Now showing items 1-14 of 14

    • type-icon

      กลไกการขับเคลื่อนชมรมผู้สูงอายุในการส่งเสริมสถานภาพและบทบาทของผู้สูงอายุ 

      เดชา สังขวรรณ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      การวิจัยเรื่อง “กลไกการขับเคลื่อนชมรมผู้สูงอายุในการส่งเสริมสถานภาพและบทบาทของผู้สูงอายุ” เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาการบริหารจัดการ และการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ บทบาทการสนับสนุนและส่งเสริมสถานภาพผู้สูงอายุในสังคม และกลไกการเชื่อมประสานระหว่างสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ สาขาสมาคมสภาผู้สูงอายุฯ และชมรมผู้สูงอายุ โดยศึกษาจากเอกสาร การศึกษาเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ โดยสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ จากกลุ่มตัวอย่าง 394 ชมรม ได้แบบสอบถามกลับคืนมา ร้อยละ 78.4 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สำหรับวิธีการเชิงคุณภาพ ...
    • type-icon

      การถอดบทเรียนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 

      ธีระ สินเดชารักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน เป็นกิจกรรมทางสังคมในรูปแบบหนึ่งที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในชุมชนด้วยความสมัครใจของคู่ขัดแย้ง และใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือก อันจะนำไปสู่การลดคดีเข้าสู่ชั้นศาล และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนอันเกิดจากการเข้าถึงจนออกจากกระบวนการยุติธรรมหลัก ในบทความนี้พยายามนำเสนอแนวทางและวิธีการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามบทบาทหน้าที่ของศูนย์ยุติธรรมชุมชนตัวอย่าง ๘๑ แห่งในสำนักงานยุติธรรมจังหวัด ๒๗ จังหวัดทั้งที่มีอัตราการไกล่เกลี่ยสำเร็จสูงสุด และต่ำสุดจากสถิติย้อนหลัง ...
    • Thumbnail

      การวิจัยลักษณะการดำเนินงานและกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ 

      ศศิพัฒน์ ยอดเพชร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2012)
    • type-icon

      การศึกษาการกำหนดอัตราค่าตอบแทนของผู้รับงานไปทำที่บ้านในประเทศไทย 

      นฤมล นิราทร; Nirathorn, Narumol (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      โครงการศึกษาวิจัย “การศึกษาการกำหนดอัตราค่าตอบแทนของผู้รับงานไปทำที่บ้านในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) ศึกษากระบวนการทำงาน/กระบวนการผลิตและเวลาที่ใช้ในกระบวนการทำงาน ของงานที่รับไปทำที่บ้าน จำนวน 20 ประเภทงานย่อย 26 ลักษณะงานใน 7 อุตสาหกรรม 2) ศึกษาเวลาเฉลี่ยที่ใช้ใน กระบวนการทำงาน/กระบวนผลิต เวลาที่ใช้ในการผลิตในกระบวนการต่าง ๆ ของงานที่รับไปทำที่บ้าน จำนวน 20 ประเภทงานย่อย 26 ลักษณะงานใน 7 อุตสาหกรรม 3) ศึกษาข้อมูลอัตราค่าตอบแทน ที่ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ได้รับในกระบวนการทำงาน/กระบวนการผลิตของงานที่รับไปทำที่บ้าน จำนวน 20 ประเภทงานย่อย ...
    • type-icon

      จัดทำหลักสูตรการอบรมผู้ทำหน้าที่นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง 

      ระพีพรรณ คำหอม (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      โครงการจัดทำหลักสูตรการอบรมผู้ทำหน้าที่นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นการทำงานของสำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ร่วมกับ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย และสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ได้ร่วมกันจัดทำหลักสูตรฯ ผ่านการมีส่วนร่วมของผู้ทรงคุณวุฒิสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้หลักสูตรการอบรมมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการพัฒนาบุคลากรที่จะต้องเข้ามาเป็นนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามหลักการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้อย่างเหมาะสมที่สุด ...
    • type-icon

      จ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลของกระทรวงแรงงานและสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2560 - 2564) 

      จิรพล สังข์โพธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      วิทยาลัยนวัตกรรม เป็นที่ปรึกษาดำเนินการจัดทำ “แผนปฏิบัติการดิจิทัลของกระทรวงแรงงาน” เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และบริบทการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลในยุคปัจจุบัน อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันภารกิจแรงงานระดับประเทศเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ภายใต้กรอบนโยบาย แผนปฏิบัติการดิจิทัลดังกล่าว อยู่ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2564 ประกอบด้วย 2 แผนฯ ที่ช่วยขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงแรงงานสู่เป้าหมายที่วางไว้ ประกอบด้วย 1) แผนปฏิบัติการดิจิทัลของกระทรวงแรงงาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564) การพัฒนาดิจิทัลในภาพรวมของกระทรวงแรงงาน โดยมุ่งหวัง ...
    • type-icon

      ที่ปรึกษาเพื่อจัดทำแนวทางศึกษารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มเเข็งของชุมชนคุ้มครองเด็ก 

      วสันต์ เหลืองประภัสร์; Luangprapat, Wasan (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      1. บทนำ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับมอบหมายจากกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ดำเนิน “โครงการจัดทำแนวทางศึกษารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนคุ้มครองเด็ก” ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการสร้างกลไกการให้บริการการคุ้มครองเด็กในชุมชนที่มีประสิทธิภาพ ทั้งการติดตาม การรายงาน การช่วยเหลือเด็กที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงหรือตกเป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรง การกระทำที่มิชอบ การแสวงหาประโยชน์ การละเลยทอดทิ้ง และปัญหาอื่น ๆ ภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนา ปกป้อง คุ้มครอง และช่วยเหลือเด็กใ ...
    • type-icon

      ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคการหลอมรวมเทคโนโลยี 

      สุปราณี ศรีฉัตราภิมุข; Srichatrapimuk, Supranee (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      โครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) สำนักงาน กสทช. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เพื่อนำไปสู่การกำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสให้สามารถเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่ ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษา ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 - พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ...
    • type-icon

      ศึกษาการคาดประมาณความต้องการที่อยู่อาศัยของประเทศไทย ปี 2560 - 2580 

      ฉวีวรรณ เด่นไพบูลย์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      การศึกษานี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องพัฒนาแบบจำลองและแนวคิดการศึกษาการคาดประมาณความต้องการที่อยู่อาศัยในช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2580 ทั้งในระดับภาพรวมของประเทศ และจำแนกตามเขตการปกครองระดับจังหวัด โดยจำแนกความต้องการที่อยู่อาศัยตามระดับรายได้ของครัวเรือน เพื่อนำไปปรับใช้กำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2580) การศึกษานี้ได้พัฒนาจากแบบจำลองการศึกษาที่ผ่านมา โดยพัฒนาจากปัจจัยและวิธีการคำนวณที่เกี่ยวข้องกับความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างรอบคอบและรอบด้าน ...
    • type-icon

      ศึกษาวิจัยที่อยู่อาศัยประเภทเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย 

      ประชา คุณธรรมดี; จิตติ มงคลชัยอรัญญา; พรพรรณ วีระปรียากูร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      ผู้มีรายได้น้อยมีความต้องการที่อยู่อาศัยแต่มีข้อจำกัดด้านกำลังซื้อ ภาครัฐจึงจำเป็นต้องมีมาตรการช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัย ทางออกสำคัญประการหนึ่งคือ ที่อยู่อาศัยประเภทเช่า ที่ตอบสนองผู้มีรายได้น้อยทั้งที่เป็นแรงงานย้ายถิ่น หรือผู้ที่ประสงค์จะเช่าอยู่อาศัยด้วยเหตุผลแตกต่างกัน โครงการที่อยู่อาศัยประเภทเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย เป็นโครงการที่การเคหะแห่งชาติ สนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัย เพื่อตอบโจทย์ของประเทศในด้านที่อยู่อาศัยประเภทเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย โครงการนี้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม เช่น สภาพความเป็นจริง ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ทั้งด้านกา ...
    • type-icon

      ศึกษาวิจัยมาตรการกลไกป้องกันการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ 

      เดชา สังขวรรณ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง “มาตรการกลไกป้องกันการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ รวมถึงศึกษามาตรการกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุในปัจจุบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มาตรการกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุที่เหมาะสมในสังคมไทย และแนวปฏิบัติที่มีความเป็นไปได้และเหมาะสมกับสังคมไทยในการผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการเพื่อช่วยป้องกันและลดปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ โดยดำเนินการ ...
    • type-icon

      ศึกษาวิจัยแนวทางการวางแผนการศึกษาและการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศอาเซียน 

      ประภัสสร์ เทพชาตรี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      โครงการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยในประชาคมอาเซียน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์สถานการณ์แนวโน้ม โอกาสและผลกระทบของการเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนต่อประเทศไทย เพื่อศึกษาแนวทางการวางแผนการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน และเปรียบเทียบกับประเทศไทย และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการวางแผนการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยโครงการวิจัยนี้ เน้นการวิจัยเอกสาร ซึ่งประกอบด้วยงานวิจัย หนังสือ บทความ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ นโยบาย ยุทธศาสตร์ รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านอาเซียนและประเทศส ...
    • type-icon

      สำรวจสถานการณ์เกี่ยวกับการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ผ่านกิจกรรมโครงการกำลังใจ 

      ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      โครงการวิจัยการสำรวจสถานการณ์เกี่ยวกับการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ผ่านกิจกรรมโครงการกำลังใจ ในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันด้านการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ผ่านกิจกรรมโครงการกำลังใจฯ ใน 3 รูปแบบกิจกรรมหลัก ในมิติเชิงคุณภาพเป็นตัวหลัก และเพื่อศึกษาแนวทางในการจัดกิจกรรมของโครงการกำลังใจฯ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงบวกและแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังอย่างเหมาะสม ในบริบทของผู้ต้องขังที่ผ่านโครงการกำลังใจฯ 3 รูปแบบกิจกรรมหลัก อันประกอบด้วย 1. โครงการแม่และเด็กภายใต้โครงการกำลังใจในพระดำริฯ ...
    • Thumbnail

      โครงการนำร่องเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม (ศึกษาออกแบบและพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม) : รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (final report) 

      สมคิด เลิศไพฑูรย์; นคร เสรีรักษ์; ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ; ภรณี ดีราษฎร์วิเศษ; จินตนา เนตรทัศน์; พัชรี ย่ำเที่ยง; กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2010)

      รายงานการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาออกแบบและจัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคมให้เป็นกลไกสำคัญของงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคตสำหรับการแก้ไขปัญหาสังคมไทยในภาพรวม เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ การจัดประชุมกลุ่มย่อย การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเก็บข้อมูลภาคสนามจากจังหวัดนำร่อง 4 จังหวัดในทุกภาค ผลที่ได้จากการศึกษานำไปออกแบบระบบ แผนยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดงานเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม