Show simple item record

dc.contributor.authorโสภารัตน์ จารุสมบัติ
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2015-06-22T02:10:01Z
dc.date.available2015-06-22T02:10:01Z
dc.date.issued2013
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/46
dc.description.abstractThe Study and Knowledge Codification on Participatory Governance Project aims at achieving the goal of bureaucratic system development for the benefit of people. It is achieved by promoting and supporting the public agencies to be aware and focus on participatory governance. In this regard, the guidelines, measures, and mechanisms to support people’s participation in public administration are developed. This way, the public administration with the cooperation between public agencies and people will be created. In addition to that, it will lead to the cooperation among parties within the integrated framework and strong network. This will help to push forward public administration process and make it to be more effective and has the highest benefits for the people. The output from this project is the document on "Participatory Governance (the technique for participation process development and good case studies)", which include guidelines or theories on participatory governance and people’s participation, the technique for participation process development, and the method to turn participatory governance into practice. The method covers defining public issues, law and regulations; strategy formulation; resource allocation for identifying the direction of agency, and the model for applying participation technique in the programs/ projects by using participatory governance. On top of that, the document contains various good case studies, which are the innovative results from applying the participatory governance. They help to guarantee that participatory governance still remains active/ is driven by actors in bureaucratic system and it will be applied in different parts and levels of Thai bureaucratic system. The good case studies from foreign countries include France (participatory governance in environmental resource allocation, and urban planning), the United Kingdom (participatory governance of people’s health centre), and commonwealth of Australia (participatory governance in hazardous waste management). In addition, the good case studies in Thailand include Nan (a good case study at the provincial level), Royal Irrigation Department and Department of Livestock Development (a good case study at the department level), and Koh Kha Municipality, Koh Kha District, Lampang (a good case study at the local administration level).en
dc.description.abstractโครงการศึกษาและประมวลความรู้เกี่ยวกับการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม เป็นการศึกษาเพื่อนำไปสู่ การบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาระบบราชการ คือ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้ หน่วยงานภาครัฐได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับ การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม โดยการพัฒนารูปแบบ แนวทาง มาตรการ กลไกในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหาร ราชการ ที่จะเป็นการสร้างการ บริหารราชการแบบร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชน รวมทั้งการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ อันจะก่อให้เกิดพลังความร่วมมือในการผลักดันให้การบริหารราชการแผ่นดินเกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สุข ของประชาชนอย่างแท้จริง ผลผลิตที่ได้จากโครงการนี้ คือ เอกสาร “การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (เทคนิคการสร้างกระบวนการ มีส่วนร่วม และกรณีศึกษาที่ดี)” ประกอบด้วย แนวคิดหรือทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมและ การมีส่วนร่วมของประชาชน เทคนิคการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม การนำแนวทางการบริหารราชการแบบมี ส่วนร่วมไปสู่การปฏิบัติ ทั้งในการกำหนดประเด็นสาธารณะ การกำหนดยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน การจัดสรร ทรัพยากรเพื่อกำหนดทิศทางของหน่วยงานในระดับพื้นที่ การกำหนดกฎหมาย และตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคนิคการ มีส่วนร่วมในการจัดทาแผนงาน/โครงการโดยใช้แนวทางการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม นอกจากนี้ ในเอกสารดังกล่าว ยังได้มีการอธิบายโดยใช้กรณีศึกษาที่ดีที่เป็นนวัตกรรมทางการบริหารของ การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ทั้งกรณีศึกษาที่ดีจากต่างประเทศ คือ ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส (การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมด้านการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและการวางผังเมือง) ประเทศสหราชอาณาจักร (การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของศูนย์บริหารด้านสุขภาพของประชาชน) และประเทศเครือรัฐออสเตรเลีย (การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมด้านการจัดการขยะมีพิษ) และกรณีศึกษาที่ดีของประเทศไทย คือ จังหวัดน่าน (กรณีศึกษาที่ดีระดับจังหวัด) กรมชลประทานและกรมปศุสัตว์ (กรณีศึกษาที่ดีระดับกรม) และเทศบาลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง (กรณีศึกษาที่ดีระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างหลักประกัน ว่าการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมยังคงได้รับการขับเคลื่อนอยู่ในระบบราชการ และมีการขยายขอบเขตของการ บริหารราชการแบบมีส่วนร่วมไปสู่การบริหารราชการในระดับและส่วนงานต่างๆ ของระบบราชการไทยต่อไปth
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectการพัฒนาระบบราชการth
dc.subjectการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมth
dc.subjectระบบราชการไทยth
dc.titleศึกษาและประมวลความรู้เกี่ยวกับการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjId2556A00553
mods.genreรายงานวิจัย
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาการบริหารและการพัฒนาองค์กร (Management and Institutional Development sector : MID)
turac.contributor.clientสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

FilesSizeFormatView

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record