สาขาการเกษตรและการพัฒนาชนบท: Recent submissions
วิจัยและพัฒนายกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ ประกอบด้วย 2 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเฮอร์เดิลในการผลิตผลิตภัณฑ์ ปลาสลิดแดดเดียวในบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนตัว เพื่อยืดอายุ การเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง และกิจกรรมที่ 2 การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารแปรรูปเพื่อสร้างอัตลักษณ์ของวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็กในจังหวัดสมุทรปราการ
(สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2023-02-03)
รายละเอียดตามเอกสารแนบ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในรูปปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ สำหรับใช้ในชุมชนเกษตรกรรายย่อย
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-07-08)
การเผาตอซังฟางข้าว เป็นการสร้างมลพิษปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศโดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ทำให้โลกร้อนขึ้น ปัญหานี้จึงต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต่อยอดกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ใหม่ในรูปปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ปฏิปักษ์จำนวน 5 สายพันธุ์ ได้แก่ Bacillus amyloliquefaciens B. subtilis TU-Orga1 B. tequilensis TU-Orga7 Streptomyces griseus และ Trichoderma harzianum สำหรับใช้ในชุมชนเกษตรกรรายย่อย และศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ใหม่ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคขอบใบแห้งขอ ข้าวในสภาพไ...
พัฒนาระบบให้บริการการตลาดแบบดิจิตัลของศูนย์ส่งเสริมธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-12)
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบให้บริการการตลาดแบบดิจิทัลของศูนย์ส่งเสริมธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ เพื่อให้วิสาหกิจมีช่องทางการทำการตลาดออนไลน์ และมีสื่อออนไลน์ที่สามารถนำผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนเข้าสู่ตลาดออนไลน์ได้ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการพัฒนาเว็บฟ้าใสแกลอรี่ (www.fahsaigallery.com) คือ ควรพัฒนาเว็บไซต์ให้มีความสวยงามและรองรับการใช้งานผ่านมือถือ ควรปรับปรุงกระบวนการขายสินค้าโดยเพิ่มช่องทางการขายสินค้าให้หลากหลายมากขึ้น เช่น เปิดบัญชี LINE@ และเพิ่มช่องทางการชำระเงินผ่านสื่อสังคม เป็นต้น รวมทั้งควรมีการส่งเส...
กิจกรรมติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาศูนย์ประสานงาน (Command Center) และนำร่องการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ นอร์ทเทิร์นไทยแลนด์ฟู๊ดวัลเลย์ ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-09-21)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานของที่ปรึกษา โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและอุตสาหกรรมเกษตรเชิงนวัตกรรม ตลอดจนแผนงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานของที่ปรึกษา โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและอุตสาหกรรมเกษตรเชิงนวัตกรรม ตลอดจนแผนงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อสรุปผลการดำเนินงานของที่ปรึกษา พื้นที่ดำเนินการ คือ จังหวัดในกลุ่มพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ...
กิจกรรมการติดตามประเมินผลโครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ/การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-09-21)
โครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ/การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาคในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน) ปี 2560 มีสถานประกอบการเข้าร่วมจำนวน 10 แห่ง แยกเป็นสถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดเชียงราย 3 แห่ง พะเยา 3 แห่ง แพร่ 2 แห่ง และน่าน 3 แห่ง ผลการดำเนินโครงการติดตามและประเมินผลโครงการ พบว่า ที่ปรึกษาโครงการมีการดำเนินกิจกรรมครบถ้วนตาม TOR ที่กำหนดไว้ จากการสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับคุณภาพในการดำเนินการจำนวน 10 ด้าน สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจระดับมาก โดยได้รับคะแนนพึงพอใจ...
เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจ SMEs ในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-23)
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินกิจกรรมการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจ SMEs ในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ให้กับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ในการดำเนินการโครงการประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้คือ 1) พิจารณาคัดเลือกวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมดจำนวน 50 ราย 2) ดำเนินการสำรวจและประเมินสถานประกอบการเ...
พัฒนาสถานประกอบการเป้าหมายเพื่อเข้าสู่ AEC ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการและธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ปีงบประมาณ 2559
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-23)
จากการดำเนินโครงการพัฒนาสถานประกอบการเป้าหมายเพื่อเข้าสู่ AEC ภายใต้กิจกรรมเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการและธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) ปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ของสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 15 ราย โดยได้รับการให้คำปรึกษาแนะนำและร่วมกับทีมที่ปรึกษาในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาแล้วเสร็จทุกกิจกรรมเป็นไปตามแผนที่กำหนด รวมทั้งสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการมีความกระตือรือร้นและให้ความร่วมมือในการทำงานร่วมกับทีมที่ปรึกษาเป็นอย่างดี The project “Entrepreneur development...
การพัฒนาสูตรและกรรมวิธีการผลิตแครกเกอร์ปลากราย
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-21)
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาและพัฒนาแครกเกอร์ปลากราย เพื่อให้ได้แครกเกอร์ที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค โดยในขั้นตอนแรกทำการศึกษาเนื้อปลากราย แป้งมัน และแป้งสาลีที่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์แครกเกอร์ปลากราย พบว่าสูตรที่เหมาะสมในการผลิตแครกเกอร์ปลากรายที่ได้รับคะแนนความชอบโดยรวมมากที่สุดประกอบด้วย น้ำร้อยละ 30.4, แป้งสาลีร้อยละ 26.1, เนื้อปลากรายร้อยละ 21.7, ไข่ไก่ร้อยละ 17.4, น้ำตาลทรายร้อยละ 1.7, ซอสปรุงรสร้อยละ 1.7, และเกลือร้อยละ 1.0 แล้วนำผลิตภัณฑ์แครกเกอร์ปลากรายที่พัฒนาได้มาทำการทดสอบการยอมรับจากผู้บริโภค 100 คนพบว่า ผู้บริโภคร้อยละ 98 ให้การยอมรับในผลิต...
กิจกรรมการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น (Value Added) พื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ภายใต้โครงการปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย (SMEs เกษตร) ตามแนวประชารัฐ ประจำปีงบประมาณ 2561
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-13)
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินกิจกรรมการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น (Value Added) ให้กับกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ“ปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย (SMEs เกษตร)” แก่วิสาหกิจชุมชนและกลุ่มเกษตรกรในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก จำนวน 150 กลุ่ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตร โดยการแปรรูปและพัฒนาวัตถุดิบ จากผลิตผลทางการเกษตร โดยใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมแ...
ประเมินผลลัพธ์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)
การศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินผลการดำเนินงานของโครงการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร เพื่อนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาใช้ประกอบการประเมินผลการดำเนินงานโครงการอย่างเป็นระบบ นำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานรวมทั้งการต่อยอดและขยายผลโครงการลงสู่พื้นที่ในระดับตำบลที่ครอบคลุมทั้งประเทศไทยต่อไปในอนาคต โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่เข้าร่วมโครงการ “1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร” จำนวน 40,000 ราย ในพื้นที่ 878 ตำบล ใน 878 อำเภอ ใน 76 จังหว...
ประเมินผลลัพธ์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการยกระดับ OTOP ใน 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศ
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)
การดำเนินงานที่ผ่านมา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดทำโครงการแผนงานขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์เพื่อเศรษฐกิจและสังคมฐานราก (ยกระดับ OTOP ในพื้นที่ 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศ) ซึ่งนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ที่ผ่านการวิจัยและพัฒนาและจัดระเบียบองค์ความรู้แล้ว ไปถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการ OTOP โดยมีผลการศึกษาจำแนกตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อพัฒนากระบวนการ เครื่องมือ ตลอดจนทำการประเมินมูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจ...
การศึกษาการจัดทำต้นแบบความร่วมมือในการบูรณาการภารกิจรัฐในพื้นที่จังหวัด
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
โครงการการศึกษาการจัดทำต้นแบบความร่วมมือในการบูรณาการภารกิจรัฐในพื้นที่จังหวัด มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการ และกลไกสนับสนุนของการบูรณาการในพื้นที่จังหวัดต้นแบบทั้งในเรื่องที่เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญและเรื่องที่เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขหรือป้องกันอย่างเป็นระบบ อีกทั้งเพื่อนำรูปแบบ วิธีการ และกลไกสนับสนุนของการบูรณาการในพื้นที่จังหวัดต้นแบบไปเผยแพร่ ให้ความรู้ หรือประยุกต์ใช้ในพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ ได้ รวมไปถึงเพื่อให้ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายในการสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการทั้งด้านงบประมาณการบริหารจัดการ กฎหมายและระเบียบข้อบังค...
Smart Packaging สำหรับผลไม้สดตัดแต่งพร้อมบริโภค : ข้าวเหนียวมะม่วง (พันธุ์น้ำดอกไม้)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
ข้าวเหนียวมูนมะม่วงน้ำดอกไม้ เป็นของหวานที่นิยมชมชอบของคนทั่วโลกจนติดอันดับ 1 ใน 5 แต่ของหวานนี้ปกติเก็บในอุณหภูมิปกติได้ไม่เกิน 1 วัน หรือต้องนำไปแช่แข็ง จึงได้ทำการศึกษาและพัฒนา Smart packaging สำหรับข้าวเหนียวมูนมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เพื่อให้สามารถเก็บในตู้เย็นปกติอุณหภูมิ 4±2 °C มีอายุการวางจำหน่ายภายใน 7 วัน โดยไม่ต้องแช่แข็งสามารถจำหน่ายได้ในร้านสะดวกซื้อ โดยนำมะม่วงที่แก่ประมาณร้อยละ 80 และ 90 จมในน้ำเกลือความเข้มข้นร้อยละ 3 นำมาบ่มให้สุกแล้วนำมาล้างผิวผลด้วย HOCl ความเข้มข้น 500 ppm นาน 10 นาที แล้วนำมาปอกในห้องสะอาด (clean room) บ...
จ้างที่ปรึกษาจัดทำผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายหาดบางแสน
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
การจัดทำผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายหาดบางแสน สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลเมืองแสนสุข พ.ศ. 2558-2562 ที่มุ่งวางแผนด้านการจัดการและปรับปรุงภูมิทัศน์ของพื้นที่ชายหาดให้เกิดภาพลักษณ์ที่สวยงามและยั่งยืน กระบวนการศึกษาโครงการ เป็นการทำงานร่วมกันของคณะที่ปรึกษา นายกเทศมนตรี บุคลากรของเทศบาล รวมถึงประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม 3 ครั้ง เพื่อนำข้อมูลจากทุกภาคส่วนมาเป็นโจทย์ในการวางผังและออกแบบ และนำเสนอกรอบแนวคิดในการวางผังแม่บทการพัฒนาชายหาด รวมทั้งการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมขั้นต้นของพื้นที่สาธารณะ 3 โครงการ และรูป...
อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอมติดผลดกทั้งปี
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
โครงการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอมติดผลดกทั้งปี มีผู้เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการจากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มจังหวัดราชบุรี สมุทรสาคร-นครปฐม สมุทรสงคราม และกรุงเทพมหานคร กิจกรรมในการฝึกอบรมประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดความองค์ความรู้ด้านการผลิตมะพร้าว และความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสารละลายผสมเกสรมะพร้าวที่ใช้ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติโดยการบรรยาย 2) การสาธิตและการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติในการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอมติดผลดกทั้งปี 3) การติดตามผลการปฏิบัติงาน และเก็บผลที่ได้มาวิเคราะห์อุปสรรค...
การห่อหุ้มสารสกัดจากโล่ติ๊นลงในฟิล์มพอลิแลคติคแอซิดป้องกันแมลง:เชิงโครงสร้างและเชิงสภาวะจลศาสตร์
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
น้ำมันโล่ติ๊นเป็นสารที่ได้จากผลของเมล็ดโล่ติ๊น ซึ่งนิยมนำมาใช้งานด้านเกษตรอินทรีย์และด้านการแพทย์ สำหรับงานวิจัยนี้ได้นำเสนอผลของการห่อหุ้มน้ำมันสกัดจากเมล็ดโล่ติ๊นด้วยพอลิเมอร์ชีวภาพคือ พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ กัมอะราบิก เวย์โปรตีนไอโซเลท/มอลโตเดกซ์ตริน ที่อัตราส่วนของน้ำมันโล่ติ๊นต่อสารห่อหุ้มที่ 1:2 และ 1:3 โดยใช้เทคนิคสังเคราะห์ไมโครแคปซูลแบบการอบแห้งแบบพ่นฝอย และทำการศึกษาผลฟิล์มกรดพอลิแลคติกเคลือบด้วยไมโครแคปซูลเพื่อเป็นฟิล์มป้องกันแมลง จากการศึกษาผลกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่าไมโครแคปซูลมีลักษณะทรงค่อนข้างกลม ผลการวิเคราะห์หมู่ฟัง...
พัฒนาสูตรคอมพาวนด์พลาสติก โดยใช้ผลิตภัณฑ์จากการเกษตร
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติของถ่านกัมมันต์จากขยะชีวมวลจากข้าวจากการกระตุ้นด้วยสารละลายกรด (กรดไฮโดรคลอริก, กรดซัลฟูริก) สารละลายด่างด่าง (โซเดียมไฮดรอกไซด์, โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์) และสารละลายโลหะคลอไรด์ (ซิงค์คลอไรด์, แมกนีเซียมคลอไรด์) โดยวิธีการทดลองประกอบด้วยกระบวนการคาร์บอไนเซชันและกระบวนการกระตุ้น ซึ่งในกระบวนการกระตุ้นมีการผันแปรอุณหภูมิในช่วง 400, 500, 600 และ 700 องศาเซลเซียส อัตราส่วนของสารละลายในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 1:3 ซึ่งพบว่า ภาวะที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที อัตราส่วนถ่านชาร์ต่อกรดซัลฟูร...
พัฒนาสูตรคอมพาวนด์พลาสติก โดยใช้ข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ประเภทบรรจุภัณฑ์
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
งานวิจัยนี้ได้นำเศษผ้าฝ้ายมาสกัดเป็นไมโครเซลลูโลสเพื่อประยุกต์ใช้ในการเตรียมถาดไอโซแทคติกพอลิพอพริลีนเสริมแรงด้วยไมโครเซลลูโลสเป็นวัสดุบรรจุสำหรับไมโครเวฟ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ขั้นตอน (1) การสกัดไมโครเซลลูโลสจากเศษผ้าฝ้ายด้วยกรดไฮโดรคลอริก (2) การผลิตเม็ดพลาสติกคอมพอสิทของไอโซแทคติกพอลิพอพริลีนเสริมแรงด้วยไมโครเซลลูโลสในปริมาณที่ต่างกัน คือ 5, 10 และ 20 phr ทั้งที่เติมและไม่เติมสารประสานมาเลอิคแอนไฮไดรด์กราฟต์พอลิพอพริลีน ขึ้นรูปถาดไอโซแทคติกพอลิพอพริลีนเสริมแรงด้วยไมโครเซลลูโลส ด้วยเครื่องฉีด พร้อมทั้งทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานภายใต้ตู้อบไม...
การเตรียมอนุภาคนาโนซิลิกาจากแกลบและการใช้เป็นวัสดุหน่วงการติดไฟในยางธรรมชาติและพอลิสไตรีน
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาการหน่วงการติดไฟของวัสดุเชิงประกอบระหว่างพอลิเมอร์และอนุภาคนาโนซิลิกา 9,10-dihydro-9-oxa-10-phosphaphenantrene-10-oxide (DOPO) เมลามีน และบอแร๊กซ์ โดยใช้พอลิเมอร์สองชนิดคือ พอลิสไตรีนและยางธรรมชาติ โดยมีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้ หนึ่ง ผู้วิจัย สังเคราะห์อนุภาคนาโนซิลิกาจากแกลบด้วยวิธีง่ายๆ ผ่านปฎิกิริยากับกรดและการทำแคลไซน์ และได้ทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคต่างๆ ได้แก่ Fourier transform infrared spectrometry, X-ray diffraction, Field emission scanning electron microscopy, Nitrogen adsorption-desorption, และ Dynamic ligh...
เครื่องอบแห้งไม้ยางพาราโดยใช้ไมโครเวฟร่วมระบบลมร้อนชนิดทำงานอย่างต่อเนื่องและปรับระดับกำลังได้
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)
ในอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา กระบวนการอบแห้งที่มีประสิทธิภาพถือเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการผลิต แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการอบแห้งแบบเดิมที่ใช้ เช่น การอบโดยใช้ลมร้อน พลังงานแสงอาทิตย์ ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของระยะเวลาการอบแห้งที่ยาวนาน ดังนั้นเทคโนโลยีไมโครเวฟจึงเป็นทางเลือกใหม่ที่สามารถทดแทนเทคโนโลยีแบบเดิมได้ในงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลของกระบวนการอบแห้งไม้ยางพาราด้วยระบบไมโครเวฟป้อนคลื่นหลายตำแหน่งและการพาความร้อนร่วมกับสายพานลำเลียงต่อเนื่องในระบบความร้อนร่วม (Combined System) ระบบไฮบริด (Hybrid System) และการอบแห้งด้วยลมร้อน...