Now showing items 54-59 of 59

    • type-icon

      เก็บข้อมูลทรัพย์สินงานทางและสะพาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (กลุ่มที่ 2) 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-30)

      การจัดเก็บข้อมูลทรัพย์สินงานทางและสะพานเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านงานทาง การก่อสร้าง และงานบำรุงรักษาทางภายในความรับผิดชอบของหลวงชนบท เพื่อให้มีโครงข่ายทางหลวงชนบทที่สมบูรณ์ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ซึ่งส่งผลให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัยในการเดินทาง โดยโครงการนี้มีการใช้เครื่องมือสำรวจและจัดทำแผนที่แบบเคลื่อนที่ได้ (Mobile Mapping System, MMS) ชนิด Image Processing ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุด ส่งผลให้สามารถจัดทำข้อมูลเชิงภาพ (Image Data) และข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Data Creation) ที่มีความละเอียดถูกต้อง และรวดเร็ว ...
    • type-icon

      เพิ่มประสิทธิภาพระบบการติดตามการบริหารงานบำรุงปกติ 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      การปรับปรุงระบบหมายเลขทางหลวงทุกสายทางทั่วประเทศ ส่งผลให้ข้อมูลทางหลวงเปลี่ยนแปลงไปจากบัญชีสายทางเดิมในฐานข้อมูลกลางงานบำรุงทาง สำนักบริหารบำรุงทางจึงได้ทำการปรับปรุงข้อมูลในระบบฐานข้อมูลกลางงานบำรุงทางให้เป็นระบบหมายเลขทางหลวงใหม่ ตลอดจนได้ปรับปรุงรายละเอียดรหัสงาน งานพัฒนาทางหลวง งานบำรุงรักษาทาง และงานอำนวยความปลอดภัย รองรับลักษณะการทำงานที่เปลี่ยนไป อีกทั้งได้ทำการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพระบบสารสนเทศทรัพย์สินทางหลวงให้เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลทรัพย์สินตามบัญชีสายทางใหม่ โดยการปรับปรุงระบบดังกล่าวส่งผลให้เจ้าหน้าที่ในส่วนกลางสามารถใช้งานได้ง ...
    • type-icon

      แนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนระบบรางที่เอื้อต่อการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน 

      ภาวิณี เอี่ยมตระกูล; พีรดร แก้วลาย; ทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า; มานัส ศรีวณิช; ดารณี จารีมิตร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      แนวทางการพัฒนาพื้นที่แบบระบบขนส่งมวลชนระบบราง (Transit Oriented Development) เป็นที่ยอมรับในระดับสากลอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีหลักการในการพัฒนาพื้นที่แบบเข้มข้น โดยมีรูปแบบการพัฒนาพื้นที่บริเวณโดยรอบ ประกอบด้วย การพัฒนาศูนย์กลางที่อยู่อาศัย และพาณิชยกรรมบริเวณสถานีขนส่งมวลชน หรือโดยรอบเส้นทางระบบขนส่งมวลชน เน้นการออกแบบการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนอย่างมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงการเดินทางแบบไม่ใช้เครื่องยนต์ โดยเฉพาะการเดินเท้าในรัศมี 800 เมตร จากสถานีขนส่งมวลชน รวมถึงการใช้มาตรการอื่นที่ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน ทั้งนี้ระบบขนส่งมวลชนทางราง ...
    • type-icon

      แผนแม่บทพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 

      ทัศฐา ศรีวาลัย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-30)

      เพื่อศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ในกรณีถนนสายรองของกรมทางหลวงชนบท (Feeder Road) ให้สามารถรองรับการพัฒนาพื้นที่ใหม่และแก้ไขปัญหาปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นในอนาคตของกรมทางหลวงชนบท ให้เชื่อมต่อกับระบบคมนาคมอื่น ๆ และเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง จากการวิเคราะห์ระดับบริการของสายทางในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยแบบจำลองด้านการจราจรและขนส่งในปีอนาคตที่ พ.ศ. 2565- 2585 จำนวนทั้งสิ้น 130 สายทาง ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา 30 สายทาง จังหวัดชลบุรี 55 สายทาง ...
    • type-icon

      โครงการที่ปรึกษาเพื่อจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์การจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และหมายเลข 9 

      วินัย รักสุนทร; Winai Raksuntorn (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      This report is the 2014 traffic analysis report on the Motorway number 7 and Motorway number 9, Intercity Motorways Division, Department of Highways. It includes traffic volume by types (both exit and entrance ramps and mainlines) and quality of services on each section between interchanges. On the Motorway number 7, traffic was crowded on sections between Srinakarin interchange and Suvannabhummi interchange in both morning and afternoon peak hours. This study found that level of services on these sections of highway was LOS F. In other words, ...
    • type-icon

      โครงการปรับปรุงทางรถไฟ ระยะที่ 5 สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงชุมทางแก่งคอย-แก่งเสือเต้น สุรนารายณ์-ชุมทางบัวใหญ่ และชุมทาง ถนนจิระ-ชุมทางบัวใหญ่ 

      กฤดายุทธ์ ชมภูมิ่ง (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      A main objective is to perform load test and evaluation of load-carrying capacity of steel bridge structures after strengthening. Nineteen railway bridges located along the route of north-eastern region are considered. A static and dynamic load test is performed based on a predetermined load using a number of hopper wagons carrying reinforced concrete ballasts and box girders with the total load equivalent to train load U.20. The stress ranges and number of cycles are determined based on the strain measurements and are considered in fatigue ...