Now showing items 33-52 of 59

    • type-icon

      ศึกษา สำรวจเพื่อการประเมินและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง และออกแบบโครงการสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะเพื่อคนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุของกระทรวงคมนาคม ระยะที่ 3 

      ศรีศักดิ์ พัฒนวศิน (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      สืบเนื่องจากกระทรวงคมนาคมได้ออกกฎกระทรวงกาหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2556 กระทรวงคมนาคมจึงมีนโยบายทำการสำรวจโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นที่มีโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะอยู่ในความรับผิดชอบ จึงได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ดำเนินโครงการศึกษา สำรวจ เพื่อการประเมินและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง ...
    • type-icon

      ศึกษาความเร็วปลอดภัยบนทางหลวงเพื่อการกำหนดความเร็วที่เหมาะสม 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      จากการสำรวจความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวง จำนวน 380 จุดสำรวจพบว่า ผู้ขับขี่จำนวนมากไม่สามารถขับขี่ภายใต้ความเร็วที่กฎหมายกำหนด และมีการกระจายตัวของความเร็วมากจนเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้โอกาสของการเกิดอุบัติเหตุบนทางหลวงสูงขึ้นได้ นั่นเป็นผลสืบเนื่องมาจากค่าความเร็วจำกัดที่บังคับใช้ในปัจจุบันมีความไม่เหมาะสมกับทางหลวงในประเทศไทย ควรมีการนำลักษณะกายภาพของถนนไปเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณากำหนดความเร็วจำกัด นอกจากปัจจัยหลักที่นำไปใช้อ้างอิงในปัจจุบัน (เขตชุมชนและเขตนอกเมือง) สำหรับการศึกษาพฤติกรรมการใช้ความเร็ว ณ ตำแหน่งจุดเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุพบว่า ...
    • Thumbnail
    • type-icon

      ศึกษาจัดทำแผนจัดการขนส่งที่ยั่งยืนสำหรับเมืองที่เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางอาเซียนไฮเวย์ เพื่อเป็นเมืองต้นแบบในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคคมนาคม 

      ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้โครงการศึกษาจัดทำแผนจัดการขนส่งที่ยั่งยืนสำหรับเมืองที่เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางอาเซียนไฮเวย์เพื่อเป็นเมืองต้นแบบในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคคมนาคม ได้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และเศรษฐศาสตร์การเงินที่เกิดจากการขนส่งทางถนนจากการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพื่อจัดทำแผนการจัดการขนส่งที่ยั่งยืน และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการขนส่งระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางอาเซียนไฮเวย์สำหรับเมืองต้นแบบ ...
    • type-icon

      ศึกษาพฤติกรรมการใช้ความเร็วบนทางหลวงพิเศษ และมาตรการกวดขันวินัยจราจร และการบังคับใช้กฎหมาย บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และหมายเลข 9 

      วินัย รักสุนทร (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-28)

      รายงานฉบับนี้ เป็นการศึกษาพฤติกรรมการใช้ความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงพิเศษ หมายเลข 7 และ 9 จากผลการวิเคราะห์ พบว่า ความเร็วที่ 85 เปอร์เซ็นไทล์จะมีค่าสูงขึ้นในช่องจราจรเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม ความเร็วที่ 85 เปอร์เซ็นไทล์สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลมีค่าใกล้เคียงกับค่าความเร็วจำกัด (ความเร็วจำกัด 120 กม./ชม.) ส่วนความเร็วที่ 85 เปอร์เซ็นไทล์ ของรถบรรทุกนั้น มีค่าค่อนข้างสูงกว่าความเร็วจำกัดค่อนข้างมาก โดยอัตราการใช้ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดอยู่ระหว่าง 0-300 คันฝ่าฝืน/ยานพาหนะ 1,000 คัน สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลและมีค่าระหว่าง 9-1,000 คันฝ่าฝืน/ยานพาหนะ 1,000 ...
    • type-icon

      ศึกษารูปแบบและความเหมาะสมในการใช้ระบบตรวจสอบสภาพจราจรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการจราจรบนทางหลวงชนบทในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและพัฒนาระบบการจราจรอัจฉริยะบนโครงข่ายถนนและโครงข่ายสะพานของกรมทางหลวงชนบท ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งจากการเก็บรวบรวมข้อมูลไม่พบว่า มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจนับปริมาณจราจรและระบบการสื่อสารข้อมูล ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขั้นพื้นฐานในการพัฒนาระบบการจราจรอัจฉริยะบนโครงข่ายถนนและโครงข่ายสะพานดังกล่าว งานศึกษานี้ยังพบว่า เทคโนโลยีตรวจนับปริมาณจราจร Microwave radar หรือ Video image processing และระบบการสื่อสารแบบมีสาย มีความเหมาะสมกับโครงข่ายถนนและสะพานในพื้นที่ศึกษานี้นอกจากนี้กรมทางหลวงยังควรพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์เฝ้ามองการจราจร ...
    • type-icon

      ศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมเพื่อกำหนดรูปแบบลักษณะการลงทุน และกรอบการอุดหนุน โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการระบบขนส่ง สำหรับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 

      พัชรา พัชราวนิช; สกนธ์ วรัญญูวัฒนา; ศุภชัย ศรีสุชาติ; อาณัติ ลีมัคเดช; สุพจน์ ชววิวรรธน์; สุรพล นิติไกรพจน์; นครินทร์ เมฆไตรรัตน์; ดิชพงศ์ พงศ์ภัทรชัย; สุลักษมณ์ ภัทรธรรมมาศ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      การศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมเพื่อกำหนดรูปแบบลักษณะการลงทุนและกรอบการอุดหนุน โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการระบบขนส่ง สำหรับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า การลงทุนโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการระบบขนส่งมี 3 รูปแบบ คือ รัฐดำเนินการเอง รัฐร่วมลงทุนกับเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการเอง การวิเคราะห์เริ่มจาก 1. ศึกษาและวิเคราะห์อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานต่างๆในภาครัฐ 2. การพัฒนาหลักเกณฑ์และรูปแบบการลงทุน โดยวิเคราะห์ความเป็นสาธารณะและวิเคราะห์ความเหมาะสมในการลงทุน 4 ขั้นตอน คือ ความจำเป็นของโครงการ ...
    • type-icon

      ศึกษาหลักเกณฑ์และเหตุอันควรในการพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยบนทางหลวง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทาง 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      หลักเกณฑ์และเหตุอันควรที่มีความเหมาะสมสําหรับการติดตั้งอุปกรณ์อํานวยความปลอดภัยบนท้องถนน จะส่งผลให้ทางหลวงมีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ลดจํานวนและความรุนแรงของอุบัติเหตุ เกิดความคล่องตัวของการจราจรเป็นไปอย่างเหมาะสมตามความจุที่ออกแบบไว้อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นเกณฑ์ช่วยในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณอีกด้วย
    • type-icon

      ศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยในการขนส่งตู้บรรทุกสินค้าที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย 

      จิรรัตน์ ธีระวราพฤกษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-10)

      ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง ในการการขนส่งตู้บรรทุกสินค้าเป็นจำนวนมากเนื่องจากความได้เปรียบในการบรรทุก และการขนส่ง แต่เนื่องจากพฤติกรรมของพนักงานขับรถ การละเลยข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัย การใช้ความเร็วสูง ความประมาท สภาพแวดล้อม รวมทั้งสภาพรถ สภาพอุปกรณ์ยึดตู้บรรทุกสินค้า และการใช้อุปกรณ์ยึดตู้บรรทุกสินค้าก่อให้เกิดปัญหาตู้บรรทุกสินค้าการหลุดร่วง ตกลงมาจากพื้นรถพ่วง และรถกึ่งพ่วง ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีเฉพาะข้อบังคับในเรื่องขนาดรถ อุปกรณ์สลักยึดและตำแหน่งยึดอุปกรณ์สลักยึดตู้ แต่ยังไม่มีมาตรฐานที่ระบุถึง อุปกรณ์ยึด ตำแหน่งยึดอุปกรณ ...
    • type-icon

      ศึกษาเพื่อยกระดับการพัฒนาประสิทธิภาพระบบโครงข่ายการขนส่งสินค้าชายฝั่งของไทย 

      สุพจน์ ชววิวรรธน์; พรายพล คุ้มทรัพย์; ธรรมวิทย์ เทอดอุดมศักดิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      ปัจจุบันประเทศไทยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งภาคอุตสาหกรรมภาคเกษตรกรรมและภาคบริการ (ท่องเที่ยว) ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็ว มีการใช้พลังงานในภาคเศรษฐกิจต่างๆ เป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2558 การใช้พลังงานในภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนมากที่สุดและใกล้เคียงกันประมาณร้อยละ 36.2 และร้อยละ 35.8 ตามลำดับ โดยการใช้พลังงานในภาคคมนาคมขนส่งของประเทศมีรูปแบบการขนส่งทางถนนสูงสุดมากถึงร้อยละ 80.9 การใช้พลังงานที่เน้นหนักไปในการขนส่งทางถนนเช่นนี้เป็นรูปแบบการขนส่งที่มีการใช้พลังงานสูงอย่างไม่มีประสิทธิภาพซึ่งนอกจากจะทำให้ต้นทุนค่าขนส่งและต้น ...
    • Thumbnail
    • Thumbnail

      ศึกษาแนวทางการติดตามประเมิน (Tracking) การใช้พลังงานที่ลดได้จากมาตรการภาคขนส่ง 

      นิพันธ์ วิเชียรน้อย; ศศิพร อุษณวศิน (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
    • type-icon

      ศึกษาแนวทางการบูรณะสะพานกรุงเทพ 

      กฤดายุทธ์ ชมภูมิ่ง (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2023-01-16)

      สะพานกรุงเทพเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2500 มีการใช้งานที่ยาวนานอย่างต่อเนื่องกว่า 60 ปี เชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งระหว่างเขตบางคอแหลม (ฝั่งพระนคร) กับเขตธนบุรี (ฝั่งธนบุรี) มีลักษณะเป็นสะพานโครงถักเหล็กจำนวน 5 ช่วง โดยมีช่วงกึ่งกลางสะพานที่สามารถเปิด-ปิดได้เพื่อให้เรือขนาดใหญ่แล่นผ่าน ปัจจุบันโครงสร้างสะพานมีความชำรุดเสียหายและเสื่อมสภาพไปมาก ส่งผลกระทบต่อ ความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างสะพาน กรมทางหลวงชนบทจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงสภาพความชำรุดเสียหายของสะพาน การเสื่อมสภาพของ ...
    • type-icon

      ศึกษาแผนพัฒนาสายทางเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าและบริการผ่านรถไฟทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ และสายนครปฐม-หัวหิน 

      วีริศ อัมระปาล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561)

      ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการขนส่งหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) เพื่อเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนในการขนส่ง ซึ่งหนึ่งในโครงการที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่สายลพบุรี – ปากน้ำโพ และ สายนครปฐม – หัวหิน อย่างไรก็ตาม พบว่าความสามารถในการเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างแหล่งเพาะปลูกสินค้า แหล่งกองเก็บ จุดขนถ่ายสินค้า และสถานีรถไฟ รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ไม่ได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาเส้นทางของกรมทางหลวงชนบท ที่มีศักยภาพรองรับการขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ...
    • type-icon

      ศึกษาแผนพัฒนาสายทางเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าและบริการผ่านรถไฟทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ และสายนครปฐม-หัวหิน 

      วีริศ อัมระปาล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)

      ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการขนส่งหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) เพื่อเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนในการขนส่ง ซึ่งหนึ่งในโครงการที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่สายลพบุรี – ปากน้ำโพ และ สายนครปฐม – หัวหิน อย่างไรก็ตาม พบว่าความสามารถในการเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างแหล่งเพาะปลูกสินค้า แหล่งกองเก็บ จุดขนถ่ายสินค้า และสถานีรถไฟ รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ไม่ได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาเส้นทางของกรมทางหลวงชนบท ที่มีศักยภาพรองรับการขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ...
    • type-icon

      ศึกษาและประเมินการเพิ่มประสิทธิภาพมาตรฐานการเคลื่อนตัวของจราจรบริเวณทางแยกระยะที่ 1 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทางแยกในพื้นที่เขตเมืองที่มีลักษณะเป็นโครงข่าย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ซึ่งการศึกษาพบว่า ระบบการควบคุมการจราจรแบบทำงานประสานสัมพันธ์กันที่มีระบบปรับเปลี่ยนตามสภาพการจราจร (บน 5 ทางแยกบนถนนประเสริฐมนูกิจ) ช่วยทำให้ระบบการควบคุมทางแยกทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดการทำงานของตำรวจจราจรลดลงจากเดิมที่เคยทำงาน 13 ชั่วโมงต่อวันเหลือเพียง 8 ชั่วโมงต่อวันในวันธรรมดา (คิดเป็นลดลงร้อยละ 37.7) และลดจาก 7 ชั่วโมงต่อวันเป็นเหลือเพียง 2 ชั่วโมงต่อวันในวันอาทิตย์ (คิดเป็นร้อยละ 71.4) ...
    • type-icon

      ศึกษาและปรับปรุงระบบบริหารงานบำรุงทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-19)

      การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) มีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาผิวทางพิเศษ โดยผิวทางพิเศษส่วนใหญ่เป็นแอสฟัลต์ คอนกรีตปูทับบนพื้นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กหรือปูบนสะพานเหล็ก และบางส่วนผิวทางพิเศษปูบนพื้นระดับดิน ในปี 2555 กทพ. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาจากสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริหารงานบำรุงทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยได้ทำการตรวจวัดค่าดัชนีความขรุขระสากล (IRI) ค่าร่องล้อ (Wheel Truck Rutting) ค่าความฝืดของพื้นทาง (Grip Number) รวมทั้งบันทึกภาพวีดีโอของพื้นทางพิเศษที่สำรวจทั้งหมดเพื่อใช้ประเมินค ...
    • type-icon

      ศึกษาและพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ต้นทุนส่วนเพิ่มในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมาตรการและนโยบายด้านการขนส่งเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 

      นิพันธ์ วิเชียรน้อย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-07-09)

      พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และในการประชุม รัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 21 (Conference of the Parties to the United Nations Framework Convention on Climate Change: COP21) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงในการประชุม COP21 เพื่อแสดงเจตนารมณ์ต่อที่ประชุมว่า “ประเทศไทยมีความตั้งใจที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20 จากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีปกติ ภายในปี ...
    • Thumbnail

      ศึกษาโครงสร้างการจัดทำหลักสูตรการอบรมเพื่อขอรับคืนคะแนนความประพฤติในการขับรถ 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-07-26)

      รายละเอียดตามเอกสารแนบ
    • type-icon

      สำรวจและวิเคราะห์สภาพทางหลวงผิวลาดยางและผิวคอนกรีต 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      ปัจจุบันกรมทางหลวงมีโครงข่ายทางหลวงทั่วประเทศเป็นระยะทางในความรับผิดชอบกว่า 70,077.043 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) และด้วยสภาพความเสียหายของถนนในโครงข่ายของกรมทางหลวงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กรมทางหลวงจึงต้องทำการสำรวจสภาพเส้นทางในความรับผิดชอบเป็นประจำทุกปี และนำข้อมูลสำรวจสภาพทางมาจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูลกลาง (Central Road Database, CRDB) และระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวง (Road Net) เพื่อใช้สำหรับการสืบค้นวิเคราะห์ การให้บริการข้อมูลต่อหน่วยงานอื่น และการเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศอื่น ๆ โดยการนำเข้าข้อมูลการสำรวจที่กรมทางหลวงได้นำระบบบริหารงานบำรุงทาง ...