Now showing items 58-63 of 63

    • type-icon

      ศึกษาวิจัยพร้อมประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) ของการยางแห่งประเทศไทย ตามแนวทางปฏิบัติที่ดี ISO 14045 ประจําปีงบประมาณ 2563 

      หาญพล พึ่งรัศมี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-20)

      จากสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมทั่วโลกในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนน้ำ การลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ และการทำลายสิ่งแวดล้อม ล้วนมีผลมาจากการเติบโตของเศรษฐกิจและการพัฒนาอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้นจึงเกิดแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผนวกกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาประเทศ พร้อมทั้งดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน เพื่อสร้างสมดุลระหว่าง 2 ด้านนี้ จึงเกิดเป็นหลักการการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) ด้วยเหตุนี้การยางแห่งประเทศไทย จึงต้องการศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใ ...
    • type-icon

      ศึกษาแนวทางการกำหนดค่าอัตราคิดลด (Discount Rate) ที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการประเมินศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับมาตรการ (ระยะที่ 3) 

      บัณฑิต ลิ้มมีโชคชัย (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-11-10)

      ประเทศไทยได้ยื่นสัตยาบันสารเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงปารีส (Paris Agreement) เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559 รวมถึงการยื่นข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประเทศในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ (Nationally Determined Contribution หรือ NDC) โดยกําหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20 – 25 จากทุกภาคส่วน (Economy-Wide) ภายในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ข้อกำหนดภายใต้ความตกลงปารีส ในข้อ 4 ได้กําหนดให้ประเทศต่าง ๆ ร่วมกันตั้งเป้าหมายที่จะมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูงสุดของโลก (Global Peaking Emissions) โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไป ได้ ...
    • type-icon

      ศึกษาแนวทางหรือรูปแบบที่เหมาะสมในการเก็บค่าพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (IEE EIA และ EHIA) ตามหลักเจ้าของโครงการเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย (Cost Recovery Method) 

      นิรมล สุธรรมกิจ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-06)

      เนื่องด้วยแผนการปฏิรูปประเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ระบบบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอให้ “เพิ่มค่าตอบแทนการพิจารณารายงาน ค่าเดินทางลงพื้นที่ศึกษา โดยเก็บเป็นเงินค่าธรรมเนียมจากเจ้าของโครงการตามหลักผู้ได้ประโยชน์เป็นผู้จ่าย (Beneficiary Pay Principle: BPP)” กองพัฒนาระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จึงได้จัดทำการศึกษานี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางหรือ รูปแบบที่เหมาะสมในการเก็บค่าพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (IEE EIA และ EHIA) ตาม ...
    • type-icon

      ศึกษาและประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) ของการยางแห่งประเทศไทย ตามแนวทางปฏิบัติที่ดี ISO 14045 

      หาญพล พึ่งรัศมี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-15)

      จากสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมทั่วโลกในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนน้ำ การลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ และการทำลายสิ่งแวดล้อม ล้วนมีผลมาจากการเติบโตของเศรษฐกิจและการพัฒนาอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้นจึงเกิดแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผนวกกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาประเทศ พร้อมทั้งดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน เพื่อสร้างสมดุลระหว่าง 2 ด้านนี้ จึงเกิดเป็นหลักการ การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) ด้วยเหตุนี้ การยางแห่งประเทศไทย จึงต้องการศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนโด ...
    • Thumbnail

      แผนการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่พิเศษเลย 

      เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-07-02)

      ตามไฟล์แนบ
    • type-icon

      ให้คำปรึกษาการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ให้แก่โรงไฟฟ้า 

      หาญพล พึ่งรัศมี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-19)

      การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นนับเป็นวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมที่สำคัญ และก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในระดับโลก ประเทศ และวิถีชีวิตของทุกคน และยังมีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีการใช้ทรัพยากรค่อนข้างมาก ทั้งปริมาณการใช้ทรัพยากร วัตถุดิบ สารเคมี และพลังงาน โดยเฉพาะเชื้อเพลิง และน้ำ ถือเป็นปัจจัยการผลิตหลักในกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้า รวมถึงมลภาวะที่เกิดขึ้นจากตัววัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต มลภาวะที่เกิดจากกระบวนการผลิต การขนส่ง ...