Show simple item record

dc.contributor.authorธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา
dc.contributor.authorชวนัสถ์ เจนการ
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-07-01T04:02:26Z
dc.date.available2019-07-01T04:02:26Z
dc.date.issued2018
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/599
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการข้อมูลการกระทำผิดซ้ำทางอาญาและติดตามผู้พ้นโทษจากระบบพัฒนาพฤตินิสัยของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยในปัจจุบัน และวิเคราะห์แนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและชั้นความลับของข้อมูลการกระทำผิดซ้ำที่สามารถเปิดเผยได้ ตลอดจนแนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูลการกระทำผิดซ้ำทางอาญาของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยศึกษาข้อมูลของประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ 17 ประเทศ และจัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบการจัดเก็บและเชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยวิธีการทบทวนเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก สังเกตการณ์การปฏิบัติงาน และการประชุมสนทนากลุ่มกับผู้แทนหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยมีนิยามการกระทำผิดซ้ำที่หลากหลาย และมีระบบฐานข้อมูลที่ไม่เชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังมีอุปสรรคเชิงกฎหมายเนื่องจากข้อมูลผู้กระทำผิดเป็นข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540 ห้ามไม่ให้เปิดเผยเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูล รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องยังเป็นข้อจำกัดสำหรับหน่วยงานราชการในกระบวนการยุติธรรมในการใช้ข้อมูลเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ในขณะที่ประเทศทั้ง 17 ประเทศที่คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษามีระบบการจัดเก็บข้อมูลของผู้ต้องโทษและติดตามผู้พ้นโทษของหน่วยงาน โดยใช้ระบบข้อมูลภายใน ของหน่วยงานราชทัณฑ์ในการจัดเก็บและวิเคราะห์ประมวลผลตัวเลขการกระทำผิดซ้ำ ทั้งนี้ มาตรฐานการปฏิบัติโดยทั่วไปของหน่วยราชทัณฑ์ของประเทศต่าง ๆ จะมีระบบฐานข้อมูลสำหรับการจัดเก็บข้อมูลผู้ต้องโทษและเมื่อผู้ต้องโทษกลับเข้ามารับโทษอีกครั้งก็จะสามารถตรวจสอบยืนยันได้ โดยการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังมีการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่ได้จากระบบฐานข้อมูลเปิด (Open Data) สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) และข้อมูลล่าสุด (Real Time Data) จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ ได้แก่ ระบบการจดจำใบหน้า (Facial Recognition) ระบบจับภาพเคลื่อนไหว (Motion Detection) ระบบระบุพิกัดโดยใช้ดาวเทียบ (Global Positioning Satellite System) เพื่อแจ้งเตือนความเสี่ยงทางอาชญากรรมให้ตำรวจล่วงหน้าได้โดยอัตโนมัติ รวมถึงการคาดคะเนจุดเสี่ยงทางอาชญากรรม และระบบการติดตามผู้พ้นโทษและผู้ถูกควบคุมความประพฤตินอกระบบเรือนจำแบบชาญฉลาดเพื่อให้สามารถเตือนภัยล่วงหน้าแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องงานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะให้คงวิธีการจัดเก็บข้อมูลและคำนิยามในการจัดทำข้อมูลการกระทำผิดซ้ำเพื่อใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะภายในแต่ละหน่วยงาน แต่กำหนดให้ระบบสารบบคดีของสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นฐานข้อมูลกลางเชื่อมโยงฐานกับระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรม (DXC) และระบบกระบวนการยุติธรรมอิเล็กทรอนิกส์ (NSWJ) และให้หน่วยงานพัฒนาพฤตินิสัยในกระทรวงยุติธรรมเชื่อมโยงฐานข้อมูลของหน่วยงานกับระบบ DXC และ NSWJth
dc.description.abstractThe objectives of this article are three-fold. First, it seeks to study how criminal recidivism data are collected and managed by government agencies in Thailand’s criminal justice system. Second, the current data privacy measures are analyzed. Third, the article examines how the Thai government agencies, compared to other countries, use criminal recidivism data to prevent crimes and rehabilitate ex-offenders. Qualitative data were collected using documentary research, in-depth interview, observation, and focus group discussion with representatives from the Thai criminal justice agencies. The findings show that each agency has its own definition of recidivism. Currently, no central authority exists to coordinate and manage the disparate recidivism data. Current legal frameworks present the greatest challenge to an attempt to share and make use of recidivism data. The 1997 Official Information Act in particular classifies criminal recidivism data as private data and therefore places limitations on how the data can be shared and used. Meanwhile, criminal justice systems in the countries that we study feature an integrative recidivism data system. Most countries designate their corrections departments as recidivism data coordinating centers whereby data are shared, analyzed, and effectively used to prevent and suppress crimes. Furthermore, big data and related technologies are employed to facilitate offender rehabilitation and prevent recidivism, such as open data, social media, facial recognition, motion detection, and global positioning satellite system. This study culminates in a set of policy recommendations. Each criminal justice agency should be permitted to maintain its definition of recidivism. The Office of Attorney General should be designated as the data coordinating center for other agencies’ data bases.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานกิจการยุติธรรม
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectการกระทำผิดซ้ำทางอาญาth
dc.subjectฐานข้อมูลขนาดใหญ่th
dc.subjectการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมth
dc.subjectCriminal Recidivismth
dc.subjectBig Data Managementth
dc.subjectData Privacy Protectionth
dc.titleศึกษาและวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ด้านการกระทำผิดซ้ำ และติดตามผู้พ้นโทษจากระบบพัฒนาพฤตินิสัยของประเทศไทย จังหวัดชายแดนภาคใต้
dc.title.alternativeA Study and Analysis of Big Data Development for Tracking Recidivism and Rehabilitation of Criminal Offenders in Thailand (Southern Border Provinces)
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานกิจการยุติธรรม
cerif.cfProj-cfProjId2561A00435
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology sector : ICT)
turac.contributor.clientสำนักงานกิจการยุติธรรม
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record