Now showing items 1-20 of 25

    • Thumbnail

      ประสิทธิภาพของโอโซนในการลดปริมาณสารพิษตกค้างกลุ่มออร์แกนโนคลอรีนบางชนิดในผักกาดขาว และผลกระทบ : รายงานฉบับสมบูรณ์ (final report) 

      ยุทธชัย อนุรักติพันธุ์; บัณฑิต อนุรักษ์; วัฒน์สิทธิ์ ศิริวงศ์; สุวินัย มงคลธารณ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2000)
    • type-icon

      รายงานฉบับสุดท้าย โครงการการศึกษาแนวทางการประเมินมูลค่าที่ดินในเขตปฏิรูป ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำนักการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ระยะที่2) 

      จิตตาภรณ์ ศรีบุญจิตต์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2011)

      The significant objective of Land Valuation of Agricultural Land Reform Project, Phase 2, is to set up valuation criteria for determining values of agricultural land use. Samples of1120 agriculturists were totally chosen from those who lived in 14 provinces (80 persons / province) of agricultural land reform areas including various types of public lands, private lands and royal lands. Researchers considerably studied land use patterns with emphasis on the top three ranking of the extent of cultivation land and pasture in each province. Conceptual ...
    • type-icon

      การศึกษาแนวทางการประเมินมูลค่าที่ดินชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ระยะที่ 1) 

      จิตตาภรณ์ ศรีบุญจิตต์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      Land in the residential community main purpose is to assist farmers to have their own dwelling without cost but because of urban growth, land use has changed somewhat. Some use still remains as residential but some have turned into commercial. Some commercials are minor support to family income and some are commercial business that supports the farming and residential daily life and operation. However, some land use have turnedinto a fully operated businesses both retail and industrial. Rent was never collected and a new policy must now be ...
    • type-icon

      ยกระดับผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แบบบูรณาการ (OTOP PLUS) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 และกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 

      อภิวัฒน์ มุตตามระ; Apiwat Muttamara (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      The of one tumbon integrated product development (supply side development). To develop knowledge of modern management to keep pace with the competition. New product development by linking culture and technological and innovation. To conduct training for entrepreneurs. Counseling in development of a prototype 50 cases which have developed of 50 product and a comprehensive approach to the development of the manufacturing sector. It is hoped that this report can be used as a guideline to be used. For maximum benefit, And publish them to the operators ...
    • type-icon

      เครื่องอบแห้งไม้ยางพาราโดยใช้ไมโครเวฟร่วมระบบลมร้อนชนิดทำงานอย่างต่อเนื่องและปรับระดับกำลังได้ 

      ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช; Rattanadecho, Phadungsak (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      ในอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา กระบวนการอบแห้งที่มีประสิทธิภาพถือเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการผลิต แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการอบแห้งแบบเดิมที่ใช้ เช่น การอบโดยใช้ลมร้อน พลังงานแสงอาทิตย์ ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของระยะเวลาการอบแห้งที่ยาวนาน ดังนั้นเทคโนโลยีไมโครเวฟจึงเป็นทางเลือกใหม่ที่สามารถทดแทนเทคโนโลยีแบบเดิมได้ในงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลของกระบวนการอบแห้งไม้ยางพาราด้วยระบบไมโครเวฟป้อนคลื่นหลายตำแหน่งและการพาความร้อนร่วมกับสายพานลำเลียงต่อเนื่องในระบบความร้อนร่วม (Combined System) ระบบไฮบริด (Hybrid System) และการอบแห้งด้วยลมร้อน ...
    • type-icon

      อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอมติดผลดกทั้งปี 

      วรภัทร ลัคนทินวงศ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      โครงการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอมติดผลดกทั้งปี มีผู้เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการจากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มจังหวัดราชบุรี สมุทรสาคร-นครปฐม สมุทรสงคราม และกรุงเทพมหานคร กิจกรรมในการฝึกอบรมประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดความองค์ความรู้ด้านการผลิตมะพร้าว และความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสารละลายผสมเกสรมะพร้าวที่ใช้ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติโดยการบรรยาย 2) การสาธิตและการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติในการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอมติดผลดกทั้งปี 3) การติดตามผลการปฏิบัติงาน และเก็บผลที่ได้มาวิเคราะห์อุปสรรค ...
    • type-icon

      การเตรียมอนุภาคนาโนซิลิกาจากแกลบและการใช้เป็นวัสดุหน่วงการติดไฟในยางธรรมชาติและพอลิสไตรีน 

      พีระศักดิ์ เภาประเสริฐ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาการหน่วงการติดไฟของวัสดุเชิงประกอบระหว่างพอลิเมอร์และอนุภาคนาโนซิลิกา 9,10-dihydro-9-oxa-10-phosphaphenantrene-10-oxide (DOPO) เมลามีน และบอแร๊กซ์ โดยใช้พอลิเมอร์สองชนิดคือ พอลิสไตรีนและยางธรรมชาติ โดยมีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้ หนึ่ง ผู้วิจัย สังเคราะห์อนุภาคนาโนซิลิกาจากแกลบด้วยวิธีง่ายๆ ผ่านปฎิกิริยากับกรดและการทำแคลไซน์ และได้ทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคต่างๆ ได้แก่ Fourier transform infrared spectrometry, X-ray diffraction, Field emission scanning electron microscopy, Nitrogen adsorption-desorption, และ Dynamic light ...
    • type-icon

      จ้างที่ปรึกษาจัดทำผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายหาดบางแสน 

      ปราณิศา บุญค้ำ; Pranisa Boonkham (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      การจัดทำผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายหาดบางแสน สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลเมืองแสนสุข พ.ศ. 2558-2562 ที่มุ่งวางแผนด้านการจัดการและปรับปรุงภูมิทัศน์ของพื้นที่ชายหาดให้เกิดภาพลักษณ์ที่สวยงามและยั่งยืน กระบวนการศึกษาโครงการ เป็นการทำงานร่วมกันของคณะที่ปรึกษา นายกเทศมนตรี บุคลากรของเทศบาล รวมถึงประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม 3 ครั้ง เพื่อนำข้อมูลจากทุกภาคส่วนมาเป็นโจทย์ในการวางผังและออกแบบ และนำเสนอกรอบแนวคิดในการวางผังแม่บทการพัฒนาชายหาด รวมทั้งการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมขั้นต้นของพื้นที่สาธารณะ 3 โครงการ ...
    • type-icon

      พัฒนาสูตรคอมพาวนด์พลาสติก โดยใช้ข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ประเภทบรรจุภัณฑ์ 

      ศรุต อำมาตย์โยธิน; ชิราวุฒิ เพชรเย็น (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      งานวิจัยนี้ได้นำเศษผ้าฝ้ายมาสกัดเป็นไมโครเซลลูโลสเพื่อประยุกต์ใช้ในการเตรียมถาดไอโซแทคติกพอลิพอพริลีนเสริมแรงด้วยไมโครเซลลูโลสเป็นวัสดุบรรจุสำหรับไมโครเวฟ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ขั้นตอน (1) การสกัดไมโครเซลลูโลสจากเศษผ้าฝ้ายด้วยกรดไฮโดรคลอริก (2) การผลิตเม็ดพลาสติกคอมพอสิทของไอโซแทคติกพอลิพอพริลีนเสริมแรงด้วยไมโครเซลลูโลสในปริมาณที่ต่างกัน คือ 5, 10 และ 20 phr ทั้งที่เติมและไม่เติมสารประสานมาเลอิคแอนไฮไดรด์กราฟต์พอลิพอพริลีน ขึ้นรูปถาดไอโซแทคติกพอลิพอพริลีนเสริมแรงด้วยไมโครเซลลูโลส ด้วยเครื่องฉีด พร้อมทั้งทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานภายใต้ตู้อบไม ...
    • type-icon

      Smart Packaging สำหรับผลไม้สดตัดแต่งพร้อมบริโภค : ข้าวเหนียวมะม่วง (พันธุ์น้ำดอกไม้) 

      วรภัทร ลัคนทินวงศ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      ข้าวเหนียวมูนมะม่วงน้ำดอกไม้ เป็นของหวานที่นิยมชมชอบของคนทั่วโลกจนติดอันดับ 1 ใน 5 แต่ของหวานนี้ปกติเก็บในอุณหภูมิปกติได้ไม่เกิน 1 วัน หรือต้องนำไปแช่แข็ง จึงได้ทำการศึกษาและพัฒนา Smart packaging สำหรับข้าวเหนียวมูนมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เพื่อให้สามารถเก็บในตู้เย็นปกติอุณหภูมิ 4±2 °C มีอายุการวางจำหน่ายภายใน 7 วัน โดยไม่ต้องแช่แข็งสามารถจำหน่ายได้ในร้านสะดวกซื้อ โดยนำมะม่วงที่แก่ประมาณร้อยละ 80 และ 90 จมในน้ำเกลือความเข้มข้นร้อยละ 3 นำมาบ่มให้สุกแล้วนำมาล้างผิวผลด้วย HOCl ความเข้มข้น 500 ppm นาน 10 นาที แล้วนำมาปอกในห้องสะอาด (clean room) ...
    • type-icon

      การออกแบบและพัฒนาชุดต้นกำลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรถเข็นผัก 

      จักรพันธุ์ ชวนอาษา; บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      เนื่องจากในตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ มีการขนส่งผักและผลไม้เป็นจำนวนมากและหนึ่งในวิธีขนส่งที่สำคัญนั้นคือ การใช้รถเข็น รถเข็นสามารถเข้าถึงเกือบทุกพื้นที่ของตลาดและยังสามารถบรรทุกได้มาก ทำให้เป็นที่จำเป็นของตลาดค้าส่ง แต่ด้วยการบรรทุกน้ำหนักที่มากทำให้การขนส่งเป็นไปอย่างยากลำบากและบางครั้งอาจส่งผลอันตราย (บาดเจ็บ) ในขณะปฏิบัติงานได้ จึงทำให้เกิดแนวคิดที่ว่าทำสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ใช้งานรวมถึงช่วยย่นระยะเวลาในการขนส่ง แต่เนื่องในปัจจุบันรถเข็นที่ใช้นั้นมีอยู่จำนวนมาก การที่จะประดิษฐ์ตั้งแต่ตัวรถเข็นรวมถึงอุปกรณ์เสริมอาจต้องใช้งบประมาณสูง ...
    • type-icon

      พัฒนาสูตรคอมพาวนด์พลาสติก โดยใช้ผลิตภัณฑ์จากการเกษตร 

      ชิราวุฒิ เพชรเย็น (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติของถ่านกัมมันต์จากขยะชีวมวลจากข้าวจากการกระตุ้นด้วยสารละลายกรด (กรดไฮโดรคลอริก, กรดซัลฟูริก) สารละลายด่างด่าง (โซเดียมไฮดรอกไซด์, โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์) และสารละลายโลหะคลอไรด์ (ซิงค์คลอไรด์, แมกนีเซียมคลอไรด์) โดยวิธีการทดลองประกอบด้วยกระบวนการคาร์บอไนเซชันและกระบวนการกระตุ้น ซึ่งในกระบวนการกระตุ้นมีการผันแปรอุณหภูมิในช่วง 400, 500, 600 และ 700 องศาเซลเซียส อัตราส่วนของสารละลายในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 1:3 ซึ่งพบว่า ภาวะที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที อัตราส่วนถ่านชาร์ต่อกรดซัลฟูริกเท่ากับ ...
    • type-icon

      การห่อหุ้มสารสกัดจากโล่ติ๊นลงในฟิล์มพอลิแลคติคแอซิดป้องกันแมลง:เชิงโครงสร้างและเชิงสภาวะจลศาสตร์ 

      ชิราวุฒิ เพชรเย็น (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      น้ำมันโล่ติ๊นเป็นสารที่ได้จากผลของเมล็ดโล่ติ๊น ซึ่งนิยมนำมาใช้งานด้านเกษตรอินทรีย์และด้านการแพทย์ สำหรับงานวิจัยนี้ได้นำเสนอผลของการห่อหุ้มน้ำมันสกัดจากเมล็ดโล่ติ๊นด้วยพอลิเมอร์ชีวภาพคือ พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ กัมอะราบิก เวย์โปรตีนไอโซเลท/มอลโตเดกซ์ตริน ที่อัตราส่วนของน้ำมันโล่ติ๊นต่อสารห่อหุ้มที่ 1:2 และ 1:3 โดยใช้เทคนิคสังเคราะห์ไมโครแคปซูลแบบการอบแห้งแบบพ่นฝอย และทำการศึกษาผลฟิล์มกรดพอลิแลคติกเคลือบด้วยไมโครแคปซูลเพื่อเป็นฟิล์มป้องกันแมลง จากการศึกษาผลกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่าไมโครแคปซูลมีลักษณะทรงค่อนข้างกลม ผลการวิเคราะห์หมู่ฟัง ...
    • type-icon

      การศึกษาการจัดทำต้นแบบความร่วมมือในการบูรณาการภารกิจรัฐในพื้นที่จังหวัด 

      วสันต์ เหลืองประภัสร์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      โครงการการศึกษาการจัดทำต้นแบบความร่วมมือในการบูรณาการภารกิจรัฐในพื้นที่จังหวัด มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการ และกลไกสนับสนุนของการบูรณาการในพื้นที่จังหวัดต้นแบบทั้งในเรื่องที่เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญและเรื่องที่เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขหรือป้องกันอย่างเป็นระบบ อีกทั้งเพื่อนำรูปแบบ วิธีการ และกลไกสนับสนุนของการบูรณาการในพื้นที่จังหวัดต้นแบบไปเผยแพร่ ให้ความรู้ หรือประยุกต์ใช้ในพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ ได้ รวมไปถึงเพื่อให้ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายในการสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการทั้งด้านงบประมาณการบริหารจัดการ กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ ...
    • type-icon

      การพัฒนาสูตรและกรรมวิธีการผลิตแครกเกอร์ปลากราย 

      สุธีรา วัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-21)

      งานวิจัยนี้ได้ศึกษาและพัฒนาแครกเกอร์ปลากราย เพื่อให้ได้แครกเกอร์ที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค โดยในขั้นตอนแรกทำการศึกษาเนื้อปลากราย แป้งมัน และแป้งสาลีที่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์แครกเกอร์ปลากราย พบว่าสูตรที่เหมาะสมในการผลิตแครกเกอร์ปลากรายที่ได้รับคะแนนความชอบโดยรวมมากที่สุดประกอบด้วย น้ำร้อยละ 30.4, แป้งสาลีร้อยละ 26.1, เนื้อปลากรายร้อยละ 21.7, ไข่ไก่ร้อยละ 17.4, น้ำตาลทรายร้อยละ 1.7, ซอสปรุงรสร้อยละ 1.7, และเกลือร้อยละ 1.0 แล้วนำผลิตภัณฑ์แครกเกอร์ปลากรายที่พัฒนาได้มาทำการทดสอบการยอมรับจากผู้บริโภค 100 คนพบว่า ผู้บริโภคร้อยละ 98 ให้การยอมรับในผลิต ...
    • Thumbnail

      พัฒนาสถานประกอบการเป้าหมายเพื่อเข้าสู่ AEC ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการและธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ปีงบประมาณ 2559 

      ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-23)

      จากการดำเนินโครงการพัฒนาสถานประกอบการเป้าหมายเพื่อเข้าสู่ AEC ภายใต้กิจกรรมเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการและธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) ปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ของสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 15 ราย โดยได้รับการให้คำปรึกษาแนะนำและร่วมกับทีมที่ปรึกษาในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาแล้วเสร็จทุกกิจกรรมเป็นไปตามแผนที่กำหนด รวมทั้งสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการมีความกระตือรือร้นและให้ความร่วมมือในการทำงานร่วมกับทีมที่ปรึกษาเป็นอย่างดี The project “Entrepreneur development ...
    • type-icon

      เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจ SMEs ในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์) 

      คมน์ พันธรักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-23)

      สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินกิจกรรมการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจ SMEs ในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ให้กับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ในการดำเนินการโครงการประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้คือ 1) พิจารณาคัดเลือกวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมดจำนวน 50 ราย 2) ดำเนินการสำรวจและประเมินสถานประกอบการเ ...
    • Thumbnail

      วิจัยและพัฒนายกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ ประกอบด้วย 2 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเฮอร์เดิลในการผลิตผลิตภัณฑ์ ปลาสลิดแดดเดียวในบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนตัว เพื่อยืดอายุ การเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง และกิจกรรมที่ 2 การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารแปรรูปเพื่อสร้างอัตลักษณ์ของวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็กในจังหวัดสมุทรปราการ 

      ประภาศรี เทพรักษา (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2023-02-03)

      รายละเอียดตามเอกสารแนบ
    • type-icon

      ประเมินผลลัพธ์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร 

      เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)

      การศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินผลการดำเนินงานของโครงการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร เพื่อนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาใช้ประกอบการประเมินผลการดำเนินงานโครงการอย่างเป็นระบบ นำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานรวมทั้งการต่อยอดและขยายผลโครงการลงสู่พื้นที่ในระดับตำบลที่ครอบคลุมทั้งประเทศไทยต่อไปในอนาคต โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่เข้าร่วมโครงการ “1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร” จำนวน 40,000 ราย ในพื้นที่ 878 ตำบล ใน 878 อำเภอ ใน 76 จังหวัด ...
    • type-icon

      ประเมินผลลัพธ์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการยกระดับ OTOP ใน 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศ 

      เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)

      การดำเนินงานที่ผ่านมา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดทำโครงการแผนงานขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์เพื่อเศรษฐกิจและสังคมฐานราก (ยกระดับ OTOP ในพื้นที่ 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศ) ซึ่งนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ที่ผ่านการวิจัยและพัฒนาและจัดระเบียบองค์ความรู้แล้ว ไปถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการ OTOP โดยมีผลการศึกษาจำแนกตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อพัฒนากระบวนการ เครื่องมือ ตลอดจนทำการประเมินมูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ...