จ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนพัฒนาทางหลวงชนบทประจำกรม กลุ่มที่ 8 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
by อุรุยา วีสกุล
จ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนพัฒนาทางหลวงชนบทประจำกรม กลุ่มที่ 8 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 | |
The Project of Rural Road Strategy Development for Department of Rural Road (Group No.8 : Thammasat University) | |
อุรุยา วีสกุล | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2017 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำแผนแม่บทยกระดับมาตรฐานชั้นทางของกรมทางหลวงชนบท และปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากรมทางหลวงชนบทและแผนปฏิบัติราชการของกรมทางหลวงชนบทพ.ศ. 2561-2579 โดยการจัดทำแผนแม่บทยกระดับมาตรฐานชั้นทางของกรมทางหลวงชนบท มี่ขั้นตอนการดำเนินงาน คือ 1) การวิเคราะห์ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของสายทาง 2) การวิเคราะห์ความพร้อมของสายทางในการยกระดับมาตรฐานชั้นทาง 3) การจัดกลุ่มสายทาง 4) การกำหนดชั้นทางที่เหมาะสม 5) การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐ์ศาสตร์ 6) การจัดทำแผนแม่บทยกระดับมาตรฐานชั้นทาง โดยมีผลการศึกษาดังนี้ แผนแม่บทการยกระดับมาตรฐานชั้นทาง ทั้ง 3,281 สายทาง ระยะทางรวม 47,433.081 กม. ทำการเพิ่มช่องจราจร 696 สายทาง ขยายช่องจราจร/เพิ่มไหล่ทาง 1,991 สายทาง ไม่มีการยกระดับ 594 สายทาง ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 706,545.178 ลบ. สำหรับการทบทวนและปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากรมทางหลวงชนบทและแผนปฏิบัติราชการของกรมทางหลวงชนบท พ.ศ. 2561-2579 มีกรอบแนวคิดภายใต้ยุทธศาสตร์ระดับชาติและกระทรวง ดังนี้ 1) แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 -2579) 2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 3) โมเดลประเทศไทย 4.0 4) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) 5) แผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2560-2564 โดยผลการทบทวนแผนยุทธศาสตร์มีดังนี้ วิสัยทัศน์ (Vision) คือ “พัฒนาและดูแลรักษาโครงข่ายทางอย่างมีคุณภาพเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของประชาชน” โดยมี ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues) 1) พัฒนาโครงข่ายชนบทเข้าสู่พื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึงและใช้งานอย่างปลอดภัย พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่น เพื่อความมั่นคงของประเทศ (Stability) 2) เชื่อมโยงโครงข่ายทางหลวงชนบท เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่งคั่งของประเทศ (Prosperity) 3) บำรุงรักษาและเพิ่มคุณค่าโครงข่ายทางหลวงชนบท เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน (Sustainability) 4) พัฒนาองค์กร เพื่อให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงที่ยึดมั่นในหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (High Performance Organization) |
|
กรมทางหลวงชนบท
แผนยุทธศาสตร์ |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
กรมทางหลวงชนบท | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/568 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|