Now showing items 29-48 of 107

    • type-icon

      จัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนด้วย Water footprint ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการส่งออก ปี 2558 

      ไพรัช อุศุภรัตน์; Usubharatana, Phairat (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหัวข้อสำคัญที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณภาพสินค้าและระบบการบริหารจัดการ โดยเฉพาะโลกที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์การค้าของ WTO สำหรับการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งมีแนวโน้มการใช้น้ำในปริมาณมาก เมื่อเทียบกับการผลิตจากอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ โดยการใช้น้ำอาจมาจากกิจกรรมต่างๆ อาจเป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อมในรูปของน้ำเสียที่อุตสาหกรรมต้องทำการบำบัดให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้นก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ในปัจจุบันการศึกษาเกี่ยวกับร่องรอยการใช้น้ำ หรือ วอเตอร์ฟุตพริ้นท์จากการผลิตผลิตภัณฑ์ (water footprint of product) จึงเป็นโอกาสให้เกิดก ...
    • type-icon

      จัดจ้างที่ปรึกษา Interoperability 

      ชุมพล บุญมี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-01-22)

      ในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกให้ความสำคัญต่อการปรับตัวเข้าสู่ยุคการผลิตสมัยใหม่ที่มีหลากหลายคำเรียกขาน อาทิ industry 4.0, smart manufacturing, connected factory ฯลฯ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและระบบสื่อสารโทรคมนาคม นำมาสู่การผสานเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น IoT, big data, AI เข้ากับเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ เช่น additive manufacturing advanced robot นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทั้งในด้านการลดต้นทุน ลดระยะเวลาการผลิต อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีและรูปแบบการทำงาน ตลอดจนรูปแบบการประกอบธุรกิจที่แตกต่างไปจา ...
    • type-icon

      จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมระดับจังหวัด 

      พีระศักดิ์ อินทรไพบูลย์; ชินนะพงษ์ บำรุงทรัพย์; Intarapaiboon, Peerasak; Bumrungsup, Chinnaphong (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      ดัชนีอุตสาหกรรมระดับจังหวัดสามารถใช้เป็นเครื่องวัดสภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระดับจังหวัด รวมทั้งเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลอุตสาหกรรมระดับประเทศได้ กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้กำหนดให้โรงงานรายงานข้อมูลการผลิตต่อสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สสอ.) ทุกเดือน เพื่อนำมาวิเคราะห์และจัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรมรายเดือน ในโครงการนี้ ระบบจัดเก็บข้อมูลการผลิต และประมวลดัชนีแบบออนไลน์ ได้ถูกพัฒนาขึ้น และนำระบบนี้ไปทดสอบกับ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ พิจิตร นครราชสีมา ขอนแก่น ระยอง สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี และสงขลา โดยดัชนีอุตสาหกรรมที่ประมวลได้จากระบบประกอบด้วย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ...
    • type-icon

      จัดทำมาตรการส่งเสริมเเละเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในพื้นที่ชายแดน 

      วิทวัส รุ่งเรืองผล; Rungruangphon, Witawat (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      จากวิสัยทัศน์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งเป็นผู้นำในการกำหนดนโยบายและเป็นศูนย์กลางประสานระบบการทำงาน เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ สสว. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในพื้นที่ชายแดน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ นอกจากนี้ จากสถานการณ์การแข่งขันอย่างรุนแรงและสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน SMEs ในพื้นที่ชายแดนของไทยต่างๆ ประสบปัญหาในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ...
    • type-icon

      จัดทำยุทธศาสตร์และแนวทางการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีไทยเพื่อตอบสนองต่ออุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2564 

      ธีร์ เจียศิริพงษ์กุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      งานวิจัย เรื่อง โครงการจัดทำยุทธศาสตร์และแนวทางการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีไทย เพื่อตอบสนองต่ออุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ปี พ.ศ.2560 ถึง พ.ศ. 2564 ภายใต้ โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและศึกษาข้อมูลในการจัดทำยุทธศาสตร์และแนวทางการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลไทย และจัดทำร่างยุทธศาสตร์และแนวทางการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยศึกษาเชิงคุณภาพ ได้แก่ (1) ศึกษา วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารยุทธศาสตร์และน ...
    • type-icon

      จัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมระดับภูมิภาค 

      แก้วตา โรหิตรัตนะ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      โครงการนี้เป็นโครงการที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 และเป็นการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับการปรับบทบาทภารกิจโครงสร้างของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการการพัฒนาอุตสาหกรรมระดับภูมิภาคอย่างมีส่วนร่วมที่ทุกภาคส่วนสามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานที่สอดคล้องในทิศทางเดียวกัน และเพื่อพัฒนาบุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรมในการจัดทาแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพร้อมทั้งการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 1.) ผู้บริหารและเจ้าหน้ ...
    • type-icon

      จัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รายสาขา/รายพื้นที่/รายประเด็น : อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ และอุตสาหกรรมเศรษฐกิจดิจิทัล 

      เกรียงไกร เตชกานนท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-03-04)

      โครงการวิจัยนี้จัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในสามอุตสาหกรรมคือ ยานยนต์ไฟฟ้า เศรษฐกิจดิจิทัล และ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ การดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมในทั้งสามสาขาทำโดยการจัดประชุมกลุ่มย่อยสองครั้ง และการนำเสนอแนวคิดที่ได้จากการระดมสมองเพื่อปรับปรุงแผนการส่งเสริมให้มุ่งเป้ามากขึ้น ในขั้นตอนสุดท้ายเป็นการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละอุตสาหกรรมเพื่อบูรณาการแผนการส่งเสริมให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 โดยในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าได้ทำแผนส่ ...
    • type-icon

      จัดทำรายงานอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE Industry Reports) 

      ชนินทร์ มีโภคี; Chanin Mephokee (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      การศึกษาวิจัยโครงการจัดทำรายงานอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE Industry Reports) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพ และแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทย ประกอบด้วย อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) และอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) โดยศึกษาภาพรวมและทิศทางการเติบโต ตลอดจนการแข่งขันของอุตสาหกรรมในระดับนานาชาติ รวมทั้งวิเคราะห์จุดเชื่อมโยงที่อุตสาหกรรมไมซ์สามารถเข้าไปสนับสนุนขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้ง 3 อุตสาหกรรม ทั้งนี้ เพื่อนำผลการศึกษาเผยแพร่ข้อมูลให้แก ...
    • Thumbnail

      จัดทำแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เพื่อ Green Supply Chain ของอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อการส่งออก 

      หาญพล พึ่งรัศมี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
    • type-icon

      จัดทำแผนยุทธศาสตร์ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ 

      สรายุทธ์ นาทะพันธ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      อ.อ.ป. ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาในการวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร จากการระดมความเห็นผู้บริหารระดับสูงของ อ.อ.ป. เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556 ผู้บริหารระดับสูงมีความเห็นชอบร่วมกันที่จะกำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ขององค์กร โดยมุ่งเน้น การเพิ่มสัดส่วนกิจกรรมด้านอุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่าไม้ในห่วงโซ่การผลิตให้มากขึ้น จากวิสัยทัศน์เดิมของ อ.อ.ป. ที่กำหนดว่า “เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาสวนป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน” มาเป็นวิสัยทัศน์ใหม่คือ "เป็น ผู้นำการจัดการสวนป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไม้สู่สากล" ...
    • type-icon

      จับมือผู้ประกอบการโคนมไทยบุกตลาดต่างประเทศโดยใช้ประโยชน์จาก FTA 

      สุทธิกร กิ่งแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      “โครงการจับมือผู้ประกอบการโคนมไทยบุกตลาดต่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จาก FTA” เกิดจากความริเริ่มของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากเล็งเห็นถึงผลกระทบจากการเปิดตลาดให้กับสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมนำเข้าจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในปี 2564 และ 2568 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโคนมที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับเป็นกลุ่มสินค้าที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีศักยภาพในการแข่งขันสูง เป็นผู้นำในการผลิตและส่งออกของโลก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือให้กลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโคนมสามารถปรับตัว ...
    • type-icon

      จ้างที่ปรึกษาจัดทําแผนปฏิบัติการดิจิทัลของสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระยะ 5 ปี พ.ศ.2561-2565 

      วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช; คมวุฒิ วิภูษิตวรกุล; ณัฎฐริกา ฤทธิทิพย์พันธุ์; บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      การพัฒนาของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือที่เรียกว่า อุตสาหกรรม 4.0 เป็นการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้านเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล เน้นส่งเสริมการขยายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้ตระหนักถึงประโยชน์ และความสําคัญในการนําเทคโนโลยีดิจิทัล และ/หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ...
    • Thumbnail

      จ้างที่ปรึกษาเพื่อปฏิบัติงานกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้เกิดธุรกิจใหม่ภายใต้โครงการ เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ 

      ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
    • type-icon

      จ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อสนับสนุนการให้บริการของท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง 

      สถาพร โอภาสานนท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      โครงการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการ (1) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) และความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม ออกแบบรายละเอียดเบื้องต้นและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE); และ (2) เพื่อศึกษารูปแบบการลงทุน และการบริหารจัดการ และด้านอื่นๆ ที่มีความจำเป็นให้ครอบคลุมและเพียงพอสำหรับประกอบการพิจารณาของผู้บริหารในการตัดสินใจดำเนินโครงการพัฒนาธุรกิจท่าเรือบก เพื่อสนับสนุนการให้บริการของท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง จากผลการวิเคราะห์โดยใช้การตัดสินใจแบบพิจารณาหลายเกณฑ์พบว่า จังหวัดขอนแก่น มีศักยภาพในการเป็นพื้นที่พัฒนาท่าเรือบก ...
    • Thumbnail

      ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดสำหรับอุตสาหกรรมรายสาขา (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (บูรณาการ)) 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
    • type-icon

      ทดสอบหลอด LED สำหรับร้าน Jiffy 

      พรระพีพัฒน์ ภาสบุตร; Bhasaputra, Pornrapeepat (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      การทดสอบหลอด LEDสำหรับร้าน Jiffyเป็นโครงการที่ดำเนินการศึกษาให้กับบริษัท ปตท.ค้าปลีก จำกัด โดยทำการทดสอบหลอด LED จากผู้จัดจำหน่ายเพื่อหาหลอด LED ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการติดตั้งทดสอบภายในร้าน Jiffy ซึ่งพิจารณาจากมาตรฐานทางไฟฟ้าและพลังงานทั้งในส่วนของ เม็ดแอลอีดี (LED Module) ตัวขับกระแสไฟฟ้า (Driver) และหลอดไฟ LED(Luminaire)จากนั้นทำการติดตั้ง ตรวจวัดคุณภาพแสงเทียบกับระบบแสงสว่างเดิม และทดสอบการประหยัดพลังงาน ณ ร้าน Jiffy ที่สถานีบริการน้ำมัน PTTRM กรุงเทพ-รามอินทรา 1 รวมถึงค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้จริงจากการใช้หลอด LED ทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ ...
    • type-icon

      ทวนสอบนำร่องสำหรับอุตสาหกรรมแก้วและกระจก พลาสติก และอาหาร ภายใต้โครงการนำร่องระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย ประจำปี 2561 

      หาญพล พึ่งรัศมี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ได้ศึกษาวิจัยและดำเนินโครงการนำร่องระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Trading Scheme: Thailand V-ETS) อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552-2559 โดยระบบ Thailand V-ETS เป็นหนึ่งในมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทยที่ อบก. ได้พัฒนาขึ้นด้วยการใช้กลไกตลาดขับเคลื่อนให้เกิดแรงจูงใจในการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อเตรียมความพร้อมและเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการและภาคีที่เกี่ยวข้องให้มีโอกาสเรียนรู้และทำความเข้าใ ...
    • type-icon

      ที่ปรึกษาศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม 

      วิโรจน์ ลิ่มตระการ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      ในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมมีการแข่งขันกันสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างยิ่ง แต่ยังคงมีอุปสรรคในการหันมาใช้เทคโนโลยี ทางวิศวกรรมที่ทันสมัยทดแทนเทคโนโลยีเดิมๆ ที่มีอยู่ของภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความมั่นใจในเทคโนโลยีและที่ปรึกษาเทคโนโลยี ดังนั้นการสื่อสารและสร้างความเข้าใจในวิธีการใช้และประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีในเชิงธุรกิจ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการหันมาใช้เทคโนโลยีด้านการออกแบบและผลิต และพัฒนาองค์ความรู้ของบริษัทอย่างยั่งยืน ดังนั้น กิจกรรมการดำเนินงานในงานนี้จะเน้นการจัด ...
    • Thumbnail

      ปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถ SMEs พื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ประจำปีงบประมาณ 2559 

      ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
    • type-icon

      ผลิตภัณฑ์วัสดุจีโอพอลิเมอร์ฐานเถ้าลอยและเถ้าชีวมวลเสริมเส้นใยกัญชง 

      เบญญา เชิดหิรัญกร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      วัสดุจีโอพอลิเมอร์ฐานเถ้าลอยและเถ้าชีวมวลเสริมเส้นใยกัญชง ที่ผลิตในงานวิจัยใช้เถ้าลอยถ่านหินจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เถ้าชีวมวลที่ใช้ได้แก่เถ้าชานอ้อยจากโรงไฟฟ้าชีวมวล จ.ลพบุรี และเส้นใยกัญชงจาก จ.ตาก โดยในงานนี้ใช้สารละลายเบสเพื่อกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาได้แก่สารละลายผสมระหว่าง NaOH และ Na2SiO3 โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดที่ได้จากการทดลองคือ 1:1 โดยปริมาตร และสัดส่วนของเหลวต่อของแข็ง (L/S) เท่ากับ 0.4 เมื่อทำการผสมเถ้าลอยและเถ้าขานอ้อยตั้งแต่ 0 ถึง 100% พบว่าการผสมเถ้าชานอ้อย 20% ให้จีโอพอลิเมอร์ที่มีสมบัติดีที่สุด โดยให้กำลังอัดสูงสุด ...