Now showing items 1-14 of 14

    • type-icon

      การตรวจวิเคราะห์ระดับไวตามินดีในน้ำนมเปรียบเทียบกับระดับไวตามินดีในเลือดของหญิงช่วงให้นมบุตรด้วยเทคนิค High Performance Liquid Chromatography (HPLC) 

      นริสา เก่งตรง บดีรัฐ; Narisa Kengtrong Bordeerat (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      ในปัจจุบันได้มีแนวคิดการดำเนินโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว มุ่งเน้นให้แม่เลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่เพื่อการพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของบุตร ทำให้จำนวนของแม่ที่เลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเด็กทารก กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรจึงเป็นกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดไวตามินดี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ควรเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินภาวการณ์ขาดไวตามินดีอย่างใกล้ชิด แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลในเรื่องระดับไวตามินดีที่เหมาะสมและความสัมพันธ์ของระดับไวตามินดีในร่างกายและน้ำนมของหญิงในช่วงให้นมบุตรยังมีไม่เพียงพอ ...
    • type-icon

      การพัฒนาสมบัติของต้นแบบแผ่นเส้นใยนาโนย่อยสลายได้ทางชีวภาพของวัสดุเสริมองค์ประกอบระดับนาโนจากการผสมพอลิแลคติกแอซิดและพอลิบิวทิลีนซัคซิเนต/นาโนซิงค์ออกไซด์ดัดแปรสำหรับหน้ากากป้องกันแบบใช้แล้วทิ้ง 

      ชิราวุฒิ เพชรเย็น (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      อิเล็กโตรสปินนิง เป็นวิธีการขึ้นรูปแผ่นของเส้นใยโดยใช้ศักย์ไฟฟ้ากำลังสูง ทำให้ได้แผ่นของเส้นใยที่มีขนาดเส้นใยเล็กระดับนาโน ส่งผลให้การนำไปใช้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจากพื้นที่ผิวสัมผัสของแผ่นเส้นใยมีปริมาณมาก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมบัติของแผ่นเส้นใยนาโนย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จากการผสมพอลิแลกติกแอซิดและพอลิบิวทิลีนซัคซิเนตและดัดแปรโครงสร้างด้วยนาโนซิงค์ออกไซด์หรือนาโนซิงค์ออกไซด์เจืออะลูมิเนียมอัตราส่วนแตกต่างกัน ได้แก่ร้อยละ 0.5, 1, 3 และ 5 โดยน้ำหนัก โดยทำการเตรียมแผ่นของเส้นใยด้วยวิธีอิเล็กโตร สปินนิง จากสารละลายไดคลอโรมีเทนและเอทานอล ...
    • Thumbnail

      การพัฒนาแนวคิด กลยุทธ์และแผนการดำเนินงานโครงการรณรงค์และกิจกรรมเพื่อวิทยาเขตสุขภาพ (Healthy Campus) 

      อรทัย ศรีสันติสุข; ปิยรัตน์ อ่องลออ; ศุภัควดี อภินันทร์; วนิดา ตันนาภัย; แอนนา จุมพลเสถียร; รุจน์ โกมลบุตร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2002)

      งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตามโครงการรณรงค์เพื่อวิทยาเขตสุขภาพและกิจกรรมเพื่อวิทยาเขตสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาด้านสุขอนามัย คุณภาพชีวิต สาเหตุของปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ศึกษาแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหา มีการกำหนดขอบเขตของการศึกษาจากกลุ่มบุคคลทุกระดับ นักศึกษาปริญญาตรี และองค์กรภาคีที่เป็นชุมชนรอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เช่น หอพักเอกชน ร้านค้า และสถานบันเทิง โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายวิธีรวมกัน ได้แก่ การสนทนากลุ่มย่อย ...
    • type-icon

      การศึกษาและพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะ โดยการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน : กรณีศึกษานำร่องสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด 

      ชานนท์ โกมลมาลย์; Chanon Komonmarn (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      โครงการการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะ โดยการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน : กรณีศึกษานำร่องสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด (Social Innovation and Youth) เป็นโครงการที่ได้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการ ฯ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนและแกนนำเยาวชนต่อการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางสังคมในระดับพื้นที่และจังหวัด 2) เพื่อสร้างเครือข่ายแกนนำสภาเด็กและเยาวชนและคนทำงานด้านการพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ ที่สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายและกลไกสนับสนุ ...
    • type-icon

      การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 

      บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ; ศุภชัย วรพจน์พิศุทธิ์; จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      In it is the leading cause of death and the second leading cause of adult disability. We have to pay over 20 billion Baht a year for stroke-related medical costs and disability. Stroke rehabilitation should be started as quickly as possible and done consistently. Because of the lack of physical therapist and rehabilitation machines, daily rehabilitation exercises are rarely successful. Therefore, the simple designed machine with required less physical therapist is considerably needed. There are two main objectives of this research plan. First ...
    • type-icon

      การเตรียมและการทดสอบฟิล์มต้านจุลินทรีย์จากพอลิโพรพิลีน/พอลิแลคติกแอซิดฐานนาโนไททาเนียมไดออกไซด์สำหรับต้นแบบถุงระบายปัสสาวะ 

      ชิราวุฒิ เพชรเย็น (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      งานวิจัยนี้ประกอบด้วยสองส่วนซึ่งประกอบด้วยการศึกษาผลของอัตราส่วนระหว่างพอลิโพรพิลีนกับพอลิแลคติกแอซิดต่อสมบัติของฟิล์มพอลิเมอร์ผสม และการศึกษาอิทธิพลของปริมาณ นาโนไททาเนียมไดออกไซด์ที่มีต่อสมบัติของฟิล์มนาโนคอมพอสิท การเตรียมฟิล์มพอลิเมอร์ผสมกับฟิล์มนาโนคอมพอสิทถูกขึ้นรูปผ่านกระบวนการผสมแบบหลอมเหลวและการอัดรีดขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์ม ในระบบพอลิเมอร์ผสมระหว่างพอลิโพรพิลีนกับพอลิแลคติกแอซิดมีการใช้พอลิโพรพิลีน กราฟต์มาเลอิคแอนไฮไดร์เป็นสารเพิ่มความเข้ากันได้เพื่อปรับปรุงความเข้ากันระหว่างพอลิโพรพิลีนกับพอลิแลคติกแอซิด เมื่อปริมาณของพอลิแลคติกแอซิดเพิ ...
    • type-icon

      การแปรรูปวัสดุชีวมวลจากเส้นใยธรรมชาติเพื่อการประยุกต์ใช้งานเป็นไฮโดรเจลที่สังเคราะห์จากเซลลูโลสสำหรับการประยุกต์ใช้งานทางด้านการแพทย์และเภสัชกรรม 

      ศรุต อำมาตย์โยธิน (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      ไฮโดรเจลได้รับการออกแบบมาให้อยู่ในรูปแบบของวัสดุผสมที่มีเจลาตินเป็นเนื้อหลักและมีเซลลูโลสแบคทีเรียเป็นตัวเสริมแรง โดยใช้กลูตาราลดีไฮด์เป็นสารเชื่อมขวาง พันธะไฮโดรเจนเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาของกลุ่มอะมิโนและไฮดรอกซิล ที่อยู่ในเจลาตินและแบคทีเรียเซลลูโลสตามลำดับ ซึ่งเซลลูโลสของแบคทีเรียได้แทรกเข้าไปในโครงสร้างที่เป็นรูพรุนของเจลาตินไฮโดรเจล ไฮโดรเจลนำเสนอสมบัติที่ดีในด้านเสถียรภาพทางความร้อน ความต้านทานต่อสารเคมีและสมบัติเชิงกล นอกจากนี้อัตราการพองตัวของไฮโดรเจลอยู่ที่ประมาณ 400-1200% ในน้ำ และสามารถควบคุมการปลดปล่อยยาที่ตอบสนองต่ออุณหภูมิและค่าพีเอชได้ ...
    • type-icon

      ความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ปีที่ 2 (พ.ศ.2560-2561) 

      ปกป้อง ศรีสนิท (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมตามมาตรา 12 (1) การสัมมนาทางวิชาการร่วมกับ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2560 ณ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (2) การสัมมนาทางวิชาการร่วมกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมหรือฝ่ายปกครองในประเด็นการเสียชีวิตที่บ้าน ได้แก่ จัดการเสวนาวิชาการ “สิทธิการตายดีตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ และแนวปฏิบัติกรณีการเสียชีวิตที่บ้าน” ร่วมกับ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เมื่อวันพุธที่ 11 ตุลาคม 2560 ณ ห้องชนกนันท์ โรงแรมเอบีน่าเฮ้าส์ (ซ.วิภาวดีรังสิต 64) (3) ...
    • type-icon

      จัดทำชุดข้อมูลต้นแบบแสดงที่ตั้งหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50(5) 

      จักรพันธุ์ ชวนอาษา; Chuanasa, Jakkrapun (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      จากภารกิจในการส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนดำเนินภารกิจการเผยแพร่ สร้างความรู้ ความเข้าใจในระบบหลักประกันสุขภาพ รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ ให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาเบื้องต้น พัฒนาระบบบริการด้านสาธารณสุข ประสานความร่วมมือกับองค์กรภาคีและพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย ปัจจุบันศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนเกิดองค์ความรู้ประสบการณ์ ดำเนินงานตามภารกิจควบคู่ ไปกับภารกิจเดิมของแต่ละองค์กร ในปัจจุบันหน่วยรับเรื่องร้อ ...
    • type-icon

      พัฒนาระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 

      นิฤมน รัตนะรัต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      โครงการวิจัย “การพัฒนาระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคีเครือข่ายในกรุงเทพมหานคร และ 2. เพื่อนำเสนอแนวทางเชิงนโยบายให้กับทางภาครัฐ โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ระบบที่ใช้ดูแลมี 3 ระบบ ได้แก่ ระบบนำเข้า ระบบรักษา และระบบจำหน่ายหรือส่งต่อ แต่อย่างไรก็ตามพบว่า ได้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการดำเนินการของหน่วยงานหลายประการซึ่งมีผลทำให้ระบบการดูแลช่วยเหลือคนไร้บ้านขาดประสิทธิภาพ ทางผู้วิจัยจึงได้จัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบขึ้น ...
    • type-icon

      วิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินงานรับฟังความเห็นต่อ (ร่าง) พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... 

      อรรถสิทธิ์ พานแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      รายงานฉบับนี้เป็นการรวบรวมความคิดเห็นของการทำประชาพิจารณ์(ร่าง)พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยเป็นการรวบรวมข้อมูลจากการทำเวทีทั้งหมด 3 ช่องทาง ด้วยกัน คือ (1) การจัดรับฟังความเห็นผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือเวที online สำหรับประชาชนทั่วไป (2) การจัดเวทีประชาพิจารณ์ (Public hearing) และ (3) การจัดเวทีปรึกษาสาธารณะ (Public consultation) ในภาพรวมของความคิดเห็น คือ รับรู้ว่าเป็นกฎหมายที่ใช้มา 15 ปี สำหรับส่วนที่เห็นด้วยมองว่า พรบ. ฉบับนี้จำเป็นต้องมีแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการบริการสาธารณสุขอย่างมีคุณภาพ ...
    • type-icon

      ศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาโครงการศูนย์การแพทย์เฉพาะทางกรมการแพทย์โดยให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership) 

      จิตตาภรณ์ ศรีบุญจิตต์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      การศึกษาความเป็นไปได้ “โครงการเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาโครงการศูนย์การแพทย์เฉพาะทางกรมการแพทย์ โดยให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership)” (โครงการฯ) นี้ได้จัดทำขึ้นตามที่กรมการแพทย์ มีความประสงค์ให้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อวัตถุประสงค์ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์การแพทย์เฉพาะทางกรมการแพทย์ (DMS Medical Complex) ภายใต้หลักการของการร่วมทุนภาครัฐและเอกชน ซึ่งกรมการแพทย์มีความต้องการช่วยลดความแออัด ลดระยะเวลารอคอยสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลรัฐบาลเดิม และเพิ่มการเข้าถึงบริการ สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ ด้วยแนวคิดให้มีก ...
    • type-icon

      สังเคราะห์ข้อเสนอเพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา 

      วุฒิสาร ตันไชย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      The Synthesis of Policy recommendations for promoting Good Pharmaceutical Governance has two objectives. First, the report analyzes the risk of Good Governance in Pharmaceutical System in Thailand and, second, proposes the policy recommendation for strengthening Good Pharmaceutical Governance in Thailand due to Pharmaceutical Governance should be developed in three targets; First, Pharmaceutical Governance must provide the medicines that have qualities and coverage for treatments; Second, Pharmaceutical Governance must spends effectively the ...
    • type-icon

      ไบโอเซ็นเซอร์ตรวจคัดกรองโรคเก๊าท์แบบพกพาสำหรับระบบสาธารณสุขไทย 

      ชิราวุฒิ เพชรเย็น (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการเตรียมโฟมพอลิเมอร์เชิงประกอบจากพอลิแลคติกแอซิดผสมพอลิบิวทิลีนซัคซิเนตเสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลส โฟมพอลิเมอร์เชิงประกอบนี้เตรียมด้วยกระบวนการหลอมผสมด้วยเครื่องอัดรีดแบบเกลียวหนอนคู่ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาสมบัติเชิงกายภาพ สมบัติเชิงเคมี สมบัติเชิงความร้อน และสมบัติเชิงกล จากผลการทดสอบการไหลของพอลิเมอร์ พบว่าการเติมเส้นใยเซลลูโลส พบว่าการไหลของพอลิ-เมอร์ผสมเพิ่มขึ้นจากการทดสอบสมบัติเชิงกล พบว่าการเติมเส้นใยเซลลูโลสในพอลิแลคติกแอซิดผสมพอลิ-บิวทิลีนซัคซิเนต ทำให้ค่าความทนต่อแรงดึง ค่ามอดูลัส และร้อยละการยืด ณ จุดขาดเพิ่มขึ้น ...