Now showing items 11-25 of 25

    • type-icon

      จัดจ้างที่ปรึกษา Interoperability 

      ชุมพล บุญมี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-01-22)

      ในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกให้ความสำคัญต่อการปรับตัวเข้าสู่ยุคการผลิตสมัยใหม่ที่มีหลากหลายคำเรียกขาน อาทิ industry 4.0, smart manufacturing, connected factory ฯลฯ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและระบบสื่อสารโทรคมนาคม นำมาสู่การผสานเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น IoT, big data, AI เข้ากับเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ เช่น additive manufacturing advanced robot นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทั้งในด้านการลดต้นทุน ลดระยะเวลาการผลิต อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีและรูปแบบการทำงาน ตลอดจนรูปแบบการประกอบธุรกิจที่แตกต่างไปจา ...
    • type-icon

      จัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รายสาขา/รายพื้นที่/รายประเด็น : อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ และอุตสาหกรรมเศรษฐกิจดิจิทัล 

      เกรียงไกร เตชกานนท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-03-04)

      โครงการวิจัยนี้จัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในสามอุตสาหกรรมคือ ยานยนต์ไฟฟ้า เศรษฐกิจดิจิทัล และ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ การดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมในทั้งสามสาขาทำโดยการจัดประชุมกลุ่มย่อยสองครั้ง และการนำเสนอแนวคิดที่ได้จากการระดมสมองเพื่อปรับปรุงแผนการส่งเสริมให้มุ่งเป้ามากขึ้น ในขั้นตอนสุดท้ายเป็นการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละอุตสาหกรรมเพื่อบูรณาการแผนการส่งเสริมให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 โดยในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าได้ทำแผนส่ ...
    • type-icon

      จ้างที่ปรึกษาจัดทําแผนปฏิบัติการดิจิทัลของสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระยะ 5 ปี พ.ศ.2561-2565 

      วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช; คมวุฒิ วิภูษิตวรกุล; ณัฎฐริกา ฤทธิทิพย์พันธุ์; บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      การพัฒนาของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือที่เรียกว่า อุตสาหกรรม 4.0 เป็นการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้านเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล เน้นส่งเสริมการขยายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้ตระหนักถึงประโยชน์ และความสําคัญในการนําเทคโนโลยีดิจิทัล และ/หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ...
    • Thumbnail

      จ้างที่ปรึกษาเพื่อปฏิบัติงานกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้เกิดธุรกิจใหม่ภายใต้โครงการ เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ 

      ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
    • type-icon

      จ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อสนับสนุนการให้บริการของท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง 

      สถาพร โอภาสานนท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      โครงการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการ (1) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) และความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม ออกแบบรายละเอียดเบื้องต้นและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE); และ (2) เพื่อศึกษารูปแบบการลงทุน และการบริหารจัดการ และด้านอื่นๆ ที่มีความจำเป็นให้ครอบคลุมและเพียงพอสำหรับประกอบการพิจารณาของผู้บริหารในการตัดสินใจดำเนินโครงการพัฒนาธุรกิจท่าเรือบก เพื่อสนับสนุนการให้บริการของท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง จากผลการวิเคราะห์โดยใช้การตัดสินใจแบบพิจารณาหลายเกณฑ์พบว่า จังหวัดขอนแก่น มีศักยภาพในการเป็นพื้นที่พัฒนาท่าเรือบก ...
    • type-icon

      ที่ปรึกษาศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม 

      วิโรจน์ ลิ่มตระการ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      ในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมมีการแข่งขันกันสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างยิ่ง แต่ยังคงมีอุปสรรคในการหันมาใช้เทคโนโลยี ทางวิศวกรรมที่ทันสมัยทดแทนเทคโนโลยีเดิมๆ ที่มีอยู่ของภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความมั่นใจในเทคโนโลยีและที่ปรึกษาเทคโนโลยี ดังนั้นการสื่อสารและสร้างความเข้าใจในวิธีการใช้และประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีในเชิงธุรกิจ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการหันมาใช้เทคโนโลยีด้านการออกแบบและผลิต และพัฒนาองค์ความรู้ของบริษัทอย่างยั่งยืน ดังนั้น กิจกรรมการดำเนินงานในงานนี้จะเน้นการจัด ...
    • type-icon

      พัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Early Stage) ปีงบประมาณ 2563 

      อรพรรณ คงมาลัย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-03-04)

      มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดำเนินโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (early stage) ปี 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ให้สามารถสร้างความเข้มแข็งทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาแนวความคิดในการสร้างธุรกิจเชิงปฏิบัติการ โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ให้เห็นภาพรวมของธุรกิจได้อย่างชัดเจน และเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและให้คำปรึกษาเชิงลึกให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อนำไปปรับปรุงธุรกิจให้มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น โดยการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 6 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1) การประชุมวางแผนการดำเนินโครงการร่ ...
    • type-icon

      พัฒนาศักยภาพธุรกิจบริการสู่ความเป็นมืออาชีพ โครงการยกระดับศักยภาพธุรกิจบริการที่มีมูลค่าสูง ปีงบประมาณ 2563 

      พีระ เจริญพร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-12-16)

      ธุรกิจบริการมีความสำคัญต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมากในเชิงมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งในแง่สัดส่วนของ GDP จำนวนธุรกิจ และจำนวนการจ้างงาน รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาขีดความสามารถของธุรกิจไทย โดยมุ่งเน้นยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน สร้างงานสร้างรายได้และการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ส่งเสริมการพัฒนาและผลักดันด้านการตลาดของธุรกิจบริการ ดังนั้น กองธุรกิจบริการจึงได้จัดทำกิจกรรมพัฒนาศักยภาพธุรกิจบริการสู่ความเป็นมืออาชีพขึ้น ภายใต้โครงการยกระดับศักยภาพธุรกิจบริการที่มีมูลค่าสูง ซึ่งประกอบด้วย ...
    • type-icon

      พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม 

      สุวรรณ จันทิวาสารกิจ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-03-23)

      โครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม บ่งชี้ว่าผู้ประกอบการเล็งเห็นถึงประโยชน์การใช้เทคโนโลยีธุรกิจอัจฉริยะ (Business intelligence: BI) เพื่อลดต้นทุน และความเร็วในการบริหารจัดการธุรกิจ การออกแบบรายงานถือว่าเป็นสิ่งสำคัญช่วยธุรกิจดำเนินไปได้อย่างถูกต้องแม่นยำ นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ประกอบการยังขาดความเข้าใจในการใช้เครื่องมือด้านดิจิทัลสนับสนุนในการดำเนินธุรกิจและการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักการจัดเก็บข้อมูลที่จะช่วยให้การใช้ข้อมูลในองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การนำข้อมูลที่มีคุณภาพมาจัดทำรายงานผ่านเทคโนโลยีธุร ...
    • type-icon

      พันธมิตรสร้างแบรนด์และธุรกิจเพื่อความยั่งยืนในการแข่งขัน (Born Strong) ปี 2563 

      อัญณิฐา ดิษฐานนท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-03-04)

      หน่วยร่วมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดำเนินโครงการพันธมิตรสร้างแบรนด์และธุรกิจเพื่อการแข่งขันอย่างยั่งยืน (Born Strong) โดยโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการใน 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ประกอบการใหม่และผู้ประกอบการรายย่อยที่มีแนวคิดทำผลิตภัณฑ์ ในกลุ่ม Health & Beauty และ 2) ผู้ประกอบการรับจ้างการผลิต OEM ตัวจริง ที่มีโรงงานและมีนวัตกรรมการผลิตที่มีคุณภาพและถูกต้องตามกฎหมาย เช่น โรงงานรับผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, โรงงานรับผลิตเครื่องสำอาง เป็นต้น โดยการส่งเสริมและยกระดับผู้ประกอบการภาค ...
    • Thumbnail

      ยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีพลาสมา (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมและบริการด้วยเทคโนโลยีพลาสมา) 

      ธีร เจียศิริพงษ์กุล (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2023-04-04)

      รายละเอียดตามเอกสารแนบ
    • type-icon

      ร่างระเบียบมาตรฐานและการรับรองมาตรฐานเครื่องประดับโลหะมีค่าไทย 

      วิทวัส รุ่งเรืองผล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-12)

      สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้มีความต้องการจัดทำโครงการร่างระเบียบมาตรฐานและการรับรองมาตรฐานเครื่องประดับโลหะมีค่าไทย เพื่อรองรับการดำเนินการจัดทำมาตรฐานเครื่องประดับโลหะมีค่าไทยในอนาคต (Thai Hallmark) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการส่งออกเครื่องประดับโลหะมีค่าของไทย อีกทั้งยังจะช่วยคุ้มครองผู้บริโภคเครื่องประดับโลหะมีค่าในประเทศได้ คณะวิจัยได้จัดทำโครงการร่างระเบียบมาตรฐานและการรับรองมาตรฐานเครื่องประดับโลหะมีค่าของไทยด้วยวิธีวิจัยทุติยภูมิ (Desk Research) โดยข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้อมูลระเบีย ...
    • type-icon

      ศึกษาศักยภาพในการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติของอุตสาหกรรมการบิน 

      ชนินทร์ มีโภคี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-06)

      การเติบโตอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมการบินโลกทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นปัจจัยส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการบินของไทยเติบโต เนื่องจากประเทศไทยมีความได้เปรียบจากตำแหน่งที่ตั้งซึ่งตั้งอยู่ในศูนย์กลางภูมิภาคอาเซียนตอนบน รายรอบด้วยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ซึ่งภาคการท่องเที่ยวและการค้าการลงทุนขยายตัวในอัตราที่สูง ส่งผลให้ปริมาณการขนส่งผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าทางอากาศของไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การขยายตัวของความต้องการซื้อเครื่องบินและมูลค่าการซ่อมบำรุงเครื่องบิน รวมทั้งนำไปสู่การขยายตัวของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของชิ้นส่วนอากาศยาน ...
    • type-icon

      สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม กิจกรรมบ่มเพาะวิสาหกิจ จำนวน 3 กิจการ 

      ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-23)

      สำนักงานศูนย์วิจัยฯ ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ โดยจัดทำจดหมายส่งตรงยังกลุ่มเป้าหมาย และประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีวิสาหกิจที่สมัครและผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 ราย โดยที่ปรึกษาได้ทำการประเมินศักยภาพและวินิจฉัยสถานประกอบการของผู้เข้ารับการบ่มเพาะ เพื่อวางแผนการบ่มเพาะหรือปรึกษาแนะนำเฉพาะด้านตามที่ผู้เข้ารับการบ่มเพาะต้องการจากการบ่มเพาะและให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกในสถานประกอบการของผู้เข้ารับการบ่มเพาะแต่ละกิจการ จำนวน 60 man-hour มีผลลัพธ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความส ...
    • type-icon

      แนวโน้มอุตสาหกรรมยาสูบในประเทศไทยและผลกระทบทางภาษี 

      พัชรา พัชราวนิช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-14)

      การกำหนดใช้พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มีผลให้ราคาจำหน่ายบุหรี่ในประเทศไทยมีราคาสูงขึ้น การศึกษาแนวโน้มอุตสาหกรรมยาสูบในประเทศไทย และผลกระทบทางภาษีมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมผู้สูบยาสูบ โดยศึกษาปัจจัยด้านราคากับพฤติกรรมการบริโภคทั้งบุหรี่และยาเส้น รวมถึงข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 รวมถึงศึกษาแนวโน้มและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อรายได้ภาษีของรัฐในอนาคต นอกจากนี้ยังศึกษาตัวอย่างกรณีศึกษาการปรับตัวของบริษัทผู้ผลิตบุหรี่ในต่างประเทศที่มีโครงสร้างตลาดคล้ายคลึงกับประเทศไทย ...