ด้านสารสนเทศประจำกรม
by ทวีศักดิ์ กิจกาญจนารัตน์
Title: | ด้านสารสนเทศประจำกรม |
Other title(s): | ICT Consultants for Department of Rural Roads (Fiscal Year 2015) |
Author(s): | ทวีศักดิ์ กิจกาญจนารัตน์ |
Client: | กรมทางหลวงชนบท |
Contributor(s): | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Publisher: | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Issued date: | 2015 |
Research Sector: | สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology sector : ICT) |
Project Type: | โครงการวิจัย |
Project ID: | 2558A00162 |
Project Status: | สิ้นสุดโครงการ |
Sponsorship: | กรมทางหลวงชนบท |
Abstract: |
เนื่องจากปัจจุบัน กรมทางหลวงชนบทยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ ทำให้การพัฒนาระบบงานด้านต่าง ๆ ทั้งด้าน Hardware, Software, Application และ Database อาจไม่เป็นไปตามมาตรฐาน คุ้มค่า และสอดคล้องกับระบบงานและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ ดังนั้นจึงจำเป็นใช้ผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วยให้ข้อแนะนำและให้คำปรึกษาในด้านการพัฒนาระบบงานในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงช่วยพัฒนาบุคลากรของกรมทางหลวงชนบท ให้มีความรู้ ความสามารถในการควบคุม ดูแลระบบงานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ปฏิบัติงานของกรมทางหลวงชนบท
การบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขององค์กรเป็นปัจจัยหลักของความสำเร็จในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ภายในองค์กร ทางคณะที่ปรึกษาได้ทำการวางแนวทางการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรมทางหลวงชนบท เป็นแนวทางในการดำเนินงานผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ โดยผู้บริหารต้องจัดทำนโยบายและแผนการบริหารจัดการสารสนเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งอาจจะต้องมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อร่างนโยบายและปฏิบัติงานรวมถึงการควบคุมและตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด คณะทำงานดังกล่าวอาจจะประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้ใช้งาน นักออกแบบพัฒนาระบบและผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาปฏิบัติงานร่วมกัน องค์กรที่เจริญเติบโตในอนาคตต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีเข้าไปในโครงสร้างการบริหารงานและการติดต่อสื่อสาร โดยเทคโนโลยีสารสนเทศเปรียบเสมือนเส้นประสาทขององค์กร แต่การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและบุคลากร มากกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพหรือการลดขั้นตอนในการทำงาน อีกทั้งการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อส่วนรวมด้วย เช่น การไหลเวียนของข้อมูลผ่านขอบเขตขององค์กรและภายนอกองค์กร การติดตามผลและตรวจสอบการทำงาน การทุจริตหรือฉ้อโกงในระบบเครือข่าย การก่อการร้ายหรือการโจรกรรม ซึ่งผู้บริหารจะต้องติดตามทำความเข้าใจในศักยภาพและผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อองค์กรและสังคม เพื่อสร้างความเข้าใจตรงกัน และรับประกันการปฏิบัติเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว องค์กรจำเป็นต้องทำการกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการสารสนเทศต่างๆไว้ให้มีแนวทางปฏิบัติชัดเจนและสามารถติดตามตรวจสอบและประเมินผลได้ ที่ปรึกษาได้มีการดำเนินงาน ให้กรมทางหลวงชนบทมีการบริหารจัดการสารสนเทศที่สอดคล้องตามมาตรฐาน |
Keyword(s): | เทคโนโลยีสารสนเทศ
Database |
Resource type: | บทความ |
Type: | Text |
Language: | tha |
Rights: | เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร |
Access rights: | สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Rights holder(s): | กรมทางหลวงชนบท |
URI: | https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/467 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|