ศึกษาวิจัยวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่...) พ.ศ....ภายใต้โครงการวิเคราะห์กฎหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นและการกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญใหม่
by วสันต์ เหลืองประภัสร์
ศึกษาวิจัยวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่...) พ.ศ....ภายใต้โครงการวิเคราะห์กฎหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นและการกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญใหม่ | |
The New Local Election Act and Its Impact on Local Government | |
วสันต์ เหลืองประภัสร์ | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2018 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สถาบันพระปกเกล้าได้มอบหมายให้สำนักงานศูนย์วิจัยและให้ปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดำเนินโครงการศึกษาวิจัยวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่....) พ.ศ. .... โดยเฉพาะที่ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 และ 2) เพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อประเด็นสำคัญของร่างพระราชบัญญัติเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่....) พ.ศ. .... ที่มีความสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 โดยสามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังต่อไปนี้ การขับเคลื่อนการกระจายอำนาจ และการปกครองท้องถิ่น ผ่านกระบวนการจัดทำร่าพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. .... นั้น เป็นการออกแบบการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองโดยให้ความสำคัญกับกระบวนการคัดเลือกผู้บริหารที่มีความสุจริต และยุติธรรม ภายใต้การทำงานเชิงรุกของคณะกรรมการการเลือกตั้ง พร้อมไปกับการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนผ่านการร้องเรียนในกรณีที่พบการทุจริตเกิดขึ้นในการเลือกตั้ง ทั้งนี้ หากพิจารณาภายใต้แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งแล้วนั้น การดำเนินการออกแบบกฎหมายอาจจำเป็นที่จะต้องมีข้อพึงพิจารณาใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ภาระหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะนำไปสู่การออกแบบพื้นที่เลือกตั้งที่เป็นธรรม ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นจะต้องเป็นผู้มีเป็นตัวแทนของกลุ่มประชาชนในพื้นที่ซึ่งรับทราบข้อมูลปัญหา ความต้องการของพื้นที่อย่างแท้จริง 2) ความสัมพันธ์ทางอำนาจของฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติในท้องถิ่น ซึ่งจะนำไปสู่การจัดวางระบบการเลือกตั้งที่เหมาะสมสำหรับแต่ละพื้นที่ โดยที่อาจไม่จำเป็นต้องเป็นระบบการเลือกตังในลักษณะเดียวกับในระดับชาติ แต่พึงพิจารณาบนฐานของสภาพปัญหา และความต้องการของพื้นที่เป็นสำคัญ นอกจากนี้ ในส่วนของการเป็นสถาบันในการกำหนดกฎเกณฑ์และกติกาการเลือกตั้ง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนนั้น ก็ถือได้ว่ามีความจำเป็นด้วยเช่นกัน เนื่องจากความโปร่งใสในกระบวนการจัดการเลือกตั้ง และการสร้างมีการส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่จะนำไปสู่การยอมรับต่อผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น และจะมีผลต่อเนื่องในส่วนของการบริหารงานของผู้ที่เข้าตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นต่อไป |
|
ร่างพระราชบัญญัติเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น
กฎหมายการปกครองท้องถิ่น |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สถาบันพระปกเกล้า | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/604 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|