จัดทำแบบประเมินผลการเข้าถึงและจำนวนผู้ชมรายการโทรทัศน์ที่ทางบริษัทฯ ผลิตและเผยแพร่ผ่านทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
by พรทิพย์ พิมลสินธุ์
จัดทำแบบประเมินผลการเข้าถึงและจำนวนผู้ชมรายการโทรทัศน์ที่ทางบริษัทฯ ผลิตและเผยแพร่ผ่านทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 | |
Project to evaluate the number and reach of the viewers of television programme produced and distributed by N I .COM Co., Ltd. via Army TV Station Channel 7 | |
พรทิพย์ พิมลสินธุ์ | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2017 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การประเมินผลรายการ “เกษตร...ยกนิ้ว” มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา (1) เพื่อประเมินการรับรู้รายการ “เกษตร...ยกนิ้ว” ที่เผยแพร่ผ่านทางช่อง 7HD (2) เพื่อประเมินการรับรู้หน่วยงานที่จัดทำรายการ“เกษตร...ยกนิ้ว” ที่เผยแพร่ผ่านทางช่อง 7HD (3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อรายการ “เกษตร...ยกนิ้ว” ที่เผยแพร่ผ่านทางช่อง 7HD (4) เพื่อประเมินความรู้ที่ได้รับของกลุ่มเป้าหมายจากรายการ “เกษตร...ยกนิ้ว” ที่เผยแพร่ผ่านทางช่อง 7HD และ (5) เพื่อประเมินความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงานที่จัดทำรายการ “เกษตร...ยกนิ้ว” ที่เผยแพร่ผ่านทางช่อง 7HD ทำการศึกษาเฉพาะประชากรที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กำหนดจำนวนตัวอย่าง 400 ตัวอย่าง ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในประเภทของการวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) ผลการประเมินการรับชมรายการ “เกษตร...ยกนิ้ว” รายละเอียดมีดังนี้ 1. การประเมินผลการรับชมรายการ “เกษตร...ยกนิ้ว”พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 89.75 ระบุว่า เคยรับชมรายการ “เกษตร...ยกนิ้ว” และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดทราบว่าเป็นรายการของ ธ.ก.ส. 2. ภาพรวมความพึงพอใจที่มีต่อรายการ “เกษตร...ยกนิ้ว” กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากที่สุด ได้รับคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.3092 ประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากที่สุด และได้รับคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าประเด็นอื่นๆ คือ เนื้อหาที่นำเสนอมีสาระครบถ้วน (4.4925) และความรู้ที่ได้รับจากรายการ (4.4500) ส่วนประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยน้อยกวาประเด็นอื่นๆ คือ เพลงบรรเลง (4.1850) และระยะเวลาของรายการ (4.1675) 3. ความรู้ที่ได้รับจากรายการ “เกษตร...ยกนิ้ว” กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 84.25 ได้รับรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอย่างครบวงจรของคนรุ่นใหม่ ที่สามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี เข้ามาบริหารจัดการในด้านการผลิต การแปรรูป พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมาตรฐานสากล สามารถสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง และมีช่องทางการขายที่หลากหลาย กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 82.25 ได้รู้วิธีการสร้างช่องทางการตลาดของเกษตรกรรุ่นใหม่ เช่น การใช้สื่อโซเชียลในการจำหน่ายสินค้า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 80.25 ได้รับรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ จากการแปรรูปผลผลิตทางเกษตร ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รู้จัก และสามารถทำให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น 4. การได้ดูรายการ”เกษตร...ยกนิ้ว” ทำให้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.50 มีความรู้สึกดีขึ้นต่อภาพลักษณ์ของ ธ.ก.ส. และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36.25 ความรู้สึกที่มีต่อธ.ก.ส. ไม่เปลี่ยนแปลงเพราะมีความรู้สึกที่ดีอยู่แล้ว |
|
การประเมินผลรายการ
การประเมินการรับชมรายการ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
บริษัท เอ็นไอ.คอม จำกัด | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/577 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|