• type-icon

      จ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อสนับสนุนการให้บริการของท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง 

      สถาพร โอภาสานนท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      โครงการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการ (1) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) และความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม ออกแบบรายละเอียดเบื้องต้นและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE); และ (2) เพื่อศึกษารูปแบบการลงทุน และการบริหารจัดการ และด้านอื่นๆ ที่มีความจำเป็นให้ครอบคลุมและเพียงพอสำหรับประกอบการพิจารณาของผู้บริหารในการตัดสินใจดำเนินโครงการพัฒนาธุรกิจท่าเรือบก เพื่อสนับสนุนการให้บริการของท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง จากผลการวิเคราะห์โดยใช้การตัดสินใจแบบพิจารณาหลายเกณฑ์พบว่า จังหวัดขอนแก่น มีศักยภาพในการเป็นพื้นที่พัฒนาท่าเรือบก ...
    • type-icon

      ที่ปรึกษาศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม 

      วิโรจน์ ลิ่มตระการ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      ในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมมีการแข่งขันกันสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างยิ่ง แต่ยังคงมีอุปสรรคในการหันมาใช้เทคโนโลยี ทางวิศวกรรมที่ทันสมัยทดแทนเทคโนโลยีเดิมๆ ที่มีอยู่ของภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความมั่นใจในเทคโนโลยีและที่ปรึกษาเทคโนโลยี ดังนั้นการสื่อสารและสร้างความเข้าใจในวิธีการใช้และประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีในเชิงธุรกิจ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการหันมาใช้เทคโนโลยีด้านการออกแบบและผลิต และพัฒนาองค์ความรู้ของบริษัทอย่างยั่งยืน ดังนั้น กิจกรรมการดำเนินงานในงานนี้จะเน้นการจัด ...
    • Thumbnail

      จ้างที่ปรึกษาเพื่อปฏิบัติงานกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้เกิดธุรกิจใหม่ภายใต้โครงการ เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ 

      ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
    • type-icon

      จ้างที่ปรึกษาจัดทําแผนปฏิบัติการดิจิทัลของสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระยะ 5 ปี พ.ศ.2561-2565 

      วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช; คมวุฒิ วิภูษิตวรกุล; ณัฎฐริกา ฤทธิทิพย์พันธุ์; บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      การพัฒนาของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือที่เรียกว่า อุตสาหกรรม 4.0 เป็นการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้านเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล เน้นส่งเสริมการขยายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้ตระหนักถึงประโยชน์ และความสําคัญในการนําเทคโนโลยีดิจิทัล และ/หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ...
    • type-icon

      สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม กิจกรรมบ่มเพาะวิสาหกิจ จำนวน 3 กิจการ 

      ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-23)

      สำนักงานศูนย์วิจัยฯ ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ โดยจัดทำจดหมายส่งตรงยังกลุ่มเป้าหมาย และประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีวิสาหกิจที่สมัครและผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 ราย โดยที่ปรึกษาได้ทำการประเมินศักยภาพและวินิจฉัยสถานประกอบการของผู้เข้ารับการบ่มเพาะ เพื่อวางแผนการบ่มเพาะหรือปรึกษาแนะนำเฉพาะด้านตามที่ผู้เข้ารับการบ่มเพาะต้องการจากการบ่มเพาะและให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกในสถานประกอบการของผู้เข้ารับการบ่มเพาะแต่ละกิจการ จำนวน 60 man-hour มีผลลัพธ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความส ...
    • type-icon

      กิจกรรมเตรียมความพร้อมกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อเชื่อมโยงกับ Super Cluster กลุ่มอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง ภายใต้โครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายและการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมในรูปแบบคลัสเตอร์ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ปีงบประมาณ 2560 

      ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-23)

      สำนักงานศูนย์วิจัย ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ และรับสมัครวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กลุ่มอุตสาหกรรมมันสำปะหลังเข้าร่วมโครงการ โดยมี SMEs ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 ราย เป็นไปตามเป้าหมาย โดยได้มีการจัดกิจกรรมละลายพฤติกรรม เพื่อสร้างความสัมพันธ์และสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรม จำนวน 1 ครั้ง ระยะเวลา 2 วัน จากนั้นได้จัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบเพชรในการประเมินศักยภาพกลุ่มอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง จำนวน 1 ครั้ง ระยะเวลา 1 วัน และให้คำปรึกษาแนะนำในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบเพชรในการประเมินศักยภาพกลุ่มอุตสาหกร ...
    • type-icon

      กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักธุรกิจบริการมืออาชีพและนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ โครงการพัฒนาศักยภาพธุรกิจบริการที่มีมูลค่าสูง ภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาผู้ประกอบการและเศรษฐกิจชุมชนและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประจำปี 2562 

      พีระ เจริญพร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-08)

      ธุรกิจบริการมีความสำคัญต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงมีนโยบายพัฒนาขีดความสามารถของธุรกิจ โดยมุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน สร้างงาน สร้างรายได้ และการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้รับมอบหมายในการส่งเสริมพัฒนาผลักดันด้านการตลาดของธุรกิจบริการของประเทศ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2562 ได้จัดทำแผนพัฒนาศักยภาพธุรกิจบริการให้มีศักยภาพพร้อมยกระดับผู้ประกอบธุรกิจบริการสู่ความเป็นมืออาชีพ ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ 1) นักธุรกิจบริการมืออาชีพ (Smart Professional ...
    • type-icon

      แนวโน้มอุตสาหกรรมยาสูบในประเทศไทยและผลกระทบทางภาษี 

      พัชรา พัชราวนิช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-14)

      การกำหนดใช้พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มีผลให้ราคาจำหน่ายบุหรี่ในประเทศไทยมีราคาสูงขึ้น การศึกษาแนวโน้มอุตสาหกรรมยาสูบในประเทศไทย และผลกระทบทางภาษีมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมผู้สูบยาสูบ โดยศึกษาปัจจัยด้านราคากับพฤติกรรมการบริโภคทั้งบุหรี่และยาเส้น รวมถึงข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 รวมถึงศึกษาแนวโน้มและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อรายได้ภาษีของรัฐในอนาคต นอกจากนี้ยังศึกษาตัวอย่างกรณีศึกษาการปรับตัวของบริษัทผู้ผลิตบุหรี่ในต่างประเทศที่มีโครงสร้างตลาดคล้ายคลึงกับประเทศไทย ...
    • Thumbnail

      ยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีพลาสมา (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมและบริการด้วยเทคโนโลยีพลาสมา) 

      ธีร เจียศิริพงษ์กุล (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2023-04-04)

      รายละเอียดตามเอกสารแนบ
    • Thumbnail

      การศึกษาโอกาสและการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) ในกลุ่มประเทศ CLMVT (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย) (A Study on the Implementation and Development the Trade Facilitation in the CLMVT Countries (Cambodia, Lao PDR, Myanmar, Vietnam and Thailand) 

      รุธิร์ พนมยงค์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561)

      ในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาการเจริญเติบโตทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกลุ่มประเทศ CLMV มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ไทยกลายเป็นประเทศคู่ค้าที่มีความสำคัญต่อประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMV อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการอำนวยความสะดวกทางการค้าในกลุ่มประเทศ CLMVT ยังคงเผชิญกับอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายสินค้าข้ามพรมแดนระหว่างกันส่งผลให้เกิดมีต้นทุนทางการค้าและระยะเวลาที่สูงขึ้นโดยไม่จำเป็น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างกลุ่มประเทศ CLMVT ในการศึกษาคณะผู้วิจัยได้มีการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความความสะดวกทางการค้า ...
    • type-icon

      ความสำคัญของการกำกับดูแลเครื่องวัดสินค้าเกษตรที่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจและความเป็นธรรมในทางการค้า 

      ประชา คุณธรรมดี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-01-07)

      เครื่องมือวัดคุณภาพสินค้าเกษตรมีความสำคัญในการซื้อขายสินค้าเกษตร เพื่อกำหนดราคาสินค้าต่อหน่วยปริมาณ ความคลาดเคลื่อนจากการใช้เครื่องมือวัดที่ไม่ได้มาตรฐานหรือการไม่มีเครื่องมือวัดที่จำเป็นจะส่งผลต่อความเป็นธรรมในทางการค้า รายได้ของเกษตรกร ความน่าเชื่อถือด้านมาตรฐานของสินค้าและผลิตภัณฑ์การเกษตร ซึ่งเป็นพันธกิจของกรมการค้าภายในตามกฎหมาย ด้านการส่งเสริมและพัฒนาสินค้า ระบบและกลไกการตลาด ด้านการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ด้านการดูแลราคา ปริมาณ และด้านการพัฒนามาตรฐานการชั่งตวงวัดให้เทียบเท่าสากลและเป็นผู้นำอาเซียน การกำกับดูแลเครื่องวัดสินค้าเกษตร ...
    • type-icon

      ศึกษาศักยภาพในการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติของอุตสาหกรรมการบิน 

      ชนินทร์ มีโภคี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-06)

      การเติบโตอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมการบินโลกทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นปัจจัยส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการบินของไทยเติบโต เนื่องจากประเทศไทยมีความได้เปรียบจากตำแหน่งที่ตั้งซึ่งตั้งอยู่ในศูนย์กลางภูมิภาคอาเซียนตอนบน รายรอบด้วยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ซึ่งภาคการท่องเที่ยวและการค้าการลงทุนขยายตัวในอัตราที่สูง ส่งผลให้ปริมาณการขนส่งผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าทางอากาศของไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การขยายตัวของความต้องการซื้อเครื่องบินและมูลค่าการซ่อมบำรุงเครื่องบิน รวมทั้งนำไปสู่การขยายตัวของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของชิ้นส่วนอากาศยาน ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริม SMEs เข้าสู่ห่วงโซ่มูลค่าระดับโลก (Global Value Chain) ด้วยแพลทฟอร์ม T-GoodTech ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital for SMEs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 

      มานิต สาธิตสมิตพงษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-13)

      กิจกรรมส่งเสริม SMEs เข้าสู่ห่วงโซ่มูลค่าระดับโลก (Global Value Chain) ด้วยแพลทฟอร์ม T-GoodTech ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital for SMEs) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเพิ่มช่องทางการค้าและการจับคู่ทางธุรกิจผ่านช่องทางเว็บไซต์ T-GoodTech เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มช่องทางการตลาด โดยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือระบบ IT มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสในการเชื่อมโยงวิสาหกิจสู่ห่วงโซ่อุปทานระดับสากลต่อไป ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(DIP e-learning for e-commerce) หลักสูตร e-commerce ในระบบ e-learning 

      ศราวุธ แรมจันทร์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-13)

      กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้พัฒนาอีเลิร์นนิงแพลตฟอร์มขึ้นมาส่งเสริมทักษะทางธุรกิจของภาคเอกชน ดังนั้นโครงการนี้จึงได้ทำการพัฒนาเนื้อหาเกี่ยวกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าสู่ระบบการเรียนรู้ดิจิทัลได้ หลังจากที่โครงการเสร็จสมบูรณ์ มีประชาชนจำนวน 345 รายซึ่งลงทะเบียนเป็นนักเรียนของระบบการเรียนรู้ดิจิทัล โดยส่วนมากนักศึกษามาจากภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทยสอดคล้องกับจำนวนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย โดยร้อยละ 17.41 ของนักเรียนสามารถนำทักษะเกี่ยวกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจ ...
    • type-icon

      กิจกรรมการเพิ่มศักยภาพธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูปสู่ Smart Factory ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพและยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (เกษตรแปรรูป) 

      ธีร เจียศิริพงษ์กุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-10-29)

      ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ผลักดันกิจกรรมการเพิ่มศักยภาพธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูปสู่ Smart Factory ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพและยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (เกษตรแปรรูป) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป โดยการนำเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมดิจิทัล (Digital Engineering) มาใช้ในการดำเนินธุรกิจและปรับปรุงกระบวนการผลิตสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) ได้อย่างเหมาะสม และเพื่อให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒน ...
    • type-icon

      ร่างระเบียบมาตรฐานและการรับรองมาตรฐานเครื่องประดับโลหะมีค่าไทย 

      วิทวัส รุ่งเรืองผล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-12)

      สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้มีความต้องการจัดทำโครงการร่างระเบียบมาตรฐานและการรับรองมาตรฐานเครื่องประดับโลหะมีค่าไทย เพื่อรองรับการดำเนินการจัดทำมาตรฐานเครื่องประดับโลหะมีค่าไทยในอนาคต (Thai Hallmark) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการส่งออกเครื่องประดับโลหะมีค่าของไทย อีกทั้งยังจะช่วยคุ้มครองผู้บริโภคเครื่องประดับโลหะมีค่าในประเทศได้ คณะวิจัยได้จัดทำโครงการร่างระเบียบมาตรฐานและการรับรองมาตรฐานเครื่องประดับโลหะมีค่าของไทยด้วยวิธีวิจัยทุติยภูมิ (Desk Research) โดยข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้อมูลระเบีย ...
    • type-icon

      พัฒนาศักยภาพธุรกิจบริการสู่ความเป็นมืออาชีพ โครงการยกระดับศักยภาพธุรกิจบริการที่มีมูลค่าสูง ปีงบประมาณ 2563 

      พีระ เจริญพร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-12-16)

      ธุรกิจบริการมีความสำคัญต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมากในเชิงมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งในแง่สัดส่วนของ GDP จำนวนธุรกิจ และจำนวนการจ้างงาน รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาขีดความสามารถของธุรกิจไทย โดยมุ่งเน้นยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน สร้างงานสร้างรายได้และการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ส่งเสริมการพัฒนาและผลักดันด้านการตลาดของธุรกิจบริการ ดังนั้น กองธุรกิจบริการจึงได้จัดทำกิจกรรมพัฒนาศักยภาพธุรกิจบริการสู่ความเป็นมืออาชีพขึ้น ภายใต้โครงการยกระดับศักยภาพธุรกิจบริการที่มีมูลค่าสูง ซึ่งประกอบด้วย ...
    • type-icon

      จัดจ้างที่ปรึกษา Interoperability 

      ชุมพล บุญมี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-01-22)

      ในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกให้ความสำคัญต่อการปรับตัวเข้าสู่ยุคการผลิตสมัยใหม่ที่มีหลากหลายคำเรียกขาน อาทิ industry 4.0, smart manufacturing, connected factory ฯลฯ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและระบบสื่อสารโทรคมนาคม นำมาสู่การผสานเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น IoT, big data, AI เข้ากับเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ เช่น additive manufacturing advanced robot นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทั้งในด้านการลดต้นทุน ลดระยะเวลาการผลิต อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีและรูปแบบการทำงาน ตลอดจนรูปแบบการประกอบธุรกิจที่แตกต่างไปจา ...
    • type-icon

      พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม 

      สุวรรณ จันทิวาสารกิจ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-03-23)

      โครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม บ่งชี้ว่าผู้ประกอบการเล็งเห็นถึงประโยชน์การใช้เทคโนโลยีธุรกิจอัจฉริยะ (Business intelligence: BI) เพื่อลดต้นทุน และความเร็วในการบริหารจัดการธุรกิจ การออกแบบรายงานถือว่าเป็นสิ่งสำคัญช่วยธุรกิจดำเนินไปได้อย่างถูกต้องแม่นยำ นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ประกอบการยังขาดความเข้าใจในการใช้เครื่องมือด้านดิจิทัลสนับสนุนในการดำเนินธุรกิจและการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักการจัดเก็บข้อมูลที่จะช่วยให้การใช้ข้อมูลในองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การนำข้อมูลที่มีคุณภาพมาจัดทำรายงานผ่านเทคโนโลยีธุร ...
    • type-icon

      จัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รายสาขา/รายพื้นที่/รายประเด็น : อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ และอุตสาหกรรมเศรษฐกิจดิจิทัล 

      เกรียงไกร เตชกานนท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-03-04)

      โครงการวิจัยนี้จัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในสามอุตสาหกรรมคือ ยานยนต์ไฟฟ้า เศรษฐกิจดิจิทัล และ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ การดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมในทั้งสามสาขาทำโดยการจัดประชุมกลุ่มย่อยสองครั้ง และการนำเสนอแนวคิดที่ได้จากการระดมสมองเพื่อปรับปรุงแผนการส่งเสริมให้มุ่งเป้ามากขึ้น ในขั้นตอนสุดท้ายเป็นการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละอุตสาหกรรมเพื่อบูรณาการแผนการส่งเสริมให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 โดยในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าได้ทำแผนส่ ...