Now showing items 44-59 of 59

    • Thumbnail

      ศึกษาแนวทางการติดตามประเมิน (Tracking) การใช้พลังงานที่ลดได้จากมาตรการภาคขนส่ง 

      นิพันธ์ วิเชียรน้อย; ศศิพร อุษณวศิน (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
    • type-icon

      ศึกษาแนวทางการบูรณะสะพานกรุงเทพ 

      กฤดายุทธ์ ชมภูมิ่ง (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2023-01-16)

      สะพานกรุงเทพเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2500 มีการใช้งานที่ยาวนานอย่างต่อเนื่องกว่า 60 ปี เชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งระหว่างเขตบางคอแหลม (ฝั่งพระนคร) กับเขตธนบุรี (ฝั่งธนบุรี) มีลักษณะเป็นสะพานโครงถักเหล็กจำนวน 5 ช่วง โดยมีช่วงกึ่งกลางสะพานที่สามารถเปิด-ปิดได้เพื่อให้เรือขนาดใหญ่แล่นผ่าน ปัจจุบันโครงสร้างสะพานมีความชำรุดเสียหายและเสื่อมสภาพไปมาก ส่งผลกระทบต่อ ความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างสะพาน กรมทางหลวงชนบทจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงสภาพความชำรุดเสียหายของสะพาน การเสื่อมสภาพของ ...
    • type-icon

      ศึกษาแผนพัฒนาสายทางเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าและบริการผ่านรถไฟทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ และสายนครปฐม-หัวหิน 

      วีริศ อัมระปาล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561)

      ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการขนส่งหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) เพื่อเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนในการขนส่ง ซึ่งหนึ่งในโครงการที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่สายลพบุรี – ปากน้ำโพ และ สายนครปฐม – หัวหิน อย่างไรก็ตาม พบว่าความสามารถในการเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างแหล่งเพาะปลูกสินค้า แหล่งกองเก็บ จุดขนถ่ายสินค้า และสถานีรถไฟ รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ไม่ได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาเส้นทางของกรมทางหลวงชนบท ที่มีศักยภาพรองรับการขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ...
    • type-icon

      ศึกษาแผนพัฒนาสายทางเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าและบริการผ่านรถไฟทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ และสายนครปฐม-หัวหิน 

      วีริศ อัมระปาล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)

      ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการขนส่งหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) เพื่อเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนในการขนส่ง ซึ่งหนึ่งในโครงการที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่สายลพบุรี – ปากน้ำโพ และ สายนครปฐม – หัวหิน อย่างไรก็ตาม พบว่าความสามารถในการเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างแหล่งเพาะปลูกสินค้า แหล่งกองเก็บ จุดขนถ่ายสินค้า และสถานีรถไฟ รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ไม่ได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาเส้นทางของกรมทางหลวงชนบท ที่มีศักยภาพรองรับการขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ...
    • type-icon

      ศึกษาและประเมินการเพิ่มประสิทธิภาพมาตรฐานการเคลื่อนตัวของจราจรบริเวณทางแยกระยะที่ 1 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทางแยกในพื้นที่เขตเมืองที่มีลักษณะเป็นโครงข่าย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ซึ่งการศึกษาพบว่า ระบบการควบคุมการจราจรแบบทำงานประสานสัมพันธ์กันที่มีระบบปรับเปลี่ยนตามสภาพการจราจร (บน 5 ทางแยกบนถนนประเสริฐมนูกิจ) ช่วยทำให้ระบบการควบคุมทางแยกทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดการทำงานของตำรวจจราจรลดลงจากเดิมที่เคยทำงาน 13 ชั่วโมงต่อวันเหลือเพียง 8 ชั่วโมงต่อวันในวันธรรมดา (คิดเป็นลดลงร้อยละ 37.7) และลดจาก 7 ชั่วโมงต่อวันเป็นเหลือเพียง 2 ชั่วโมงต่อวันในวันอาทิตย์ (คิดเป็นร้อยละ 71.4) ...
    • type-icon

      ศึกษาและปรับปรุงระบบบริหารงานบำรุงทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-19)

      การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) มีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาผิวทางพิเศษ โดยผิวทางพิเศษส่วนใหญ่เป็นแอสฟัลต์ คอนกรีตปูทับบนพื้นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กหรือปูบนสะพานเหล็ก และบางส่วนผิวทางพิเศษปูบนพื้นระดับดิน ในปี 2555 กทพ. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาจากสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริหารงานบำรุงทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยได้ทำการตรวจวัดค่าดัชนีความขรุขระสากล (IRI) ค่าร่องล้อ (Wheel Truck Rutting) ค่าความฝืดของพื้นทาง (Grip Number) รวมทั้งบันทึกภาพวีดีโอของพื้นทางพิเศษที่สำรวจทั้งหมดเพื่อใช้ประเมินค ...
    • type-icon

      ศึกษาและพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ต้นทุนส่วนเพิ่มในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมาตรการและนโยบายด้านการขนส่งเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 

      นิพันธ์ วิเชียรน้อย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-07-09)

      พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และในการประชุม รัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 21 (Conference of the Parties to the United Nations Framework Convention on Climate Change: COP21) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงในการประชุม COP21 เพื่อแสดงเจตนารมณ์ต่อที่ประชุมว่า “ประเทศไทยมีความตั้งใจที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20 จากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีปกติ ภายในปี ...
    • Thumbnail

      ศึกษาโครงสร้างการจัดทำหลักสูตรการอบรมเพื่อขอรับคืนคะแนนความประพฤติในการขับรถ 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-07-26)

      รายละเอียดตามเอกสารแนบ
    • type-icon

      สำรวจและวิเคราะห์สภาพทางหลวงผิวลาดยางและผิวคอนกรีต 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      ปัจจุบันกรมทางหลวงมีโครงข่ายทางหลวงทั่วประเทศเป็นระยะทางในความรับผิดชอบกว่า 70,077.043 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) และด้วยสภาพความเสียหายของถนนในโครงข่ายของกรมทางหลวงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กรมทางหลวงจึงต้องทำการสำรวจสภาพเส้นทางในความรับผิดชอบเป็นประจำทุกปี และนำข้อมูลสำรวจสภาพทางมาจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูลกลาง (Central Road Database, CRDB) และระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวง (Road Net) เพื่อใช้สำหรับการสืบค้นวิเคราะห์ การให้บริการข้อมูลต่อหน่วยงานอื่น และการเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศอื่น ๆ โดยการนำเข้าข้อมูลการสำรวจที่กรมทางหลวงได้นำระบบบริหารงานบำรุงทาง ...
    • type-icon

      สำรวจและวิเคราะห์สภาพทางหลวงผิวแอสฟัลต์ปี 2557 ส่วนที่ 2 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-30)

      กรมทางหลวงเป็นหน่วยงานหลักที่ต้องดูแลโครงข่ายสายทางทั่วประเทศ ปัจจุบันมีระยะทางในความรับผิดชอบกว่า 67,793 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) โดยแบ่งเป็นผิวทางลาดยาง 61,834 กิโลเมตร ผิวทางคอนกรีต 5,605 กิโลเมตร และผิวทางลูกรัง 354 กิโลเมตร ที่ผ่านมากรมทางหลวงได้นำเอาระบบบริหารงานบำรุงทาง โดยใช้โปรแกรมบริหารงานบำรุงทาง (Thailand Pavement Management System, TPMS) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้วิเคราะห์วิธีการซ่อมบำรุงทางจากสภาพความเสียหายของทางผิวแอสฟัลต์มาใช้ตั้งแต่ปี 2530 เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำแผนบำรุงทางของสำนักงานทางหลวงและแขวงการทาง โปรแกรมดังกล่าววิเคราะ ...
    • type-icon

      เก็บข้อมูลทรัพย์สินงานทางและสะพาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (กลุ่มที่ 2) 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-30)

      การจัดเก็บข้อมูลทรัพย์สินงานทางและสะพานเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านงานทาง การก่อสร้าง และงานบำรุงรักษาทางภายในความรับผิดชอบของหลวงชนบท เพื่อให้มีโครงข่ายทางหลวงชนบทที่สมบูรณ์ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ซึ่งส่งผลให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัยในการเดินทาง โดยโครงการนี้มีการใช้เครื่องมือสำรวจและจัดทำแผนที่แบบเคลื่อนที่ได้ (Mobile Mapping System, MMS) ชนิด Image Processing ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุด ส่งผลให้สามารถจัดทำข้อมูลเชิงภาพ (Image Data) และข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Data Creation) ที่มีความละเอียดถูกต้อง และรวดเร็ว ...
    • type-icon

      เพิ่มประสิทธิภาพระบบการติดตามการบริหารงานบำรุงปกติ 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      การปรับปรุงระบบหมายเลขทางหลวงทุกสายทางทั่วประเทศ ส่งผลให้ข้อมูลทางหลวงเปลี่ยนแปลงไปจากบัญชีสายทางเดิมในฐานข้อมูลกลางงานบำรุงทาง สำนักบริหารบำรุงทางจึงได้ทำการปรับปรุงข้อมูลในระบบฐานข้อมูลกลางงานบำรุงทางให้เป็นระบบหมายเลขทางหลวงใหม่ ตลอดจนได้ปรับปรุงรายละเอียดรหัสงาน งานพัฒนาทางหลวง งานบำรุงรักษาทาง และงานอำนวยความปลอดภัย รองรับลักษณะการทำงานที่เปลี่ยนไป อีกทั้งได้ทำการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพระบบสารสนเทศทรัพย์สินทางหลวงให้เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลทรัพย์สินตามบัญชีสายทางใหม่ โดยการปรับปรุงระบบดังกล่าวส่งผลให้เจ้าหน้าที่ในส่วนกลางสามารถใช้งานได้ง ...
    • type-icon

      แนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนระบบรางที่เอื้อต่อการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน 

      ภาวิณี เอี่ยมตระกูล; พีรดร แก้วลาย; ทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า; มานัส ศรีวณิช; ดารณี จารีมิตร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      แนวทางการพัฒนาพื้นที่แบบระบบขนส่งมวลชนระบบราง (Transit Oriented Development) เป็นที่ยอมรับในระดับสากลอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีหลักการในการพัฒนาพื้นที่แบบเข้มข้น โดยมีรูปแบบการพัฒนาพื้นที่บริเวณโดยรอบ ประกอบด้วย การพัฒนาศูนย์กลางที่อยู่อาศัย และพาณิชยกรรมบริเวณสถานีขนส่งมวลชน หรือโดยรอบเส้นทางระบบขนส่งมวลชน เน้นการออกแบบการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนอย่างมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงการเดินทางแบบไม่ใช้เครื่องยนต์ โดยเฉพาะการเดินเท้าในรัศมี 800 เมตร จากสถานีขนส่งมวลชน รวมถึงการใช้มาตรการอื่นที่ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน ทั้งนี้ระบบขนส่งมวลชนทางราง ...
    • type-icon

      แผนแม่บทพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 

      ทัศฐา ศรีวาลัย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-30)

      เพื่อศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ในกรณีถนนสายรองของกรมทางหลวงชนบท (Feeder Road) ให้สามารถรองรับการพัฒนาพื้นที่ใหม่และแก้ไขปัญหาปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นในอนาคตของกรมทางหลวงชนบท ให้เชื่อมต่อกับระบบคมนาคมอื่น ๆ และเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง จากการวิเคราะห์ระดับบริการของสายทางในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยแบบจำลองด้านการจราจรและขนส่งในปีอนาคตที่ พ.ศ. 2565- 2585 จำนวนทั้งสิ้น 130 สายทาง ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา 30 สายทาง จังหวัดชลบุรี 55 สายทาง ...
    • type-icon

      โครงการที่ปรึกษาเพื่อจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์การจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และหมายเลข 9 

      วินัย รักสุนทร; Winai Raksuntorn (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      This report is the 2014 traffic analysis report on the Motorway number 7 and Motorway number 9, Intercity Motorways Division, Department of Highways. It includes traffic volume by types (both exit and entrance ramps and mainlines) and quality of services on each section between interchanges. On the Motorway number 7, traffic was crowded on sections between Srinakarin interchange and Suvannabhummi interchange in both morning and afternoon peak hours. This study found that level of services on these sections of highway was LOS F. In other words, ...
    • type-icon

      โครงการปรับปรุงทางรถไฟ ระยะที่ 5 สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงชุมทางแก่งคอย-แก่งเสือเต้น สุรนารายณ์-ชุมทางบัวใหญ่ และชุมทาง ถนนจิระ-ชุมทางบัวใหญ่ 

      กฤดายุทธ์ ชมภูมิ่ง (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      A main objective is to perform load test and evaluation of load-carrying capacity of steel bridge structures after strengthening. Nineteen railway bridges located along the route of north-eastern region are considered. A static and dynamic load test is performed based on a predetermined load using a number of hopper wagons carrying reinforced concrete ballasts and box girders with the total load equivalent to train load U.20. The stress ranges and number of cycles are determined based on the strain measurements and are considered in fatigue ...