Now showing items 1-13 of 13

    • type-icon

      การพัฒนานวัตกรรมการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกและฟันขึ้นใหม่โดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากช่องปากและวัสดุจากธรรมชาติเพื่อบูรณะการบดเคี้ยวและส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ 

      เปรมจิต อาภรณ์แม่กลอง (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-11)

      ปัญหา เนื่องจากการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุเป็นสาเหตุให้เกิดการละลายตัวของกระดูกเบ้า ทำให้ผู้สูงอายุมีกระดูกเบ้าฟันที่มีขนาดไม่เพียงพอในการรองรับรากฟันเทียมและฟันเทียม จำเป็นต้องใช้วัสดุทดแทนกระดูก ที่มีราคาสูงและยังต้องปรับปรุงคุณภาพเพื่อการปลูกกระดูกทดแทน ส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาจากการสูญเสียฟันอย่างทั่วถึง วัตถุประสงค์ แผนการวิจัยนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาวัสดุทดแทนกระดูกเพื่อใช้ส่งเสริมการสร้างปลูกกระดูกเบ้าฟัน และกระดูกขากรรไกร โดยใช้วัสดุทางธรรมชาติ ที่หาได้ภายในประเทศ วิธีดำเนินการ การวิจัยดำเนินงานโดย 4 โครงการย่อยภายใต้แผนงาน ...
    • type-icon

      การพัฒนาวัสดุโครงร่างไฮโดรเจลสำหรับการปลดปล่อยยาเพื่อป้องกันภาวะกระดูกขากรรไกรตายในผู้ป่วยที่ใช้ยาบิสฟอสโฟเนต 

      วีรชัย สิงหถนัดกิจ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-12-16)

      ยาโซเลโดรนิคเอซิดเป็นยาในกลุ่มบิสฟอสโฟเนตที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคกระดูกที่เกี่ยวกับภาวะที่มีการสลายกระดูกโดยเซลล์สลายกระดูกมากผิดปกติ เช่น โรคกระดูกพรุน ในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มนี้อาจเกิดภาวะกระดูกขากรรไกรตายหลังจากที่มีการทำอันตรายกับกระดูกโดยยาโซเลโดรนิคเอซิดเป็นพิษและยับยั้งพัฒนาการและการทำงานของเซลล์สลายกระดูกและเซลล์สร้างกระดูก ทำให้เกิดกระดูกขากรรไกรตายและติดเชื้ือที่กระดูกตายนั้น ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันการเกิดภาวะกระดูกขากรรไกรตายนี้ีได้ วัตถุประสงค์ในโครงการวิจัยนี้คือ พัฒนาโครงร่างไฮโดรเจลที่สามารถปลดปล่อยยาเจอรานิลเจอรานิออลหรื ...
    • Thumbnail

      การพัฒนาแนวคิด กลยุทธ์และแผนการดำเนินงานโครงการรณรงค์และกิจกรรมเพื่อวิทยาเขตสุขภาพ (Healthy Campus) 

      อรทัย ศรีสันติสุข; ปิยรัตน์ อ่องลออ; ศุภัควดี อภินันทร์; วนิดา ตันนาภัย; แอนนา จุมพลเสถียร; รุจน์ โกมลบุตร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2002)

      งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตามโครงการรณรงค์เพื่อวิทยาเขตสุขภาพและกิจกรรมเพื่อวิทยาเขตสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาด้านสุขอนามัย คุณภาพชีวิต สาเหตุของปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ศึกษาแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหา มีการกำหนดขอบเขตของการศึกษาจากกลุ่มบุคคลทุกระดับ นักศึกษาปริญญาตรี และองค์กรภาคีที่เป็นชุมชนรอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เช่น หอพักเอกชน ร้านค้า และสถานบันเทิง โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายวิธีรวมกัน ได้แก่ การสนทนากลุ่มย่อย ...
    • type-icon

      การวัดปริมาณชิ้นส่วนดีเอ็นเอชนิด signal-joint T cell receptor excision circles (sjTREC) ในเซลล์เม็ดเลือดขาวเพื่อคาดคะเนอายุในประชากรไทย 

      ไพเราะ ไพรหิรัญกิจ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-04)

      การคาดคะเนอายุเป็นหนึ่งในข้อมูลที่สำคัญในการสืบสวนและสอบสวนเพื่อระบุตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่าง ๆ งานวิจัยในหลายประเทศพบว่า ชิ้นส่วน DNA ในเม็ดเลือดขาวชนิด T cell ที่เรียกว่า Signal joint T-cell receptor excision circle (sjTREC) มีปริมาณลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาในประชากรไทยซึ่งมีปัจจัยทางด้านพันธุกรรมที่แตกต่างจากประชากรประเทศอื่น ๆ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณ sjTREC กับอายุในประชากรไทยที่มีสุขภาพแข็งแรง และเพื่อสร้างสมการสำหรับคาดคะเนอายุที่มีความจำเพาะในประชากรไทยจากปริมาณ ...
    • Thumbnail

      การส่งเสริมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของแรงงานข้ามชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ ในประเทศไทยผ่านการสื่อสารสุขภาพดิจิทัล 

      จิโรจ สินธวานนท์ (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-26)

      รายละเอียดตามไฟล์แนบ
    • type-icon

      การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ช่วยฝึกเดินสำหรับคนพิการอัมพาตครึ่งซีกและผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง : lwalk 

      บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-07)

      ในประเทศไทย โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเสียชีวิตและอันดับสองของความพิการ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากกว่า สองหมื่นล้านบาทต่อปีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและชดเชยจากความพิการ ในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้น ควรเริ่มต้นเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และทำอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากการขาดนักกายภาพบำบัดและอุปกรณ์กายภาพบำบัด ทำให้การฟื้นฟูสภาพร่างกายผู้ป่วยไม่ค่อยได้ผล ดังนั้น อุปกรณ์ที่ออกแบบให้ทำงานได้ง่ายและช่วยแบ่งเบาภาระของของนักกายภาพบำบัดจึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก เมื่อประมาณต้นปี 2558 อุปกรณ์ IWalk ได้มีการทดสอบการใ ...
    • type-icon

      การเรียนรู้เชิงลึกสำหรับการตรวจคัดกรองและจำแนกประเภทโรคมะเร็งปอดและวัณโรค 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-11)

      แต่ละปีมีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากวัณโรค มะเร็งปอด และหัวใจผิดปกติเป็นจำนวนมาก องค์การอนามัยโลกได้ทำการประมาณว่า มีจำนวนผู้ติดเชื้อวัณโรค (Mycobacterium tuberculosis) สูงถึง 1,800 ล้านคนทั่วโลก(เทียบเท่า 1 ใน 4 ของจำนวนประชากรโลก) โดยในปี พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยวัณโรคมากกว่า 10 ล้านคนทั่วโลกและมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 1.6 ล้านคน สำหรับมะเร็งปอด มีผู้ป่วยเกิดขึ้นใหม่ประมาณ 2.1 ล้านคนทั่วโลกและมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 1.8 ล้านคน สำหรับหัวใจผิดปกติ (heart failure) มีผู้ป่วยมากว่า 26 ล้านคนทั่วโลกเอกซ์เรย์ทรวงอกเป็นวิธีที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเพื่อใช้ว ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนเชิงนโยบายระบบการดูเเลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน 

      นิฤมน รัตนะรัต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-20)

      โครงการวิจัย "การขับเคลื่อนเชิงนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน" เป็นโครงการวิจัยระยะที่ 2 ซึ่งพัฒนาต่อเนื่องมาจากโครงการวิจัยการพัฒนาระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อผลักดันนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อหนุนเสริมเครือข่ายภาคีความร่วมมือ ในการนำนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานครสู่การปฏิบัติ และ 3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายระบบการดูแล ...
    • type-icon

      ตัวบ่งชี้ทางพันธุกรรมและการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัย ณ จุดดูแลผู้ป่วยเพื่อการมีสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ 

      เกศรา ณ บางช้าง (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-11)

      แผนงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจความชุกของยีนสำคัญที่มีรายงานความสัมพันธ์กับการเกิด ภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ยีน APP, APOE, PSEN1 และ PSEN2 และศึกษาสารเมตาบอไลท์ในพลาสมาของ อาสาสมัครที่มีรูปแบบยีน APOE ต่างๆ และพัฒนาไบโอเซ็นเซอร์เพื่อตรวจวัดน้ำตาลสะสม (Hemoglobin A1c: HbA1c) ในเลือดเพื่อใช้ ณ จุดดูแลผู้ป่วย (Point-of-care test) การศึกษาความชุกของยีนที่ความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะสมองเสื่อมในอาสาสมัครสุขภาพดีที่อายุ น้อยกว่า 50 ปี จำนวน 97 คน อาสาสมัครดีที่อายุมากกว่า 50 ปี จำนวน 77 คน และอาสาสมัครกลุ่ม สมองเสื่อม จำนวน 74 คน ไม่พบการกลายพันธุ์ของยีน ...
    • type-icon

      ต้นแบบระบบเคลือบผิวสิ่งทอทางการแพทย์ให้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสโคโรน่าอย่างยาวนาน 

      พิศุทธิ์สรัล ชิติโชติปัญญา (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-03-04)

      โครงการวิจัยนี้เป็นการต่อยอดนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาและป้องกันการระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพ โดยทำให้พื้นผิววัสดุสิ่งทอมีสมบัติฆ่าเชื้อไวรัสโคโรน่าด้วยตัวเองตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องและ ยาวนาน และสามารถขยายสเกลไปสู่ภาคอุตสาหกรรมได้ โดยทำการพัฒนาเพื่อให้ได้ 1. ต้นแบบน้ำยาเคลือบที่ใช้นวัตกรรม TiO2@Ag/WPU nanocomposite (Smart anti-coronavirus coating (SAC)) เป็นวัสดุฉลาดที่มีฤทธิ์ ฆ่าเชื้อโคโรน่าไวรัส ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องด้วยระบบการปลดปล่อยสารฆ่าเชื้อแบบควบคุม ที่ผ่านมาตรฐานสากล (Measurement of antiviral activity, ISO 18184: 2019) ...
    • type-icon

      ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบวิธีการสรรหากรรมการสุขภาพแห่งชาติที่มาจากกระบวนการเลือกกันเอง 

      อรรถกฤต ปัจฉิมนันท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-26)

      การนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้จะต้องนำไปดำเนินการ (Implement) กับผู้มีสิทธิภายใต้ระบบเลือกกันเอง ซึ่งก่อนที่จะสามารถนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาให้ภาคท้องถิ่นใช้ในการลงคะแนนได้นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ประชาชนรับทราบเสียก่อน เช่น การสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ท้องถิ่น รวมไปถึงต้องมีการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในระดับเขตและระดับจังหวัด และควรดำเนินการประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ The use of electronic systems must ...
    • type-icon

      สังเคราะห์ข้อเสนอเพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา 

      วุฒิสาร ตันไชย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      The Synthesis of Policy recommendations for promoting Good Pharmaceutical Governance has two objectives. First, the report analyzes the risk of Good Governance in Pharmaceutical System in Thailand and, second, proposes the policy recommendation for strengthening Good Pharmaceutical Governance in Thailand due to Pharmaceutical Governance should be developed in three targets; First, Pharmaceutical Governance must provide the medicines that have qualities and coverage for treatments; Second, Pharmaceutical Governance must spends effectively the ...
    • type-icon

      เภสัชพันธุศาสตร์ของยา 5-ฟลูออโรยูราซิลกับผลกระทบทางคลินิกในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักไทย 

      เฉลิมพร อรรถศิลป์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-09-27)

      ความสำคัญงานวิจัยชิ้นนี้คือการเกิดความหลากหลายทางพั นธุกรรมของยีน DPYD มีความสัมพันธ์กับการเกิดพิษจาการใช้ยา 5-ฟลูออโรยูราซิล เช่นเดียวกับการเกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน MTHFR พบว่าอาจส่งผลต่อการเกิดพิษจาการใช้ยา 5-ฟลูออโรยูราซิลในผู้ป่วยมะเร็งได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน DPYD ทั้งหมด 5 สนิปส์และการเกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน MTHFR ทั้งหมด 2 สนิปส์กับการเกิดพิษทางโลหิตวิทยาจากการใช้ยา 5-ฟลูออโรยูราซิลในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักไทย ขั้นตอนการทดลอง: ...