Show simple item record

dc.contributor.authorอนันต์ จันทรโอภากร
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2015-09-02T08:47:12Z
dc.date.available2015-09-02T08:47:12Z
dc.date.issued2013
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/53
dc.description.abstractจากข่าวสารที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่ามีสินค้าจำนวนมากที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อสุขภาพ อนามัย ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน สินค้าที่เป็นต้นเหตุจำนวนหนึ่งเป็นสินค้านำเข้าจากประเทศคู่ค้าของไทยบางราย แม้พระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมาจะได้บัญญัติว่า ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า แต่กฎหมายที่เกี่ยวข้องก็เป็นกฎหมายที่เน้นการกำกับดูแลสินค้าเฉพาะอย่าง เช่น กฎหมายอาหาร กฎหมายยา และกฎหมายเครื่องสำอาง เป็นต้น ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ นอกจากจะเป็นกฎหมายมุ่งเน้นเฉพาะสินค้าเฉพาะอย่างแล้ว ยังขาดรายละเอียดเกี่ยวกับการกำกับดูแลความปลอดภัยของสินค้าภายหลังจากที่มีการขายหรือนำสินค้าออกวางตลาดแล้ว กฎหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แม้จะทำหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัยของผู้บริโภคได้ระดับหนึ่ง แต่ก็เป็นการมุ่งเน้นที่มาตรฐานทางเทคนิคของสินค้าแต่ละชนิดเป็นสำคัญ เมื่อมีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้น มาตรฐานที่กฎหมายกำหนดก็ล้าสมัย ตราบเท่าที่ยังมิได้แก้ไขมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่นำออกขายหรือวางตลาดก็จะกลายเป็นสินค้าที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด และการกำหนดมาตรฐานของสินค้าภายใต้กฎหมายฉบับนี้ก็มีลักษณะของการกำหนดเป็นรายสินค้าไป พระราชบัญญัติ ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ ก็เป็นกฎหมายที่นำมาใช้เมื่อมีการฟ้องร้องเยียวยาความเสียหายแก่ผู้บริโภคเมื่อผู้ได้รับความเสียหายจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นกฎหมายที่นำมาใช้เมื่อมีการฟ้องร้องคดีเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วเท่านั้น กฎหมายเกี่ยวกับการดูแลสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าของผู้บริโภคที่มีอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นลักษณะของการบัญญัติกฎหมายตามแนวทางเก่าหรือแนวทางดั้งเดิม (Old Approach) กล่าวคือ ๑. เป็นกฎหมายที่ดูแลความปลอดภัยของสินค้าเป็นการเฉพาะอย่าง เฉพาะชนิด และเน้นการฟ้องร้องคดีระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ ๒. มาตรการในการกำกับดูแลความปลอดภัยของสินค้าที่มีอยู่ก็มุ่งเน้นที่มาตรการหรือเงื่อนไขก่อนการนำสินค้าออกวางตลาด ยังไม่มีกฎหมายที่กำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจในการกำกับดูแลความปลอดภัยของสินค้าอย่างเป็นกิจจะลักษณะภายหลังจากที่สินค้าได้ถูกนำออกวางตลาดแล้ว ๓. เป็นกฎหมายที่มุ่งเน้นที่การกำหนดมาตรฐานทางเทคนิคของสินค้าเป็นราย ๆ ไป ไม่มีกฎหมายที่กำหนดเป็นหลักการทั่วไปว่าสินค้าที่ปลอดภัยเท่านั้นจึงจะนำออกวางตลาดได้ จากการศึกษากฎหมายของสหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา พบว่าได้มีการพัฒนากฎหมายในเรื่องนี้ตามแนวทางใหม่ หรือ New Approach กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่ครอบคลุมสินค้าผู้บริโภคทุกชนิด โดยการวางข้อกำหนดทั่วไปว่าสินค้าที่ขายหรือนำออกวางตลาดนั้นจะต้องเป็นสินค้าที่ปลอดภัย จึงมีลักษณะเป็นกฎหมายกลางหรือกฎหมายทั่วไปที่ใช้ในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความปลอดภัยจากสินค้าอย่างกว้างขวาง สามารถอุดช่องว่างที่เกิดขึ้นจากกฎหมายที่ใช้กับสินค้าเฉพาะอย่าง (Vertical legislations) ที่มีอยู่ได้อย่างดี นอกจากนี้กฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในประเทศเหล่านี้ยังอยู่บนพื้นฐานของหลักการในการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับสูง (Principle of high level of consumer protection) ด้วยการกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ผู้สั่งหรือนำเข้าสินค้า ผู้จัดจำหน่าย (ผู้ค้าส่ง) และเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่และบทบาทในการกำกับดูแลความปลอดภัยของสินค้า มีมาตรการภายหลังการขายหรือวางตลาดสินค้าอย่างชัดเจน เช่น การสุ่มตรวจ การตรวจและพิสูจน์ความปลอดภัยของสินค้า การเรียกคืนสินค้า หรือการเก็บสินค้าออกจากตลาด เป็นต้น มีระบบเผยแพร่ข้อมูล และระบบการแจ้งเตือนภัยที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึงเสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมายในเรื่องนี้ของประเทศไทยให้เป็นไปตามแนวทางในการพัฒนากฎหมายคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าตามแนวทางใหม่นี้ (New Approach) และตามหลักการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับสูง (Principle of high level of consumer protection) และได้ยกร่างพระราชบัญญัติ การกำกับดูแลความปลอดภัยชองสินค้า พ.ศ….เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อพิจารณาดำเนินการปรับปรุงหรือพัฒนากฎหมายของประเทศไทย ต่อไป โดยเชื่อมั่นว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะสามารถรองรับการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ได้อย่างเหมาะสมเช่นกันth
dc.description.abstractThere have been cases of injury caused by unsafe safe products often reported in media, either injury to health, life, body or property, especially products bringing in from some neighbor countries. Although the Consumer Protection Act B.E. 2522 as recently amended has recognized the right of consumer to the safety of products, most relevant legislations still focus on specific products, such as food, drugs and cosmetics. These vertical legislations also lack of post-market measures to ensure the safety of products placed on the market. Although the law governing the industrial standards may be adopted for the supervising of product safety to certain extent, they are technical standards of specific types of products already existed in the industry, where there new innovations or technologies come out, those technical standards become obsolete. Insofar as the law has not yet been revised, those new innovations or technologies would become illegal if placed on the market. The Product Liability B.E. 2551 and the Civil Procedure for Consumer Cases Act B.E. 2551 are involved litigation for compensations or relief of damages suffered by consumers because of unsafe products. The present laws relating to the right of consumers to the safety of products are the results of the old approach of legislation, namely— 1. They focus on specific products and litigation between consumers and business operators. 2. The measures adopted for controlling the product safety are mostly pre-market. There is no law imposing post-market duties on business operators.3. Most existing laws provide the technical standards of specific products. There is no general requirement that only safe products may be placed on the market. The study reveals that the laws of EU, U.K., Federal Republic of Germany, Japan and U.S.A. are based on the New Approach—they cover all consumer products placed on the market and require only safe products may be placed on the market. They are horizontal in nature and, therefore, can fill the gaps of vertical legislations. The laws of the EU and these countries are also based on the principle of high level of consumer protection by imposing post-market duties on business operators—manufacturers, importers, distributors and governmental bodies in monitoring and supervising the safety of the products placed on the market, such as conducting market surveillance, product safety test, product recall or withdrawal, and etc. They also establish the system of information dissimilation and rapid alert system and cooperation on these activities. The author proposed the Office of the Consumer Protection Board to enact a statutory law in Thailand in accordance with the new approach and principle of high level of consumer protection. He is certain that this proposed new legislation will be beneficial to Thailand as a member of the AEC.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectปรับปรุงกฎหมายth
dc.subjectProduct Safetyth
dc.subjectความปลอดภัยของสินค้าth
dc.subjectมาตรฐานของสินค้าth
dc.titleจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาและปรับปรุงกฎหมาย Product Safety ประจำปีงบประมาณ 2556
dc.title.alternativeHiring a Consultant for Improving and Developing the Product Safety Law in the Fiscal Year 2013
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
cerif.cfProj-cfProjId2556A00456
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษา
turac.researchSectorสาขากฎหมาย (Law sector : LW)
turac.contributor.clientสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

FilesSizeFormatView

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record