Now showing items 10-29 of 35

    • type-icon

      ตรวจสอบสภาพความเสียหายของ Pier Segment โครงการก่อสร้าง ถนนสาย ฉ ผังเมืองรวมเมืองนครราชสีมา (สัญญาที่ 3) 

      สายันต์ ศิริมนตรี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      Pier segment ของสะพานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง ในโครงการก่อสร้างถนนสาย ฉ ผังเมืองรวมเมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา (สัญญาที่ 3) ได้เกิดการแตกร้าวจึงเกิดความไม่มั่นใจในความปลอดภัยต่อการใช้งานของโครงสร้างสะพาน ห้างหุ้นส่วนจำกัด โชคชัยการโยธา ได้ติดต่อมายังสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ทำการตรวจสอบ ผลการตรวจสอบพบว่า การแตกร้าวเสียหายเกิดจากการยกสะพานชั่วคราวที่บริเวณ Pier segment เพื่อทำการ Grout ในส่วน Bearing ของสะพาน โดยแผ่นเหล็กรองแม่แรงในการยกมีขนาดเล็กจนเกินไปทำให้เกิด Bearing stress ในคอนกรีตสูง เกิดการยุบตัวและการแตกร้าวของคอนกรีต ...
    • Thumbnail

      ปรับปรุง Backup Site ของกรมทางหลวงชนบท 

      ทวีศักดิ์ กิจกาญจนารัตน์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
    • type-icon

      พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 

      รุธิร์ พนมยงค์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      In 2013, the research is focus on the transportation data of Myanmar, Cambodia, Malaysia andSingapore. The scopes of the research are: 1. Studying and collecting data of infrastructures, transportation network, rules and regulations in the prospect countries 2. Survey the potential land transportation routes of the cargo between Thailand and other prospect countries 3. Developing and creating network for the land transportation in the regions both forprivate and government sectors The objectives of the research are enhancing the capabilities ...
    • type-icon

      พัฒนาสายทางเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมผ่านรถไฟรางคู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 

      วีริศ อัมระปาล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีความคาดหวังว่าจะมีการขนส่งสินค้าผ่านประเทศไทยมากขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลมีโครงการที่สนับสนุนด้านการคมนาคมขนส่งหลากหลายโครงการ หนึ่งในนั้น คือ การก่อร้างรถไฟรางคู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะส่งผลต่อการลดต้นทุนการขนส่งได้อย่างมาก อย่างไรก็ตาม การขนส่งสินค้ามีโซ่อุปทานเริ่มจากแหล่งเพาะปลูกไปยังโรงงานแปรรูปส่งต่อไปยังผู้บริโภค ซึ่งการขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิต มักใช้เส้นทางของกรมทางหลวงชนบท ที่มักไม่มีการออกแบบเพื่อรองรับการบรรทุกหนักส่งผลต่อการเสื่อ ...
    • type-icon

      พัฒนาหลักสูตรการสืบสวนอุบัติเหตุเชิงลึกและการพัฒนาบุคลากรด้านความปลอดภัย โดยวิธีตกลง 

      ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      สถานการณ์ความรุนแรงด้านความปลอดภัยทางถนนในโลก รายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนของโลก พ.ศ.2558 (Global Status Report on Road Safety, 2015) โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) การเสียชีวิตบนท้องถนนโดยแบ่งประเภทของผู้ใช้ถนนในแต่ละภูมิภาคของโลก และในภูมิภาคเอเชีย การเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดกับยานพาหนะชนิด 2 ล้อ รวมถึง ปัจจุบันประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 2 ของประเทศที่มีอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุดในโลก ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิต 36.2 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน (รองจากประเทศลิเบียที่เสียชีวิต 73.4 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคน) โดยมีผู้เสียชีวิตตามที่คาดการณ์เท่ากับ 24,237 ...
    • type-icon

      พัฒนาเครือข่ายโลจิสติกส์ด้านการขนส่งสินค้าทางถนนรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษเชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้าน 

      รุธิร์ พนมยงค์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-10)

      ปัจจุบัน การค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS มีมูลค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยจึงได้ลงนามเข้าเป็นภาคในความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกการขนส่งข้ามแดนในอนุภูมิลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Cross-Border Transport Agreement: GMS CBTA) โดยมีวัตถุประสงค์ในการอำนวยความสะดวกและขจัดอุปสรรคในการขนส่งข้ามพรมแดนระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ พบว่ายังคงมีอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะในด้านกฎระเบียบ มาตรฐาน และกระบวนการข้ามแดนและผ่านแดนที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ...
    • type-icon

      พัฒนาแบบจำลองและระบบตรวจวิเคราะห์ความมั่นคงแข็งแรงสะพาน ระยะที่ 3 

      กฤดายุทธ์ ชมภูมิ่ง (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      ในปัจจุบันสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่และอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบทหลายแห่งได้มีการใช้งานมาอย่างต่อเนื่องยาวนานและรองรับปริมาณการจราจรและน้ำหนักบรรทุกที่เพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี จึงทำให้โครงสร้างสะพานเกิดการเสื่อมสภาพและมีความชำรุดเสียหาย การตรวจสอบและประเมินความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างสะพานเหล่านี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้ทราบถึงสภาพความชำรุดเสียหายและความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างในสภาพปัจจุบัน กรมทางหลวงชนบทซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลและบำรุงรักษาสะพานจึงได้ริเริ่มและดำเนินโครงการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาระบบต ...
    • type-icon

      ศึกษา สำรวจเพื่อการประเมินและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง และออกแบบโครงการสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะเพื่อคนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุของกระทรวงคมนาคม ระยะที่ 3 

      ศรีศักดิ์ พัฒนวศิน (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      สืบเนื่องจากกระทรวงคมนาคมได้ออกกฎกระทรวงกาหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2556 กระทรวงคมนาคมจึงมีนโยบายทำการสำรวจโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นที่มีโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะอยู่ในความรับผิดชอบ จึงได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ดำเนินโครงการศึกษา สำรวจ เพื่อการประเมินและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง ...
    • type-icon

      ศึกษาความเร็วปลอดภัยบนทางหลวงเพื่อการกำหนดความเร็วที่เหมาะสม 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      จากการสำรวจความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวง จำนวน 380 จุดสำรวจพบว่า ผู้ขับขี่จำนวนมากไม่สามารถขับขี่ภายใต้ความเร็วที่กฎหมายกำหนด และมีการกระจายตัวของความเร็วมากจนเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้โอกาสของการเกิดอุบัติเหตุบนทางหลวงสูงขึ้นได้ นั่นเป็นผลสืบเนื่องมาจากค่าความเร็วจำกัดที่บังคับใช้ในปัจจุบันมีความไม่เหมาะสมกับทางหลวงในประเทศไทย ควรมีการนำลักษณะกายภาพของถนนไปเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณากำหนดความเร็วจำกัด นอกจากปัจจัยหลักที่นำไปใช้อ้างอิงในปัจจุบัน (เขตชุมชนและเขตนอกเมือง) สำหรับการศึกษาพฤติกรรมการใช้ความเร็ว ณ ตำแหน่งจุดเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุพบว่า ...
    • Thumbnail
    • type-icon

      ศึกษาจัดทำแผนจัดการขนส่งที่ยั่งยืนสำหรับเมืองที่เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางอาเซียนไฮเวย์ เพื่อเป็นเมืองต้นแบบในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคคมนาคม 

      ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้โครงการศึกษาจัดทำแผนจัดการขนส่งที่ยั่งยืนสำหรับเมืองที่เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางอาเซียนไฮเวย์เพื่อเป็นเมืองต้นแบบในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคคมนาคม ได้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และเศรษฐศาสตร์การเงินที่เกิดจากการขนส่งทางถนนจากการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพื่อจัดทำแผนการจัดการขนส่งที่ยั่งยืน และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการขนส่งระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางอาเซียนไฮเวย์สำหรับเมืองต้นแบบ ...
    • type-icon

      ศึกษารูปแบบและความเหมาะสมในการใช้ระบบตรวจสอบสภาพจราจรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการจราจรบนทางหลวงชนบทในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและพัฒนาระบบการจราจรอัจฉริยะบนโครงข่ายถนนและโครงข่ายสะพานของกรมทางหลวงชนบท ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งจากการเก็บรวบรวมข้อมูลไม่พบว่า มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจนับปริมาณจราจรและระบบการสื่อสารข้อมูล ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขั้นพื้นฐานในการพัฒนาระบบการจราจรอัจฉริยะบนโครงข่ายถนนและโครงข่ายสะพานดังกล่าว งานศึกษานี้ยังพบว่า เทคโนโลยีตรวจนับปริมาณจราจร Microwave radar หรือ Video image processing และระบบการสื่อสารแบบมีสาย มีความเหมาะสมกับโครงข่ายถนนและสะพานในพื้นที่ศึกษานี้นอกจากนี้กรมทางหลวงยังควรพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์เฝ้ามองการจราจร ...
    • type-icon

      ศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมเพื่อกำหนดรูปแบบลักษณะการลงทุน และกรอบการอุดหนุน โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการระบบขนส่ง สำหรับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 

      พัชรา พัชราวนิช; สกนธ์ วรัญญูวัฒนา; ศุภชัย ศรีสุชาติ; อาณัติ ลีมัคเดช; สุพจน์ ชววิวรรธน์; สุรพล นิติไกรพจน์; นครินทร์ เมฆไตรรัตน์; ดิชพงศ์ พงศ์ภัทรชัย; สุลักษมณ์ ภัทรธรรมมาศ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      การศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมเพื่อกำหนดรูปแบบลักษณะการลงทุนและกรอบการอุดหนุน โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการระบบขนส่ง สำหรับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า การลงทุนโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการระบบขนส่งมี 3 รูปแบบ คือ รัฐดำเนินการเอง รัฐร่วมลงทุนกับเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการเอง การวิเคราะห์เริ่มจาก 1. ศึกษาและวิเคราะห์อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานต่างๆในภาครัฐ 2. การพัฒนาหลักเกณฑ์และรูปแบบการลงทุน โดยวิเคราะห์ความเป็นสาธารณะและวิเคราะห์ความเหมาะสมในการลงทุน 4 ขั้นตอน คือ ความจำเป็นของโครงการ ...
    • type-icon

      ศึกษาหลักเกณฑ์และเหตุอันควรในการพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยบนทางหลวง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทาง 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      หลักเกณฑ์และเหตุอันควรที่มีความเหมาะสมสําหรับการติดตั้งอุปกรณ์อํานวยความปลอดภัยบนท้องถนน จะส่งผลให้ทางหลวงมีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ลดจํานวนและความรุนแรงของอุบัติเหตุ เกิดความคล่องตัวของการจราจรเป็นไปอย่างเหมาะสมตามความจุที่ออกแบบไว้อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นเกณฑ์ช่วยในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณอีกด้วย
    • type-icon

      ศึกษาเพื่อยกระดับการพัฒนาประสิทธิภาพระบบโครงข่ายการขนส่งสินค้าชายฝั่งของไทย 

      สุพจน์ ชววิวรรธน์; พรายพล คุ้มทรัพย์; ธรรมวิทย์ เทอดอุดมศักดิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      ปัจจุบันประเทศไทยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งภาคอุตสาหกรรมภาคเกษตรกรรมและภาคบริการ (ท่องเที่ยว) ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็ว มีการใช้พลังงานในภาคเศรษฐกิจต่างๆ เป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2558 การใช้พลังงานในภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนมากที่สุดและใกล้เคียงกันประมาณร้อยละ 36.2 และร้อยละ 35.8 ตามลำดับ โดยการใช้พลังงานในภาคคมนาคมขนส่งของประเทศมีรูปแบบการขนส่งทางถนนสูงสุดมากถึงร้อยละ 80.9 การใช้พลังงานที่เน้นหนักไปในการขนส่งทางถนนเช่นนี้เป็นรูปแบบการขนส่งที่มีการใช้พลังงานสูงอย่างไม่มีประสิทธิภาพซึ่งนอกจากจะทำให้ต้นทุนค่าขนส่งและต้น ...
    • Thumbnail
    • Thumbnail

      ศึกษาแนวทางการติดตามประเมิน (Tracking) การใช้พลังงานที่ลดได้จากมาตรการภาคขนส่ง 

      นิพันธ์ วิเชียรน้อย; ศศิพร อุษณวศิน (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
    • type-icon

      ศึกษาแผนพัฒนาสายทางเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าและบริการผ่านรถไฟทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ และสายนครปฐม-หัวหิน 

      วีริศ อัมระปาล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561)

      ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการขนส่งหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) เพื่อเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนในการขนส่ง ซึ่งหนึ่งในโครงการที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่สายลพบุรี – ปากน้ำโพ และ สายนครปฐม – หัวหิน อย่างไรก็ตาม พบว่าความสามารถในการเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างแหล่งเพาะปลูกสินค้า แหล่งกองเก็บ จุดขนถ่ายสินค้า และสถานีรถไฟ รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ไม่ได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาเส้นทางของกรมทางหลวงชนบท ที่มีศักยภาพรองรับการขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ...
    • type-icon

      ศึกษาแผนพัฒนาสายทางเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าและบริการผ่านรถไฟทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ และสายนครปฐม-หัวหิน 

      วีริศ อัมระปาล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)

      ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการขนส่งหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) เพื่อเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนในการขนส่ง ซึ่งหนึ่งในโครงการที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่สายลพบุรี – ปากน้ำโพ และ สายนครปฐม – หัวหิน อย่างไรก็ตาม พบว่าความสามารถในการเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างแหล่งเพาะปลูกสินค้า แหล่งกองเก็บ จุดขนถ่ายสินค้า และสถานีรถไฟ รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ไม่ได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาเส้นทางของกรมทางหลวงชนบท ที่มีศักยภาพรองรับการขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ...
    • type-icon

      ศึกษาและประเมินการเพิ่มประสิทธิภาพมาตรฐานการเคลื่อนตัวของจราจรบริเวณทางแยกระยะที่ 1 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทางแยกในพื้นที่เขตเมืองที่มีลักษณะเป็นโครงข่าย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ซึ่งการศึกษาพบว่า ระบบการควบคุมการจราจรแบบทำงานประสานสัมพันธ์กันที่มีระบบปรับเปลี่ยนตามสภาพการจราจร (บน 5 ทางแยกบนถนนประเสริฐมนูกิจ) ช่วยทำให้ระบบการควบคุมทางแยกทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดการทำงานของตำรวจจราจรลดลงจากเดิมที่เคยทำงาน 13 ชั่วโมงต่อวันเหลือเพียง 8 ชั่วโมงต่อวันในวันธรรมดา (คิดเป็นลดลงร้อยละ 37.7) และลดจาก 7 ชั่วโมงต่อวันเป็นเหลือเพียง 2 ชั่วโมงต่อวันในวันอาทิตย์ (คิดเป็นร้อยละ 71.4) ...