Now showing items 13-32 of 41

    • type-icon

      ที่ปรึกษางานวิจัยประเมินเบื้องต้นในการเพิ่มความบริสุทธิ์ของไบโอเอธานอลด้วยตัวดูดซับชีวมวล 

      นุรักษ์ กฤษดานุรักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      A purification of ethanol solution was studied using adsorption in vapor phase. Rice straw and molecular sieves 3A were studied as adsorbents. It was investigated by evaporation of ethanol solution at 80oC and passing through a dynamic packed-column (0.9 cm dia. And 38 cm long). The column was controlled at 80, 85, and 90oC. It was found that rice straw as received was unable to increase the purity of ethanol compared to molecular sieves 3A in any cases. Moreover, column temperatures of 80 and 85oC showed suitably in term of ethanol purification.
    • type-icon

      ที่ปรึกษาประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปี 2554 ส่วนงานที่ 1 

      พรทิพย์ พิมลสินธุ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      An assessment of Public Communication and Promotion Strategy of Renewable Energy Project was carried out. Samplings had been derived from two methods of data collection consisting of 1) quantitative data collection, 1,105 samples being chosen from 549 organization officers, private entrepreneurs, investors and financial workers, 373 state enterprises and local administrative offices and 183 mass media, and 2) qualitative data collection, interviewing in-depth with 80 chief officers of local administrative offices, public organizations, entrepreneurs, ...
    • type-icon

      ปรับปรุงสมบัติความต้านทานการกัดกร่อนของเหล็กสเตนเลสโดยการเคลือบผิวด้วยแกรฟีนและสารผสมแกรฟีนสำหรับประยุกต์ใช้เป็นแผ่นขั้วไฟฟ้าในเซลล์เชื้อเพลิง แบตเตอรี่และตัวเก็บประจุยิ่งยวด 

      อรรฆวัชร รวมไมตรี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-04)

      โครงการวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงสมบัติความต้านทานการกัดกร่อนและการนำไฟฟ้าของเหล็กสเตนเลสโดยการเคลือบผิวด้วยแกรฟีนและสารผสมแกรฟีนสำหรับประยุกต์ใช้เป็นแผ่นขั้วไฟฟ้า โดยการเคลือบแกรฟีนและโลหะไทเทเนียมจะใช้วิธีการเคลือบผิวด้วยไอเคมีและวิธีสปัตเตอริ่ง ตามลำดับ ซึ่งผลการวิจัยพบว่าการเคลือบผิวด้วยแกรฟีนคุณภาพสูงสามารถช่วยปรับปรุงความต้านทานการกัดกร่อนและการนำไฟฟ้าของเหล็กสเตนเลสได้อย่างมาก โดยพบว่าเหล็กสเตนเลสที่ผ่านการเคลือบผิวด้วยแกรฟีนจะมีความต้านทานการกัดกร่อนและการนำไฟฟ้าเพิ่มขึ้นสูงสุด 94.92% และ 12.36% ตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้นการเคลือบแกรฟีน ยัง ...
    • type-icon

      ผนังคอนกรีตฉนวนกันความร้อนโดยใช้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ 

      บุรฉัตร ฉัตรวีระ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-12)

      งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นฉนวนกันความร้อนของผนังคอนกรีต บล็อกที่มีส่วนผสมของขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยการหล่อตัวอย่างคอนกรีตบล็อกขนาด 20×20×7.5 เซนติเมตร เพื่อก่อเป็นผนังคอนกรีตตัวอย่างขนาด 90 × 90 × 7.5 เซนติเมตร จำนวน 4 ชุด และประกอบผนังดังกล่าวขึ้นเป็นรูปกล่องขนาด 90 × 90 × 90 เซนติเมตร จากการใช้ส่วนผสมของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ผสมร่วมกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ชนิดเม็ด ในอัตราส่วนผสมที่ได้จากการประเมินความสามารถของซีเมนต์เพสต์ที่มีการแทนที่ขยะอิเล็กทรอนิกส์ชนิดเม็ดในอัตราส่วนร้อยละ 10, 20, 30, 40 และ 50 ของหน่วยน้ำหนักปูนซีเมนต์ ...
    • type-icon

      ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพของแข็งจากขี้เส้นยางพาราเพื่อทดแทนการใช้ถ่านหิน:งานวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์วัสดุเหลือทิ้งจากยางธรรมชาติเพื่อกระบวนการผลิตเหล็กกล้าแบบยั่งยืน 

      สมยศ คงคารัตน์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ของประชากรมาจากภาคการเกษตร เช่น ข้าว ปาล์มน้ำมัน อ้อย และยางพารา ขยะจากภาคการเกษตรเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นพร้อมกับปริมาณการผลิตพืชผลทางการเกษตรที่สูงขึ้นซึ่งเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเหมาะสม ยางพาราเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจหลักของไทย ซึ่งเก็บเกี่ยวโดยกระบวนการกรีดน้ำยาง ซึ่งจะได้น้ำยางที่มีลักษณะคล้ายน้ำนมเหนียว โดยในการกรีดยางแต่ละครั้งจะได้เปลือกยางที่มีลักษณะเป็นเส้นและมีส่วนของเนื้อยางพาราติดอยู่ โดยชาวสวนยางเรียกว่า ขี้เส้น (Rubber tree bark, ...
    • type-icon

      พัฒนา ทบทวน การวางแผนยุทธศาสตร์และการบริหารความเสี่ยงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคประจำปี 2557 

      นพพร เรืองวานิช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ทำการพัฒนา ทบทวน การวางแผนยุทธศาสตร์ และการบริหารความเสี่ยงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อสนับสนุน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นปัจจัยนำเข้าในการทบทวนแผนยุทธศาสตร์เพื่อใช้ประกอบการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการของผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้ กฟภ. มีแผนยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม รองรับสถานการณ์ปัจจุบัน และเพื่อพัฒนา ให้แนวคิดและข้อเสนอแนะกระบวนการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์และการบริหารความเสี่ยงให้เป็นไปตามเกณฑ์ของ SEPA โดยการจัดทำรายงานครั้งนี้ กฟภ. ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ที่ปรึกษา) ซึ่งเป็นที่ปรึ ...
    • type-icon

      พัฒนาปรับปรุงกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าด้วยการอนุรักษ์พลังงาน 

      ประภัสสร์ วังศกาญจน์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-04)

      โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมพลังงานและการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้ทันสมัย สามารถใช้ส่งเสริมและกำกับดูแลในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม จัดทำร่างกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมพลังงานและการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวงประกาศกระทรวง ประกาศกรม และเพื่อศึกษาความเหมาะสมในการกำหนดและการบังคับใช้พลังงานเพิ่มเติม ดำเนินงานศึกษาและวิเคราะห์ผลการดำเนินการตามกฎหมาย ปัญหาอุปสรรคจากการดำเนินการ ข้อจำกัดและความไม่ชัดเจนของกฎหมาย ศึกษาและวิเคราะห์กฎหมาย ระเบียน ข้อกำหนด ...
    • type-icon

      พัฒนารูปแบบการแสดงเจตจำนงค์ Mitigation Pledge และแนวทางการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศไทย (NAMAs) ในภาคพลังงาน (สาขาผลิตไฟฟ้าการใช้พลังงานในอุตสาหกรรม และอาคารควบคุม) 

      บัณฑิต ลิ้มมีโชคชัย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      Nationally Appropriate Mitigation Actions (NAMAs) was first introduced in the “Bali Action Plan” in COP13 in 2008. There are two types of NAMAs: 1) Domestically Supported NAMAs and 2) Internationally supported NAMAs. Both need measurable, reportable and verifiable (MRV) processes to ensure the quantified emission reduction. Thailand has high potential of GHG emission reduction by both domestically supported NAMAs and internationally supported NAMAs in 2020 about 23-73 million ton CO2 or approximately accounted for 7-20% from the total GHG emissions ...
    • type-icon

      พัฒนาศูนย์วิเคราะห์และพยากรณ์ข้อมูลด้านไฟฟ้า ระยะที่ 1 

      นพพร ลีปรีชานนท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-09-21)

      ประเทศไทยอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายสมาร์ทกริด พ.ศ. 2558 – 2579 รวมถึงแผนปฏิรูปพลังงาน ที่ร่างในปี พ.ศ. 2560 โดยมี 3 เสาหลัก ด้าน การบริหารจัดการพลังงาน ระบบพลังงานหมุนเวียน และระบบไมโครกริด โดยเสาหลักที่สอง ซึ่งเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนมีความสำคัญมากขึ้นจากนโยบายการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน กำหนดเป้าหมายพลังงานทดแทนไว้ที่ 30% โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียนที่แปรผันตามสภาพอากาศ เรียกว่าพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวน (Variable Renewable Energy: VRE) เพื่อนำไปใช้ในการบริหารระบบส่งและจำหน่ายซึ่งมีการเชื่อมต่อกับ VRE ...
    • type-icon

      พัฒนาหลักสูตรการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกสำหรับประเทศไทย 

      บัณฑิต ลิ้มมีโชคชัย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-10-21)

      ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ United Nations Framework on Climate Change (UNFCCC) มีพันธกรณีจะต้องจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกเพื่อเสนอต่อ UNFCCC ตามศักยภาพและความพร้อมในการดำเนินการของประเทศ ต่อมาเพื่อให้ทุกประเทศมีการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น UNFCCC และภายใต้ความตกลงปารีสได้จัดตั้งกรอบการดำเนินงานด้านความโปร่งใส (Transparency framework) เพื่อมุ่งส่งเสริมความเข้าใจ ความชัดเจนและติดตามการดำเนินงานและการสนับสนุนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคความตกลงปารีส ...
    • type-icon

      ศึกษา ทดสอบ และจัดทำแผนพัฒนาการประหยัดพลังงานของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 

      พรระพีพัฒน์ ภาสบุตร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      The major energy and utility expenses (>90%) in the Expressway Authority of Thailand (EXAT) are electricity and fuel cost therefore EXAT would like to study, examine and develop energy saving plan for reducing energy cost and formulate low carbon society (LCS). In this study, it is classified into 4 parts consisting of the electricity consumption in head office, expressway and toll plaza and possibility of using electric car. After collecting the statistic of the electricity consumption in head office, 2 brands of inverter air conditioners and 2 ...
    • Thumbnail

      ศึกษาการผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์ พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farm) ในพื้นที่ของโรงงานยาสูบที่สำนักงานภูมิภาค 

      พัชรา พัชราวนิช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
    • type-icon

      ศึกษาความเป็นไปได้และจัดทำแนวทางสู่การต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากฐานชีวภาพ 

      เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-12)

      สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ“สพภ.” เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจจากทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ส่งเสริม และสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และธุรกิจชีวภาพด้วยการใช้สหวิทยาการเพื่อยกระดับ และพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้งมีแนวทางการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมในยุคโลกาภิวัฒน์ นอกจากนี้แล้ว เนื่องจากปัจจุบันปัญหาที่เกิดขึ้นมีความสลับซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว การแก้ปัญหาจึงจำเป็นต้องมีความรอบคอบโดยคำนึงถึงผลกระทบอย่างรอบด้าน ต้องมีความรอบรู ...
    • type-icon

      ศึกษาแนวทางการกำกับอัตราค่าบริการไฟฟ้าตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 

      นิลุบล เลิศนุวัฒน์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-08-27)

      การศึกษานี้ศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการกํากับอัตราค่าไฟฟ้าตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ของประเทศไทย และแนวทางการกํากับของมลรัฐเทนเนสซีและประเทศมาเลเซีย เพื่อนำผลการศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำคู่มือแนวทางการกํากับอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย
    • type-icon

      ศึกษาและพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles) 

      ภูรี สิรสุนทร; เฉลิมพงษ์ คงเจริญ; ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์; ศุพฤฒิ ถาวรยุติการต์; ภาวิน ศิริประภานุกูล; พรระพีพัฒน์ ภาสบุตร; วรรัตน์ ปัตรประกร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      ยานยนต์และพลังงานในภาคขนส่งเป็นสินค้าประกอบกัน นโยบายของรัฐไม่ว่าจะเป็นนโยบายอุตสาหกรรม นโยบายคมนาคม นโยบายพลังงานในภาคขนส่งโดยเฉพาะโครงสร้างราคาพลังงานส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเลือกใช้ยานยนต์และการใช้พลังงานในภาคขนส่งทางถนนและการกำหนดทิศทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนรวมทั้งภาคขนส่งและภาคพลังงานอีกด้วย รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานได้ตระหนักถึงสถานการณ์การใช้พลังงานในภาคขนส่งของประเทศไทยและได้วางแผนอนุรักษ์พลังงานมาอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมให้เกิดการประหยัดการใช้พลังงาน หนึ่งในแนวทางที่จะส่งเสริมให้เกิดการประหยัดพลังงานในภาคขนส่งคือการนำยาน ...
    • type-icon

      ส่งเสริมการดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงานด้วยกลไกการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานตามกฎหมายในโรงงานควบคุม (พื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันตก) 

      นพพร ลีปรีชานนท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-04)

      1. ที่มาและความสำคัญ ตามที่พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและ พ.ศ.2552 ได้กำหนดให้โรงงานควบคุมและต้องดำเนินการจัดการพลังงานทุกรอบปี และจัดส่งผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ภายในเดือนมีนาคม ทั้งนี้รายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานของโรงงานควบคุมและต้องได้รับการตรวจสอบโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบกับ พพ. 2. วัตถุประสงค์ของโครงการ 1) เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้โรงง ...
    • type-icon

      ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานกลุ่มโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ฯ เฉลิมพระเกียรติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 

      วิทวัส ศตสุข (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-25)

      เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในปี 2562 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ได้ริเริ่มดำเนินโครงการเฉลิมพระเกียรติ ภายใต้ "โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ในโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒนา ในพระราชูปถัมภ์ฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก" ในการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในอาคารของกลุ่มโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ฯ จำนวน 6 แห่ง ซึ่งมีผลประหยัดเป็นจำนวน 456,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี เทียบเท่า 1,915,000 บาทต่อปี และเพื่อเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง กระทรวงพลังงานจึงมอบหมายให้ พพ. มีการดำเนิน ...
    • type-icon

      เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ - มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส 

      วรรัตน์ ปัตรประกร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยในจังหวัดนราธิวาสซึ่งได้รวม 4 สถาบันเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส วิทยาลัยการอาชีพตากใบ และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนราธิวาส เพื่อให้การใช้พลังงานของมหาวิทยาลัยฯเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทางมหาวิทยาลัยฯได้รับการสนับสนุนเปลี่ยนอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานผ่านกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ในปีงบประมาณ 2560 โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ ทางมหาวิทยาลัยฯได้ทำการเป ...
    • type-icon

      เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ - โรงเรียนเทพศิรินทร์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร 

      ประภัสสร์ วังศกาญจน์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-20)

      โรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ 2560 โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ มีเป้าหมายที่สำคัญเพื่อให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ และเป็นการส่งเสริม สนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนักในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กรเพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ...
    • type-icon

      เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม จังหวัดพิจิตร 

      ประภัสสร์ วังศกาญจน์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-20)

      โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ 2560 โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ มีเป้าหมายที่สำคัญเพื่อให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ และเป็นการส่งเสริม สนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนักในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กรเพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ...