Now showing items 24-33 of 33

    • type-icon

      ศึกษาการคาดประมาณความต้องการที่อยู่อาศัยของประเทศไทย ปี 2560 - 2580 

      ฉวีวรรณ เด่นไพบูลย์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      การศึกษานี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องพัฒนาแบบจำลองและแนวคิดการศึกษาการคาดประมาณความต้องการที่อยู่อาศัยในช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2580 ทั้งในระดับภาพรวมของประเทศ และจำแนกตามเขตการปกครองระดับจังหวัด โดยจำแนกความต้องการที่อยู่อาศัยตามระดับรายได้ของครัวเรือน เพื่อนำไปปรับใช้กำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2580) การศึกษานี้ได้พัฒนาจากแบบจำลองการศึกษาที่ผ่านมา โดยพัฒนาจากปัจจัยและวิธีการคำนวณที่เกี่ยวข้องกับความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างรอบคอบและรอบด้าน ...
    • type-icon

      ศึกษาวิจัยที่อยู่อาศัยประเภทเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย 

      ประชา คุณธรรมดี; จิตติ มงคลชัยอรัญญา; พรพรรณ วีระปรียากูร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      ผู้มีรายได้น้อยมีความต้องการที่อยู่อาศัยแต่มีข้อจำกัดด้านกำลังซื้อ ภาครัฐจึงจำเป็นต้องมีมาตรการช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัย ทางออกสำคัญประการหนึ่งคือ ที่อยู่อาศัยประเภทเช่า ที่ตอบสนองผู้มีรายได้น้อยทั้งที่เป็นแรงงานย้ายถิ่น หรือผู้ที่ประสงค์จะเช่าอยู่อาศัยด้วยเหตุผลแตกต่างกัน โครงการที่อยู่อาศัยประเภทเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย เป็นโครงการที่การเคหะแห่งชาติ สนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัย เพื่อตอบโจทย์ของประเทศในด้านที่อยู่อาศัยประเภทเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย โครงการนี้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม เช่น สภาพความเป็นจริง ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ทั้งด้านกา ...
    • type-icon

      ศึกษาวิจัยมาตรการกลไกป้องกันการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ 

      เดชา สังขวรรณ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง “มาตรการกลไกป้องกันการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ รวมถึงศึกษามาตรการกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุในปัจจุบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มาตรการกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุที่เหมาะสมในสังคมไทย และแนวปฏิบัติที่มีความเป็นไปได้และเหมาะสมกับสังคมไทยในการผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการเพื่อช่วยป้องกันและลดปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ โดยดำเนินการ ...
    • type-icon

      ศึกษาวิจัยแนวทางการวางแผนการศึกษาและการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศอาเซียน 

      ประภัสสร์ เทพชาตรี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      โครงการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยในประชาคมอาเซียน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์สถานการณ์แนวโน้ม โอกาสและผลกระทบของการเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนต่อประเทศไทย เพื่อศึกษาแนวทางการวางแผนการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน และเปรียบเทียบกับประเทศไทย และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการวางแผนการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยโครงการวิจัยนี้ เน้นการวิจัยเอกสาร ซึ่งประกอบด้วยงานวิจัย หนังสือ บทความ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ นโยบาย ยุทธศาสตร์ รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านอาเซียนและประเทศส ...
    • type-icon

      ศึกษาแผนแม่บทผังวิสัยทัศน์ย่านการเรียนรู้ด้านคนพิการในพื้นที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 

      ชุมเขต แสวงเจริญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-04-26)

      จากข้อมูลทางสถิติของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ด้านการสำรวจจำนวนคนพิการในประเทศไทย ปี 2562 พบว่า มีจำนวนคนพิการทั้งสิ้น จำนวน 1,995,767 คน คิดเป็นร้อยละ 3.01 ของประชากรทั้งประเทศ โดยในแต่ละปีจำนวนคนพิการได้เพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กลุ่มคนพิการยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ สวัสดิการ การเรียนรู้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทำให้เกิดความจำเป็นอย่างยิ่งต่อขับเคลื่อน พัฒนา และขยายผลเพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้ ส่งผลให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น และเกิดความเท่าเทียมกับคนทุกคนในสังคม ...
    • type-icon

      สำรวจสถานการณ์เกี่ยวกับการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ผ่านกิจกรรมโครงการกำลังใจ 

      ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      โครงการวิจัยการสำรวจสถานการณ์เกี่ยวกับการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ผ่านกิจกรรมโครงการกำลังใจ ในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันด้านการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ผ่านกิจกรรมโครงการกำลังใจฯ ใน 3 รูปแบบกิจกรรมหลัก ในมิติเชิงคุณภาพเป็นตัวหลัก และเพื่อศึกษาแนวทางในการจัดกิจกรรมของโครงการกำลังใจฯ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงบวกและแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังอย่างเหมาะสม ในบริบทของผู้ต้องขังที่ผ่านโครงการกำลังใจฯ 3 รูปแบบกิจกรรมหลัก อันประกอบด้วย 1. โครงการแม่และเด็กภายใต้โครงการกำลังใจในพระดำริฯ ...
    • type-icon

      หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่ภาคกลาง 

      กนกวรา พวงประยงค์; สานิตย์ หนูนิล; วีรบูรณ์ วิสารทสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-03-23)

      โครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำพื้นที่ภาคกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท ชุมชน สถานการณ์ปัญหา และศักยภาพของชุมชนพื้นที่เป้าหมายในเขตภาคกลาง ตลอดจนบ่มเพาะและส่งเสริมเยาวชนและกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจเชิงนวัตกรรมให้สามารถต่อยอดผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชุมชนเป้าหมาย สร้างเครือข่ายระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อสังคมและเสนอแนะแนวทางในการพัฒนานวัตกรสังคมและวิสาหกิจเริ่มต้นเพื่อสังคมสำหรับการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนเป้าหมายได้อย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีการดำเนินงานผ่านกระบวนการบ่มเพาะให้คำปรึกษาและสนับสนุนการพั ...
    • type-icon

      เสริมสร้างกลไกสามเหลี่ยมแห่งการเปลี่ยนแปลง (THE TRIANGLE OF CHANGE) 

      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุนิสา ช่อแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560)

      โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาการเสริมสร้างกลไกการเปลี่ยนแปลงและสร้างเครือข่ายการทำงานให้กับนักบริหารระดับสูง (Change Leader) นักบริหารระดับอำนวยการ (Change Agent) และกลุ่มบุคลากรรุ่นใหม่ที่พร้อมขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง (Change Star) ภายในกระทรวงการคลัง จากการนำเสนอของกลไกการเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 ระดับ สะท้อนให้เห็นภาพรวมของแนวทางการสร้างการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของกระทรวงการคลัง ดังนี้ 1) การบูรณาการข้ามกรมทั้งในด้านกระบวนการ กฎระเบียบ นโยบาย ข้อมูล และบุคลากร 2) การพัฒนาฐานข้อมูลและการปรับปรุงการทำงานแบบอิเล็กทรอนิกส์ และการให้บริการที ...
    • type-icon

      แนวทางการลดอัตราการตายและบาดเจ็บของการใช้รถจักรยานยนต์ด้วยการบูรณาการนวัตกรรมด้านความปลอดภัยทางถนน 

      ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-11)

      สำหรับประเทศไทยการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลก ซึ่งอุบัติเหตุทางถนนอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลก ซึ่งอุบัติเหตุจราจรทางถนนถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นเสนอแนะแนวทางการลดอัตราการตายและบาดเจ็บของการใช้รถจักรยานยนต์ด้วยการบูรณาการนวัตกรรมด้านความปลอดภัยทางถนน โดยทำการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ทั้ง 3 ระดับ คือ 1) ระดับเมือง: รวบรวมข้อมูลสถิติอุบัติเหตุจากข้อมูล 3 ฐาน (จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (POLIS)) กระทรวงมหาดไทยและ ...
    • Thumbnail

      โครงการนำร่องเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม (ศึกษาออกแบบและพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม) : รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (final report) 

      สมคิด เลิศไพฑูรย์; นคร เสรีรักษ์; ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ; ภรณี ดีราษฎร์วิเศษ; จินตนา เนตรทัศน์; พัชรี ย่ำเที่ยง; กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2010)

      รายงานการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาออกแบบและจัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคมให้เป็นกลไกสำคัญของงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคตสำหรับการแก้ไขปัญหาสังคมไทยในภาพรวม เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ การจัดประชุมกลุ่มย่อย การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเก็บข้อมูลภาคสนามจากจังหวัดนำร่อง 4 จังหวัดในทุกภาค ผลที่ได้จากการศึกษานำไปออกแบบระบบ แผนยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดงานเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม