Now showing items 21-31 of 31

    • type-icon

      งานศึกษาแนวทางการจัดตั้ง National Knowledge Park ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย 

      พีรดร แก้วลาย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-07)

      ความรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นความรู้ที่มีความพลวัต (Dynamic) ซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ประกอบด้วย นวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์ และข้อมูล ทำให้ลักษณะของการเข้าถึงความรู้เป็นไปในลักษณะที่ผ่านกระบวนการแบ่งปันความรู้การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคคล โดยศูนย์ความรู้แห่งชาติ พื้นที่เพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นตัวกลาง ในการอำนวยความสะดวกให้กับการเข้าถึงความรู้ที่เป็นพลวัต เป็นผู้สร้างพื้นที่บริการ (Space Provider) และผู้อำนวยและประสานในการเข้าถึงความรู้ (Facilitator) ดังนั้นโครงการศูนย์ความรู้แห่งชาติจำเป็นต้องกำหนดแนวความคิดโค ...
    • type-icon

      ศึกษาแนวโน้มความต้องการกำลังคนที่ยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) 

      เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-10)

      การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาใช้แนวทางในการเตรียมกำลังคนที่ยึดพื้นที่เป็นฐาน โดยมี 6 จังหวัดที่ใช้เป็นพื้นที่ทำการศึกษา ได้แก่ จังหวัดตาก จังหวัดนราธิวาส จังหวัดอุดรธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการศึกษาโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิควบคู่ไปกับข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการจากการสัมภาษณ์ หรือสนทนากลุ่ม ของตัวแทนจากภาครัฐ สถานศึกษา ภาคเอกชน ชุมชน และตัวผู้เรียนรวมทั้งสิ้น 183 คน โดยจะเริ่มจากการศึกษาบทเรียนจากต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป ประเทศญี่ปุ่น และมาเลเซีย จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ผ ...
    • type-icon

      การพัฒนาเครื่องมือประเมินความเสี่ยงที่จะมีความบกพร่องในการเรียนรู้โดยใช้เสียงพูดภาษาไทยและการตอบคำถามการคำนวณสำหรับคนไทย : เฟสที่ 2 พัฒนาชุดตรวจคัดกรอง Computer Based 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-28)

      พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงต่อความชุดทดสอบในรูปแบบแอปพลิเคชันบนแท็บเลตเสร็จสิ้น โดยนำแอปพลเคชันที่พัฒนาขึ้นมาใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลจากอาสาสมัครกลุ่มปกติจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 60 ราย และกลุ่มเสี่ยงจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อีก 50 ราย (ภายใต้เอกสารรับรองโครงการวิจัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์หมายเลขที่ 448/61) ข้อมูลเสียงพูดที่เก็บรวบรวมจากอาสาสมัครถูกนำมาวิเคราะห์ โดยการสลัดลักษณะเด่น 988 ลักษณะเด่นจากเสียงพูดโดยใช้โปรแกรม openSMILE และสร้างแบบจำลองโดยใชhโปรแกรม Weka โดยใช้วิธีการตรวจสอบไขว้ 5 ส่วน พบว่าสำหรับการว ...
    • type-icon

      การคัดกรองโรคมะเร็งผิวหนังจากภาพถ่ายบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-28)

      งานวิจัยนี้นำเสนอระบบรู้จำมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาอย่างอัตโนมัติโดยใช้โครงข่ายประสาทสังวัตนาการเดนซ์เน็ต (Densely Connected Convolutional Network: DenseNet121) และโครงข่าย Wasserstein Generative Adversarial Network (WGAN-GP) ในการสร้างภาพรอยโรคผิวหนังเทียมเพื่อใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการฝึกฝนโครงข่ายที่มีจำนวนข้อมูลในการฝึกฝนน้อย วัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยนี้คือ การสนับสนุนการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยมะเร็งผิวหนังโดยใช้ภาพถ่ายรอยโรคผิวหนัง โครงข่าย DenseNet121 ถูกนำมาใช้และประเมินผลเปรียบเทียบกับโครงข่ายเรสเน็ต (Deep Residual Neural Network: ResNet50) ...
    • type-icon

      การพัฒนาชุดตรวจคัดกรองผู้มีความบกพร่องในการเรียนรู้โดยใช้เสียงพูดภาษาไทยและการตอบคำถามการคำนวณสำหรับคนไทย: เฟสที่ 1 พัฒนาชุดตรวจคัดกรอง paper based 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-28)

      ความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) คือความบกพร่องของกลุ่มบุคคลที่ประสบปัญหาทางด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การให้เหตุผล และทักษะเชิงคณิตศาสตร์ โดยเด็กที่ป่วยเป็นโรค LD จะเริ่มแสดงอาการผิดปกติตั้งแต่ช่วงอายุ 3-5 ปี สำหรับชุดตรวจคัดกรองผู้ป่วย LD ในระยะแรกเริ่มมีการพัฒนาขึ้นใช้สำหรับในหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาเดนิช แต่ยังไม่มีการพัฒนาขึ้นสำหรับภาษาไทยคณะผู้วิจัยจึงได้ออกแบบและพัฒนาชุดตรวจคัดกรองสำหรับเด็กไทยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค LD โดยใช้หลักการทางภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และความจำ โดยแบ่งเป็น 6 หัวข้อ ได้แก่ การอ่านอย่างรวดเร็ว ...
    • type-icon

      ศึกษาความเที่ยงตรงของมาตรวัดน้ำที่ผ่านการล้างด้วยเครื่องล้างแบบอัลตราโซนิก 

      ธีร เจียศิริพงษ์กุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-09-16)

      การศึกษานี้เพื่อเป็นการทดลองศึกษาค่าความผิดพลาดของมาตรวัดน้ำที่ผ่านการล้างโดยใช้เครื่องล้างแบบอัตราโซนิกส์ โดยพิจารณาถึง ความสะอาดในการล้างมาตร และ ผลของอายุและสถานที่ติดตั้งมาตรที่ส่งผลต่อความเที่ยงตรงของมาตรวัดน้ำก่อนและหลังทำการล้างมาตร ผลจากการศึกษาพบว่า คลื่นอัลตราโซนิกส์ตอบสนองกับตะกอนดินไม่ดี หากแต่การทดสอบค่าความผิดพลาดของมาตรนั้นพบว่า มาตรวัดน้ำที่ผ่านการล้างด้วยน้ำนั้น มีค่าความผิดพลาดกลับเข้ามาอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานการทดสอบมาตรที่ร้อยละ 4 4 และ 20 สำหรับ Qm Qtrans และ Qmin จากจำนวน 20 เครื่องที่ผ่านการใช้งานเพิ่มขึ้นจาก ...
    • type-icon

      สำรวจความพึงพอใจของลูกค้าการประปาส่วนภูมิภาค ปีงบประมาณ 2562 

      อนันต์ ภาวสุทธิไพศิฐ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-10-06)

      โครงการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าการประปาส่วนภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ 2562 เป็นโครงการศึกษาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าปัจจุบันและกลุ่มประชาชนที่คาดว่าน่าจะเป็นลูกค้า กปภ. ในอนาคต ประเด็นสำรวจ คือ ความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ ความต้องการ ความคาดหวัง ความภักดี ทัศนคติของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ การบริการ ภาพลักษณ์และความรับผิดชอบสังคมของ กปภ. พบว่า ปีงบประมาณ 2562 กปภ. ได้รับคะแนนความพึงพอใจในภาพรวมเท่ากับ 4.102 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ “พึงพอใจมาก” ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2561 โดย กปภ. สามารถใช้ประสบการณ์เรียนรู้จากการทำสำรวจครั้งก่อน ...
    • type-icon

      ศึกษาและจัดทำข้อมูลการจำแนกลำดับชั้นของโครงข่ายทางหลวงแผ่นดินทั่วประเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนพัฒนาและบริหารจัดการทางหลวง 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-30)

      โครงข่ายทางหลวงแผ่นดินเชื่อมโยงพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อรองรับการขนส่งและการเดินทางของผู้ใช้ทางให้มีความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย การจำแนกลำดับชั้นทางหลวงในประเทศไทย ในปัจจุบันมีอยู่ 3 แนวทาง คือ (1) การจำแนกลำดับชั้นทางหลวงตามหน่วยงานที่ควบคุมดูแล (2) การจำแนกลำดับชั้นทางหลวงตามบทบาทของการเชื่อมโยง และ (3) การจำแนกลำดับชั้นทางหลวงตามการใช้งาน แต่เนื่องด้วยความซับซ้อนของโครงข่ายทางหลวงที่เพิ่มขึ้น ผนวกกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้วิธีการจำแนกลำดับชั้นถนนในโครงข่ายทางหลวงที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ...
    • type-icon

      Creative Hubs Mapping 

      พีรดร แก้วลาย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-02)

      ช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ในทั่วทุกมุมโลกได้มีการเกิดขึ้นของพื้นที่นวัตกรรม (innovative space) ซึ่งเป็นพื้นที่ในการออกแบบ ทดสอบ ขยายผล และนำผลงานที่มีแนวคิดใหม่ๆ เหล่านั้นออกสู่ตลาด บริติช เคานซิล (British Council) ได้ทำงานกับศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์ (creative hub) ทั่วโลก มาเป็นเวลาหลายปี ขณะนี้บริติช เคานซิล มีความประสงค์ที่ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับพื้นที่ดังกล่าว ในประเทศในกลุ่มทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และอินโดนีเซีย รายงานฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษา 6 กรณีศึกษาของศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์ (creative hub) ...
    • type-icon

      การจัดการศึกษาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 

      เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-27)

      การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อด้วยกัน คือ 1) เพื่อศึกษาผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดน และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 2) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดชายแดน และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดชายแดน โดยคณะผู้วิจัยได้เริ่มดำเนินงานด้วยการศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาของประเทศจีน อินเดีย เวียดนาม และมาเลเซีย จากนั้นจึงเป็นการศึกษาการจัดการศึกษาของจังหวัดในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 5 ...
    • type-icon

      กรอบแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี (Pathumthani Smart City Roadmap) 

      ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-10-07)

      จังหวัดปทุมธานีเป็นพื้นที่ปริมณฑลที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นเมืองมหาวิทยาลัย เมืองของการอยู่อาศัย และเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนถ่ายระบบคมนาคมขนส่งในระดับภูมิภาค ตลอดจนมีแผนพัฒนาโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งมวลชนทางรางเชื่อมต่อศูนย์กลางธุรกิจของเมืองกับชุมชนชานเมืองให้เกิดประสิทธิภาพในการเดินทางในอนาคต ทำให้เกิดแรงดึงดูดให้เกิดความต้องการด้านการเดินทางของประชาชนไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของเขตเมือง ส่งผลต่อรูปแบบการลงทุนทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของภาครัฐ ในการรองรับความต้องการของประชาชนและแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อประชาชน ...