทางหลวงใหม่ ตลอดจนได้ปรับปรุงรายละเอียดรหัสงาน งานพัฒนาทางหลวง งานบำรุงรักษาทาง และงานอำนวยความปลอดภัย รองรับลักษณะการทำงานที่เปลี่ยนไป อีกทั้งได้ทำการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพระบบสารสนเทศทรัพย์สินทางหลวงให้เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลทรัพย์สินตามบัญชีสายทางใหม่ โดยการปรับปรุงระบบดังกล่าวส่งผลให้เจ้าหน้าที่ในส่วนกลางสามารถใช้งานได้ง ...