Show simple item record

dc.contributor.authorเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-01-25T07:34:03Z
dc.date.available2019-01-25T07:34:03Z
dc.date.issued2018
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/515
dc.description.abstractเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ให้ความสำคัญกับการพัฒนากระบวนการยุติธรรม เพื่อให้สามารถอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนในประเทศได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม นอกจากนี้แล้ว เป้าหมายที่ 16 ยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และแผนแม่บทกระบวนการยุติธรรมฉบับที่ 3 อย่างไรก็ตาม การจะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้ไปพร้อมกัน จำเป็นจะต้องมีแผนที่นำทาง (Road Map) ที่สามารถบูรณาการเป้าหมายของทุกนโยบายให้ไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดเอกภาพในการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งยังช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรของภาครัฐมากขึ้นอีกด้วย จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ประเด็นสำคัญที่จะทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างแผนต่าง ๆ มีสามประการด้วยกัน ประการแรก คือ การกำหนดเป้าหมายร่วมกันของแผนทั้งหมด เพื่อช่วยให้มีแนวทางในการประเมินผลการดำเนินงานให้สอดคล้องกัน ประการที่สอง คือ การสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลที่นำมาใช้ตอบเป้าหมายของการดำเนินการ โดยการเชื่อมโยงข้อมูลการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ผ่านระบบ Data Exchange Center (DXC) ของกระทรวงยุติธรรม ประการที่สาม คือ การยกระดับความรู้ความเข้าใจของบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมถึงความสำคัญและความเชื่อมโยงของแผนดังกล่าว โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายที่ 16 สำหรับแผนที่นำทางในการดำเนินงาน จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน ดังนี้ ระยะที่ 1 ปี 2562-2563 การทำงานจะเน้นไปที่การเชื่อมโยงงานของหน่วยงานเข้าด้วยกัน โดยใช้ยุทธศาสตร์ชาติ และเป้าหมายที่ 16 มาเป็นกรอบในการทำงาน รวมถึงการกำหนดค่าเป้าหมายที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแผนการทำงานทั้งหมด ระยะที่ 2 ปี 2564-2565 พัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมโยงการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ผ่านระบบ DXC รวมถึงการส่งเสริมให้บุคลากรของหน่วยงานมีความรู้ความเข้าในสาระสำคัญของแผนงานต่างๆ ระยะที่ 3 ปี 2566-2567 ติดตามและประเมินผลการทำงานของหน่วยงานต่างๆ จากฐานข้อมูล และขยายผลไปสู่การทำงานในระดับพื้นที่ โดยให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนรวมอย่างเต็มที่ในการปรับยุทธศาสตร์ไปใช้ในระดับพื้นที่th
dc.description.abstractSustainable Development Goal 16 put great emphasis on development of justice process, especially the criminal justice process. The SDG 16 is consistent with the country’s 20-year strategy, the 12th national development plan, and the 3rd justice process master plan. To realize all these initiatives concurrently, however, their goals and targets should be aligned with one another. When such integration is achieved, relevant government agencies can work in unison; in addition, greater efficiency of public resource utilization can also be realized.This study has found that, there are three critical success factors to be strived for. The first is to bring together all relevant public agencies to jointly develop goals and targets which take into account objectives of each agency. The second involves data integration; all agencies should be encouraged to share their information via the Data Exchange Center (DXC). The last one relates to the promotion of understanding amongst relevant government officials on how SDG 16 is in line with other national initiatives.This study proposes that the Road Map should be divided into three periods: The first period (2019-2020) focuses on integrating works from various government agencies based on their contributions to the country’s target. The second period (2021-2022) put greater emphasis on databased development and information utilization to monitor and assess performances on relevant agencies.The third period (2023-2024) will localize these initiatives to local levels. This can be achieved by giving local stakeholders to get involved in the development, monitor and assess programs and project done at local level.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานกิจการยุติธรรม
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนth
dc.subjectSustainable Development Goal 16th
dc.subjectการขับเคลื่อนเป้าหมายที่ 16th
dc.titleจ้างเหมาบริการผู้เชี่ยวชาญทบทวนแผนที่นำทาง (Roadmap) การขับเคลื่อนเป้าหมายที่ 16
dc.title.alternativeRoadmap for SDG 16
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานกิจการยุติธรรม
cerif.cfProj-cfProjId2561A00570
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาการบริหารและการพัฒนาองค์กร (Management and Institutional Development sector : MID)
turac.contributor.clientสำนักงานกิจการยุติธรรม
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record