Show simple item record

dc.contributor.authorหาญพล พึ่งรัศมี
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2018-07-12T07:45:29Z
dc.date.available2018-07-12T07:45:29Z
dc.date.issued2016
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/423
dc.description.abstractในปัจจุบันการเติบโตและขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม และการบริโภคสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานและอานวยความสะดวกแก่มนุษย์ ประเทศไทยก็เช่นเดียวกันที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจนั้นอย่างหนึ่งคือ สินค้าส่งออก ซึ่งสินค้าส่งออกที่ประเทศไทยมีการผลิตตั้งแต่ต้นสายจนถึงปลายสาย ชนิดหนึ่ง คือ สินค้าจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน เช่น ไหมและผลิตภัณฑ์จากไหม เป็นต้น อุตสาหกรรมหม่อนไหม นั้นเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกสู่ตลาดโลก จากข้อมูลปริมาณการผลิตเส้นไหมของโลกในปี พ.ศ.2554 ประเทศไทยผลิตเส้นไหมมากเป็นอันดับ 7 ของโลก นอกจากนี้ ยังได้มีการรายงานว่าภาพรวมการส่งออกในระบบหม่อนไหมทั้งหมด ในปี พ.ศ.2557 มีมูลค่ากว่าพันล้านบาท โดยประเทศคู่ค้ารายสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมหม่อนไหมของประเทศไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อิตาลี อังกฤษ และฝรั่งเศส จะเห็นว่ากลุ่มประเทศคู่ค้าของอุตสาหกรรมหม่อนไหมของประเทศไทยนั้นล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งในปัจจุบันประเทศดังกล่าวได้ให้ความสำคัญกับสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สะท้อนได้จากการประกาศใช้ฉลากสิ่งแวดล้อมในประเทศต่างๆ อาทิเช่น ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ที่มีในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น อังกฤษ หรือฝรั่งเศส ฉลากสิ่งแวดล้อมแห่งสหภาพยุโรป (EU Flower) และฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม (Environment Label) เป็นต้น โดยการประกาศใช้ฉลากสิ่งแวดล้อมต่างๆ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้ทรัพยากรและสารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมหม่อนไหมของประเทศไทยที่มีการใช้ทรัพยากรและสารเคมีในกระบวนการผลิต เช่น การปลูกต้นหม่อน มีการใช้ปุ๋ยเพื่อบำรุงรักษาต้นหม่อน ส่งผลต่อปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี (Eutrophication) ที่เกิดจากการชะล้างหน้าดินทำให้ปุ๋ยบางส่วนปนเปื้อนลงแหล่งน้ำ และการฟอกย้อมสีเส้นไหมมีการใช้สารเคมีประเภทกรดและด่าง ก่อให้เกิดน้ำเสียซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะโลกร้อนจากกระบวนการผลิตกรดและด่าง เป็นต้น ดังนั้นการแสดงข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมจะช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในตลาดสินค้าสีเขียว และป้องกันการกีดกันทางการค้าในประเด็นทางสิ่งแวดล้อมจากประเทศคู่ค้าในอนาคต ประเทศไทยจึงควรศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมดังกล่าว เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนสาหรับการเจรจาในเวทีโลกต่อไปปัจจุบันหนึ่งในเครื่องมือที่นิยมใช้ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร คือ การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment : LCA) ซึ่งป็นวิธีการในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงปริมาณที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์ตลอดทั้งวัฏจักรชีวิต ตั้งแต่การสกัดหรือการได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่งและการแจกจ่าย การใช้งานผลิตภัณฑ์ การใช้ใหม่หรือแปรรูป และการจัดการเศษซากของผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าพิจารณาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เกิดจนตาย (Cradle to Grave) โดยมีการระบุถึงปริมาณพลังงานและวัตถุดิบที่ใช้ รวมถึงของเสียที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อนำผลไปใช้ในการกำหนดนโยบายการออกแบบผลิตภัณฑ์ การปรับกระบวนการผลิต หรือเพิ่มทางเลือกในการผลิต เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การศึกษามุ่งเน้นการเก็บรวบรวมบัญชีรายการสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมหม่อนไหมในกลุ่มไหมหัตถกรรม โดยจัดทาฐานข้อมูลแบบ Gate to Gate และ Cradle to Gate ของอุตสาหกรรมหม่อนไหม ที่เป็นตัวแทนของประเทศโดยวิธีการเก็บข้อมูลจริง (Field Collection) และจากแบบสอบถาม ให้ได้อย่างน้อย 12 ฐานข้อมูล อาทิ ใบหม่อน ผลหม่อนสด ไข่ไหม เส้นไหมดิบ ด้ายไหม และสีธรรมชาติ เป็นต้น จากผลการดำเนินงานลงพื้นที่ ผู้วิจัยได้ดาเนินการลงพื้นที่ทั้งสิ้น 17 จังหวัด ครอบคลุมจังหวัดในเขตการดูแลของศูนย์หม่อนไหมฯ ทั้ง 5 เขต ได้แก่ เขต 1 จำนวน 3 จังหวัด (น่าน ลำปาง และเชียงราย) เขต 2 จำนวน 2 จังหวัด (สกลนคร และอุดรธานี) เขต 3 จำนวน 4 จังหวัด (ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม และร้อยเอ็ด) เขต 4 จำนวน 5 จังหวัด (นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีษะเกษ สุรินทร์ และอุบลราธานี) และเขต 5 จำนวน 3 จังหวัด (ชุมพร สงขลา และราชบุรี) โดยมีเป้าหมายการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกร 332 แบบสอบถาม ซึ่งการดำเนินงานได้จำนวนแบบสอบถามทั้งสิ้น 933 แบบสอบถาม เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และสามารถแบ่งฐานข้อมูลได้ 16 ฐานข้อมูล ได้แก่ 1) ใบหม่อนสด สาหรับเลี้ยงไหม – การปลูกแบบทั่วไป (Non GAP) 2) ใบหม่อนสด สำหรับผลิตชาใบหม่อน – การปลูกแบบทั่วไป (Non GAP) 3) ใบหม่อนสด สาหรับเลี้ยงไหม – การปลูกแบบมีระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) 4) ใบหม่อนสด สำหรับผลิตชาใบหม่อน – การปลูกแบบมีระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) 5) หม่อนผลสด – การปลูกแบบทั่วไป (Non-GAP) 6) หม่อนผลสด – การปลูกแบบมีระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี(GAP) 7) ต้นกล้าหม่อนชาถุง 8) ไข่ไหม (ค่าเฉลี่ยประเทศไทย ไข่ไหม พันธุ์ไทยลูกผสม และไข่ไหม พันธุ์ไทย) 9) รังไหม 10) ไหม 1 หรือไหมน้อย 11) ไหม 3 หรือไหมลืบ 12) เส้นไหม ไม่ย้อมสี – ลอกกาวเคมี 13) เส้นไหม ไม่ย้อมสี – ลอกกาวธรรมชาติ 14) เส้นไหม ย้อมสีเคมี 15) เส้นไหม ย้อมสีธรรมชาติ และ 16) สีคราม, สีธรรมชาติ At present, the country's economic expansion continues to broaden and strengthen. The business and industrial sector are the main driving force of the economy, including technology and industrial development and consumption of products and services which respond to basic needs and be convenient for people, as same as Thailand’s economic expansion. The factor that has a significant effect on economic growth is export products which is manufactured in Thailand from cradle to grave. And one of them is local wisdom products such as silk and silk products. Sericulture Industry plays a leading role in Thailand's economy owing to the rise in global demand for sericulture products. According to World’s raw silk production in year 2011, Thailand ranked the seventh in the world’s raw silk production. It was also reported that overview of sericulture exports in year 2014 were worth more than billion baht and Thailand’s significant trading partners in export sericulture project are United states of America (USA), Japan, Italy, England and France. It is noticeable that they all belong to the group of developed countries which recently give their higher priority to environmentally friendly products as seen through the use of environmental labels in their countries, for example, Carbon Footprint of Product in Japan, England or France, EU Flower and Environment Label. The use of environmental labels is a result of the effects of resource and chemical use upon the environment. Like in Thailand’s sericulture industry, resource and chemicals are used in production process, for instance, use of fertilizers in growing mulberry trees can be washed off the land by rainwater into rivers and lakes called Eutrophication, and dyeing silk yarn with acid and alkali chemicals is a primary cause to wastewater pollution leading to Global warming. Therefore, showing proof of the appropriate environmental management will promote international trade in green market and prevent from environment-related trade barriers of trading partners in the future. It is also necessary for Thailand to further study and gather useful information on these environmental impacts to support for negotiations in the world forum. Recently, a popular tool to review the environmental impacts of products throughout their entire life cycle is Life Cycle Assessment (LCA). LCA is a technique to assess environmental impacts, in term of quantities, associated with all the stages of a product's life; from raw materials extraction or acquisition, production process, transportation and distribution, product usage, reuse or transfiguration until waste management, also known as a cradle-to-grave sustainability assessment identifing and quantifing energy and raw materials and waste released to the environment. The results are used to create product design strategy, improve production process or develop options for production in order to reduce the environmental impacts and enhance resource efficiency. The study focuses on performing gate-to-gate and cradle-to-gate Life Cycle Inventory of the Sericulture Industry through field collection and questionnaire. At least 12 databases were organized and arranged such as mulberry leaf, mulberry, silkworm egg, raw silk, silk yarn and natural color. According to the survey in total 17 provinces, there are 5 zones in control of the Department of Sericulture which are Zone.1; 3 provinces (Nan, Lampang and Chiangrai), Zone.2; 2 provinces (Sakonnakorn and Udornthani), Zone.3; 4 provinces (Chaiyaphum, Khon kaen, Mahasarakham and Roi Et), Zone.4; 5 provinces (Nakhon Ratchasima, Buriram, Srisaket, Surin and Ubonratchathani) and Zone.5; 3 provinces (Chumphon, Songkla and Ratchaburi). The target of the survey is using 332 questionairs to interview with farmers. Total 933 questionairs were completed as target and divided in to 16 databases which are 1) fresh mulberry leaf used for sericulture – conventional agriculture (Non GAP) 2) fresh mulberry leaf used for mulberry leaf tea – conventional agriculture (Non GAP) 3) fresh mulberry leaf used for sericulture – good agricultural practice (GAP) 4) fresh mulberry leaf used for mulberry leaf tea – good agricultural practice (GAP) 5) fresh mulberry – conventional agriculture (Non-GAP) 6) fresh mulberry – good agricultural practice (GAP) 7) seedling 8) silkworm egg (the average of Thailand silkworn egg, Thai Hybrid Silkworm egg and Thai native silkworm egg) 9) cocoon 10) Mai1 or Mai Noi 11) Mai3 or Mai Lueb 12) undyed silk yarn – chemical degumming 13) undyed silk yarn – degumming with natural latex 14) silk yarn – chemical dyeing 15) silk yarn – natural dyeing และ 16) indigo, natural color.th
dc.description.sponsorshipศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectGate to Gateth
dc.subjectCradle to Gateth
dc.subjectอุตสาหกรรมหม่อนไหมth
dc.subjectคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์th
dc.subjectการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์th
dc.titleการจัดทำฐานข้อมูลแบบ Gate to Gate และ Cradle to Gate ของอุตสาหกรรมหม่อนไหม (ไหมหัตถกรรม)
dc.title.alternativeGate to Gate and Cradle to Gate Data base of Sericulture Industrial (Silk Handicraft)
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
cerif.cfProj-cfProjId2559A00081
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาอุตสาหกรรม (Industry sector : IN)
turac.contributor.clientศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record